“ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก” ตะลุยอินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ 14 วัน
ตอนที่ 6 โปรโบลิงโก ภูเขาไฟโบรโม
ตอนรถเข้าสถานี ต่างคนก็ต่างแยกไปขึ้นตู้ของตัวเอง พอขึ้นรถป้าก็นั่งทำงานพร้อมกับชาร์จแบ็ต แล้วก็ง่วงและหลับ จนกระทั่งใกล้ถึงโปรโบลิงโก้คนอื่นๆ เตรียมสัมภาระ เราก็รีบร้อนเก็บของแล้วลุงก็ถ่ายวิดีโอก่อนลงรถ ทำให้เราช้ากว่าเพื่อน ลงรถแล้วมองหารถเบรโมสีเขียว ที่อ่านในรีวิว แต่ไม่เห็นมี พอดีมีรถสามล้อถีบ (Bebekeb) มาติดต่อ บอกว่าที่สถานีรถไฟไม่มีรถเบรโมไปสถานีขนส่งแล้ว เขาไปกับจนท. ที่สถานี กับสามล้ออีกคนหนึ่ง เรียกค่าโดยสาร 50,000 รูเปีย ต่อได้ 40,000 รูเปีย
เขาพาไปทางลัดเข้าหมู่บ้านที่ดูสะอาดและเต็มไปด้วยต้นไม้ แต่ละต้นที่เขามีเราก็มีเหมือนกัน มะม่วง ฝรั่ง มะขาม มะยม ฯลฯ ระยะทางจากสถานีรถไฟถึงท่ารถประมาณ 5 กม. ถ้าเดินก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง เขาไม่ได้ไปส่งเราที่สถานีขนส่ง แต่ส่งที่สนง. DE JAVA TOUR (RIZAL JAVA 99 @ yahoo.com, dejava 10.nm@gmail.com, dayatslengean1@gmail.com) มีรูปภูเขาไฟอยู่ในสนง. อยู่ตรงข้ามเยื้องกับปั๊ม Pertamina หน้าปั๊มมีป้ายบอกราคาน้ำมันสีแดง อยู่ติดกับรั้วสีแดงที่มีป้ายชื่อ Konikota Probolingo พอลงจากรถสามล้อก็มีคนวิ่งมาบอกเรา ว่ารถจะมาตอนบ่ายโมงครึ่ง ตอนนั้นเพิ่ง 11.30 น.
คนที่วิ่งมาชื่อ RIZAL เป็นผู้จัดการสำนักงานการท่องเที่ยว เขาเขียนรายการให้ดูว่าแพ็คเกจทัวร์มีอะไรบ้าง รวมแล้วคนละ 875,000 รูเปีย 2 คนก็ 1,700,000 รูเปีย เป็นค่ารถไป-กลับโบรโม ค่าที่พักพร้อมอาหารเช้า ค่ารถไปดูพระอาทิตย์ขึ้น ค่าเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ ค่ารถไปบาหลีพร้อมค่าข้ามเรือเฟอรี่ มีฟรีวิฟิด้วย ในตั๋วเป็นโปรโบลิงโก้-เดนพาร์ซ่า พอจ่ายเงินเสร็จเขาบอกว่า ต้องจ่ายภาษีอีก 50,000 รูเปีย เสียยิบเสียย่อยจริงๆ เดาเอาว่า พอเขาเห็นว่า เราจ่ายง่าย เลยถือโอกาสให้เราจ่ายภาษีให้
หลังจากจ่ายเงินเสร็จ ดูเวลา เพิ่งเที่ยงกว่าเล็กน้อย แต่รถก็มารับ แล้วบอกว่าพร้อมเดินทาง จึงรู้ว่าเป็นบริการของทัวร์ เราไม่สามารถใช้บริการสาธารณะได้ รถไม่ได้เข้าสถานีขนส่ง คนขายทัวร์บอกเราว่า ให้แวะซื้อของในซุปเปอร์ข้างทางเตรียมเสบียงให้เรียบร้อย เพราะขึ้นไปบนนั้นของแพงมาก คนขับรถชื่อ ปาก้า (PAKA) ชวนเพื่อนไปด้วย ชื่อ ยูนุส (UNUS) จอดรถให้เราซื้อของ แล้วเดินทางต่อในขณะที่ฝนตกหนัก เขาขับรถเร็วมาก พอถึงจุดที่มีน้ำตก เขาก็หยุดรถให้ลงไปถ่ายภาพ ยูนุสลงไปช่วยถ่ายให้ พอถ่ายภาพเสร็จ ลุงกับยูนุสก็ยิงกระต่ายต่อ เพราะอากาศเย็นมาก
ปาก้า ถอยรถปั่นโคลนกระเด็นใส่ป้าทั้งหน้าและตัวเลอะเทอะ ป้าเพิ่งรู้ว่าเลอะมาก ตอนที่ขึ้นไปนั่งอยู่บนรถ แล้วเอามือจับกางเกง มือเปื้อนโคลน เช็ดตั้งนานยังไม่สะอาด ทางขึ้นภูเขามีลักษณะเหมือนทางจากฮอดไปแม่ฮ่องสอน 30 ปีที่แล้ว ตอนขับรถขึ้นไปผ่านหมู่บ้านมีดอกไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายดอกแคนา แต่ออกดอกบานคว่ำลง มีสีขาว กับสีเหลืองจำปา เราอยากถ่ายรูปมาก แต่ฝนตกตลอดทาง ถามปาก้า กับ ยูนุส บอกว่า ชื่อ กะจูบุ้ง แต่ป้าจำเป็น กะจุงบู้ หนุ่ม 2 คนขำป้าตลอดที่ป้าจำเป็นคำผวน ป้าบอกปาก้าว่า ขากลับช่วยจอดให้หน่อย เขาก็รับปาก พอรถไปถึงจุดคับขันเขาขับรถเบี่ยงไปมาเพื่อไม่ให้ลื่น จนในที่สุด เขาบอกให้ ลุงกับป้า ลงเดิน ยูนุส ก็ลงด้วย
เราไม่เข้าใจ คิดว่า ต้องเอาของลงทุกอย่างลุงจึงหอบน้ำขวดใหญ่ลงไปด้วย แต่ความจริง คือ ปาก้า กลัวว่า จะพาทุกคนตกเขา เขาจึง ขับรถไปคนเดียว รออยู่ข้างบน กว่าจะเดินไปถึง ก็ไม่มีใครหนาวกันแล้ว เพราะหอบกันจนซี่โครงบาน ขาก็จะไม่ยอมก้าวอีก ปาก้า ยกมือไหว้ขอโทษ เขาทำหน้ารู้สึกผิด เขาบอกว่า เขาเคยพาผู้โดยสารไปประสบอุบัติเหตุที่นั่น เขาจึงกลัวมาก
เมื่อถึงที่พัก RUDY HOME STAY ปาก้ากับยูนุสก็กลับ พร้อมกับขอทิป เขาบอกว่า พรุ่งนี้เพื่อนเขาจะมาพาไปดูพระอาทิตย์ขึ้น เป็นแบบนั้นไป ตอนถามก็ครับๆๆๆ คงแค่เอาตัวรอดเพราะขี้เกียจพูดภาษาอังกฤษ ทั้งบ้านมีเราอยู่ 2 คน พอหาปลั๊กชาร์จแบ็ตได้จึงรู้ว่า ทิ้งเพาเวอร์แบงค์ไว้บนรถไฟ เสียของอีกแล้ว รีบซักผ้า รีบนอน ฝนตกจนถึงเที่ยงคืน โชคดีที่ตอนเช้าฟ้าใส เวลานัดไปดูพระอาทิตย์ขึ้น 03.30 น. แต่คนไปรับไปถึงเวลา 04.00 น. ไม่รู้จะนัดเผื่อทำไม Free wifi ก็ใช้ไม่ได้ พอถามคนที่มารับตอนเช้าก็บอกว่า เครื่องมันเล็ก ความแรงไม่พอ
วันอังคารที่ 15 2558 : เราต้องไปรอคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวจากอินเดีย ชื่อ Shivangi Pathania กับ Prithu Sam Thulghaqia อีกตั้งนาน กว่าจะได้ไปจริงๆ รถไต่เขาตลอด ดูเหมือนไกล แต่ระยะทางประมาณ 2 กม. อย่าถามคนที่นั่นว่ากี่กม. กม. ของพวกเขายาวมาก ให้เอา 2 คูณ นั่นแหละ พอไปถึงเชิงเขาเขาจอดรถแล้วบอกว่าเขาจะรออยู่ที่รถ พวกม้าก็เข้ามารุมแล้วก็บอกว่า 2 กม. เดินไม่ไหวหรอก ตอนแรกป้าก็คิดว่า จะไม่ไหว แต่ค่อยๆไต่ขึ้นไปก็ไหวเหมือนกันพักหลายยกมาก
คนจูงม้าตามประกบไปจนแน่ใจว่าเราไม่ใช้บริการแล้วก็หยุดตาม จนถึงก่อนสุดทางขึ้นมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ดักอยู่บอกว่า 20,000 พอขึ้นไปถึงจุดพักที่ 1 จึงรู้ว่า ม้าจะขึ้นไปส่งแค่นั้น ใครที่ตกหลุมยอมขึ้นม้า ก็ต้องจ่าย 2 หมื่น แค่ระยะทางไม่ถึง 50 เมตร พอขึ้นไปข้างบนจึงเห็นควันพวยพุ่งขึ้นจากปล่องภูเขาไฟ นับเป็นโชคดีที่เราไปช่วงภูเขาไฟปะทุ ถ้าไม่ปะทุจะได้นั่งรถจี๊ปขึ้นไปอีกยอดหนึ่งที่ใกล้กว่านั้น แต่ไม่ได้เห็นควันพุ่งจากปากปล่องภูเขาไฟ ภูเขาไฟลูกที่กำลังปะทุอยู่ คือ Bromo ส่วนลูกที่ดับสนิทอยู่ด้านข้าง ชื่อ Batok และด้านหลัง ชื่อ Semeru ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในอินโดนีเซีย
คนขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคนอินโดฯจากต่างเมือง นักท่องเที่ยวต่างชาติมีเราเป็นคนไทยแค่ 2 คน มีชาวตะวันตกบ้างแต่ไม่มาก มีชาวเขาเอาดอกหญ้าขึ้นไปขายตามจุดพักมีน้ำดื่ม ชา กาแฟ เสื้อ พวงกุญแจ เป็นคนพื้นราบ ตอนรถไปส่งคู่หนุ่มสาวเราจึงเห็นว่า พวกเขาพักตรงจุดที่เห็นภูเขาไฟชัดมาก ก่อนถึงภูเขาไฟมีฮินดูสถานใหญ่โตที่พวกฮินดูมักจะเดินทางไปบวงสรวง ที่ราบระหว่างภูเขาสูงกับภูเขาไฟไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีแต่หญ้าที่ดูเหมือนว่าจะเฉาตายด้วยธารน้ำแข็ง หรือ ไม่ก็ลาวาจากภูเขาไฟ
กลับจากชมพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งความจริงเป็นการชมภูเขาไฟจากที่สูงมากกว่า มีอาหารเช้ามาส่ง เป็นข้าวผัดไข่คนละจาน กับน้ำชาหวาน คนละ 1 แก้ว ตอนเช้ามีแดด รีบเอาผ้าที่ซักไว้ออกไปตากที่ระเบียง คนขับรถรับส่งชื่อเดดี้ (Dedi) อารมณ์ดี แต่สูบบุหรี่ตลอดเวลา นัดรับ 09.00 น. ไปรับเราตั้งแต่ 08.15 น. ทำให้ผ้าไม่แห้ง และเราต้องไปรอคู่หนุ่มสาวจนถึงเวลานัด เพราะพวกเขาไม่เหมือนเราตกลงอย่างไรก็่ต้องว่าไปตามนั้น ที่พักของพวกเขาอยู่ในจุดที่เห็นภูเขาไฟได้ชัดเจนกว่าตอนขึ้นไปชมที่จุดสูงสุดอีก โรงแรมที่อยู่ทางขึ้นที่พักของพวกเขา ชื่อ Cemara Indah ความจริงจะพักที่ไหนก็ได้ แล้วก็ไปชมวิว และถ่ายรูปที่จุดนั้น เพราะเป็นจุดชมวิว
ระหว่างทางเราขอให้เขาชะลอรถให้เราได้บันทึกภาพดอกกะจูบุ้ง เขาก็รับปาก บางจุดเขาจอดให้แต่เราไม่ลง คู่หนุ่มสาวก็สนุกไปกับเราด้วย แต่ตอนทวงทิปเดดี้ทวงแต่เรา เพราะ 2คนนั้นไม่ได้มีท่าทีที่จะทำให้เขากล้าออกปากคุยด้วย พวกเขาก็ไม่คุยกับคนขับรถ แต่คุยกับเรา
รถไปส่งเราที่สนง. ประมาณ 10.15 น. เราได้ชาร์จแบ็ตจนเกือบเต็ม แต่การนั่งรอรถอยู่ตรงนั้น ก็ทให้เราได้เห็นวิธีการไปโบรโม่ อีกแบบหนึ่ง มีสาวเหมือนอินเดีย ผิวสีเข้ม ตาคม ผมเปีย ใส่ขาสั้น เสื้อยืด แบกเป้ ลงจากรถเบรโม่ (รถสองแถวเล็ก เป็นรถท้องถิ่น ที่เรามองหาที่สถานี แต่ไม่มี) สีเขียว เหลือง RIZAL วิ่งมาเสนอแพ็คเก็จ แต่เธอไม่สนใจ มีอีกคนวิ่งมา เสนอรถมอเตอร์ไซด์ในราคา ขึ้น 200,000 รูเปีย ลง 100,000 รูเปีย ไม่มีค่าที่พัก และค่าอื่นใด เธอตกลงตามนั้น และรถมอเตอร์ไซด์ก็มารับเธอไป
เป็นการชมโบรโม่แบบประหยัด ส่วนค่าที่พักก็ขึ้นไปหาเอาข้างบน การเดินขึ้นไปชมโบรโม่ ก็เดินตามๆ เข้าไป ค่าเข้าอุทยานก็ไปเสียข้างบน ถ้าไม่ขึ้นไปก็ไม่ต้องเสีย สำหรับรายการจ่าย ถ้าไม่ซื้อแพ็คเก็จ เขาแยกเป็นรายการ ได้แก่ ค่ารถขึ้น-ลง หมู่บ้านภูเขาไฟ 200.000 รูเปีย ค่าที่พัก 275,000 รูเปีย ค่าขึ้น-ลง เพื่อไปชมพระอาทิตย์ขึ้น 400,000 รูเปีย ค่าเข้าอุทยาน 217,000 รูเปีย ค่ารถไปเดนปาร์ซ่า บาหลี 275,000 รูเปีย ค่าเฟอรี่ข้ามฟาก 20,000 รูเปีย รวม คนละ 1,387,000 รูเปีย แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องจ่ายภาษี 50,000 รูเปีย หรือไม่ ในขณะที่ซื้อแพ็คเก็จ คนละ 850,000 รูเปีย 2 คน 1,700,000 รูเปีย รวม ภาษี อีก 50,000 รูเปีย
เขาบอกว่า ตามเวลารถจะเข้า 13.30 น. แต่เรารอจนเกือบ 15.00 น. นั่งรถระยะยาว ทางผ่านเป็นที่ราบปลูกพริก ที่เราเรียกว่า พริกกะเหรี่ยง ออกลูกดกมาก ทั้งสองข้างทาง สลับกับหมู่บ้าน ที่เป็นบ้านชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน ส่วนใหญ่หลังคามุงกระเบื้อง ดูเก่าแก่ บางหลังมุงด้วยหญ้าคา ฝาเป็นเสื่อลำแพน มีเพิงที่ไพหญ้าคา คือ เอาหญ้าคาแห้งมัดกับไม้ให้เป็นตับด้วยตอก ก่อนเอาไปมุงหลังคา ชนบทในเมืองไทยหาดูยาก แต่ข้างถนนในอินโดนีเซีย มีให้เห็นเป็นระยะ ถนนมีแค่ 2 เลน เหมือนทางหลวงสายชนบทของไทย มีต้นไม้ 2 ข้างทาง ส่วนใหญ่เป็นต้นมะขาม รถวิ่งด้านซ้ายเหมือนไทย ไปเร็วไม่ได้เพราะถนนไม่ได้โล่ง คนขับต้องหาทางแซงไปเอง
หลัง 16.00 น. เล็กน้อย รถจอดให้เข้าห้องน้ำและกินข้าว ที่จุดพักรถ เมือง Sitobondo อาหารอย่างหนึ่งเหมือนแกงขี้เหล็กแต่ไม่น่าจะใช่ รสชาติเหมือนแกงผักหวานบ้าน เขาให้ตักข้าวเอง กับข้าว 2 อย่าง มีน้ำพริกแถม ให้อิ่มละ 20,000 รูเปีย อาหารอินโด คล้ายๆ ไทย แต่รสชาตินุ่มนวล ไปเผ็ด หรือ จี๊ดจ๊าด โดดเด้ง เหมือนอาหารที่ป้าชอบกิน แต่เป็นสเป็คของลุง ออกจากร้านอาหารรถวิ่งผ่านแนวทะเลยาวหลายกม. แต่เป็นทะเลขึ้โคลนเป็นป่าชายเลน
ต่อจากเมือง Sitobondo เป็นเมือง Katapa ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายปลายเกาะชวา ระหว่างทางเป็นเขตป่าสงวนปลูกต้นสักอายุเกิน 30 ปี แล้ว มีลิงป่าออกมาหากินใกล้แถวๆ ถนนหลวงยิ่งใกล้จะถึงท่าข้าม ได้เห็นว่ามีปางไม้อยู่หลายที่ คาดว่าเป็นไม้เนื้ออ่อน บ้านมีไม้เป็นส่วนประกอบเล็กน้อย แต่เป็นบ้านที่มีอายุเกินร้อยปีแน่ๆ เพราะหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องทรุดโทรม บางหลังทรุดจนไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้
เวลา 18.00 น. รถจอดที่สะพานแห่งหนึ่งก่อนถึงท่าข้าม มีชายคนหนึ่งขึ้นมา เขาทักทายทุกคนที่อยู่ในรัศมีสายตา เขาบอกว่าเขาทำงานเกี่ยวกับทัวร์และโรงแรม เขาจะแนะนำโรงแรมแถวๆสถานีขนส่งให้เรา เขาคุยกับคนไปทั่ว กว่ารถจะไปท่าเรือข้ามฟากก็เลยเวลา 19.30 น. เพราะเขารอเก็บผู้โดยสารให้ตลอดเต็มรถก่อนข้ามช่องแคบบาหลี
[CR][SR] “ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก” ตะลุยอินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ 14 วัน ตอนที่ 6 ภูเขาไฟโบรโม โปรโบลิงโก อินโดนีเซีย
ตอนที่ 6 โปรโบลิงโก ภูเขาไฟโบรโม
ตอนรถเข้าสถานี ต่างคนก็ต่างแยกไปขึ้นตู้ของตัวเอง พอขึ้นรถป้าก็นั่งทำงานพร้อมกับชาร์จแบ็ต แล้วก็ง่วงและหลับ จนกระทั่งใกล้ถึงโปรโบลิงโก้คนอื่นๆ เตรียมสัมภาระ เราก็รีบร้อนเก็บของแล้วลุงก็ถ่ายวิดีโอก่อนลงรถ ทำให้เราช้ากว่าเพื่อน ลงรถแล้วมองหารถเบรโมสีเขียว ที่อ่านในรีวิว แต่ไม่เห็นมี พอดีมีรถสามล้อถีบ (Bebekeb) มาติดต่อ บอกว่าที่สถานีรถไฟไม่มีรถเบรโมไปสถานีขนส่งแล้ว เขาไปกับจนท. ที่สถานี กับสามล้ออีกคนหนึ่ง เรียกค่าโดยสาร 50,000 รูเปีย ต่อได้ 40,000 รูเปีย
เขาพาไปทางลัดเข้าหมู่บ้านที่ดูสะอาดและเต็มไปด้วยต้นไม้ แต่ละต้นที่เขามีเราก็มีเหมือนกัน มะม่วง ฝรั่ง มะขาม มะยม ฯลฯ ระยะทางจากสถานีรถไฟถึงท่ารถประมาณ 5 กม. ถ้าเดินก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง เขาไม่ได้ไปส่งเราที่สถานีขนส่ง แต่ส่งที่สนง. DE JAVA TOUR (RIZAL JAVA 99 @ yahoo.com, dejava 10.nm@gmail.com, dayatslengean1@gmail.com) มีรูปภูเขาไฟอยู่ในสนง. อยู่ตรงข้ามเยื้องกับปั๊ม Pertamina หน้าปั๊มมีป้ายบอกราคาน้ำมันสีแดง อยู่ติดกับรั้วสีแดงที่มีป้ายชื่อ Konikota Probolingo พอลงจากรถสามล้อก็มีคนวิ่งมาบอกเรา ว่ารถจะมาตอนบ่ายโมงครึ่ง ตอนนั้นเพิ่ง 11.30 น.
คนที่วิ่งมาชื่อ RIZAL เป็นผู้จัดการสำนักงานการท่องเที่ยว เขาเขียนรายการให้ดูว่าแพ็คเกจทัวร์มีอะไรบ้าง รวมแล้วคนละ 875,000 รูเปีย 2 คนก็ 1,700,000 รูเปีย เป็นค่ารถไป-กลับโบรโม ค่าที่พักพร้อมอาหารเช้า ค่ารถไปดูพระอาทิตย์ขึ้น ค่าเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ ค่ารถไปบาหลีพร้อมค่าข้ามเรือเฟอรี่ มีฟรีวิฟิด้วย ในตั๋วเป็นโปรโบลิงโก้-เดนพาร์ซ่า พอจ่ายเงินเสร็จเขาบอกว่า ต้องจ่ายภาษีอีก 50,000 รูเปีย เสียยิบเสียย่อยจริงๆ เดาเอาว่า พอเขาเห็นว่า เราจ่ายง่าย เลยถือโอกาสให้เราจ่ายภาษีให้
หลังจากจ่ายเงินเสร็จ ดูเวลา เพิ่งเที่ยงกว่าเล็กน้อย แต่รถก็มารับ แล้วบอกว่าพร้อมเดินทาง จึงรู้ว่าเป็นบริการของทัวร์ เราไม่สามารถใช้บริการสาธารณะได้ รถไม่ได้เข้าสถานีขนส่ง คนขายทัวร์บอกเราว่า ให้แวะซื้อของในซุปเปอร์ข้างทางเตรียมเสบียงให้เรียบร้อย เพราะขึ้นไปบนนั้นของแพงมาก คนขับรถชื่อ ปาก้า (PAKA) ชวนเพื่อนไปด้วย ชื่อ ยูนุส (UNUS) จอดรถให้เราซื้อของ แล้วเดินทางต่อในขณะที่ฝนตกหนัก เขาขับรถเร็วมาก พอถึงจุดที่มีน้ำตก เขาก็หยุดรถให้ลงไปถ่ายภาพ ยูนุสลงไปช่วยถ่ายให้ พอถ่ายภาพเสร็จ ลุงกับยูนุสก็ยิงกระต่ายต่อ เพราะอากาศเย็นมาก
ปาก้า ถอยรถปั่นโคลนกระเด็นใส่ป้าทั้งหน้าและตัวเลอะเทอะ ป้าเพิ่งรู้ว่าเลอะมาก ตอนที่ขึ้นไปนั่งอยู่บนรถ แล้วเอามือจับกางเกง มือเปื้อนโคลน เช็ดตั้งนานยังไม่สะอาด ทางขึ้นภูเขามีลักษณะเหมือนทางจากฮอดไปแม่ฮ่องสอน 30 ปีที่แล้ว ตอนขับรถขึ้นไปผ่านหมู่บ้านมีดอกไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายดอกแคนา แต่ออกดอกบานคว่ำลง มีสีขาว กับสีเหลืองจำปา เราอยากถ่ายรูปมาก แต่ฝนตกตลอดทาง ถามปาก้า กับ ยูนุส บอกว่า ชื่อ กะจูบุ้ง แต่ป้าจำเป็น กะจุงบู้ หนุ่ม 2 คนขำป้าตลอดที่ป้าจำเป็นคำผวน ป้าบอกปาก้าว่า ขากลับช่วยจอดให้หน่อย เขาก็รับปาก พอรถไปถึงจุดคับขันเขาขับรถเบี่ยงไปมาเพื่อไม่ให้ลื่น จนในที่สุด เขาบอกให้ ลุงกับป้า ลงเดิน ยูนุส ก็ลงด้วย
เราไม่เข้าใจ คิดว่า ต้องเอาของลงทุกอย่างลุงจึงหอบน้ำขวดใหญ่ลงไปด้วย แต่ความจริง คือ ปาก้า กลัวว่า จะพาทุกคนตกเขา เขาจึง ขับรถไปคนเดียว รออยู่ข้างบน กว่าจะเดินไปถึง ก็ไม่มีใครหนาวกันแล้ว เพราะหอบกันจนซี่โครงบาน ขาก็จะไม่ยอมก้าวอีก ปาก้า ยกมือไหว้ขอโทษ เขาทำหน้ารู้สึกผิด เขาบอกว่า เขาเคยพาผู้โดยสารไปประสบอุบัติเหตุที่นั่น เขาจึงกลัวมาก
เมื่อถึงที่พัก RUDY HOME STAY ปาก้ากับยูนุสก็กลับ พร้อมกับขอทิป เขาบอกว่า พรุ่งนี้เพื่อนเขาจะมาพาไปดูพระอาทิตย์ขึ้น เป็นแบบนั้นไป ตอนถามก็ครับๆๆๆ คงแค่เอาตัวรอดเพราะขี้เกียจพูดภาษาอังกฤษ ทั้งบ้านมีเราอยู่ 2 คน พอหาปลั๊กชาร์จแบ็ตได้จึงรู้ว่า ทิ้งเพาเวอร์แบงค์ไว้บนรถไฟ เสียของอีกแล้ว รีบซักผ้า รีบนอน ฝนตกจนถึงเที่ยงคืน โชคดีที่ตอนเช้าฟ้าใส เวลานัดไปดูพระอาทิตย์ขึ้น 03.30 น. แต่คนไปรับไปถึงเวลา 04.00 น. ไม่รู้จะนัดเผื่อทำไม Free wifi ก็ใช้ไม่ได้ พอถามคนที่มารับตอนเช้าก็บอกว่า เครื่องมันเล็ก ความแรงไม่พอ
วันอังคารที่ 15 2558 : เราต้องไปรอคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวจากอินเดีย ชื่อ Shivangi Pathania กับ Prithu Sam Thulghaqia อีกตั้งนาน กว่าจะได้ไปจริงๆ รถไต่เขาตลอด ดูเหมือนไกล แต่ระยะทางประมาณ 2 กม. อย่าถามคนที่นั่นว่ากี่กม. กม. ของพวกเขายาวมาก ให้เอา 2 คูณ นั่นแหละ พอไปถึงเชิงเขาเขาจอดรถแล้วบอกว่าเขาจะรออยู่ที่รถ พวกม้าก็เข้ามารุมแล้วก็บอกว่า 2 กม. เดินไม่ไหวหรอก ตอนแรกป้าก็คิดว่า จะไม่ไหว แต่ค่อยๆไต่ขึ้นไปก็ไหวเหมือนกันพักหลายยกมาก
คนจูงม้าตามประกบไปจนแน่ใจว่าเราไม่ใช้บริการแล้วก็หยุดตาม จนถึงก่อนสุดทางขึ้นมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ดักอยู่บอกว่า 20,000 พอขึ้นไปถึงจุดพักที่ 1 จึงรู้ว่า ม้าจะขึ้นไปส่งแค่นั้น ใครที่ตกหลุมยอมขึ้นม้า ก็ต้องจ่าย 2 หมื่น แค่ระยะทางไม่ถึง 50 เมตร พอขึ้นไปข้างบนจึงเห็นควันพวยพุ่งขึ้นจากปล่องภูเขาไฟ นับเป็นโชคดีที่เราไปช่วงภูเขาไฟปะทุ ถ้าไม่ปะทุจะได้นั่งรถจี๊ปขึ้นไปอีกยอดหนึ่งที่ใกล้กว่านั้น แต่ไม่ได้เห็นควันพุ่งจากปากปล่องภูเขาไฟ ภูเขาไฟลูกที่กำลังปะทุอยู่ คือ Bromo ส่วนลูกที่ดับสนิทอยู่ด้านข้าง ชื่อ Batok และด้านหลัง ชื่อ Semeru ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในอินโดนีเซีย
คนขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคนอินโดฯจากต่างเมือง นักท่องเที่ยวต่างชาติมีเราเป็นคนไทยแค่ 2 คน มีชาวตะวันตกบ้างแต่ไม่มาก มีชาวเขาเอาดอกหญ้าขึ้นไปขายตามจุดพักมีน้ำดื่ม ชา กาแฟ เสื้อ พวงกุญแจ เป็นคนพื้นราบ ตอนรถไปส่งคู่หนุ่มสาวเราจึงเห็นว่า พวกเขาพักตรงจุดที่เห็นภูเขาไฟชัดมาก ก่อนถึงภูเขาไฟมีฮินดูสถานใหญ่โตที่พวกฮินดูมักจะเดินทางไปบวงสรวง ที่ราบระหว่างภูเขาสูงกับภูเขาไฟไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีแต่หญ้าที่ดูเหมือนว่าจะเฉาตายด้วยธารน้ำแข็ง หรือ ไม่ก็ลาวาจากภูเขาไฟ
กลับจากชมพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งความจริงเป็นการชมภูเขาไฟจากที่สูงมากกว่า มีอาหารเช้ามาส่ง เป็นข้าวผัดไข่คนละจาน กับน้ำชาหวาน คนละ 1 แก้ว ตอนเช้ามีแดด รีบเอาผ้าที่ซักไว้ออกไปตากที่ระเบียง คนขับรถรับส่งชื่อเดดี้ (Dedi) อารมณ์ดี แต่สูบบุหรี่ตลอดเวลา นัดรับ 09.00 น. ไปรับเราตั้งแต่ 08.15 น. ทำให้ผ้าไม่แห้ง และเราต้องไปรอคู่หนุ่มสาวจนถึงเวลานัด เพราะพวกเขาไม่เหมือนเราตกลงอย่างไรก็่ต้องว่าไปตามนั้น ที่พักของพวกเขาอยู่ในจุดที่เห็นภูเขาไฟได้ชัดเจนกว่าตอนขึ้นไปชมที่จุดสูงสุดอีก โรงแรมที่อยู่ทางขึ้นที่พักของพวกเขา ชื่อ Cemara Indah ความจริงจะพักที่ไหนก็ได้ แล้วก็ไปชมวิว และถ่ายรูปที่จุดนั้น เพราะเป็นจุดชมวิว
ระหว่างทางเราขอให้เขาชะลอรถให้เราได้บันทึกภาพดอกกะจูบุ้ง เขาก็รับปาก บางจุดเขาจอดให้แต่เราไม่ลง คู่หนุ่มสาวก็สนุกไปกับเราด้วย แต่ตอนทวงทิปเดดี้ทวงแต่เรา เพราะ 2คนนั้นไม่ได้มีท่าทีที่จะทำให้เขากล้าออกปากคุยด้วย พวกเขาก็ไม่คุยกับคนขับรถ แต่คุยกับเรา
รถไปส่งเราที่สนง. ประมาณ 10.15 น. เราได้ชาร์จแบ็ตจนเกือบเต็ม แต่การนั่งรอรถอยู่ตรงนั้น ก็ทให้เราได้เห็นวิธีการไปโบรโม่ อีกแบบหนึ่ง มีสาวเหมือนอินเดีย ผิวสีเข้ม ตาคม ผมเปีย ใส่ขาสั้น เสื้อยืด แบกเป้ ลงจากรถเบรโม่ (รถสองแถวเล็ก เป็นรถท้องถิ่น ที่เรามองหาที่สถานี แต่ไม่มี) สีเขียว เหลือง RIZAL วิ่งมาเสนอแพ็คเก็จ แต่เธอไม่สนใจ มีอีกคนวิ่งมา เสนอรถมอเตอร์ไซด์ในราคา ขึ้น 200,000 รูเปีย ลง 100,000 รูเปีย ไม่มีค่าที่พัก และค่าอื่นใด เธอตกลงตามนั้น และรถมอเตอร์ไซด์ก็มารับเธอไป
เป็นการชมโบรโม่แบบประหยัด ส่วนค่าที่พักก็ขึ้นไปหาเอาข้างบน การเดินขึ้นไปชมโบรโม่ ก็เดินตามๆ เข้าไป ค่าเข้าอุทยานก็ไปเสียข้างบน ถ้าไม่ขึ้นไปก็ไม่ต้องเสีย สำหรับรายการจ่าย ถ้าไม่ซื้อแพ็คเก็จ เขาแยกเป็นรายการ ได้แก่ ค่ารถขึ้น-ลง หมู่บ้านภูเขาไฟ 200.000 รูเปีย ค่าที่พัก 275,000 รูเปีย ค่าขึ้น-ลง เพื่อไปชมพระอาทิตย์ขึ้น 400,000 รูเปีย ค่าเข้าอุทยาน 217,000 รูเปีย ค่ารถไปเดนปาร์ซ่า บาหลี 275,000 รูเปีย ค่าเฟอรี่ข้ามฟาก 20,000 รูเปีย รวม คนละ 1,387,000 รูเปีย แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องจ่ายภาษี 50,000 รูเปีย หรือไม่ ในขณะที่ซื้อแพ็คเก็จ คนละ 850,000 รูเปีย 2 คน 1,700,000 รูเปีย รวม ภาษี อีก 50,000 รูเปีย
เขาบอกว่า ตามเวลารถจะเข้า 13.30 น. แต่เรารอจนเกือบ 15.00 น. นั่งรถระยะยาว ทางผ่านเป็นที่ราบปลูกพริก ที่เราเรียกว่า พริกกะเหรี่ยง ออกลูกดกมาก ทั้งสองข้างทาง สลับกับหมู่บ้าน ที่เป็นบ้านชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน ส่วนใหญ่หลังคามุงกระเบื้อง ดูเก่าแก่ บางหลังมุงด้วยหญ้าคา ฝาเป็นเสื่อลำแพน มีเพิงที่ไพหญ้าคา คือ เอาหญ้าคาแห้งมัดกับไม้ให้เป็นตับด้วยตอก ก่อนเอาไปมุงหลังคา ชนบทในเมืองไทยหาดูยาก แต่ข้างถนนในอินโดนีเซีย มีให้เห็นเป็นระยะ ถนนมีแค่ 2 เลน เหมือนทางหลวงสายชนบทของไทย มีต้นไม้ 2 ข้างทาง ส่วนใหญ่เป็นต้นมะขาม รถวิ่งด้านซ้ายเหมือนไทย ไปเร็วไม่ได้เพราะถนนไม่ได้โล่ง คนขับต้องหาทางแซงไปเอง
หลัง 16.00 น. เล็กน้อย รถจอดให้เข้าห้องน้ำและกินข้าว ที่จุดพักรถ เมือง Sitobondo อาหารอย่างหนึ่งเหมือนแกงขี้เหล็กแต่ไม่น่าจะใช่ รสชาติเหมือนแกงผักหวานบ้าน เขาให้ตักข้าวเอง กับข้าว 2 อย่าง มีน้ำพริกแถม ให้อิ่มละ 20,000 รูเปีย อาหารอินโด คล้ายๆ ไทย แต่รสชาตินุ่มนวล ไปเผ็ด หรือ จี๊ดจ๊าด โดดเด้ง เหมือนอาหารที่ป้าชอบกิน แต่เป็นสเป็คของลุง ออกจากร้านอาหารรถวิ่งผ่านแนวทะเลยาวหลายกม. แต่เป็นทะเลขึ้โคลนเป็นป่าชายเลน
ต่อจากเมือง Sitobondo เป็นเมือง Katapa ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายปลายเกาะชวา ระหว่างทางเป็นเขตป่าสงวนปลูกต้นสักอายุเกิน 30 ปี แล้ว มีลิงป่าออกมาหากินใกล้แถวๆ ถนนหลวงยิ่งใกล้จะถึงท่าข้าม ได้เห็นว่ามีปางไม้อยู่หลายที่ คาดว่าเป็นไม้เนื้ออ่อน บ้านมีไม้เป็นส่วนประกอบเล็กน้อย แต่เป็นบ้านที่มีอายุเกินร้อยปีแน่ๆ เพราะหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องทรุดโทรม บางหลังทรุดจนไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้
เวลา 18.00 น. รถจอดที่สะพานแห่งหนึ่งก่อนถึงท่าข้าม มีชายคนหนึ่งขึ้นมา เขาทักทายทุกคนที่อยู่ในรัศมีสายตา เขาบอกว่าเขาทำงานเกี่ยวกับทัวร์และโรงแรม เขาจะแนะนำโรงแรมแถวๆสถานีขนส่งให้เรา เขาคุยกับคนไปทั่ว กว่ารถจะไปท่าเรือข้ามฟากก็เลยเวลา 19.30 น. เพราะเขารอเก็บผู้โดยสารให้ตลอดเต็มรถก่อนข้ามช่องแคบบาหลี
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น