ฤา คำทำนายของนักวิทยาศาสตร์จะเป็นเรื่องจริง เรากำลังเข้าสุ่ยุคน้ำแข็งเล็กๆ จุดกลับตัวของน้ำมัน

กระทู้สนทนา
หิมะตกที่ทุ่งไหหิน ดูเต็มๆ ตา.. ลาววิปริตปู่ย่าตายายไม่เคยเห็น ทางภาคใต้ก็ตก



http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000008858

ตามสมติฐานการกลับตัว  เมื่อ  เกิดการตระหนักในกลุ่มคนเล็กๆและเริ่มแพร่ขยายในวงกว้างและคนส่วนใหญ่รับรู้ว่ามันจริงก็จะเกิดการตระหนก


ทำให้  มีการแห่ตาม  การเข้าไปเก็งกำไรในน้ำมัน โดย  นักเก็งกำไร  จะเปลี่ยนจาก S เป็น L

ผมเข้าใจว่ายิ่งอกาศหนาวเย็นยิ่งนาน  ยิ่งกดดัน  นักเก็งกำไร  ที่ทำ short ไว้  และเมื่อ  มีการออกข่าวของนักวิทยาศาสตร์ที่ห้เหตุผลเมื่อไหร่  และทุกคนเริ่มเชื่อ  เมื่อนั้น  น้ำมันก็จะกลับตัวโดยสมบูรณ์




นักวิจัยเผย ปี 2014 โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง "Little Ice Age" จริงหรือเท็จ

หลังจากที่เกิดสัญญาณของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับโลก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งนั่น เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาโลกร้อน แต่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า อีกไม่นาน โลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุค “Little Ice Age” ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว มีการคาดการณ์ว่า หลังจากที่จุดดับบนดวงอาทิตย์ มีจำนวนถึงขีดสุดในปี 2042 จะส่งผลให้ปี 2014 เริ่มเป็นยุคน้ำแข็ง และจะเย็นถึงขีดสุดในปี 2055 - 2060

ดร.ฮาบิบูลโล แอ๊บดัซซามาโทฟ หัวหน้าทีมวิจัยอวกาศแห่งหอดูดาวและอวกาศ เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย เคยกล่าวในการประชุมภาวะโลกร้อนนานาชาติ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมาว่า สาเหตุที่แท้จริงของภาวะโลกร้อนนั้น ไม่ใช่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลก แต่เกิดจากรังสีจากดวงอาทิตย์

โดยมีการแสดงจุดดับของดวงอาทิตย์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อโต้แย้งงานวิจัยอื่น ๆ พร้อมทั้งแสดงหลักฐานสนับสนุนที่ว่า นักดาราศาสตร์  วอลเตอร์ มอนเดอร์ สรุปข้อมูลจุดดับของดวงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 1645 – 1715 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น นั่นเป็นสาเหตุของอุณภูมิโลกที่ลดลง ในแวดวงวิทยาศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า “Little Ice Age” นั่นเอง

และหลังจากช่วงนั้น ดวงอาทิตย์ก็ได้แผ่รังสีออกมาในระดับสูง และพลังงานดวงอาทิตย์ก็ไหลเวียนอย่างรุนแรงมาก โดยปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1990 และกินเวลายาวนาน ก่อนการไหลเวียนพลังงานของดวงอาทิตย์ จะอยู่ในระดับคงที่ ซึ่งมันก็ทำให้อุณหภูมิของโลกคงที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แต่จากการสำรวจล่าสุด พบว่า ดวงอาทิตย์มีการไหลเวียนพลังงานน้อยลง และส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิลดลงอีกครั้ง แม้ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ดร.ฮาบิบูลโล ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า จุดดับ หมายถึง พื้นที่ส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไป  ตั้งแต่ 3,600 กิโลเมตรไปจนถึง 50,000 กิโลเมตร โดยมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ หากมีจำนวนมากขึ้นแล้ว จะทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์มีปริมาณลดลง ซึ่งจำนวนของจุดมืดนี้ จะเพิ่มขึ้นและลดลงไม่เท่ากันตลอดเวลา และจุดมืดแต่ละจุดจะมีอายุตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ไปถึงหลายเดือน
http://www.unigang.com/Article/6003



ความเป็นไปได้ของการเกิดยุคหนาวเหน็บ อันเนื่องมาจาก การรบกวนระบบกระแสน้ำ ในมหาสมุทรขนาดมหึมา , การละลายน้ำแข็งทะเลแถบอาร์กติก
อาจก่อให้เกิดภาวะอากาศที่หนาวมากขึ้นในทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ

"ภาวะโลกร้อนอาจทำให้ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก เกิดอากาศหนาวอย่างหนัก ภายในเวลาสองทศวรรษข้างหน้า"

สิ่งที่เกริ่นข้างต้น เป็นสถานการณ์ขัดแย้งซึ่งกำลังได้รับความเชื่อถือมากขึ้น ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิอากาศ การละลายของน้ำแข็งทะเล ซึ่งปกคลุมทวีปอาร์กติก อาจรบกวน หรือกระทั่งเป็นสาเหตุให้สายพานนี้หยุดเคลื่อนตัว ของกระแสน้ำขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติก

เนื่องจาก สภาพที่ไร้ความร้อนจำนวนมหาศาล ที่มาจากกระแสน้ำเหล่านี้ ซึ่งเปรียบได้กับความร้อนที่ได้จากกำลังการผลิต ของโรงงานพลังงานนิวเคลียร์นับล้านโรง จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของทวีปยุโรป น่าจะลดลงไปถึง 5 - 10 องศาเซลเซียส (9 - 18 องศาฟาเรนไฮต์) และอาจจะทำให้บางบริเวณของทวีปอเมริกาเหนือด้านตะวันออก มีอากาศหนาวจัดลดลง การลดลงของอุณหภูมินี้ เหมือนกับอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก ในยุคปลายของยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีที่แล้ว

นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ อาจเกิดขึ่นได้ในเวลาเพียง 20 ปี ตามที่ระบุโดย Robert Gagosian ประธานและผู้อำนวยการของ Wood Hole Oceanographic Institution แต่นักวิทยาศาตร์บางคน ก็คิดว่าเป็นไปไม่ได้ กระนั้นก็ตาม Pentagon ก็เริ่มแจ้งมีการล่วงหน้าโดย Andrew Marshell อตีตนักวางแผนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เพิ่งจะเปิดเผยรายงานไม่เป็นความลับ ระบุรายละเอียดของการเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ของกระแสน้ำในอนาคตอันใกล้ว่าจะเป็นอันตรายต่อความมั่นของชาติได้อย่างไร

Donald Cavalieri นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของ NASA’s Goddard Space Flight Center เตือนว่า “เป็นเรื่องยากมากที่จะพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เนื่องจากทวีปอาร์กติก และมหาสมุทรแอตแลนติค เป็นระบบที่ซับซ้อนมาก มีการปฏิสัมพัทธ์มากมายระหว่างพื้นดิน, ทะเล และบรรยากาศ แต่ข้อเท็จจริงที่บอกเรา ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้ที่ทวีปอาร์กติก มีศักยภาพที่จะกระทบกับกระแสน้ำ ที่ทำให้ยุโรปตะวันตกมีอากาศอุ่นอย่างในปัจจุบัน และนั่นเองที่ทำให้หลายๆ คนมีความวิตกกังวัล”  

น้ำแข็งแถบอาร์กติก คือ กุญแจสำคัญ

มีดาวเทียมหลายดวง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสภาพภูมิอากาศ บนแผ่นน้ำแข็งในทวีปอาร์กติก เช่น ดาวเทียม Aqua ของนาซ่า ซึ่งมีตัวตรวจวัดที่ผลิดในญี่ปุ่นที่เรียกว่า Advanced Microwave Scanning Radiometer-EOS (เรียกสั้นๆ ว่า “AMSR-E”) โดยการใช้คลื่นไมโครเวฟ แทนที่จะใช้แสงที่เห็นได้ AMSRE สามารถแทงทะลุเมฆ และตรวจค่าอย่างได้ต่อเนื่องสำหรับน้ำแข็ง แม้ในยามค๋ำคืน

จากคำอธิบายของ Roy Spencer ผู้ตรวจสอบเครื่องมือหลักที่ Global Hydrology และ Climate center ใน Huntsville มลรัฐ Alabama ดาวเทียมอื่น ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังน้ำแข็งขั้วโลกที่ดำเนินการโดย NASA, NOAA และกระทรวจกลาโหมก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน

ภาพจากวงโคจร แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การลดลงในระยะยาวในบริเวณน้ำแข็งที่มีตลอดปีแถบอาร์กติก ตามข้อมูลของรายงานเมื่อปี 2545 โดย Josefino Comiso นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่ Goddard Space Flight Center ของ NASA น้ำแข็งที่มีตลอดปี กำลังลดลงด้วยอัตราเฉลี่ย 9% ต่อทศวรรษ นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลปีพ.ศ. 2521 การศึกษาจากข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า การลดลงของน้ำแข็งที่มีตลอดปีแถบอาร์กติก เป็นไปด้วยอัตราที่รุนแรงขึ้นถึง 14% ต่อทศวรรษ

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งกังวลว่า น้ำแข็งแถบอาร์กติกที่กำลังละลาย จะทำให้เกิดน้ำจืดจำนวนมากพอในทวีปแอตแลนติคเหนือ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำ  น้ำจืดเหล่านี้ มาจากการละลายของตัวน้ำแข็งเองบ้าง แต่ส่วนใหญ่ จะมาจากฝนและหิมะในย่านนั้นๆ การถดถอยของปริมาณแผ่นน้ำแข็งแถบอาร์กติก ทำให้เกิดพื้นผิวทะเลมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความชื้นมากขึ้น ที่จะระเหยข้าสู่บรรยากาศ ก่อนจะตกมาเป็นฝนในที่สุด

เนื่องจาก น้ำเค็มมีความหนาแน่นและหนักว่าน้ำจืด น้ำจืดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ จึงทำให้แผ่นพื้นผิวน้ำแข็งลอยน้ำดีขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาเพราะว่า น้ำที่พื้นผิวทะเลจำเป็นต้องมีการจมตัวลง เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำที่รู้จักในชื่อ “Great Ocean Conveyor”

น้ำที่จมตัวลง จะไหลไปทางใต้ตามพื้นมหาสมทุรจนถึงเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่น้ำบนพื้นผิวที่อุ่นกว่า จากละติจูดในเขตร้อน จะไหลไปทางเหนือ เพื่อแทนที่น้ำที่จมตัวลงไป สิ่งนี้เอง เหมือนกับสายพานลำเลียงที่ค่อยๆ เคลื่อนไปพร้อมๆ กัน การเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของน้ำจืด จะเป็นอุปสรรคของการจมตัวลงของน้ำบนพื้นผิวในบริเวณทวีปแอตแลนติคเหนือ ซึ่งจะทำให้กระแสน้ำเคลื่อนที่ช้าลง หรือกระทั่งหยุดการเคลื่อนที่

เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นไหม?

ในอดีต แนวคิดที่ว่า ภูมิอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ปัจจุบันแนวคิดนี้กำลังได้รับการยอมรับ ในรายงานปี 2546 Robert Gagosian กล่าวอ้างว่า “หลักฐานที่แสดงความคืบหน้าอย่างมาก (จากแหล่งข้อมูลเช่น tree rings และแกนน้ำแข็ง) บ่งชี้ว่า ภูมิอากาศของโลกผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและรุนแรงมาก่อนในอดีต”  

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอุ่นขึ้น ตอนช่วงท้ายของยุคน้ำแข็งประมาณ 13,000 ปีก่อน แผ่นน้ำแข็งที่กำลังละลาย ก่อให้เกิดการหยุดอย่างฉับพลันใน conveyor ทำให้โลกตกในห้วงยุคน้ำแข็งอีกครั้งกว่า 1,300 ปีที่เรียกกันว่า “Younger Dryas”

คำถาม แล้วมันจะเกิดขึ้นอีกไหม ?

คำตอบ หมู่นักวิจัยกำลังค้นหาคำตอบนี้อยู่

Thomas F.Stocker และ Andreas Schmittener จากมหาวิทยาลัยเบริน ได้ทำแบบจำลองคอมพิวเตอร์และพบว่า สิ่งนี้ขึ้นกับว่า สภาพอบอุ่นของทวีปอาร์กติกเกิดขึ้นรวดเร็วเพียงใด สภาพอบอุ่นที่เกิดขึ้นเร็วขึ้น จะปิดกั้นการไหลของกระแสน้ำหลักของแอตแลนติค ในขณะที่สภาพอบอุ่นที่เกิดขึ้นช้าลง อาจมีผลเพียงทำให้กระแสน้ำไหลช้าลงเป็นเวลาสองสามศตวรรษ

และสุดท้าย คำถามก็กลับมาที่เรื่องของมนุษย์ว่า อุตสาหกรรมของมนุษย์ มีบทบาทกับการอุ่นขึ้นของทวีปอาร์กติกหรือไม่?

เราสามารถทำการสวนแนวโน้มของเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ได้หรือไม่?

และเรามีศักยภาพพอไหม?

นักวิทยาศาสตร์บางคน ก็ไม่เห็นด้วย บางคนโต้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทวีปอาร์กติก สอดคล้องกับวัฏจักรทางธรรมชาติที่เป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีขนาดใหญ่ ในพฤติกรรมของมหาสมุทร ที่เป็นที่รับรู้กันในทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่บางคนก็เชื่อว่า องค์ประกอบของมนุษย์มีบทบาทมากแน่นอน

Spencer กล่าวว่า “การละลายของน้ำแข็งแถบอาร์กติก เป็นไปอย่างสอดคล้องกับอากาศที่อุ่นขึ้น ที่เราได้เห็นในศตวรรษที่ผ่านมา แต่เราไม่รู้ว่า อากาศที่อุ่นขึ้นนั้น มากน้อยแค่ไหนล่ะ ที่เป็นปัจจัยจากความผันผวนทางธรรมชาติของภูมิอากาศเอง และมากน้อยแค่ไหน ที่เป็นปัจจัยจากก๊าซเรือนกระจก โดยการกระทำของมนุษย์”

ถ้า The Great Conveyor Belt หยุดอย่างฉับพลัน การรู้สาเหตุ อาจจะไม่มีความหมายอะไร เพราะชาวยุโรป คงมีเรื่องอื่นให้คิดมากกว่า เช่น จะเพาะปลูกในหิมะอย่างไรดี ในขณะนี้ จึงนับเป็นโอกาสดีที่จะค้นหาว่า สาเหตุของมันคืออะไร เพราะเรื่องการผจญความหนาวเหน็บ ยังเป็นเรื่องของความน่าจะเป็นอยู่


http://www.marine.tmd.go.th/glwa01.html


**Web Links**

Global Hydrology and Climate Center -- a joint NASA / University of Alabama at Huntsville center dedicated to studying the Earth's climate system
AMSR-E -- NASA home page for the Japanese-built satellite sensor mentioned in this article
AMSR-E -- National Space Development Agency of Japan (NASDA) home page for AMSR-E
Aqua -- information about the AMSR-E sensor on NASA's Aqua satellite. Aqua is an international project supported by the United States, Japan and Brazil.
SEARCH -- home page of the Study of Environmental Arctic Change
Rapid Climate Change program -- home page
More about sudden climate change:  Abrupt climate change, from the Woods Hole Oceanographic Institute; Climate change and Arctic sea ice, from Greenpeace; Climate rides on ocean conveyor belt, from Environmental News Network; The Great Ocean Conveyor, from the David Suzuki Foundation; The Pentagon's weather nightmare, from Fortune magazine; The discovery of rapid climate change, from Physics Today

Source: http://science.nasa.gov/science-news/science-at-nasa/2004/05mar_arctic/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่