จับตาวาระ กสท.ถกเพิ่มโทษปรับปมทรูไม่เรียงช่อง กระทบฟรีทีวีใน 10 ช่องแรก ต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่
อนุผู้บริโภคเสนอ กสท. ถก Z PAY TV ยกเลิกสมาชิก จี้ส่งแผนเยียวยาด่วน
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า
การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 3/59 วันจันทร์ที่ 25 ม.ค. 59
มีวาระการประชุมน่าจับตา ได้แก่ การพิจารณาเปรียบเทียบปรับทางปกครองกับ บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด
จากการฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกี่ยวกับโฆษณา
ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด นำช่องรายการดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง นำมาออกอากาศไม่เป็นไปตามลำดับหมวดหมู่ ทั้งมีการโฆษณาหรือสินค้าหรือบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับข้อมูลคำชี้แจงเพิ่มเติมจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และช่อง 3 ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำช่องรายการรวมทั้งการโฆษณาทั้งหมดมาออกอากาศในโครงข่ายไม่ใช้คลื่นความถี่ในลำดับหมวดหมู่ที่นอกเหนือจากประกาศฯที่ กสทช.กำหนด ซึ่งในที่ประชุมจะมีการพิจารณามาตรการบังคับทางปกครองไปยังผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง รวมทั้งที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณี ทรูวิชั่นส์ มีการโฆษณาสินค้าหรือบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
“การที่ช่องฟรีทีวีต่างๆปล่อยให้ตนเองอยู่ใน 10 ช่องแรก ขณะที่ช่อง 5 ขอถอนตัวออกไปแล้ว
ดังนั้น ช่องฟรีทีวีที่เหลือจะต้องมีส่วนรับผิดชอบฐานขัดกฎด้วยหรือไม่
ถ้าผิดในฐานะช่องรายการก็อาจจะถูกลงโทษปรับ 1 ล้านบาท และปรับต่อเนื่องวันละ 5 หมื่นบาทเช่นเดียวกัน
หรือ
ถ้าช่อง 3-7-9 ยืนยันว่าไม่ได้ยินยอมให้ทางทรูวิชั่นส์ นำช่องรายการไปออก อาจต้องพิจารณาว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ที่นำช่องฟรีทีวีธุรกิจมาออกใน 10 ช่องแรกแล้วมีโฆษณาซ้ำซ้อน เพราะตามประกาศ กสทช. กำหนดไว้ว่าเป็นช่องบริการสาธารณะ
ดิฉันเห็นว่าทรูวิชั่นส์ควรกลับทำตามกติกา หลังจากศาลไม่ได้คุ้มครองชั่วคราว กฎ กสทช. จึงยังมีผลบังคับใช้ การที่ไม่ทำตามกฎเหมือนรายอื่นแล้วอ้างว่ารอศาลตัดสิน อาจถูกมองว่าเป็นการกดดันศาลท่าน กติกาก็คือกติกา ถ้าไม่ทำตามก็ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งหมด ไม่ทราบเหมือนกันว่าทางทรูวิชั่นส์จะต้องการนำพาเรื่องนี้ไปสู่จุดจบอย่างไร และเพื่ออะไรกันแน่” สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ กสท.เตรียมพิจารณาวาระจากอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต่อความเห็น บ.จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด แจ้งเปลี่ยนระบบการให้บริการแพ็กเกจ Z PAY TV ทางกล่องรับสัญญาณ GMMZ ซึ่งผู้ใช้บริการไม่สามารถเติมช่องรายการได้ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป และไม่สามารถรับชมรายการช่อง Z PAY TV ได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 59
ซึ่งผู้บริโภคสามารถสอบถามการชดเชยหรือการรับชมได้ทาง Call Center 1619 และ 1629 และ เวบไซต์
http://welcomecth.co.th โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 59 โดยทาง บ. จะเริ่มดำเนินการจัดส่งกล่องได้ตั้งแต่เดือน ก.พ. เป็นต้นไป ซึ่งนางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า
อนุกรรมการได้มีการเชิญ บ.จีเอ็มเอ็ม แซท และจีเอ็มเอ็ม บี เพื่อหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และความพร้อมของ Call Center ที่อาจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ใช้บริการสำหรับผู้ที่เติมแพคเกจ Z PAY TV รวมทั้งจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า บ.จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ได้มีการทำสัญญาให้บริการระหว่างผู้ใช้บริการหรือไม่อย่างไร และพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
วาระอื่นน่าจับตาได้แก่ เรื่องร้องเรียนขอให้ บ.ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด เร่งดำเนินการตรวจสอบการคิดค่าบริการซ้ำซ้อน และคืนเงินที่ชำระเกินจากค่าบริการ วาระเรื่องร้องเรียนกรณีขอให้สำนักงาน กสทช. เข้าตรวจสอบการประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ช่องฟ้าให้ทีวี วาระการกำหนดค่าปรับทางปกครอง การโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย กรณีการโฆษณาบริการหรือสินค้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและกรณีอื่น และวาระอื่นๆ ซึ่งสามารถติดตามผลการประชุมในวันจันทร์นี้…
ที่มา
http://www.supinya.com/2016/01/590125/
ช่อง ๓ ช่อง ๗ ช่อง ๙ ต้องรับโทษโดนปรับเงิน พร้อมกับ ทรูวิชันส์ ด้วย ? (แถมเรื่องของ CTH และ GMMZ)
อนุผู้บริโภคเสนอ กสท. ถก Z PAY TV ยกเลิกสมาชิก จี้ส่งแผนเยียวยาด่วน
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า
การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 3/59 วันจันทร์ที่ 25 ม.ค. 59
มีวาระการประชุมน่าจับตา ได้แก่ การพิจารณาเปรียบเทียบปรับทางปกครองกับ บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด
จากการฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกี่ยวกับโฆษณา
ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด นำช่องรายการดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง นำมาออกอากาศไม่เป็นไปตามลำดับหมวดหมู่ ทั้งมีการโฆษณาหรือสินค้าหรือบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับข้อมูลคำชี้แจงเพิ่มเติมจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และช่อง 3 ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำช่องรายการรวมทั้งการโฆษณาทั้งหมดมาออกอากาศในโครงข่ายไม่ใช้คลื่นความถี่ในลำดับหมวดหมู่ที่นอกเหนือจากประกาศฯที่ กสทช.กำหนด ซึ่งในที่ประชุมจะมีการพิจารณามาตรการบังคับทางปกครองไปยังผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง รวมทั้งที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณี ทรูวิชั่นส์ มีการโฆษณาสินค้าหรือบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
“การที่ช่องฟรีทีวีต่างๆปล่อยให้ตนเองอยู่ใน 10 ช่องแรก ขณะที่ช่อง 5 ขอถอนตัวออกไปแล้ว
ดังนั้น ช่องฟรีทีวีที่เหลือจะต้องมีส่วนรับผิดชอบฐานขัดกฎด้วยหรือไม่
ถ้าผิดในฐานะช่องรายการก็อาจจะถูกลงโทษปรับ 1 ล้านบาท และปรับต่อเนื่องวันละ 5 หมื่นบาทเช่นเดียวกัน
หรือถ้าช่อง 3-7-9 ยืนยันว่าไม่ได้ยินยอมให้ทางทรูวิชั่นส์ นำช่องรายการไปออก อาจต้องพิจารณาว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ที่นำช่องฟรีทีวีธุรกิจมาออกใน 10 ช่องแรกแล้วมีโฆษณาซ้ำซ้อน เพราะตามประกาศ กสทช. กำหนดไว้ว่าเป็นช่องบริการสาธารณะ
ดิฉันเห็นว่าทรูวิชั่นส์ควรกลับทำตามกติกา หลังจากศาลไม่ได้คุ้มครองชั่วคราว กฎ กสทช. จึงยังมีผลบังคับใช้ การที่ไม่ทำตามกฎเหมือนรายอื่นแล้วอ้างว่ารอศาลตัดสิน อาจถูกมองว่าเป็นการกดดันศาลท่าน กติกาก็คือกติกา ถ้าไม่ทำตามก็ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งหมด ไม่ทราบเหมือนกันว่าทางทรูวิชั่นส์จะต้องการนำพาเรื่องนี้ไปสู่จุดจบอย่างไร และเพื่ออะไรกันแน่” สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ กสท.เตรียมพิจารณาวาระจากอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต่อความเห็น บ.จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด แจ้งเปลี่ยนระบบการให้บริการแพ็กเกจ Z PAY TV ทางกล่องรับสัญญาณ GMMZ ซึ่งผู้ใช้บริการไม่สามารถเติมช่องรายการได้ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป และไม่สามารถรับชมรายการช่อง Z PAY TV ได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 59
ซึ่งผู้บริโภคสามารถสอบถามการชดเชยหรือการรับชมได้ทาง Call Center 1619 และ 1629 และ เวบไซต์ http://welcomecth.co.th โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 59 โดยทาง บ. จะเริ่มดำเนินการจัดส่งกล่องได้ตั้งแต่เดือน ก.พ. เป็นต้นไป ซึ่งนางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า
อนุกรรมการได้มีการเชิญ บ.จีเอ็มเอ็ม แซท และจีเอ็มเอ็ม บี เพื่อหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และความพร้อมของ Call Center ที่อาจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ใช้บริการสำหรับผู้ที่เติมแพคเกจ Z PAY TV รวมทั้งจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า บ.จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ได้มีการทำสัญญาให้บริการระหว่างผู้ใช้บริการหรือไม่อย่างไร และพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
วาระอื่นน่าจับตาได้แก่ เรื่องร้องเรียนขอให้ บ.ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด เร่งดำเนินการตรวจสอบการคิดค่าบริการซ้ำซ้อน และคืนเงินที่ชำระเกินจากค่าบริการ วาระเรื่องร้องเรียนกรณีขอให้สำนักงาน กสทช. เข้าตรวจสอบการประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ช่องฟ้าให้ทีวี วาระการกำหนดค่าปรับทางปกครอง การโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย กรณีการโฆษณาบริการหรือสินค้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและกรณีอื่น และวาระอื่นๆ ซึ่งสามารถติดตามผลการประชุมในวันจันทร์นี้…
ที่มา
http://www.supinya.com/2016/01/590125/