พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
การทำสมาธิต้องประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ ดังนี้
๑.) "ฉันทะ" พอใจรักใคร่ในลมหายใจของเรา
ตามดูว่าเวลาที่เราหายใจเข้า เราหายใจเอาอะไรเข้าไปบ้าง
ถ้าหายใจเข้าไปไม่ออกก็ต้องตาย หายใจออกไม่กลับเข้าก็ตาย,
มองดูอยู่อย่างนี้ ไม่เอาใจไปดูอย่างอื่น
๒.) "วิริยะ" เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในกิจการหายใจของเรา
ต้องทำความตั้งใจว่า เราจะเป็นผู้หายใจเข้า เราจะเป็นผู้หายใจออก
เราจะให้มันหายใจยาว เราจะให้มันหายใจสั้น เราจะให้หนัก
เราจะให้เบา เราจะให้เย็น เราจะให้ร้อน ฯลฯ
เราจะต้องเป็นเจ้าของลมหายใจ
๓.) "จิตตะ" เอาจิตเพ่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจ
ดูลมภายนอกที่มันเข้าไปเชื่อมต่อประสานกับลมภายใน
ลมเบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ลมในทรวงอก มีปอด หัวใจ
ซี่โครง กระดูกสันหลัง ลมในช่องท้อง มีกระเพาะอาหาร ตับไต ไส้ พุง
ลมที่ออกมาตามปลายมือ ปลายเท้า ตลอดจนทั่วทุกขุมขน
๔.) "วิมังสา" ใคร่ครวญ สำรวจ ตรวจดูว่าลมที่เข้าไปเลี้ยงร่างกายเรานั้น
เต็มหรือพร่อง สะดวกหรือไม่สะดวก มีส่วนขัดข้องที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง
ดูลักษณะอาการ ความหวั่นไหวของลมภายนอกที่เข้าไปกระทบกับลมภายใน
ว่ามันกระเทือนทั่วถึงกันหรือไม่ ลมที่เข้าไปเลี้ยงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟนั้น
มีลักษณะเกิดขึ้น ทรงอยู่และเสื่อมสลายไปอย่างไร
ทั้งหมดนี้จัดเข้าใน “รูปกัมมัฏฐาน” และเป็นตัว “มหาสติปัฏฐาน” ด้วย
จิตที่ประกอบด้วย “อิทธิบาท ๔” พร้อมบริบูรณ์ด้วย “สติสัมปชัญญะ”
ก็จะเกิดความสำเร็จรูปใน “ทางจิต” ให้ผลถึง “โลกุตตระ”
เป็นโสดาสกิทาคา อนาคาและอรหัตต์ สำเร็จ “ทางกาย” ให้ผลในการ “ระงับเวทนา”
...
คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน, พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.
โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒. หน้า ๒๘-๓๐.
สมาธิประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ : ท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
การทำสมาธิต้องประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ ดังนี้
๑.) "ฉันทะ" พอใจรักใคร่ในลมหายใจของเรา
ตามดูว่าเวลาที่เราหายใจเข้า เราหายใจเอาอะไรเข้าไปบ้าง
ถ้าหายใจเข้าไปไม่ออกก็ต้องตาย หายใจออกไม่กลับเข้าก็ตาย,
มองดูอยู่อย่างนี้ ไม่เอาใจไปดูอย่างอื่น
๒.) "วิริยะ" เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในกิจการหายใจของเรา
ต้องทำความตั้งใจว่า เราจะเป็นผู้หายใจเข้า เราจะเป็นผู้หายใจออก
เราจะให้มันหายใจยาว เราจะให้มันหายใจสั้น เราจะให้หนัก
เราจะให้เบา เราจะให้เย็น เราจะให้ร้อน ฯลฯ เราจะต้องเป็นเจ้าของลมหายใจ
๓.) "จิตตะ" เอาจิตเพ่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจ
ดูลมภายนอกที่มันเข้าไปเชื่อมต่อประสานกับลมภายใน
ลมเบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ลมในทรวงอก มีปอด หัวใจ
ซี่โครง กระดูกสันหลัง ลมในช่องท้อง มีกระเพาะอาหาร ตับไต ไส้ พุง
ลมที่ออกมาตามปลายมือ ปลายเท้า ตลอดจนทั่วทุกขุมขน
๔.) "วิมังสา" ใคร่ครวญ สำรวจ ตรวจดูว่าลมที่เข้าไปเลี้ยงร่างกายเรานั้น
เต็มหรือพร่อง สะดวกหรือไม่สะดวก มีส่วนขัดข้องที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง
ดูลักษณะอาการ ความหวั่นไหวของลมภายนอกที่เข้าไปกระทบกับลมภายใน
ว่ามันกระเทือนทั่วถึงกันหรือไม่ ลมที่เข้าไปเลี้ยงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟนั้น
มีลักษณะเกิดขึ้น ทรงอยู่และเสื่อมสลายไปอย่างไร
ทั้งหมดนี้จัดเข้าใน “รูปกัมมัฏฐาน” และเป็นตัว “มหาสติปัฏฐาน” ด้วย
จิตที่ประกอบด้วย “อิทธิบาท ๔” พร้อมบริบูรณ์ด้วย “สติสัมปชัญญะ”
ก็จะเกิดความสำเร็จรูปใน “ทางจิต” ให้ผลถึง “โลกุตตระ”
เป็นโสดาสกิทาคา อนาคาและอรหัตต์ สำเร็จ “ทางกาย” ให้ผลในการ “ระงับเวทนา”
...
คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน, พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.
โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒. หน้า ๒๘-๓๐.