เกี่ยงจัสมินเพิ่มทุนก่อนให้กู้ ปรับสัดส่วนการเงินให้เหมาะสม ธนาคารยื่นเงื่อนไขป้องกันเสี่ยง
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาการยื่นขอสนับสนุนทางการเงินของบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ผู้ชนะการประมูลใบอนุญาต 4จี คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ยังคงอยู่ระหว่างหาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน เพื่อออกหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) เพื่อนำไปวางค้ำประกันคู่กับการชำระเงินงวดแรก ที่มีกำหนดภายใน 90 วัน หรือในวันที่ 18 มี.ค.นี้ อย่างช้าไม่เกินวันที่ 21 มี.ค. 2559
ทั้งนี้ ตามหลักการของการพิจารณาสินเชื่อ คือ ต้องดูความสามารถของการจ่ายคืนเงินกู้ ต้องดูโครงการหากทำสำเร็จแล้วจะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ โครงการนี้ดีอย่างไร ผู้กู้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจแค่ไหน สภาพการแข่งขันของธุรกิจ พฤติกรรมของผู้กู้เป็นอย่างไร ความสามารถในการลงทุนมีเงินทุนเพียงพอที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ เพราะการกู้มากไปก็ส่งผลกับความสามารถในการจ่ายคืนและกำไร
"ธนาคารมีขอบเขตจำกัดในการให้สินเชื่อ ไม่สามารถออกแบงก์การันตีรายเดียวได้ เพราะเฉียดจะติดเพดานการให้สินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ (ซิงเกิ้ล เลนดิ้ง ลิมิต) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ ฉะนั้นการให้สินเชื่อแก่ JAS จะต้องเป็นการร่วมปล่อยกู้ (ซินดิเคทโลน)" แหล่งข่าวเปิดเผย
สำหรับ สิ่งที่จะทำให้การพิจารณาสินเชื่อเร็วขึ้น คือ JAS จะต้องจัดสัดส่วนการเงินให้เหมาะสม โดยเฉพาะสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากมีทุนต่ำก็จะต้องเพิ่มทุนขึ้นมาเพื่อให้สัดส่วนการเงินเหมาะสม
น.ส.มินทรา รัตยาภาส นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากงบแสดงฐานะการเงินของ JAS ณ สิ้นปี 2558 ถือว่าดี โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ดี/อี เรโช) อยู่ระดับต่ำเพียง 0.15 เท่า มีความสามารถกู้ได้ แต่หลักประกันสินทรัพย์ของกลุ่ม JAS อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการขายสินทรัพย์ของทรีบรอดแบนด์ บริษัทลูกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB เข้ากองแล้ว ทำให้สินทรัพย์หลักประกันเหลืออยู่ราว 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่สูงพอกับความต้องการใช้เงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นกับว่าสถาบันการเงินจะอนุมัติวงเงินได้ตามที่ต้องการหรือไม่
ทั้งนี้ ตามหลักการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจะต้องเรียกหลักประกันอย่างน้อย 80% ของวงเงิน จากการวิเคราะห์เบื้องต้นว่า JAS มีความต้องการเงินทุนราว 1 แสนล้านบาท และแบงก์การันตีที่ธนาคารออกให้ก็จะกลับมาเป็นเงินกู้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า A11)
เกี่ยงจัสมินเพิ่มทุนก่อนให้กู้ ปรับสัดส่วนการเงินให้เหมาะสม ธนาคารยื่นเงื่อนไขป้องกันเสี่ยง
เกี่ยงจัสมินเพิ่มทุนก่อนให้กู้ ปรับสัดส่วนการเงินให้เหมาะสม ธนาคารยื่นเงื่อนไขป้องกันเสี่ยง
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาการยื่นขอสนับสนุนทางการเงินของบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ผู้ชนะการประมูลใบอนุญาต 4จี คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ยังคงอยู่ระหว่างหาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน เพื่อออกหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) เพื่อนำไปวางค้ำประกันคู่กับการชำระเงินงวดแรก ที่มีกำหนดภายใน 90 วัน หรือในวันที่ 18 มี.ค.นี้ อย่างช้าไม่เกินวันที่ 21 มี.ค. 2559
ทั้งนี้ ตามหลักการของการพิจารณาสินเชื่อ คือ ต้องดูความสามารถของการจ่ายคืนเงินกู้ ต้องดูโครงการหากทำสำเร็จแล้วจะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ โครงการนี้ดีอย่างไร ผู้กู้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจแค่ไหน สภาพการแข่งขันของธุรกิจ พฤติกรรมของผู้กู้เป็นอย่างไร ความสามารถในการลงทุนมีเงินทุนเพียงพอที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ เพราะการกู้มากไปก็ส่งผลกับความสามารถในการจ่ายคืนและกำไร
"ธนาคารมีขอบเขตจำกัดในการให้สินเชื่อ ไม่สามารถออกแบงก์การันตีรายเดียวได้ เพราะเฉียดจะติดเพดานการให้สินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ (ซิงเกิ้ล เลนดิ้ง ลิมิต) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ ฉะนั้นการให้สินเชื่อแก่ JAS จะต้องเป็นการร่วมปล่อยกู้ (ซินดิเคทโลน)" แหล่งข่าวเปิดเผย
สำหรับ สิ่งที่จะทำให้การพิจารณาสินเชื่อเร็วขึ้น คือ JAS จะต้องจัดสัดส่วนการเงินให้เหมาะสม โดยเฉพาะสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากมีทุนต่ำก็จะต้องเพิ่มทุนขึ้นมาเพื่อให้สัดส่วนการเงินเหมาะสม
น.ส.มินทรา รัตยาภาส นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากงบแสดงฐานะการเงินของ JAS ณ สิ้นปี 2558 ถือว่าดี โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ดี/อี เรโช) อยู่ระดับต่ำเพียง 0.15 เท่า มีความสามารถกู้ได้ แต่หลักประกันสินทรัพย์ของกลุ่ม JAS อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการขายสินทรัพย์ของทรีบรอดแบนด์ บริษัทลูกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB เข้ากองแล้ว ทำให้สินทรัพย์หลักประกันเหลืออยู่ราว 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่สูงพอกับความต้องการใช้เงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นกับว่าสถาบันการเงินจะอนุมัติวงเงินได้ตามที่ต้องการหรือไม่
ทั้งนี้ ตามหลักการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจะต้องเรียกหลักประกันอย่างน้อย 80% ของวงเงิน จากการวิเคราะห์เบื้องต้นว่า JAS มีความต้องการเงินทุนราว 1 แสนล้านบาท และแบงก์การันตีที่ธนาคารออกให้ก็จะกลับมาเป็นเงินกู้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า A11)