ธนาคารฉวยโอกาสที่รัฐให้ความสำคัญเป็นสถาบันการเงิน หลอกลวงลูกค้าต่างๆนานา ระวังจะโดนใช้ ม 44 นะครับ

กระทู้คำถาม
ผู้บริหารธนาคารหลายๆธนาคาร มองออกว่ารัฐไม่ต้องการเข้าไปยุ่ง  ไม่ต้องการไปกำกับดูแล
เพราะถือว่าธนาคารเป็นสถาบันการเงิน รัฐต้องการให้สถาบันการเงินเข้มแข็ง จึงฉวยโอกาส
หลอกขายประกันคนแก่  หลอกทำเอทีเอ็มพ่วงประกันให้ลูกค้าเด็กๆ  ทำประกันพ่วงเงินกู้ให้กับ
คนที่อยากจะมีที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีทางเลือก

ผู้บริหารธนาคารบางธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทประกันภัยบางบริษัท จึงบังคับให้พนักงาน
ทำยอดขายประกันโดยไม่ละอายว่าเป็นการให้ข้อมูลเท็จกับลูกค้า จนปรากฏเป็นเรื่องราวใน
โซเซียลมีเดียเป็นประจำวันก็ว่าได้

ที่ๆ ผ่านมาวิกฤตต้มยำกุ้งเกิดจากสถาบันการเงิน  รัฐจึงผ่อนคลายการควบคุมต่างๆ  ไม่ใช่ว่ารัฐ
โง่ไม่รู้ว่าพวกท่านทำอะไร  ระวังว่ารัฐบาลปัจจุบันจะตาสว่างแล้วออกมาตรการควบคุม เพราหากรัฐบาล
ออกมาตรการควบคุม  ยกตัวอย่างเช่น ใช้ ม ๔๔  ออกมาสั่งการให้เลิกขายประกันทุกชนิดใน
ธนาคารทุกแห่ง แล้วอะไรจะเกิดขึ้น??  ผลประกอบการจะเน่าหรือไม่เน่าคิดกันเอาเอง

ผู้บริหารธนาคารควรจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก่อนที่รัฐบาลอาจจะมีการประกาศ มีการบังคับใช้กฏหมาย
ควบคุมนะครับ  ขอให้สั่งการให้ลูกน้องเพลาๆการขายประกันแบบหลอกว่าเป็นเงินออมเถอครับ วิธี
การง่ายๆก็คือถ้าลูกค้าคอมเพลนมาแบบนี้นอกจากจะไม่ถือเป็นผลงานแล้วควรจะให้คะแนนติดลบเลย
ครับ  อย่าคิดเอาประโยชน์แต่อย่างเดียวเพราะมันเป็นการทำธุรกิจที่ไม่มีจริยธรรม รางวัลที่ท่านได้มา
นั้นมันไม่คุ้มกันหรอกครับเพราะมีคนมองออกว่าท่านกำลังทำธุรกิจด้วยวิธีการที่สกปรกอยู่นะครับ

ถ้ารัฐใช้ ม๔๔ หรือ ออกกฏหมายควบคุมการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง เช่น ประกันเป็นออมทรัพย์
ธนาคารจะอยู่ยากและจะหมดโอกาสทางธุรกิจส่วนนี้ไป   ตึงเกินไปมันจะขาดนะครับ อย่าไปคิดว่ารัฐบาล
จะไม่เข้ามาแตะต้องธนาคารที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นสถาบันการเงินซึ่งแท้ที่จริงเป็นบริษัทมหาชนที่
เข้ามาระดมทุนและทำกำไรเหมือนบริษัทมหาชนอื่นๆทั่วๆไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่