เราทุกคนล้วนเคยผ่านชีวิตวัยเด็ก ผ่านเรื่องราววัยเรียนมาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะมีโอกาสมาก มีโอกาสน้อยที่จะได้เรียน แต่ก็เชื่อว่าทุกคน้วนย่อมมีครู...ครูผู้ให้ ครูผู้สร้าง ครูผู้พัฒนา อบรมบ่มจิตใจ ให้เราเป็นบุคคลที่มีความรู้คู่ไปกับความคิดที่ดี
ในช่วงชีวิตหนึ่งของชายชาติทหารเอง นั้นก็มีครู ไม่ต่างไปจากนักเรียน นักศึกษา เพราะทหารก็ต้องได้รับการึก การอบรมบ่มสอน ทั้งที่เป็นเรื่องของภารกิจหน้าที่ และเรื่องของการใช้ชีวิตในรั้วสีเขียว.. และภารกิจรั้วของชาตินี่แหละที่ทำให้...ครูทหาร...นั้นมีอะไรที่พิเศษไปกว่า...ครูวิชาการ...
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงให้ความสําคัญและทรงแสดงให้รู้ถึงลักษณะของครู ดังกระแสพระราชดํารัส ตอนหนึ่งว่า
“การปลูกสติปัญญา ฝึกสอนคนให้เป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ดีนั้น เป็นหน้าที่สำคัญนัก
เป็นงานที่ต้องทำด้วยปัญญา ความคิดประกอบกับแรงกาย ในต้นนี้จะต้องใคร่ครวญให้เป็นแน่แก่ใจเสียก่อนว่า การฝึกสอนกล่อมเกลานั้นจะให้ได้รูปอย่างที่เรียกว่า เป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอันดีนั้นอย่างไร
แล้วจะต้องใช้วิธีฝึกฝน กล่อมเกลาให้สำเร็จรูปได้ดังประสงค์ซึ่งเป็นของยาก ต้องประกอบพร้อมด้วยสติปัญญาและความสามารถ ในการฝึกสอนอย่างดี จึงจะได้ผลสำเร็จตามปรารถนา
หน้าที่ของครูจึงควรยกย่องว่าเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งนัก ”
จากกระแสพระราชดํารัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเน้นให้เห็นวํา ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการที่จะสอน “คน” ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความยุ่งยากซับซ้อนที่สุด เพื่อให้เป็น “ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน” นั้นเป็นการยาก ครูจะต้องใช้ความพยายามต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจและสติปัญญาอย่างมากพระองค์จึงได้ทรงยกย่องว่าการสอนให้คนเป็น “ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ดี” นั้นเป็นหน้าที่อันสําคัญยิ่งนัก
สำหรับ คนเป็นครูแล้ว คือผู้มีบทบาทอย่างสําคัญที่สุดในการให้การศึกษา เพราะนอกจากทําหน้าที่สอนแล้วครูยังต้องทําหน้าที่อื่นๆ อีกหลายประการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศิษย์ ยิ่งถ้าเป็นครูทหารด้วยแล้ว ก็ต้องมีภาระหน้าที่เสริมในการพัฒนากําลังพลให้ตรงไปตามกฎ ตามเกณฑ์ สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพโดยตรงนั่นเอง โดยเฉพาะอยํางยิ่งการสอนและฝึกอบรมกําลังพลของกองทัพ มิได้มีความมุ่งหมายเพียงเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความรู้เทํานั้น แต่ยังต้องการให้ผู้เข้ารับการศึกษาพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ครูทหารที่ดี นอกจากจะต้องมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้แล้ว ยังต้องมีแนวความคิดที่รู้จักสร้างสรรค์และประยุกต์วิชาการที่เรียนรู้ไปแล้วให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ และสำคัญที่สุดคือต้องมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู และอาชีพทหาร
มีอยู่ 3 ความรับผิดชอบสำคัญ ที่ครูทหารจำเป็นต้องมี คือ
หนึ่ง- ความรับผิดชอบต่อกองทัพ
ครูทหารก็คือข้าราชการของกองทัพคนหนึ่ง ครูสามารถแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ และตั้งใจดีต่อกองทัพได้ด้วยการตั้งใจปฏิบัติราชการ มีเชาวน์ริเริ่มในการทํางาน เพื่อสร้างสรรค์กองทัพ หรือพยายามปฏิบัติภารกิจของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สอง- ความรับผิดชอบต่อผู้เรียน
ในฐานะเป็นครู ต้องถือว่าผู้เรียนเป็นบุคคลสําคัญที่ครูจะต้องให้ความสนใจ ครูต้องทําความเข้าใจผู้เรียนแต่ละคนของตนให้ถ่องแท้และพยายามปรับปรุงการสอนของตนให้ตรงต่อระดับการรับรู้และความสามารถของผู้เรียนครูจะต้องรู้จักจูงใจผู้เรียนให้ทำงานที่ครูมอบหมายด้วยถ้อยคําที่ชัดเจนและ เข้าใจง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องมีการวัดความก้าวหน้าด้วยการสังเกตและให้คำแนะนำต่อข้อควรปฏิบัติต่างๆ วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีวินัยดีครูต้องพยายามใช้เวลาในชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สาม- ความรับผิดชอบต่อสังคม
บุคคลทุกคนควรจะถือเป็นเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับใช้และพัฒนาสังคม ดังนั้นในฐานะที่ครูเป็นผู้มีการศึกษา จึงควรจะได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนมาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ที่ตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยให้ดีขึ้นทุกทาง การที่บุคคลจะดํารงชีพอยู่ในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นนั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ หากมีโอกาสจะได้บําเพ็ญประโยชน์อื่นใดให้แก่สังคมได้ ก็ควรกระทําทันที โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การปฏิบัติการทางครูนับเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในการทําให๎ภารกิจที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมกําลังพลของกองทัพสําเร็จ ลุล่วงไปด้วยดีครูเป็นผู้นําที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ผู้มีอาชีพครูต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตนต้องมีความรอบรู้ในวิชาที่ตนสอน รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมรู้จักปรับปรุงวิธีสอนให้ได้
ครูทหารอาวุโส ท่านหนึ่ง ถ่ายทอดแง่มุมที่มักบอกกับบรรดาทหารผู้เป็นศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ให้เราฟังว่า
“..ภารกิจของกองทัพจะสําเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกตําแหน่งหน้าที่ ชํวยกันปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีงานใดจะสําคัญกว่างานอื่น และสามารถปฏิบัติให้สําเร็จลุล่วงไปได้โดยลําพัง
และในทางตรงข้ามไมํมีงานใดที่จะไม่มีความสำคัญเสียเลยจนทุกชิ้น ต้องได้รับการปฏิบัติและปฏิบัติอยํางดีด้วย ทุกคนต้องเข้าใจและรู้สึกในคุณค่าของการร่วมมือกัน แต่ละคนย่อมมีทักษะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป ถ้าทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังแล้ว ภารกิจของกองทัพย่อมสำเร็จเสมอ ....”
ครูเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ความเข้าใจ และความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นได้..
ลิขสิทธิ์บทความของ
emaginfo.com
3 ความรับผิดชอบที่น่ายกย่องของ ครูทหาร
ในช่วงชีวิตหนึ่งของชายชาติทหารเอง นั้นก็มีครู ไม่ต่างไปจากนักเรียน นักศึกษา เพราะทหารก็ต้องได้รับการึก การอบรมบ่มสอน ทั้งที่เป็นเรื่องของภารกิจหน้าที่ และเรื่องของการใช้ชีวิตในรั้วสีเขียว.. และภารกิจรั้วของชาตินี่แหละที่ทำให้...ครูทหาร...นั้นมีอะไรที่พิเศษไปกว่า...ครูวิชาการ...
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงให้ความสําคัญและทรงแสดงให้รู้ถึงลักษณะของครู ดังกระแสพระราชดํารัส ตอนหนึ่งว่า
“การปลูกสติปัญญา ฝึกสอนคนให้เป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ดีนั้น เป็นหน้าที่สำคัญนัก
เป็นงานที่ต้องทำด้วยปัญญา ความคิดประกอบกับแรงกาย ในต้นนี้จะต้องใคร่ครวญให้เป็นแน่แก่ใจเสียก่อนว่า การฝึกสอนกล่อมเกลานั้นจะให้ได้รูปอย่างที่เรียกว่า เป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอันดีนั้นอย่างไร
แล้วจะต้องใช้วิธีฝึกฝน กล่อมเกลาให้สำเร็จรูปได้ดังประสงค์ซึ่งเป็นของยาก ต้องประกอบพร้อมด้วยสติปัญญาและความสามารถ ในการฝึกสอนอย่างดี จึงจะได้ผลสำเร็จตามปรารถนา
หน้าที่ของครูจึงควรยกย่องว่าเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งนัก ”
จากกระแสพระราชดํารัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเน้นให้เห็นวํา ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการที่จะสอน “คน” ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความยุ่งยากซับซ้อนที่สุด เพื่อให้เป็น “ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน” นั้นเป็นการยาก ครูจะต้องใช้ความพยายามต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจและสติปัญญาอย่างมากพระองค์จึงได้ทรงยกย่องว่าการสอนให้คนเป็น “ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ดี” นั้นเป็นหน้าที่อันสําคัญยิ่งนัก
สำหรับ คนเป็นครูแล้ว คือผู้มีบทบาทอย่างสําคัญที่สุดในการให้การศึกษา เพราะนอกจากทําหน้าที่สอนแล้วครูยังต้องทําหน้าที่อื่นๆ อีกหลายประการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศิษย์ ยิ่งถ้าเป็นครูทหารด้วยแล้ว ก็ต้องมีภาระหน้าที่เสริมในการพัฒนากําลังพลให้ตรงไปตามกฎ ตามเกณฑ์ สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพโดยตรงนั่นเอง โดยเฉพาะอยํางยิ่งการสอนและฝึกอบรมกําลังพลของกองทัพ มิได้มีความมุ่งหมายเพียงเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความรู้เทํานั้น แต่ยังต้องการให้ผู้เข้ารับการศึกษาพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ครูทหารที่ดี นอกจากจะต้องมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้แล้ว ยังต้องมีแนวความคิดที่รู้จักสร้างสรรค์และประยุกต์วิชาการที่เรียนรู้ไปแล้วให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ และสำคัญที่สุดคือต้องมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู และอาชีพทหาร
มีอยู่ 3 ความรับผิดชอบสำคัญ ที่ครูทหารจำเป็นต้องมี คือ
หนึ่ง- ความรับผิดชอบต่อกองทัพ
ครูทหารก็คือข้าราชการของกองทัพคนหนึ่ง ครูสามารถแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ และตั้งใจดีต่อกองทัพได้ด้วยการตั้งใจปฏิบัติราชการ มีเชาวน์ริเริ่มในการทํางาน เพื่อสร้างสรรค์กองทัพ หรือพยายามปฏิบัติภารกิจของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สอง- ความรับผิดชอบต่อผู้เรียน
ในฐานะเป็นครู ต้องถือว่าผู้เรียนเป็นบุคคลสําคัญที่ครูจะต้องให้ความสนใจ ครูต้องทําความเข้าใจผู้เรียนแต่ละคนของตนให้ถ่องแท้และพยายามปรับปรุงการสอนของตนให้ตรงต่อระดับการรับรู้และความสามารถของผู้เรียนครูจะต้องรู้จักจูงใจผู้เรียนให้ทำงานที่ครูมอบหมายด้วยถ้อยคําที่ชัดเจนและ เข้าใจง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องมีการวัดความก้าวหน้าด้วยการสังเกตและให้คำแนะนำต่อข้อควรปฏิบัติต่างๆ วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีวินัยดีครูต้องพยายามใช้เวลาในชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สาม- ความรับผิดชอบต่อสังคม
บุคคลทุกคนควรจะถือเป็นเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับใช้และพัฒนาสังคม ดังนั้นในฐานะที่ครูเป็นผู้มีการศึกษา จึงควรจะได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนมาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ที่ตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยให้ดีขึ้นทุกทาง การที่บุคคลจะดํารงชีพอยู่ในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นนั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ หากมีโอกาสจะได้บําเพ็ญประโยชน์อื่นใดให้แก่สังคมได้ ก็ควรกระทําทันที โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การปฏิบัติการทางครูนับเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในการทําให๎ภารกิจที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมกําลังพลของกองทัพสําเร็จ ลุล่วงไปด้วยดีครูเป็นผู้นําที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ผู้มีอาชีพครูต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตนต้องมีความรอบรู้ในวิชาที่ตนสอน รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมรู้จักปรับปรุงวิธีสอนให้ได้
ครูทหารอาวุโส ท่านหนึ่ง ถ่ายทอดแง่มุมที่มักบอกกับบรรดาทหารผู้เป็นศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ให้เราฟังว่า
“..ภารกิจของกองทัพจะสําเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกตําแหน่งหน้าที่ ชํวยกันปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีงานใดจะสําคัญกว่างานอื่น และสามารถปฏิบัติให้สําเร็จลุล่วงไปได้โดยลําพัง
และในทางตรงข้ามไมํมีงานใดที่จะไม่มีความสำคัญเสียเลยจนทุกชิ้น ต้องได้รับการปฏิบัติและปฏิบัติอยํางดีด้วย ทุกคนต้องเข้าใจและรู้สึกในคุณค่าของการร่วมมือกัน แต่ละคนย่อมมีทักษะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป ถ้าทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังแล้ว ภารกิจของกองทัพย่อมสำเร็จเสมอ ....”
ครูเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ความเข้าใจ และความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นได้..
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com