สัมภาษณ์: 4 ปีบนเก้าอี้ประธาน 'กสทช.' และภารกิจคุมเงินกองทุน 2 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กว่า 4 ปีของการทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ของ "พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี" แม้บทบาทจะไม่โดดเด่นเท่ากับรองประธานบอร์ดย่อยที่ดูแลด้านบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม แต่อีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญ คือการเป็นประธาน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) บริหารเงิน 20,000 ล้านบาท "ประชาชาติธุรกิจ" จึงได้โอกาสจับเข่าคุยในหลายมุมมองดังนี้
การทำงานในช่วง 4 ปีกว่าได้ดังใจแค่ไหน
ไม่ได้ดั่งใจหรอกเพราะกฎกติกาไม่เอื้อ ได้แค่ในระดับหนึ่ง แต่เป็นระดับที่พอใจ เพราะตาม พ.ร.บ. กสทช.แบ่งงานออกเป็น 2 ฝั่ง มี 2 บอร์ดเล็กดูแล จะทำอะไรก็ยุ่งนิดหนึ่ง
ที่ทำได้ดั่งใจภาพรวมใหญ่ ๆ คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต นี่คืองานหลักตั้งแต่ปีแรกที่ต้องแก้ให้ได้ เป็นหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลที่ต้องผลักดันให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ให้คนที่ถือครองคลื่นความถี่อยู่ยอมรับใน กฎกติกาของเรา
ตอนประมูล 3G ยังเห็นไม่ค่อยชัด เพราะเป็นคลื่นว่าง ไม่มีคนใช้ แต่ 4G เป็นคลื่นสัมปทานที่มีคนถือครองอยู่เดิม ในช่วงแรกก็ไม่ยอมกัน แต่สุดท้ายก็ยอมด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เป็นงานที่เซตมาตรฐานว่าผู้ที่ถือครองคลื่นอื่นต้องปฏิบัติตามแนวทางนี้ด้วย ไม่ใช่ว่าถึงเวลาแล้วไม่ต้องคืนก็ได้
งานที่อยากทำ
การทำให้งานทั้งบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม มีการคอนเวอร์เจนต์เข้าด้วยกัน ให้เป็นกิจการการสื่อสารของชาติที่ปัจจุบันหลอมรวมกันหมดแล้ว การจัดสรรคลื่นความถี่เป็นเรื่องแรกที่ต้องดำเนินการ ก็เป็นการแบ่งสมบัติที่เริ่มก็มีปัญหาแล้วว่าแต่ละฝ่ายก็แย่งกันว่า อันนี้คลื่นโทรคมนาคมอันนี้คลื่นบรอดแคสต์ ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกคอนเวอร์เจนต์กันหมดแล้ว ควรทำได้เร็วกว่านี้
กฎหมายใหม่รวมเป็นบอร์ดเดียว
ก็น่าจะแก้ปัญหาในแง่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เพราะตอนนี้ทั้งเรื่องหลักการและข้อเท็จจริงคือ ทั้งสายงานและพนักงานแยกกัน เมื่อรวมกันเป็นเนื้อเดียว การบริหารจัดการจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เป็นประธานกองทุน กทปส. เงินเยอะมาก
แค่เคยมีเยอะ ตอนนี้รัฐบาลยืมไปแล้ว เหลือราวหมื่นกว่าล้าน วัตถุประสงค์การใช้เงินกำหนดไว้หมด แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมหลายประการทำให้ไม่สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่คิดไว้ เพราะกฎกติกาที่กำหนดไว้ทำให้การพิจารณาอนุมัติให้ทุนต่าง ๆ ทำได้ลำบาก
คือที่กองทุนจะมีคณะอนุกรรมการคอยกลั่นกรองโครงการต่าง ๆ ตามกรอบที่ ตั้งไว้ ซึ่งจะมีสถาบันการศึกษาส่งโครงการเข้ามา แล้วส่งให้บอร์ดกองทุนพิจารณา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น แล้วยังต้องส่งเข้ามาให้บอร์ด กสทช. พิจารณาอีกรอบทำให้บางครั้งก็ติดขัด เพราะความเห็นไม่ตรงกัน กว่าจะอนุมัติโครงการที่มาขอรับทุนได้ต้องส่งกลับไปกลับมาหลายรอบ ทำให้การให้ทุนไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งที่อยากให้กระบวนการพิจารณาทำได้รวดเร็ว แต่ปีที่ผ่านมาเริ่มปรับกระบวนการเพื่อให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนของแต่ละฝั่ง ทั้งบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม วางกรอบการพิจารณาให้ดีขึ้นทำให้กระบวนการเร็วขึ้น
ให้ความสำคัญกับการวิจัย
ใช่ ที่ผ่านมางานวิจัยและพัฒนาในไทย ไม่ค่อยได้รับความสำคัญหรือไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะมีข้อจำกัดด้าน งบประมาณ ตอนที่ยังทำงานราชการ ก็มีส่วนดูแลด้านนี้ เป็นสิ่งที่รู้สึกเศร้าใจมาตลอด
สาเหตุหนึ่งที่พบมาตลอดคือ หลายครั้งงานวิจัยทำออกมาดีมาก แต่เก็บไว้เฉย ๆ ด้วยเงื่อนไขด้านสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ว่าเป็นของใคร เจ้าของเงินที่ให้ทุนอย่างรัฐหรือคนที่นั่งวิจัย
กทปส.มองว่าควรต้องปลดล็อกตรงนี้ มีการปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฤษฎีกาว่าจะจัดการได้แค่ไหนได้ข้อสรุปว่าพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป จึงจะตั้งคณะทำงานพิจารณางานวิจัยเหล่านี้ว่าจะแบ่งกันถือสิทธิ์อย่างไรดี กองทุนกับผู้วิจัยเป็น 70 : 30 หรือ 50 : 50 ในสหรัฐมีบางเคสที่ให้สิทธิ์เอกชน 100% ก็กระตุ้นให้เกิดการวิจัยมากขึ้น
เงินกองทุนส่วนใหญ่ใช้เพื่อ
ก้อนใหญ่สุดคือไว้สำหรับขยาย USO บริการโทรคมนาคมทั่วถึง เพราะเงินส่วนใหญ่สมทบมาจากฝั่งโทรคมนาคมยังไม่มีเงินสมทบจากฝั่งบรอดแคสต์ ต้องรอปีนี้ทำให้เงินกองทุนที่กันไว้สำหรับการวิจัยมีราว 20% เท่านั้น เป็นเงินในส่วนที่สำนักงาน กสทช. สมทบมา
งานเด่นของ กสทช.
2-3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าทำงานใหญ่ที่เป็นงานเด็ดไปหมดแล้ว ประมูลทีวีดิจิทัล คลื่น 3G-4G ใน 2-3 ปีนี้น่าจะไม่มีคลื่นที่หมดสัมปทานแต่ก็มีความพยายามเรียกคืนคลื่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ไม่คุ้มนำมาจัดสรรใหม่ จะชดเชยกันอย่างไร กฎหมายเก่าไม่เปิดช่องเรื่องชดเชย ในการ เสนอแก้ พ.ร.บ. กสทช. ใหม่จึงเสนอให้มีเรื่องนี้ ซึ่งหลายฝ่ายติงว่าจะเปิดช่องให้เอื้อประโยชน์กันได้ แต่ยืนยันว่าไม่ได้ทำกันง่าย ๆ ต้องมีกระบวนการที่เปิดเผย มีการประเมินค่าเหมือนเวนคืนที่ดิน แต่กว่ากฎหมายจะแก้เสร็จคงเป็นปี แนวคิดหลัก คือ ต้องให้เอาคลื่นไปประมูลก่อน เมื่อมีรายได้เข้ามาค่อยมาหักลบเงินชดเชยออกไป
อีกงานคือ การติดตามผลการปฏิบัติงาน ไม่ว่าเป็นเงื่อนไขในการประมูลทั้งทีวีดิจิทัล และ 4G ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ ยิ่งคนกลัวว่าประมูลแพง ค่าบริการจะแพง ก็ต้องคุมเข้ม
และ พ.ย.จะเป็นเจ้าภาพไอทียู เทเลคอมเวิลด์ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่รัฐบาลรับเป็น เจ้าภาพ ประจวบกับ AEC และการผลักดัน นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีที่จะประกาศจุดยืนของรัฐบาลให้ประชาคมโลกรับรู้ ว่าไทยก้าวกระโดดมากด้านการสื่อสาร 5 ปี ขยับมา 18 อันดับ เฉพาะปีที่แล้วขยับมา 7 อันดับ การเปลี่ยน 2G มา 3G ทำได้เร็วติดอันดับโลก
เงินที่ได้จากประมูล 4G ก็กลับมาเป็นเงินในการลงทุนยกระดับเครือข่ายโทรคมนาคมอีก 2 หมื่นล้านที่ ครม. เพิ่งอนุมัติ
กลัวผู้ชนะประมูล 4G จะไม่จ่ายเงินไหม
ไม่กลัวนะ เพราะถ้าเขาไม่เอาเงินมาจ่าย ผลเสียจะตกไปที่เขาอย่างมาก ชื่อเสียงเสียหายแน่นอน ความเชื่อถือในเครดิตไม่ต้องเหลือกัน
ปธ. กสท.-กทค.เด่นกว่า ปธ. กสทช.
ดีแล้ว ไม่ได้ต้องการโดดเด่น เพราะไม่ได้เป็นนักการเมืองที่ต้องได้รับความนิยมจากใคร ขอให้ทำงานให้รอด แล้วต้องเข้าใจว่า ประธานเป็นเรกูเลเตอร์จะมานั่งให้ข่าวรายวันไม่ได้ พูดมากไม่ได้
อุตสาหกรรมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
เปลี่ยนไปมาก กิจกรรรมการให้บริการเปลี่ยนไปแบบตามไม่ทัน เทคโนโลยีเปลี่ยนดีมานด์ผู้บริโภคเปลี่ยนทั้งบรอดแคสต์และโทรคมนาคมจะได้เห็นอะไรใหม่ ๆ อีกเยอะ ยิ่งคนไทยรับอะไรได้เร็ว เป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรม ถ้ารัฐวิสาหกิจถือคลื่นอยู่จะมีบริการใหม่หรือ เมื่อเอาคลื่นมาไว้ตรงกลางเปิดมากขึ้น กลไกการแข่งขันก็เกิดขึ้นจริง
การประมูล 4G ที่ผ่านมา สิ่งที่ดีใจไม่ใช่ ราคาประมูล แต่ดีใจที่เปลี่ยนผ่านสำเร็จจากระบบสัมปทานมาเป็นใบอนุญาต
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 1,28)
สัมภาษณ์: 4 ปีบนเก้าอี้ประธาน 'กสทช.' และภารกิจคุมเงินกองทุน 2 หมื่นล้าน
สัมภาษณ์: 4 ปีบนเก้าอี้ประธาน 'กสทช.' และภารกิจคุมเงินกองทุน 2 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กว่า 4 ปีของการทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ของ "พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี" แม้บทบาทจะไม่โดดเด่นเท่ากับรองประธานบอร์ดย่อยที่ดูแลด้านบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม แต่อีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญ คือการเป็นประธาน กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) บริหารเงิน 20,000 ล้านบาท "ประชาชาติธุรกิจ" จึงได้โอกาสจับเข่าคุยในหลายมุมมองดังนี้
การทำงานในช่วง 4 ปีกว่าได้ดังใจแค่ไหน
ไม่ได้ดั่งใจหรอกเพราะกฎกติกาไม่เอื้อ ได้แค่ในระดับหนึ่ง แต่เป็นระดับที่พอใจ เพราะตาม พ.ร.บ. กสทช.แบ่งงานออกเป็น 2 ฝั่ง มี 2 บอร์ดเล็กดูแล จะทำอะไรก็ยุ่งนิดหนึ่ง
ที่ทำได้ดั่งใจภาพรวมใหญ่ ๆ คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต นี่คืองานหลักตั้งแต่ปีแรกที่ต้องแก้ให้ได้ เป็นหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลที่ต้องผลักดันให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ให้คนที่ถือครองคลื่นความถี่อยู่ยอมรับใน กฎกติกาของเรา
ตอนประมูล 3G ยังเห็นไม่ค่อยชัด เพราะเป็นคลื่นว่าง ไม่มีคนใช้ แต่ 4G เป็นคลื่นสัมปทานที่มีคนถือครองอยู่เดิม ในช่วงแรกก็ไม่ยอมกัน แต่สุดท้ายก็ยอมด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เป็นงานที่เซตมาตรฐานว่าผู้ที่ถือครองคลื่นอื่นต้องปฏิบัติตามแนวทางนี้ด้วย ไม่ใช่ว่าถึงเวลาแล้วไม่ต้องคืนก็ได้
งานที่อยากทำ
การทำให้งานทั้งบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม มีการคอนเวอร์เจนต์เข้าด้วยกัน ให้เป็นกิจการการสื่อสารของชาติที่ปัจจุบันหลอมรวมกันหมดแล้ว การจัดสรรคลื่นความถี่เป็นเรื่องแรกที่ต้องดำเนินการ ก็เป็นการแบ่งสมบัติที่เริ่มก็มีปัญหาแล้วว่าแต่ละฝ่ายก็แย่งกันว่า อันนี้คลื่นโทรคมนาคมอันนี้คลื่นบรอดแคสต์ ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกคอนเวอร์เจนต์กันหมดแล้ว ควรทำได้เร็วกว่านี้
กฎหมายใหม่รวมเป็นบอร์ดเดียว
ก็น่าจะแก้ปัญหาในแง่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เพราะตอนนี้ทั้งเรื่องหลักการและข้อเท็จจริงคือ ทั้งสายงานและพนักงานแยกกัน เมื่อรวมกันเป็นเนื้อเดียว การบริหารจัดการจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เป็นประธานกองทุน กทปส. เงินเยอะมาก
แค่เคยมีเยอะ ตอนนี้รัฐบาลยืมไปแล้ว เหลือราวหมื่นกว่าล้าน วัตถุประสงค์การใช้เงินกำหนดไว้หมด แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมหลายประการทำให้ไม่สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่คิดไว้ เพราะกฎกติกาที่กำหนดไว้ทำให้การพิจารณาอนุมัติให้ทุนต่าง ๆ ทำได้ลำบาก
คือที่กองทุนจะมีคณะอนุกรรมการคอยกลั่นกรองโครงการต่าง ๆ ตามกรอบที่ ตั้งไว้ ซึ่งจะมีสถาบันการศึกษาส่งโครงการเข้ามา แล้วส่งให้บอร์ดกองทุนพิจารณา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น แล้วยังต้องส่งเข้ามาให้บอร์ด กสทช. พิจารณาอีกรอบทำให้บางครั้งก็ติดขัด เพราะความเห็นไม่ตรงกัน กว่าจะอนุมัติโครงการที่มาขอรับทุนได้ต้องส่งกลับไปกลับมาหลายรอบ ทำให้การให้ทุนไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งที่อยากให้กระบวนการพิจารณาทำได้รวดเร็ว แต่ปีที่ผ่านมาเริ่มปรับกระบวนการเพื่อให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนของแต่ละฝั่ง ทั้งบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม วางกรอบการพิจารณาให้ดีขึ้นทำให้กระบวนการเร็วขึ้น
ให้ความสำคัญกับการวิจัย
ใช่ ที่ผ่านมางานวิจัยและพัฒนาในไทย ไม่ค่อยได้รับความสำคัญหรือไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะมีข้อจำกัดด้าน งบประมาณ ตอนที่ยังทำงานราชการ ก็มีส่วนดูแลด้านนี้ เป็นสิ่งที่รู้สึกเศร้าใจมาตลอด
สาเหตุหนึ่งที่พบมาตลอดคือ หลายครั้งงานวิจัยทำออกมาดีมาก แต่เก็บไว้เฉย ๆ ด้วยเงื่อนไขด้านสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ว่าเป็นของใคร เจ้าของเงินที่ให้ทุนอย่างรัฐหรือคนที่นั่งวิจัย
กทปส.มองว่าควรต้องปลดล็อกตรงนี้ มีการปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฤษฎีกาว่าจะจัดการได้แค่ไหนได้ข้อสรุปว่าพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป จึงจะตั้งคณะทำงานพิจารณางานวิจัยเหล่านี้ว่าจะแบ่งกันถือสิทธิ์อย่างไรดี กองทุนกับผู้วิจัยเป็น 70 : 30 หรือ 50 : 50 ในสหรัฐมีบางเคสที่ให้สิทธิ์เอกชน 100% ก็กระตุ้นให้เกิดการวิจัยมากขึ้น
เงินกองทุนส่วนใหญ่ใช้เพื่อ
ก้อนใหญ่สุดคือไว้สำหรับขยาย USO บริการโทรคมนาคมทั่วถึง เพราะเงินส่วนใหญ่สมทบมาจากฝั่งโทรคมนาคมยังไม่มีเงินสมทบจากฝั่งบรอดแคสต์ ต้องรอปีนี้ทำให้เงินกองทุนที่กันไว้สำหรับการวิจัยมีราว 20% เท่านั้น เป็นเงินในส่วนที่สำนักงาน กสทช. สมทบมา
งานเด่นของ กสทช.
2-3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าทำงานใหญ่ที่เป็นงานเด็ดไปหมดแล้ว ประมูลทีวีดิจิทัล คลื่น 3G-4G ใน 2-3 ปีนี้น่าจะไม่มีคลื่นที่หมดสัมปทานแต่ก็มีความพยายามเรียกคืนคลื่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ไม่คุ้มนำมาจัดสรรใหม่ จะชดเชยกันอย่างไร กฎหมายเก่าไม่เปิดช่องเรื่องชดเชย ในการ เสนอแก้ พ.ร.บ. กสทช. ใหม่จึงเสนอให้มีเรื่องนี้ ซึ่งหลายฝ่ายติงว่าจะเปิดช่องให้เอื้อประโยชน์กันได้ แต่ยืนยันว่าไม่ได้ทำกันง่าย ๆ ต้องมีกระบวนการที่เปิดเผย มีการประเมินค่าเหมือนเวนคืนที่ดิน แต่กว่ากฎหมายจะแก้เสร็จคงเป็นปี แนวคิดหลัก คือ ต้องให้เอาคลื่นไปประมูลก่อน เมื่อมีรายได้เข้ามาค่อยมาหักลบเงินชดเชยออกไป
อีกงานคือ การติดตามผลการปฏิบัติงาน ไม่ว่าเป็นเงื่อนไขในการประมูลทั้งทีวีดิจิทัล และ 4G ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ ยิ่งคนกลัวว่าประมูลแพง ค่าบริการจะแพง ก็ต้องคุมเข้ม
และ พ.ย.จะเป็นเจ้าภาพไอทียู เทเลคอมเวิลด์ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่รัฐบาลรับเป็น เจ้าภาพ ประจวบกับ AEC และการผลักดัน นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีที่จะประกาศจุดยืนของรัฐบาลให้ประชาคมโลกรับรู้ ว่าไทยก้าวกระโดดมากด้านการสื่อสาร 5 ปี ขยับมา 18 อันดับ เฉพาะปีที่แล้วขยับมา 7 อันดับ การเปลี่ยน 2G มา 3G ทำได้เร็วติดอันดับโลก
เงินที่ได้จากประมูล 4G ก็กลับมาเป็นเงินในการลงทุนยกระดับเครือข่ายโทรคมนาคมอีก 2 หมื่นล้านที่ ครม. เพิ่งอนุมัติ
กลัวผู้ชนะประมูล 4G จะไม่จ่ายเงินไหม
ไม่กลัวนะ เพราะถ้าเขาไม่เอาเงินมาจ่าย ผลเสียจะตกไปที่เขาอย่างมาก ชื่อเสียงเสียหายแน่นอน ความเชื่อถือในเครดิตไม่ต้องเหลือกัน
ปธ. กสท.-กทค.เด่นกว่า ปธ. กสทช.
ดีแล้ว ไม่ได้ต้องการโดดเด่น เพราะไม่ได้เป็นนักการเมืองที่ต้องได้รับความนิยมจากใคร ขอให้ทำงานให้รอด แล้วต้องเข้าใจว่า ประธานเป็นเรกูเลเตอร์จะมานั่งให้ข่าวรายวันไม่ได้ พูดมากไม่ได้
อุตสาหกรรมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
เปลี่ยนไปมาก กิจกรรรมการให้บริการเปลี่ยนไปแบบตามไม่ทัน เทคโนโลยีเปลี่ยนดีมานด์ผู้บริโภคเปลี่ยนทั้งบรอดแคสต์และโทรคมนาคมจะได้เห็นอะไรใหม่ ๆ อีกเยอะ ยิ่งคนไทยรับอะไรได้เร็ว เป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรม ถ้ารัฐวิสาหกิจถือคลื่นอยู่จะมีบริการใหม่หรือ เมื่อเอาคลื่นมาไว้ตรงกลางเปิดมากขึ้น กลไกการแข่งขันก็เกิดขึ้นจริง
การประมูล 4G ที่ผ่านมา สิ่งที่ดีใจไม่ใช่ ราคาประมูล แต่ดีใจที่เปลี่ยนผ่านสำเร็จจากระบบสัมปทานมาเป็นใบอนุญาต
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 1,28)