เพราะทึ่งเกาหลีหลายสิ่งมาก
เป็นที่มาให้ตามล่าหาขุมทรัพย์ ที่มา อะไรหนา ทำให้เกาหลีน่าทึ่งอย่างนี้
ตอนก่อนหน้า
#Interlude (ตอน +)
#แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (ตอน ++)
#ใจระทึกตึกตัก…กับซามุลโนรี (ตอน ++)
http://ppantip.com/topic/34729865
#ถึง หนุ่มเกาหลีคนนั้นในงานเต้นรำ Folk song dance (ตอน ++)
http://ppantip.com/topic/34733950/comment2
และตอนนี้ ...
ในละครเกาหลี มีขุมทรัพย์
ใครเห็นด้วย ว่าในละครเกาหลี มีขุมทรัพย์อะไรทำนองนี้ ส่งเสียงเมนต์เมิ้นกันบ้างนะจ๊าาา
………
“ความมหัศจรรย์ เป็นอีกชื่อหนึ่ง ของการทำงานหนัก”
기적은 노력의 또 다른 이름이다.
(จากละคร To the beautiful you : คำคมประจำใจของ Kang Tae Joon )
………
ไม่ว่ามันจะเป็นอารมณ์อะไร ละครเกาหลีส่วนใหญ่จะพาเราเข้าไปสัมผัสอารมณ์นั้นได้ในระดับอณูเซลล์แบบ 4D ชนิดน้ำลายตัวแสดงแทบจะกระเด็นออกมานอกจอ
และเมื่อมองลงไปอีกครั้งให้ลึก
ทะลุใบหน้าศัลยกรรม เอ้ย! ให้ทะลุเบื้องหน้า ภาพ ฉาก แสง สี เสียง ของละครเกาหลี
มันเหมือนมีอะไรบางอย่าง ที่ซ่อนอยู่ เป็นขุมทรัพย์….คาถาความสำเร็จหนังเกาหลี…ฉันว่าฉันเห็นนะ…
1) ใช้ความรู้ขับเคลื่อนงาน (Knowledged based)
………
การเรียนรู้ คือจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่ง..
การเรียนรู้คือจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี…
การเรียนรู้คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาจิตวิญญาณ…
การค้นหาและเรียนรู้ คือกระบวนการเริ่มต้นของความมหัศจรรย์
(Jim Rohn)
………
เกาหลีขึ้นชื่อว่า พัฒนาเศรษฐกิจจนก้าวหน้าติดจรวดแบบนี้ ด้วยกลยุทธ์ Knowledged based economic แปลว่า พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้
ซึ่งไม่ใช่จะพัฒนาเฉพาะในวงการใดวงการหนึ่งเท่านั้น อาจเน้นบางด้านเป็นพิเศษ แต่พัฒนาทุกด้าน ไม่ใช่เฉพาะ IT, วิศวะ แพทย์, นิติ, หรือบริหารธุรกิจเท่านั้น …วงการสื่อสารมวลชน วงการละครก็ไม่ธรรมดา
เกาหลีทำละครสื่ออารมณ์ให้เข้ามานั่งในใจคนดู ให้ซึ้ง สั่น เศร้าอย่างอินได้ไปทั่วโลก…ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
แต่เพราะเขาลงมือทำสิ่งนั้น พร้อมกับศึกษาอย่างคนที่จะทำให้มันดีจริงๆ ไม่ใช่แค่ให้พอใช้ได้ หรือให้พอผ่าน เรียกว่า การศึกษาทำให้ถึงจริงนั้น เป็นนิสัยอยู่ในกมลสันดานของคนเกาหลีไปเรียบร้อย ด้วยสภาวะแวดล้อมและประวัติศาสตร์ที่บีบคั้น พวกเขาจำเป็นต้องเก่งจริง เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้พ้นจากสภาพที่พังพินาศจากภัยสงคราม
พอดูมากๆ แล้วก็เห็นว่า ศาสตร์การแสดงของเกาหลี เขาทำมันอย่างลึกถึงกึ๋น โดยเฉพาะ อวจนภาษาทั้งหลาย คือ การแสดงออกอื่นๆ ที่ไม่ใช่คำพูด (เช่น น้ำเสียง จังหวะ สีหน้า สายตา กล้ามเนื้อ ท่าทาง ระยะห่าง กริยาอาการต่างๆ)
ในคลาสอบรมหัวข้อเรื่อง “การสื่อสาร” ที่จริงๆ เป็นคลาสเพื่อเทรนพนักงานให้บริการลูกค้า ของบริษัทเกาหลีที่มีชื่อเสียงเรื่องการให้บริการลูกค้าแห่งหนึ่ง จะมีงานวิจัยหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยมาก คือ งานวิจัยของ Mehrabian (1967) ซึ่งบอกว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการสื่อสารความรู้สึกและทัศนคติ คือ คำพูด 7% , น้ำเสียง 38% และ สิ่งที่เห็น (สีหน้า, ท่าทาง, สายตา ฯลฯ) 55%
นั่นก็หมายความว่า คำพูด มีผล 7% ที่เหลืออีก 93% เป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่ใช่คำพูดโดยตรง ที่จะมีอิทธิพลต่อความเข้าใจของผู้รับสาร สูงมาก
แค่ท่องบทพูดถูกต้องตรงเป๊ะ ไม่ได้หมายความว่า นักแสดงคนนั้นจะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวละครตัวนั้นต้องการจะบอกออกมาได้
ดังนั้น จะเห็นเลยว่า ละคร หรือหนังเกาหลี จะเน้นไม่เฉพาะบทพูด แต่ระยะเวลาความเงียบ จังหวะ ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง จะคือส่วนสำคัญของการแสดงให้เป็นธรรมชาติ หลายครั้งไม่ต้องพูด แต่แสดงท่าทาง การเคลื่อนมือ หรือสีหน้า ก็รู้ว่าหมายถึงอะไร จากการสังเกต และจากที่เรียนเรื่องจิตใต้สำนึกมา… เห็นเลยว่า ดาราเกาหลีรู้เรื่องจิตใต้สำนึกมาแบบไม่ธรรมดา การกลอกตา และการกระพริบตาของดาราเกาหลี ก็คือ ส่วนหนึ่งของเทคนิคการแสดงเหมือนกัน ไม่ใช่กลอกตามั่วซั่วไปเรื่อยเปื่อย แต่ถ้าคิดถึงอนาคตต้องกลอกตาไปด้านขวา ถ้าเสียใจ ถ้าลังเลใจ ต้องกระพริบตา ต้องส่งสายตาแบบไหน …มันถึงเป็นการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะชีวิตจริงคนเราก็สื่อสารกันอย่างนี้
นอกจากนี้ ละครเกาหลีใช้วิชาจิตวิทยาสูงมว๊ากกกก เหนือชั้นมว๊ากกก ไม่ค่อยเคยปรากฎกลยุทธ์การวางตัวละครเทพอย่างเอิกเริกขนาดนี้จากละครประเทศใด คือ จัดให้นางรองสวยกว่านางเอก นางเอกหน้าตาบ้านมาก จนเป็นสไตล์เลย (บางเรื่องนางเอกก็สวยมากจริงๆ นะ แต่หลายเรื่องมาก ที่นางเอก ไม่ได้สวยเลย หรือสวย แต่มาแต่งหน้าซะดูธรรมดาบ้านช่องเลย) …เป็นแนวคิดที่กลับตาลปัตรกับที่เราคุ้นเคยมากทีเดียว อย่างมาก นางเอกก็จะสวยไม่แพ้นางร้ายหรือนางรอง ส่วนใหญ่ เรามักให้นางเอกสวยกว่า…แต่ของเกาหลีนี่คือ ตั้งใจให้ดูด้อยกว่าเลย ไม่ว่าจะแต่งหน้าน้อยกว่า หรือเลือกที่หน้าตาไม่ใช่แค่เป็นรองนะ …เอาระดับหน้าตาบ้านๆ มาเลย เช่น แบดูนา (คุณแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย Lady of dignity เรื่องนี้เก่าแล้ว แต่เป็นเรื่องที่สุดอะเมซิ่ง ทำเราเดี๋ยวหัวเราะหงายหลัง เดี๋ยวร้องไห้ตาบวมเป่ง เรื่องราวไม่น่าจะสนุกไปได้ แต่สนุกสุดๆ ไปเลย)
,
กง ฮโยจิน (Sangdoo Let’s go to school บันทึกหัวใจนายซางดู, Thank you, It’s okay that’s love, The greatest love),
Cr. blike.net
แบบว่า…รู้สึกตัวเองคงมีหวังเหมือนกันนะ..ถ้าไป cast ที่เกาหลี (ฮา)
นี่มันคือ…การทำให้เป็นตัวแทนของคนดูทั่วไป ที่ก็คิดว่าตัวเองอาจไม่ได้สวยเลอเลิศอะไร หรือพวกเราคนดูเผลอๆ หน้าตาดีกว่านางเอกข้างต้น แต่ยิ่งเห็นเธอเหล่านี้เคลื่อนไหวในละคร พวกเธอยิ่งน่ารักมากขึ้นกว่าแรกเห็น และมันฟินสุดตรงที่ แม้จะหน้าบ้าน แต่ก็ได้ใจทั้งพระเอก และพระรองแสนประเสริฐมาครอบครองแบบหัวปักหัวปำเลยนะคะ
และบนเส้นทางกว่าจะเป็นดารา จะเห็นนักแสดงเกาหลีต้องผ่านบททดสอบมากมาย ทั้งการเรียนเป็นนักแสดงฝึกหัด หรือเล่นเป็นตัวรอง ตัวร้ายอะไรมาก่อน ไต่ขึ้นมากว่าจะเป็นตัวเอกได้
เช่น
(Cr. pinterest, soompi)
So Ji Sup กับ Kwan Seung Woo ก็เล่นเป็นตัวรอง (โดยเฉพาะ Kwan Seung Woo นี่เป็นตัวประกอบเลย) ใน สูตรรักนักปรุงรส (Delicious proposal) ก่อนจะเล่นเป็นพระเอกในภายหลัง โดยเฉพาะ โซจีซบนี่โดนมาหนักมากอยู่ เพราะเคยถูกคนตราหน้าว่า อย่าไปเป็นดาราเลย หรือไม่ก็ ไปทำศัลยกรรมก่อนค่อยเป็นนักแสดงดีไหม ตาปรือๆ ดูมึนๆ หน้าตาอย่างนี้ ไม่มีวันเป็นพระเอกดังได้หรอก…เอิ่ม…ไม่รู้ป่านนี้คนที่พูดดูถูกเหล่านั้นเงิบไปแล้วกี่สิบตลบ
เห็นดาราเกาหลีศึกษาตัวละครก็น่าสนใจนะ อ่านเจอบทสัมภาษณ์ของ ลีมินโฮ (Lee Min Ho) พระเอกดังจากละครเด่นเช่น F4 เกาหลี, Heirs, city hunter, personal taste เขาบอกว่า ก่อนแสดง เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวละครที่เขาจะแสดงก่อน 50 คำถาม เพื่อจะได้เข้าใจตัวละครนี้ให้ได้มากที่สุด เช่น เขาชอบไปที่ไหน, เขากลัวอะไรมากที่สุด ฯลฯ ก่อนจะทำให้คนดู “อิน” ตามได้ นักแสดงต้อง “อิน” สุดๆ เสียก่อน
ไม่แน่ใจว่านักแสดงบ้านเรามีกี่คนที่ทำการบ้านแบบนี้ คิดว่ามีนะ แต่ต้องเพิ่มปริมาณให้มีมากกว่านี้ คงจะดีไม่น้อย
ประกอบกับองค์ประกอบในเนื้อเรื่อง ที่เหมือนจริง ไม่ใช่เดาๆ มั่วๆ เช่น ฉากในโรงพยาบาล ป่วยเป็นโรคอะไร สภาพร่างกายแบบไหนตามท้องเรื่อง ก็สมจริง
หากเป็นละครเกี่ยวกับอาชีพเฉพาะทาง เช่น Love story in Harvard (กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด) ดูแล้วสงสัยอย่างยิ่งว่า คนเขียนบทเคยทำงานเป็นทนายมาก่อนรึเปล่านะ จบกฎหมายมาใช่ไหม ไปล่วงรู้ได้ยังไงพวก ช่องว่างรูโหว่ทางกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้ปมปัญหายิ่งใหญ่ในเรื่องคลี่คลายได้ ต่อให้ คิดแทนก็คิดไม่ออกด้วย เดาว่านักศึกษากฏหมายหลายคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำ (มาทราบทีหลังว่า ทีมเขียนบทของเกาหลีนั้น จะมีทีมที่ช่วยค้นคว้าวิจัยข้อมูลให้ด้วย …ถึงว่าสิ….)
ได้มีโอกาสคุยกับนักเขียนบทชื่อดังของเมืองไทยก็ได้รู้ว่า ตำรา และวิชาการเขียนบทไม่มีเป็นล่ำเป็นสันอยู่ในหนังสือเรียนของเมืองไทยเลย ราวกับเรื่องการเขียนบทเป็นวิชารอง เป็นเหมือนวิชาที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร เป็นแค่บทเดียวในตำราของวิชาในคณะนิเทศศาสตร์ แล้วจะไปคาดหวังให้ประเทศเราเขียนบทเก่งกาจสามารถได้ยังไง จะมีใครวางกลยุทธ์ให้ประเทศเราสร้าง Thaiwave เป็นคลื่นลูกต่อไปต่อจากเกาหลีบ้างไหม จะได้พัฒนาการศึกษาในเรื่องนี้ ขับเคลื่อนประเทศด้วย Creative economic ไม่ต้องไปเน้นอุตสาหกรรมหนักให้สภาพแวดล้อมของประเทศเสื่อมโทรม ประเทศอื่นที่ทำไปแล้วเกิดปัญหามากมายก็มีให้เห็นกลาดเกลื่อน เรื่องบันเทิงคนไทยชอบอยู่แล้วนี่ ทำให้เลิศ ทำให้เด่น แล้วส่งออกไปเลยดีไหม ฉากธรรมชาติอะไรของประเทศเขาก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรา เขายังทำจนโดดเด่นได้ ประเทศไทยวิวก็สวย เรื่องราวประวัติศาสตร์ก็มี สถานที่ก็ขลังอลังเลิศ ขนมโน่นนี่นั่นใหญ่ที่สุดในโลก เราก็ทำมานักต่อนักแล้ว ถ้าเรื่องนี้เราอยากทำให้เลิศจริงๆ ถ้าคนไทยเอาจริง ก็ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงมนุษย์จะทำได้อยู่แล้ว
(มีต่อ)
~~~ ล่าขุมทรัพย์สุดใจ ไทยเกาหลี #3~~~ ตอน ในละครเกาหลี มีขุมทรัพย์
เป็นที่มาให้ตามล่าหาขุมทรัพย์ ที่มา อะไรหนา ทำให้เกาหลีน่าทึ่งอย่างนี้
ตอนก่อนหน้า
#Interlude (ตอน +)
#แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (ตอน ++)
#ใจระทึกตึกตัก…กับซามุลโนรี (ตอน ++)
http://ppantip.com/topic/34729865
#ถึง หนุ่มเกาหลีคนนั้นในงานเต้นรำ Folk song dance (ตอน ++)
http://ppantip.com/topic/34733950/comment2
และตอนนี้ ...
ใครเห็นด้วย ว่าในละครเกาหลี มีขุมทรัพย์อะไรทำนองนี้ ส่งเสียงเมนต์เมิ้นกันบ้างนะจ๊าาา
“ความมหัศจรรย์ เป็นอีกชื่อหนึ่ง ของการทำงานหนัก”
기적은 노력의 또 다른 이름이다.
(จากละคร To the beautiful you : คำคมประจำใจของ Kang Tae Joon )
………
ไม่ว่ามันจะเป็นอารมณ์อะไร ละครเกาหลีส่วนใหญ่จะพาเราเข้าไปสัมผัสอารมณ์นั้นได้ในระดับอณูเซลล์แบบ 4D ชนิดน้ำลายตัวแสดงแทบจะกระเด็นออกมานอกจอ
และเมื่อมองลงไปอีกครั้งให้ลึก
ทะลุใบหน้าศัลยกรรม เอ้ย! ให้ทะลุเบื้องหน้า ภาพ ฉาก แสง สี เสียง ของละครเกาหลี
มันเหมือนมีอะไรบางอย่าง ที่ซ่อนอยู่ เป็นขุมทรัพย์….คาถาความสำเร็จหนังเกาหลี…ฉันว่าฉันเห็นนะ…
1) ใช้ความรู้ขับเคลื่อนงาน (Knowledged based)
การเรียนรู้ คือจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่ง..
การเรียนรู้คือจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี…
การเรียนรู้คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาจิตวิญญาณ…
การค้นหาและเรียนรู้ คือกระบวนการเริ่มต้นของความมหัศจรรย์
(Jim Rohn)
………
เกาหลีขึ้นชื่อว่า พัฒนาเศรษฐกิจจนก้าวหน้าติดจรวดแบบนี้ ด้วยกลยุทธ์ Knowledged based economic แปลว่า พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้
ซึ่งไม่ใช่จะพัฒนาเฉพาะในวงการใดวงการหนึ่งเท่านั้น อาจเน้นบางด้านเป็นพิเศษ แต่พัฒนาทุกด้าน ไม่ใช่เฉพาะ IT, วิศวะ แพทย์, นิติ, หรือบริหารธุรกิจเท่านั้น …วงการสื่อสารมวลชน วงการละครก็ไม่ธรรมดา
เกาหลีทำละครสื่ออารมณ์ให้เข้ามานั่งในใจคนดู ให้ซึ้ง สั่น เศร้าอย่างอินได้ไปทั่วโลก…ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
แต่เพราะเขาลงมือทำสิ่งนั้น พร้อมกับศึกษาอย่างคนที่จะทำให้มันดีจริงๆ ไม่ใช่แค่ให้พอใช้ได้ หรือให้พอผ่าน เรียกว่า การศึกษาทำให้ถึงจริงนั้น เป็นนิสัยอยู่ในกมลสันดานของคนเกาหลีไปเรียบร้อย ด้วยสภาวะแวดล้อมและประวัติศาสตร์ที่บีบคั้น พวกเขาจำเป็นต้องเก่งจริง เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้พ้นจากสภาพที่พังพินาศจากภัยสงคราม
พอดูมากๆ แล้วก็เห็นว่า ศาสตร์การแสดงของเกาหลี เขาทำมันอย่างลึกถึงกึ๋น โดยเฉพาะ อวจนภาษาทั้งหลาย คือ การแสดงออกอื่นๆ ที่ไม่ใช่คำพูด (เช่น น้ำเสียง จังหวะ สีหน้า สายตา กล้ามเนื้อ ท่าทาง ระยะห่าง กริยาอาการต่างๆ)
ในคลาสอบรมหัวข้อเรื่อง “การสื่อสาร” ที่จริงๆ เป็นคลาสเพื่อเทรนพนักงานให้บริการลูกค้า ของบริษัทเกาหลีที่มีชื่อเสียงเรื่องการให้บริการลูกค้าแห่งหนึ่ง จะมีงานวิจัยหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยมาก คือ งานวิจัยของ Mehrabian (1967) ซึ่งบอกว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการสื่อสารความรู้สึกและทัศนคติ คือ คำพูด 7% , น้ำเสียง 38% และ สิ่งที่เห็น (สีหน้า, ท่าทาง, สายตา ฯลฯ) 55%
นั่นก็หมายความว่า คำพูด มีผล 7% ที่เหลืออีก 93% เป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่ใช่คำพูดโดยตรง ที่จะมีอิทธิพลต่อความเข้าใจของผู้รับสาร สูงมาก
แค่ท่องบทพูดถูกต้องตรงเป๊ะ ไม่ได้หมายความว่า นักแสดงคนนั้นจะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวละครตัวนั้นต้องการจะบอกออกมาได้
ดังนั้น จะเห็นเลยว่า ละคร หรือหนังเกาหลี จะเน้นไม่เฉพาะบทพูด แต่ระยะเวลาความเงียบ จังหวะ ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง จะคือส่วนสำคัญของการแสดงให้เป็นธรรมชาติ หลายครั้งไม่ต้องพูด แต่แสดงท่าทาง การเคลื่อนมือ หรือสีหน้า ก็รู้ว่าหมายถึงอะไร จากการสังเกต และจากที่เรียนเรื่องจิตใต้สำนึกมา… เห็นเลยว่า ดาราเกาหลีรู้เรื่องจิตใต้สำนึกมาแบบไม่ธรรมดา การกลอกตา และการกระพริบตาของดาราเกาหลี ก็คือ ส่วนหนึ่งของเทคนิคการแสดงเหมือนกัน ไม่ใช่กลอกตามั่วซั่วไปเรื่อยเปื่อย แต่ถ้าคิดถึงอนาคตต้องกลอกตาไปด้านขวา ถ้าเสียใจ ถ้าลังเลใจ ต้องกระพริบตา ต้องส่งสายตาแบบไหน …มันถึงเป็นการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะชีวิตจริงคนเราก็สื่อสารกันอย่างนี้
นอกจากนี้ ละครเกาหลีใช้วิชาจิตวิทยาสูงมว๊ากกกก เหนือชั้นมว๊ากกก ไม่ค่อยเคยปรากฎกลยุทธ์การวางตัวละครเทพอย่างเอิกเริกขนาดนี้จากละครประเทศใด คือ จัดให้นางรองสวยกว่านางเอก นางเอกหน้าตาบ้านมาก จนเป็นสไตล์เลย (บางเรื่องนางเอกก็สวยมากจริงๆ นะ แต่หลายเรื่องมาก ที่นางเอก ไม่ได้สวยเลย หรือสวย แต่มาแต่งหน้าซะดูธรรมดาบ้านช่องเลย) …เป็นแนวคิดที่กลับตาลปัตรกับที่เราคุ้นเคยมากทีเดียว อย่างมาก นางเอกก็จะสวยไม่แพ้นางร้ายหรือนางรอง ส่วนใหญ่ เรามักให้นางเอกสวยกว่า…แต่ของเกาหลีนี่คือ ตั้งใจให้ดูด้อยกว่าเลย ไม่ว่าจะแต่งหน้าน้อยกว่า หรือเลือกที่หน้าตาไม่ใช่แค่เป็นรองนะ …เอาระดับหน้าตาบ้านๆ มาเลย เช่น แบดูนา (คุณแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย Lady of dignity เรื่องนี้เก่าแล้ว แต่เป็นเรื่องที่สุดอะเมซิ่ง ทำเราเดี๋ยวหัวเราะหงายหลัง เดี๋ยวร้องไห้ตาบวมเป่ง เรื่องราวไม่น่าจะสนุกไปได้ แต่สนุกสุดๆ ไปเลย)
,
กง ฮโยจิน (Sangdoo Let’s go to school บันทึกหัวใจนายซางดู, Thank you, It’s okay that’s love, The greatest love),
Cr. blike.net
แบบว่า…รู้สึกตัวเองคงมีหวังเหมือนกันนะ..ถ้าไป cast ที่เกาหลี (ฮา)
นี่มันคือ…การทำให้เป็นตัวแทนของคนดูทั่วไป ที่ก็คิดว่าตัวเองอาจไม่ได้สวยเลอเลิศอะไร หรือพวกเราคนดูเผลอๆ หน้าตาดีกว่านางเอกข้างต้น แต่ยิ่งเห็นเธอเหล่านี้เคลื่อนไหวในละคร พวกเธอยิ่งน่ารักมากขึ้นกว่าแรกเห็น และมันฟินสุดตรงที่ แม้จะหน้าบ้าน แต่ก็ได้ใจทั้งพระเอก และพระรองแสนประเสริฐมาครอบครองแบบหัวปักหัวปำเลยนะคะ
และบนเส้นทางกว่าจะเป็นดารา จะเห็นนักแสดงเกาหลีต้องผ่านบททดสอบมากมาย ทั้งการเรียนเป็นนักแสดงฝึกหัด หรือเล่นเป็นตัวรอง ตัวร้ายอะไรมาก่อน ไต่ขึ้นมากว่าจะเป็นตัวเอกได้
เช่น
(Cr. pinterest, soompi)
So Ji Sup กับ Kwan Seung Woo ก็เล่นเป็นตัวรอง (โดยเฉพาะ Kwan Seung Woo นี่เป็นตัวประกอบเลย) ใน สูตรรักนักปรุงรส (Delicious proposal) ก่อนจะเล่นเป็นพระเอกในภายหลัง โดยเฉพาะ โซจีซบนี่โดนมาหนักมากอยู่ เพราะเคยถูกคนตราหน้าว่า อย่าไปเป็นดาราเลย หรือไม่ก็ ไปทำศัลยกรรมก่อนค่อยเป็นนักแสดงดีไหม ตาปรือๆ ดูมึนๆ หน้าตาอย่างนี้ ไม่มีวันเป็นพระเอกดังได้หรอก…เอิ่ม…ไม่รู้ป่านนี้คนที่พูดดูถูกเหล่านั้นเงิบไปแล้วกี่สิบตลบ
เห็นดาราเกาหลีศึกษาตัวละครก็น่าสนใจนะ อ่านเจอบทสัมภาษณ์ของ ลีมินโฮ (Lee Min Ho) พระเอกดังจากละครเด่นเช่น F4 เกาหลี, Heirs, city hunter, personal taste เขาบอกว่า ก่อนแสดง เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวละครที่เขาจะแสดงก่อน 50 คำถาม เพื่อจะได้เข้าใจตัวละครนี้ให้ได้มากที่สุด เช่น เขาชอบไปที่ไหน, เขากลัวอะไรมากที่สุด ฯลฯ ก่อนจะทำให้คนดู “อิน” ตามได้ นักแสดงต้อง “อิน” สุดๆ เสียก่อน
ไม่แน่ใจว่านักแสดงบ้านเรามีกี่คนที่ทำการบ้านแบบนี้ คิดว่ามีนะ แต่ต้องเพิ่มปริมาณให้มีมากกว่านี้ คงจะดีไม่น้อย
ประกอบกับองค์ประกอบในเนื้อเรื่อง ที่เหมือนจริง ไม่ใช่เดาๆ มั่วๆ เช่น ฉากในโรงพยาบาล ป่วยเป็นโรคอะไร สภาพร่างกายแบบไหนตามท้องเรื่อง ก็สมจริง
หากเป็นละครเกี่ยวกับอาชีพเฉพาะทาง เช่น Love story in Harvard (กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด) ดูแล้วสงสัยอย่างยิ่งว่า คนเขียนบทเคยทำงานเป็นทนายมาก่อนรึเปล่านะ จบกฎหมายมาใช่ไหม ไปล่วงรู้ได้ยังไงพวก ช่องว่างรูโหว่ทางกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้ปมปัญหายิ่งใหญ่ในเรื่องคลี่คลายได้ ต่อให้ คิดแทนก็คิดไม่ออกด้วย เดาว่านักศึกษากฏหมายหลายคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำ (มาทราบทีหลังว่า ทีมเขียนบทของเกาหลีนั้น จะมีทีมที่ช่วยค้นคว้าวิจัยข้อมูลให้ด้วย …ถึงว่าสิ….)
ได้มีโอกาสคุยกับนักเขียนบทชื่อดังของเมืองไทยก็ได้รู้ว่า ตำรา และวิชาการเขียนบทไม่มีเป็นล่ำเป็นสันอยู่ในหนังสือเรียนของเมืองไทยเลย ราวกับเรื่องการเขียนบทเป็นวิชารอง เป็นเหมือนวิชาที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร เป็นแค่บทเดียวในตำราของวิชาในคณะนิเทศศาสตร์ แล้วจะไปคาดหวังให้ประเทศเราเขียนบทเก่งกาจสามารถได้ยังไง จะมีใครวางกลยุทธ์ให้ประเทศเราสร้าง Thaiwave เป็นคลื่นลูกต่อไปต่อจากเกาหลีบ้างไหม จะได้พัฒนาการศึกษาในเรื่องนี้ ขับเคลื่อนประเทศด้วย Creative economic ไม่ต้องไปเน้นอุตสาหกรรมหนักให้สภาพแวดล้อมของประเทศเสื่อมโทรม ประเทศอื่นที่ทำไปแล้วเกิดปัญหามากมายก็มีให้เห็นกลาดเกลื่อน เรื่องบันเทิงคนไทยชอบอยู่แล้วนี่ ทำให้เลิศ ทำให้เด่น แล้วส่งออกไปเลยดีไหม ฉากธรรมชาติอะไรของประเทศเขาก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรา เขายังทำจนโดดเด่นได้ ประเทศไทยวิวก็สวย เรื่องราวประวัติศาสตร์ก็มี สถานที่ก็ขลังอลังเลิศ ขนมโน่นนี่นั่นใหญ่ที่สุดในโลก เราก็ทำมานักต่อนักแล้ว ถ้าเรื่องนี้เราอยากทำให้เลิศจริงๆ ถ้าคนไทยเอาจริง ก็ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงมนุษย์จะทำได้อยู่แล้ว
(มีต่อ)