คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
จากข้อมูลที่ให้มา เข้าใจว่าเป็นลักษณะของการแตกลายงาของปูนฉาบหรือ map cracking นะครับ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุดังนี้คือ
1. มีการรดน้ำอิฐก่อนการฉาบปูนน้อยเกินไป หรือไม่ได้รดน้ำ ทำขณะทำการฉาบ ทำให้ปูนฉาบสูญเสียน้ำเร็วเกินไป จึงเกิด
shrinkage crack ดังกล่าว
2. การฉาบปูนในขณะที่มีแดดจัดตกกระทบผิวผนังขณะที่ฉาบโดยเฉพาะช่วงบ่าย ทำให้ปูนฉาบสูญเสียน้ำเร็วเกินไปได้เช่นกัน
3. การฉาบลงฟองเร็วเกินไป ทำให้ฟองน้ำ absorb น้ำออกจากปูนฉาบ หรือฉาบไม่ถูกวิธี ก็เกิด shrinkage crack ได้เช่นเดียวกัน
วิธีการแก้ไข
1. ถ้าผนังปูนฉาบแตกร้าว (crack) และหลุดร่อน (delaminate) อาจต้องสกัดปูนฉาบเดิมออกและฉาบใหม่แล้วจึงทาสีใหม่
2. ถ้าผนังปูนฉาบแตกร้าว แต่ไม่หลุดร่อน และรอยร้าวไม่กว้างกว่า 2 mm. สามารถใช้ Filler หรือ Sealant ในการซ่อมแซมรอยร้าวก่อน แล้วจึงทาสีใหม่ โดยสีที่เลือกควรเป็นสีตระกูล elastomer หรือ สี cover crack
อันนี้แถม 5 รอยร้าวอันตราย สัญญาณเตือนภัยก่อนบ้านถล่ม!
1. รอยร้าวกลางคาน
ปัญหารอยร้าวกลางคาน จะเกิดจากการที่คานตัวนั้นจะต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้คานเกิดการแอ่นตัวลง ส่งผลให้คอนกรีตปริแตกออกเป็นรอยลักษณะเหมือนตัวยู (U) ล้อมคาน การแก้ไขเบื้องต้นให้ลองสำรวจสิ่งของที่อยู่เหนือบริเวณคาน หากมีสิ่งของที่มีน้ำหนักมากวางกดทับคานอยู่ ให้รีบเคลื่อนย้ายออกไปทันที
2. รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง
รอยร้าวในลักษณะนี้จะเกิดจากการแอ่นตัวของพื้นและคานที่อยู่เหนือผนังรองรับน้ำหนักไม่ไหว ส่งผลให้ผนังที่อยู่ติดกับโครงสร้างนั้นเกิดการแตกร้าว โดยลักษณะรอยร้าวมักเกิดขึ้นในบริเวณกลางผนังเป็นแนวดิ่งจากเพดานหรือจากพื้น ยาวไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงผนัง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมาก ออกไปจากบริเวณนั้นทันที
3. รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง
รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนังจะเกิดจากการที่เสาของบ้านในจุดใดจุดหนึ่งเกิดการทรุดตัวลง (สมมุตใน 1 ห้องมี 4 เสา อาจเป็นเสาที่ 3 ที่ทรุดตัวลง) ส่งผลให้ผนังเกิดรอยแตกร้าวขึ้น การแก้ไขเบื้องต้นให้เฝ้าระวังรอยร้าวนี้ โดยวัดความกว้างและความยาวของรอยร้าวแล้วจดบันทึกเอาไว้ หากรอยร้าวไม่ลามต่อก็ยังไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากรอยร้าวยังมีความกว้างและยาวลามต่อไปอย่างรวดเร็ว ต้องรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน
4. รอยร้าวในคาน ใกล้เสา
รอยร้าวลักณะนี้ จะเป็นรอยเฉียงๆ ปลายคานที่เชื่อมต่อกับเสาทั้งสองด้าน ลักษณะรอยร้าวเช่นนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยที่อันตรายมากเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากโครงสร้างของอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไม่ไหว กำลังจะฉีกแยกออกจากกัน หากใครเจอรอยร้าวลักษณะดังกล่าวให้รีบปรึกษาวิศกรโครงสร้างอย่างเร่งด่วน
5. รอยร้าวบนเพดาน
รอยร้าวลักษณะนี้จะเกิดจากเพดานที่ไม่มีคาน โดยลักษณะรอยร้าวนั้น หากเพดานเป็นเหล็กเสริมสองทางจะเป็นรอยกากบาททะแยงมุมเข้าหาเสาทั้ง 4 มุม แต่หากเป็นเหล็กเสริมทางเดียวจะเป็นรอยร้าวเส้นตรงขนานกับคานด้านใดด้านหนึ่ง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมากจากด้านบนออก และรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน
หากพบรอยร้าวข้างต้นในบริเวณที่พักอาศัยของตัวเองแล้วล่ะก็ ให้เฝ้าสังเกตรอยร้าวนั้นไว้โดยใช้ปากกาหรือดินสอขีดคร่อมรอยร้าว ให้เส้นที่ขีดตั้งฉากกับรอยร้าว วัดความยาวของเส้นที่ขีด แล้วจัดการจดบันทึกพร้อมระบุวันที่ไว้
http://www.infinitydesign.in.th/5-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1/24992
1. มีการรดน้ำอิฐก่อนการฉาบปูนน้อยเกินไป หรือไม่ได้รดน้ำ ทำขณะทำการฉาบ ทำให้ปูนฉาบสูญเสียน้ำเร็วเกินไป จึงเกิด
shrinkage crack ดังกล่าว
2. การฉาบปูนในขณะที่มีแดดจัดตกกระทบผิวผนังขณะที่ฉาบโดยเฉพาะช่วงบ่าย ทำให้ปูนฉาบสูญเสียน้ำเร็วเกินไปได้เช่นกัน
3. การฉาบลงฟองเร็วเกินไป ทำให้ฟองน้ำ absorb น้ำออกจากปูนฉาบ หรือฉาบไม่ถูกวิธี ก็เกิด shrinkage crack ได้เช่นเดียวกัน
วิธีการแก้ไข
1. ถ้าผนังปูนฉาบแตกร้าว (crack) และหลุดร่อน (delaminate) อาจต้องสกัดปูนฉาบเดิมออกและฉาบใหม่แล้วจึงทาสีใหม่
2. ถ้าผนังปูนฉาบแตกร้าว แต่ไม่หลุดร่อน และรอยร้าวไม่กว้างกว่า 2 mm. สามารถใช้ Filler หรือ Sealant ในการซ่อมแซมรอยร้าวก่อน แล้วจึงทาสีใหม่ โดยสีที่เลือกควรเป็นสีตระกูล elastomer หรือ สี cover crack
อันนี้แถม 5 รอยร้าวอันตราย สัญญาณเตือนภัยก่อนบ้านถล่ม!
1. รอยร้าวกลางคาน
ปัญหารอยร้าวกลางคาน จะเกิดจากการที่คานตัวนั้นจะต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้คานเกิดการแอ่นตัวลง ส่งผลให้คอนกรีตปริแตกออกเป็นรอยลักษณะเหมือนตัวยู (U) ล้อมคาน การแก้ไขเบื้องต้นให้ลองสำรวจสิ่งของที่อยู่เหนือบริเวณคาน หากมีสิ่งของที่มีน้ำหนักมากวางกดทับคานอยู่ ให้รีบเคลื่อนย้ายออกไปทันที
2. รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง
รอยร้าวในลักษณะนี้จะเกิดจากการแอ่นตัวของพื้นและคานที่อยู่เหนือผนังรองรับน้ำหนักไม่ไหว ส่งผลให้ผนังที่อยู่ติดกับโครงสร้างนั้นเกิดการแตกร้าว โดยลักษณะรอยร้าวมักเกิดขึ้นในบริเวณกลางผนังเป็นแนวดิ่งจากเพดานหรือจากพื้น ยาวไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงผนัง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมาก ออกไปจากบริเวณนั้นทันที
3. รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง
รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนังจะเกิดจากการที่เสาของบ้านในจุดใดจุดหนึ่งเกิดการทรุดตัวลง (สมมุตใน 1 ห้องมี 4 เสา อาจเป็นเสาที่ 3 ที่ทรุดตัวลง) ส่งผลให้ผนังเกิดรอยแตกร้าวขึ้น การแก้ไขเบื้องต้นให้เฝ้าระวังรอยร้าวนี้ โดยวัดความกว้างและความยาวของรอยร้าวแล้วจดบันทึกเอาไว้ หากรอยร้าวไม่ลามต่อก็ยังไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากรอยร้าวยังมีความกว้างและยาวลามต่อไปอย่างรวดเร็ว ต้องรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน
4. รอยร้าวในคาน ใกล้เสา
รอยร้าวลักณะนี้ จะเป็นรอยเฉียงๆ ปลายคานที่เชื่อมต่อกับเสาทั้งสองด้าน ลักษณะรอยร้าวเช่นนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยที่อันตรายมากเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากโครงสร้างของอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไม่ไหว กำลังจะฉีกแยกออกจากกัน หากใครเจอรอยร้าวลักษณะดังกล่าวให้รีบปรึกษาวิศกรโครงสร้างอย่างเร่งด่วน
5. รอยร้าวบนเพดาน
รอยร้าวลักษณะนี้จะเกิดจากเพดานที่ไม่มีคาน โดยลักษณะรอยร้าวนั้น หากเพดานเป็นเหล็กเสริมสองทางจะเป็นรอยกากบาททะแยงมุมเข้าหาเสาทั้ง 4 มุม แต่หากเป็นเหล็กเสริมทางเดียวจะเป็นรอยร้าวเส้นตรงขนานกับคานด้านใดด้านหนึ่ง การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมากจากด้านบนออก และรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างโดยด่วน
หากพบรอยร้าวข้างต้นในบริเวณที่พักอาศัยของตัวเองแล้วล่ะก็ ให้เฝ้าสังเกตรอยร้าวนั้นไว้โดยใช้ปากกาหรือดินสอขีดคร่อมรอยร้าว ให้เส้นที่ขีดตั้งฉากกับรอยร้าว วัดความยาวของเส้นที่ขีด แล้วจัดการจดบันทึกพร้อมระบุวันที่ไว้
http://www.infinitydesign.in.th/5-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1/24992
แสดงความคิดเห็น
รบกวนสอบถามเรื่องรอยร้าวที่ผนังครับ
ผมซื้อทาวน์เฮาส์ของ พฤกษาไว้เพิ่งอยู่อาศัยได้ 2 เดือ พอดีเมื่อวานฝนตกค่อนข้างแรง ผมจึง เดินตรวจสอบพวกรอยรั่วซึม ก็ไปเจอ รอยร้าวตามรูปครับซึ่งร้าวเป็นแนวยาวเลย จุดที่เป็นรอยบุ๋ม คือผมแค่ลองกดๆ ก็เป็นตามรูปเลย พอดีเป็นบ้านหลังมุม ผมจึง ออกไปดูที่ผนังด้านนอก ก็พบรอยร้าวเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน แต่มีลักษณะเหมือนเขาเอาสีมาทาทับเอาไว้
มีแจ้งซ่อมไปแล้วครับ นัดพรุ่งนี้ ไม่ทราบว่า แบบนี้จะมีปัญหาระยะยาวมั้ยครับ