สวัสดีครับ ทุกๆคน,
หลายๆปีหลังมานี้การเผยแพร่สื่อในยุคของมหาอำนาจของ Social media บน Internet ทำให้ผู้คนในโลกเริ่มแชร์เริ่มเห็นและติดตามข่าวสารที่มาของ สินค้าจากยี่ห้อต่างๆได้ง่ายมากขึ้นและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ในเมื่อสินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้นในจำนวนหมู่คนที่มากขึ้น ในบางครั้งระดับโลกเลยก็ว่าได้ และมีจำนวนจำกัดสุดๆ จึงทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการอย่างสูงสุด เพราะ demand เยอะแต่ supply นั้นไม่เพียงพอ
สินค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Limited edition ยิ่งเอาคนมีชื่อเสียงอาทิเช่น นักกีฬา นักร้อง ดารา หรือ แม้แต่หนังหรือการ์ตูน หรือเพื่อการเฉลิมฉลองอะไรก็ตามในวาระครอบรอบ... ก็ดูเหมือนเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าตัวนั้นเพิ่มขึ้นมา ในส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงแต่ผลิตภัณฑ์รองเท้าอย่างเดียว เพราะรู้จักค่อนข้างดีและก็เคยเป็นคนสะสม และ ตามล่ารองเท้า Limited edition มาหลายๆคู่
เพื่อจะได้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นผมขอแยก ออกเป็น 2 กลุ่มนะครับ กลุ่มผู้ผลิต และ กลุ่มผู้บริโภคครับ
กลุ่มผู้ผลิต
ความจริงของรองเท้า Limited edition ตามความจริงเลยเรื่องพวกนี้มีเส้นสายเข้ามาเกี่ยวตลอด อย่างที่เป็นสิ่งที่คนสะสมจะรู้ พวกรองเท้าที่ limitedมากๆ ออกมาจำนวนน้อยมากๆ จะพิมพ์เขียนบอกหมายเลข ตั้งแต่คู่ที่ 01 - 150 ทางแบรนด์เองก็จะมีการผลิตหมายเลข 00 ออกมาเพื่อให้ ดารา หรือ คนที่มีส่วนร่วมในการสร้างรองเท้าคู่นี้ขึ้นมาเป็นที่ระลึก หรือแม้แต่ทางร้านผู้ขายเองก็กั๊กของไว้ให้ลูกค้า vip ของตัวเอง อย่างผมมีเพื่อนที่ซื้อรองเท้าปีละประมาณ 20 กว่าคู่ รองเท้ารุ่น limited กำลังจะออกมาทางร้านก็โทรมาถามเลยว่าสนใจไหมจะเก็บไว้ให้คู่นึง
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หลักการ์ณการทำ Limited edition มันก็เป็น Marketing ของทางแบรนด์ เองที่จะทำให้คนพูดถึงมากขึ้น แชร์กันเยอะขึ้นทำให้ตัวเองเป็นข่าว สุดท้ายสินค้าของแบรนด์ตัวเองก็จะได้รับผลพลอยได้ไปจากนี้
กลุ่มผู้บริโภค
เมื่อรองเท้าปกติธรรมดาคู่หนึ่ง กลายเป็นรองเท้าที่มากกว่าการสวมใส่ คนรู้จักเห็นคุณใส่ก็จะมีการพูดคุยถามว่ารองเท้าคู่นี้ท่านได้แต่ใดมา ในราคาเท่าไร.. มันก็เลยสร้างกระแสหนักขึ้น ต่อมกิเลสเลยพองตัวถึงจุดสูงสุด เพื่อบอกตัวเองว่า มันคือรองเท้ามหัศจรรย์ ด้วยทุกๆเหตุผลที่สามารถบอกกับตัวเองได้..
ในกลุ่มผู้บริโภคขอแบ่งเป็น 4 กลุ่มนะครับ
1. กลุ่มที่ซื้อมาใส่จริงๆ คือพยายามไปต่อแถวหรือหาซื้อมาได้แล้วก็เอามาใส่เลยจริงๆ โดยไม่เสียดายแต่จะดีใจและภูมิใจกับการได้ใส่รองเท้าที่ตัวเองอยากได้ มีความผูกพันธ์หรือชื่นชอบ concept หรือ ประวัติของรองเท้าคู่นั้น บวกกับเรื่องราวที่ต้องไปต่อสู้ฟันแทงแลกด้วยหยาดเหงื่อเพื่อจะได้น้องมาสวมใส่
2. กลุ่มนักสะสม กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เสพติดครับ อาจจะเป็นกลุ่ม 1 พลิกผลันตันเองมาเป็นนักสะสมก็ได้ กลุ่มนี้มีคลังรองเท้าครับซื้อมาเพื่อเก็บในกล่อง หรือจัดวาง Display ไป นานก็เอามาลูบๆคลำๆ ใส่เดินในบ้านบ้าง หรือถ้าไม่ใส่เพราะกลัวจะเสียมูลค่าของรองเท้า หรือจะเก็บให้เป็นที่เรียกว่า death stock คือซื้อมาวันไหนในกล่องแกะมาจับทีสองทีเข้ากล่องเหมือนเดิมเป๊ะ
3. Fashion victime คือคนที่อยากจะตามกระแสทั้งๆที่ไม่ได้รู้ที่มาที่ไปอย่างลึกซึ้งของ แบรนด์ๆ นั้นแต่เพราะเห็นคนเค้าโพสกันเยอะต่อมกิเลสก็เลยทำงานอยากจะได้มาครอบครอง แต่คงอาจจะได้แค่ความรู้สึกครอบครอง แต่สัมผัสลึกๆไม่ได้เหมือนกลุ่มประเภทที่ 1 หรือ 2 เหมือนที่ ไมเคิล จอร์แดน เคยกล่าวไว้ว่า "คุณจะให้ผมรู้สึกยังไง เมื่อมีคนมาซื้อรองเท้าบาสเก็ตบอล Jordan ของผมไปใส่ โดยที่พวกเค้าไม่เลยเล่นบาสเก็ตบอลเลยสักครั้ง..."
4. ซื้อมาเก็งกำไรขายต่อ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขายคือของออกมารีบปล่อยขายในราคา 3-4 เท่าตัวได้ถือว่าคุ้มที่สุดจริงๆ เพราะหลังๆเวลาผ่านไปราคาก็จะเริ่มเป็นราคาจริงที่คนคิดได้ว่า... มันก็มีคู่อื่นที่อาจจะน่าสนใจกว่าในราคาเท่าๆกันหรือถูกกว่าออกมาอีกในอีกไม่กี่สัปดาห์
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องคร่าวๆที่สังคมไทยได้เริ่มเผชิญกัน ตามเหมือนต่างประเทศที่ดูเหมือน วัฒนธรรม ในการจับจองให้ได้มาแต่ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้านเรายังไม่ได้ให้ความศักดิ์สิทธ์กับรองเท้า เท่ากับที่อเมกา แบบในยุคที่ว่าสามารถเอาชีวิตกันได้เพราะรองเท้าเพียงหนึ่งคู่.... การต่อแถวนอนรอข้ามคืนในหน้าหนาวที่หิมะตกเพื่อให้ได้รองเท้ามาคู่นึงนั้น บ่อยครั้งจบลงด้วยการยกพวกตีกัน ยิงกัน เพราะความเครียดและการเฝ้ารอในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ สุดท้ายแล้วเราๆก็กลายเป็น แกะ ให้ทางแบรนด์นั้น นำจูงเราเอาไปใช้ในทางการค้า และ การ "บริโภคเกินตัว"
สุดท้ายส่วนตัว ผมไม่อยากเห็นภาพคนไทยแห่วิ่งเหยียบทับกันเพื่อให้ได้รองเท้าคูนึง อย่างกับพวกซอมบี้หิวโหย ขนาดที่จีนยังต้องมี กม. ห้ามไม่ให้ลดราคาของอย่างหนัก เพื่อแก้ปัญหาคนแห่ไปที่ห้างแล้วก็เหยียบกันตายเพื่อจะได้ของถูก... เราจะเป็นกันอย่างนั้นแล้วเหรอครับ
ทางแบรนด์และร้านค้าควรจะมีจิตสำนึกและมาตรการณ์รักษาความเป็นระเบียบ รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย ไม่ว่าการแจ้งให้ชัดเจนว่าจะไม่มีการต่อคิวจะให้เป็นการจับฉลาก หรือขายผ่านทาง Internet อย่างเดียวไปเลยจบ ล่าสุดผ่านทาง website ของ Nike พวกรุ่น limited ก็จะเหมือนเป็นระบบเข้าคิวรอ คนที่มาถึงก่อนด้วยซ้ำไปและ จำนวนก็จำกัดกันจริงบนเวป
จากเพื่อนแกะนักสะสมตัวหนึ่งครับ
ป.ล. รองเท้า limited edition หนะ เดี๋ยวมันก็มีออกมาอีกเรื่อยๆ ไอ้ตัวคนละสีก็มีออกมาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเครียดก็แค่รองเท้าคู่หนึ่ง อีกหน่อยก็จะมี printer 3D แบบ print รองเท้าได้ อยากได้รุ่นไหนก็ไปขอคนเค้า scan แล้วก็ print ออกมาใส่เองละกัน
เรื่องจริงของรองเท้า limited edition
หลายๆปีหลังมานี้การเผยแพร่สื่อในยุคของมหาอำนาจของ Social media บน Internet ทำให้ผู้คนในโลกเริ่มแชร์เริ่มเห็นและติดตามข่าวสารที่มาของ สินค้าจากยี่ห้อต่างๆได้ง่ายมากขึ้นและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ในเมื่อสินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้นในจำนวนหมู่คนที่มากขึ้น ในบางครั้งระดับโลกเลยก็ว่าได้ และมีจำนวนจำกัดสุดๆ จึงทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการอย่างสูงสุด เพราะ demand เยอะแต่ supply นั้นไม่เพียงพอ
สินค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Limited edition ยิ่งเอาคนมีชื่อเสียงอาทิเช่น นักกีฬา นักร้อง ดารา หรือ แม้แต่หนังหรือการ์ตูน หรือเพื่อการเฉลิมฉลองอะไรก็ตามในวาระครอบรอบ... ก็ดูเหมือนเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าตัวนั้นเพิ่มขึ้นมา ในส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงแต่ผลิตภัณฑ์รองเท้าอย่างเดียว เพราะรู้จักค่อนข้างดีและก็เคยเป็นคนสะสม และ ตามล่ารองเท้า Limited edition มาหลายๆคู่
เพื่อจะได้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นผมขอแยก ออกเป็น 2 กลุ่มนะครับ กลุ่มผู้ผลิต และ กลุ่มผู้บริโภคครับ
กลุ่มผู้ผลิต
ความจริงของรองเท้า Limited edition ตามความจริงเลยเรื่องพวกนี้มีเส้นสายเข้ามาเกี่ยวตลอด อย่างที่เป็นสิ่งที่คนสะสมจะรู้ พวกรองเท้าที่ limitedมากๆ ออกมาจำนวนน้อยมากๆ จะพิมพ์เขียนบอกหมายเลข ตั้งแต่คู่ที่ 01 - 150 ทางแบรนด์เองก็จะมีการผลิตหมายเลข 00 ออกมาเพื่อให้ ดารา หรือ คนที่มีส่วนร่วมในการสร้างรองเท้าคู่นี้ขึ้นมาเป็นที่ระลึก หรือแม้แต่ทางร้านผู้ขายเองก็กั๊กของไว้ให้ลูกค้า vip ของตัวเอง อย่างผมมีเพื่อนที่ซื้อรองเท้าปีละประมาณ 20 กว่าคู่ รองเท้ารุ่น limited กำลังจะออกมาทางร้านก็โทรมาถามเลยว่าสนใจไหมจะเก็บไว้ให้คู่นึง
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หลักการ์ณการทำ Limited edition มันก็เป็น Marketing ของทางแบรนด์ เองที่จะทำให้คนพูดถึงมากขึ้น แชร์กันเยอะขึ้นทำให้ตัวเองเป็นข่าว สุดท้ายสินค้าของแบรนด์ตัวเองก็จะได้รับผลพลอยได้ไปจากนี้
กลุ่มผู้บริโภค
เมื่อรองเท้าปกติธรรมดาคู่หนึ่ง กลายเป็นรองเท้าที่มากกว่าการสวมใส่ คนรู้จักเห็นคุณใส่ก็จะมีการพูดคุยถามว่ารองเท้าคู่นี้ท่านได้แต่ใดมา ในราคาเท่าไร.. มันก็เลยสร้างกระแสหนักขึ้น ต่อมกิเลสเลยพองตัวถึงจุดสูงสุด เพื่อบอกตัวเองว่า มันคือรองเท้ามหัศจรรย์ ด้วยทุกๆเหตุผลที่สามารถบอกกับตัวเองได้..
ในกลุ่มผู้บริโภคขอแบ่งเป็น 4 กลุ่มนะครับ
1. กลุ่มที่ซื้อมาใส่จริงๆ คือพยายามไปต่อแถวหรือหาซื้อมาได้แล้วก็เอามาใส่เลยจริงๆ โดยไม่เสียดายแต่จะดีใจและภูมิใจกับการได้ใส่รองเท้าที่ตัวเองอยากได้ มีความผูกพันธ์หรือชื่นชอบ concept หรือ ประวัติของรองเท้าคู่นั้น บวกกับเรื่องราวที่ต้องไปต่อสู้ฟันแทงแลกด้วยหยาดเหงื่อเพื่อจะได้น้องมาสวมใส่
2. กลุ่มนักสะสม กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เสพติดครับ อาจจะเป็นกลุ่ม 1 พลิกผลันตันเองมาเป็นนักสะสมก็ได้ กลุ่มนี้มีคลังรองเท้าครับซื้อมาเพื่อเก็บในกล่อง หรือจัดวาง Display ไป นานก็เอามาลูบๆคลำๆ ใส่เดินในบ้านบ้าง หรือถ้าไม่ใส่เพราะกลัวจะเสียมูลค่าของรองเท้า หรือจะเก็บให้เป็นที่เรียกว่า death stock คือซื้อมาวันไหนในกล่องแกะมาจับทีสองทีเข้ากล่องเหมือนเดิมเป๊ะ
3. Fashion victime คือคนที่อยากจะตามกระแสทั้งๆที่ไม่ได้รู้ที่มาที่ไปอย่างลึกซึ้งของ แบรนด์ๆ นั้นแต่เพราะเห็นคนเค้าโพสกันเยอะต่อมกิเลสก็เลยทำงานอยากจะได้มาครอบครอง แต่คงอาจจะได้แค่ความรู้สึกครอบครอง แต่สัมผัสลึกๆไม่ได้เหมือนกลุ่มประเภทที่ 1 หรือ 2 เหมือนที่ ไมเคิล จอร์แดน เคยกล่าวไว้ว่า "คุณจะให้ผมรู้สึกยังไง เมื่อมีคนมาซื้อรองเท้าบาสเก็ตบอล Jordan ของผมไปใส่ โดยที่พวกเค้าไม่เลยเล่นบาสเก็ตบอลเลยสักครั้ง..."
4. ซื้อมาเก็งกำไรขายต่อ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขายคือของออกมารีบปล่อยขายในราคา 3-4 เท่าตัวได้ถือว่าคุ้มที่สุดจริงๆ เพราะหลังๆเวลาผ่านไปราคาก็จะเริ่มเป็นราคาจริงที่คนคิดได้ว่า... มันก็มีคู่อื่นที่อาจจะน่าสนใจกว่าในราคาเท่าๆกันหรือถูกกว่าออกมาอีกในอีกไม่กี่สัปดาห์
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องคร่าวๆที่สังคมไทยได้เริ่มเผชิญกัน ตามเหมือนต่างประเทศที่ดูเหมือน วัฒนธรรม ในการจับจองให้ได้มาแต่ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้านเรายังไม่ได้ให้ความศักดิ์สิทธ์กับรองเท้า เท่ากับที่อเมกา แบบในยุคที่ว่าสามารถเอาชีวิตกันได้เพราะรองเท้าเพียงหนึ่งคู่.... การต่อแถวนอนรอข้ามคืนในหน้าหนาวที่หิมะตกเพื่อให้ได้รองเท้ามาคู่นึงนั้น บ่อยครั้งจบลงด้วยการยกพวกตีกัน ยิงกัน เพราะความเครียดและการเฝ้ารอในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ สุดท้ายแล้วเราๆก็กลายเป็น แกะ ให้ทางแบรนด์นั้น นำจูงเราเอาไปใช้ในทางการค้า และ การ "บริโภคเกินตัว"
สุดท้ายส่วนตัว ผมไม่อยากเห็นภาพคนไทยแห่วิ่งเหยียบทับกันเพื่อให้ได้รองเท้าคูนึง อย่างกับพวกซอมบี้หิวโหย ขนาดที่จีนยังต้องมี กม. ห้ามไม่ให้ลดราคาของอย่างหนัก เพื่อแก้ปัญหาคนแห่ไปที่ห้างแล้วก็เหยียบกันตายเพื่อจะได้ของถูก... เราจะเป็นกันอย่างนั้นแล้วเหรอครับ
ทางแบรนด์และร้านค้าควรจะมีจิตสำนึกและมาตรการณ์รักษาความเป็นระเบียบ รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย ไม่ว่าการแจ้งให้ชัดเจนว่าจะไม่มีการต่อคิวจะให้เป็นการจับฉลาก หรือขายผ่านทาง Internet อย่างเดียวไปเลยจบ ล่าสุดผ่านทาง website ของ Nike พวกรุ่น limited ก็จะเหมือนเป็นระบบเข้าคิวรอ คนที่มาถึงก่อนด้วยซ้ำไปและ จำนวนก็จำกัดกันจริงบนเวป
จากเพื่อนแกะนักสะสมตัวหนึ่งครับ
ป.ล. รองเท้า limited edition หนะ เดี๋ยวมันก็มีออกมาอีกเรื่อยๆ ไอ้ตัวคนละสีก็มีออกมาอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเครียดก็แค่รองเท้าคู่หนึ่ง อีกหน่อยก็จะมี printer 3D แบบ print รองเท้าได้ อยากได้รุ่นไหนก็ไปขอคนเค้า scan แล้วก็ print ออกมาใส่เองละกัน