ถ้าไม่ได้ตั้งกติกาข้อนี้มาก่อนการประมูล แล้วพึ่งมาตั้งทีหลัง จะให้ใช้กติกานี้ลงโทษผู้ไม่ยอมชำระเงินค่าคลื่นที่ประมูลไป มันเป็นไปได้ยาก
ถ้าจะทำได้จริงก็คือ ตั้งทีมงานผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาวิจัยว่า หากผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินตามกติกาที่วางไว้จะทำให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่ประเทศชาติและส่วนอื่น คิดเป็นเงินเท่าไร แล้วจึงส่งฟ้องศาล
ถ้าศาลเห็นชอบว่า มูลค่าความเสียหายโดยรวมที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์เพียงพอที่จะเรียกเงินค่าส่วนต่างของการประมูลรอบใหม่จากผู้สละสิทธิ์ชนะการประมูล จึงจะไปเรียกเงินค่าส่วนต่างตรงนี้ได้
แนวทางลงโทษผู้กระทำผิดมีหลายแนวทาง
1.ให้ผู้ที่ไม่ยอมชำระเงินค่าประมูลยอมจ่ายเงินค่าส่วนต่างจากเงินค่าประมูลเดิม เช่น ประมูลรอบก่อนได้ 74,000 ล้านบาท แล้วผู้ชนะสละสิทธิ์ เอาคลื่นมาประมูลรอบใหม่ได้ราคา 20,000 ล้านบาท ผู้ชนะต้องจ่ายค่าส่วนต่าง คือ 74,000 ล้าน - 20,000 ล้าน = 54,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ที่ศาลเห็นชอบว่า มูลค่าความเสียหายโดยรวมอันเกิดจากการที่ผู้ชนะไม่ชำระเงินมีความสอดคล้องกับเงินค่าส่วนต่างการประมูลหรือไม่
2.ให้ผู้ไม่ยอมชำระเงินค่าประมูลจ่ายเงินค่าส่วนต่างจากที่ผู้แพ้ประมูลเสนอราคาไว้ เช่น ค่าย ก ชนะประมูลด้วยราคา 74,000 ล้านบาท ค่าย ข แพ้ประมูลด้วยราคา 72,000 ล้านบาทและค่าย ข คือผู้ต้องการตัวจริง. เมื่อค่าย ก สละสิทธิ์ไม่ชำระเงิน ทำให้ค่าย ข ประมูลรอบใหม่ไปในราคา 20,000 ล้านบาท ก็ให้ค่าย ก จ่ายเงินค่าส่วนต่างจากที่ค่าย ข เสนอไว้ครั้งแรก 72,000 - 20,000 = 52,000 ล้านบาท แนวทางจ่ายค่าปรับนี้จะเกิดขึ้นง่ายกว่าข้อที่ 1 สมเหตุสมผลกว่า เพราะผู้แพ้ประมูลอยู่ในฐานะที่ต้องการคลื่นจริง ยอมเสียเงินซึ่งเป็นมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริงในช่วงเวลานั้น แนวทางนี้ศาลน่าจะเห็นชอบมากกว่า
3.ถ้าข้อ 1 และ 2 ใช้ไม่ได้ ก็เอาตามที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ วิจัยว่า มูลค่าความเสียหายที่ผู้ชนะสละสิทธิ์การประมูล ได้สร้างมูลค่าความเสียหายแก่ประเทศตีเป็นเงินเท่าไร ค่อยยื่นฟ้องศาลตามจำนวนนั้นให้ศาลพิจารณาเอา ศาลสั่งจ่ายเท่าไร ผู้สละสิทธิ์ก็จ่ายตามศาลสั่ง ถ้าไม่จ่ายก็ค่อยตัดสิทธิ์ในการประมูลคลื่นความถี่ต่อไปทุกคลื่น
แต่คิดว่าโทษขั้นต่ำสุดเรื่องการปรับเงิน ถ้าไม่จ่ายจริง คือ ปรับเงินผู้สละสิทธิ์ตามราคาตั้งต้นใบอนุญาตไว้ก่อน เช่น ค่าใบอนุญาตอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ก็ปรับเงิน 10,000 ล้านบาท โทษสูงสุดก็คือ ปรับตามจำนวนเงินของส่วนต่างค่าประมูลจากราคาที่ผู้สละสิทธิ์เสนอไว้อย่างที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 1
และตัดสิทธิ์ผู้สละสิทธิ์ไม่ยอมจ่ายเงิน ไม่ให้ประมูลคลื่นใดๆซัก 3-4 รอบ เหมือนติด backlist ค้างค่าโทรศัพท์ ก็ไม่มีสิทธิ์เปิดเบอร์ใหม่ หรือติด backlist หนี้บัตรเครดิต จะเปิดบัตรใหม่ก็ไม่ได้ และถ้าไม่ยอมจ่ายค่าปรับก็ตัดสิทธิ์ประมูลคลื่นทุกคลื่นตลอดไป
กฎที่บอกว่าผู้ไม่ชำระเงินค่าประมูลต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่างจากการประมูลรอบใหม่ กติกานี้ตั้งมาก่อนการประมูลหรือไม่
ถ้าจะทำได้จริงก็คือ ตั้งทีมงานผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาวิจัยว่า หากผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินตามกติกาที่วางไว้จะทำให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่ประเทศชาติและส่วนอื่น คิดเป็นเงินเท่าไร แล้วจึงส่งฟ้องศาล
ถ้าศาลเห็นชอบว่า มูลค่าความเสียหายโดยรวมที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์เพียงพอที่จะเรียกเงินค่าส่วนต่างของการประมูลรอบใหม่จากผู้สละสิทธิ์ชนะการประมูล จึงจะไปเรียกเงินค่าส่วนต่างตรงนี้ได้
แนวทางลงโทษผู้กระทำผิดมีหลายแนวทาง
1.ให้ผู้ที่ไม่ยอมชำระเงินค่าประมูลยอมจ่ายเงินค่าส่วนต่างจากเงินค่าประมูลเดิม เช่น ประมูลรอบก่อนได้ 74,000 ล้านบาท แล้วผู้ชนะสละสิทธิ์ เอาคลื่นมาประมูลรอบใหม่ได้ราคา 20,000 ล้านบาท ผู้ชนะต้องจ่ายค่าส่วนต่าง คือ 74,000 ล้าน - 20,000 ล้าน = 54,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ที่ศาลเห็นชอบว่า มูลค่าความเสียหายโดยรวมอันเกิดจากการที่ผู้ชนะไม่ชำระเงินมีความสอดคล้องกับเงินค่าส่วนต่างการประมูลหรือไม่
2.ให้ผู้ไม่ยอมชำระเงินค่าประมูลจ่ายเงินค่าส่วนต่างจากที่ผู้แพ้ประมูลเสนอราคาไว้ เช่น ค่าย ก ชนะประมูลด้วยราคา 74,000 ล้านบาท ค่าย ข แพ้ประมูลด้วยราคา 72,000 ล้านบาทและค่าย ข คือผู้ต้องการตัวจริง. เมื่อค่าย ก สละสิทธิ์ไม่ชำระเงิน ทำให้ค่าย ข ประมูลรอบใหม่ไปในราคา 20,000 ล้านบาท ก็ให้ค่าย ก จ่ายเงินค่าส่วนต่างจากที่ค่าย ข เสนอไว้ครั้งแรก 72,000 - 20,000 = 52,000 ล้านบาท แนวทางจ่ายค่าปรับนี้จะเกิดขึ้นง่ายกว่าข้อที่ 1 สมเหตุสมผลกว่า เพราะผู้แพ้ประมูลอยู่ในฐานะที่ต้องการคลื่นจริง ยอมเสียเงินซึ่งเป็นมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริงในช่วงเวลานั้น แนวทางนี้ศาลน่าจะเห็นชอบมากกว่า
3.ถ้าข้อ 1 และ 2 ใช้ไม่ได้ ก็เอาตามที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ วิจัยว่า มูลค่าความเสียหายที่ผู้ชนะสละสิทธิ์การประมูล ได้สร้างมูลค่าความเสียหายแก่ประเทศตีเป็นเงินเท่าไร ค่อยยื่นฟ้องศาลตามจำนวนนั้นให้ศาลพิจารณาเอา ศาลสั่งจ่ายเท่าไร ผู้สละสิทธิ์ก็จ่ายตามศาลสั่ง ถ้าไม่จ่ายก็ค่อยตัดสิทธิ์ในการประมูลคลื่นความถี่ต่อไปทุกคลื่น
แต่คิดว่าโทษขั้นต่ำสุดเรื่องการปรับเงิน ถ้าไม่จ่ายจริง คือ ปรับเงินผู้สละสิทธิ์ตามราคาตั้งต้นใบอนุญาตไว้ก่อน เช่น ค่าใบอนุญาตอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ก็ปรับเงิน 10,000 ล้านบาท โทษสูงสุดก็คือ ปรับตามจำนวนเงินของส่วนต่างค่าประมูลจากราคาที่ผู้สละสิทธิ์เสนอไว้อย่างที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 1
และตัดสิทธิ์ผู้สละสิทธิ์ไม่ยอมจ่ายเงิน ไม่ให้ประมูลคลื่นใดๆซัก 3-4 รอบ เหมือนติด backlist ค้างค่าโทรศัพท์ ก็ไม่มีสิทธิ์เปิดเบอร์ใหม่ หรือติด backlist หนี้บัตรเครดิต จะเปิดบัตรใหม่ก็ไม่ได้ และถ้าไม่ยอมจ่ายค่าปรับก็ตัดสิทธิ์ประมูลคลื่นทุกคลื่นตลอดไป