คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
นี่คือปัญหาหนึ่งของ สปสช เพราะเป็นผู้ตั้งกฏเกณฑ์แบบนี้ ที่แพทย์ผู้ดูแลมะเร็งส่วนใหญ่ก็อึดอัด
ทำให้ผู้ป่วยหลายคนขาดโอกาสไปทั้งๆที่ยินยอมจ่ายค่ารักษาเอง
ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีกรณีตัวอย่างของผู้ป่วยเองที่ทำไว้ด้วย เหตุจากการที่บอกว่ายินยอมชำระเงินเอง
แต่เมื่อได้รับยาไปแล้ว กลับยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อเรียกเงินที่ตนเองต้องจ่ายไปคืน
โดยที่ทาง สปสช. ไม่รับผิดชอบอะไร ให้เป็นภาระของโรงพยาบาลต้องแก้ปัญหาเอง
เพราะเป็นผู้สั่งจ่ายยาถือว่าเห็นชอบเอง ทำให้โรงพยาบาลเพื่อยุติปัญหาก็ต้องยอมจ่ายคืนให้
จึงเป็นปัญหาให้หลายๆโรงพยาบาลก็ต้องระวังในจุดนี้ โดยไม่สั่งจ่ายยา
เนื่องจากเป็นดุลยพินิจของแพทย์เช่นกันว่าจะสั่งจ่ายหรือไม่สั่งจ่าย
แต่ ณ.จุดนี้ เชือได้ว่าถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ของ สปสช. ก็คงไม่มีการสั่งจ่ายยา
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยต้องการจริงก็คงต้องติดต่อแพทย์ รพ.เอกชนสั่งยาให้
ซึ่งแน่นอนก็คงต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็ต้องยอมรับน่ะครับ เพราะเป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง
ทำให้ผู้ป่วยหลายคนขาดโอกาสไปทั้งๆที่ยินยอมจ่ายค่ารักษาเอง
ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีกรณีตัวอย่างของผู้ป่วยเองที่ทำไว้ด้วย เหตุจากการที่บอกว่ายินยอมชำระเงินเอง
แต่เมื่อได้รับยาไปแล้ว กลับยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อเรียกเงินที่ตนเองต้องจ่ายไปคืน
โดยที่ทาง สปสช. ไม่รับผิดชอบอะไร ให้เป็นภาระของโรงพยาบาลต้องแก้ปัญหาเอง
เพราะเป็นผู้สั่งจ่ายยาถือว่าเห็นชอบเอง ทำให้โรงพยาบาลเพื่อยุติปัญหาก็ต้องยอมจ่ายคืนให้
จึงเป็นปัญหาให้หลายๆโรงพยาบาลก็ต้องระวังในจุดนี้ โดยไม่สั่งจ่ายยา
เนื่องจากเป็นดุลยพินิจของแพทย์เช่นกันว่าจะสั่งจ่ายหรือไม่สั่งจ่าย
แต่ ณ.จุดนี้ เชือได้ว่าถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ของ สปสช. ก็คงไม่มีการสั่งจ่ายยา
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยต้องการจริงก็คงต้องติดต่อแพทย์ รพ.เอกชนสั่งยาให้
ซึ่งแน่นอนก็คงต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็ต้องยอมรับน่ะครับ เพราะเป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง
แสดงความคิดเห็น
แฟนเป็นมะเร็งเต้านม แต่หมอปฏิเสธไม่ให้รับยาเฮอร์เซพติน ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งโดยตรง ผมควรทำยังไงดีครับ
ต่อมา เมื่อกันยายนปีที่แล้วตรวจเจอเชื้อมะเร็งที่เดิมตรงเต้านมขวา ระยะที่ 1 ไม่มีการแพร่กระจายไปที่อื่น หมอรักษาโดยตัดเนื้อร้ายทิ้งแต่รักษาเต้านมไว้เหมือนเดิม แล้วให้คีโมตัวน้ำแดง 4 ครั้ง หลังจากนั้นตามด้วย paclitaxel อีก 12 ครั้ง ตอนนี้รับยาไป 3 ครั้งแล้วครับ แฟนได้คุยเรื่องยา Herceptin กับหมอ และคุณหมอก็ทำเรื่องเข้าโครงการของรัฐแต่ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะที่เป็นรอบ 2 นี้ เป็นเกรด 3 ก้อนเนื้อร้าย 8 มิล ซึ่งไม่ตรงกับที่รัฐตั้งไว้คือต้องเป็นระยะที่ 2 ลามเข้าต่อมน้ำเหลือง แต่แฟนผมเลาะต่อมน้ำเหลืองทิ้งไปแล้ว 8 ต่อมตั้งแต่ตอนที่เป็นครั้งแรก
ตอนนี้ยา Herceptin ลดราคาเหลือครึ่งนึง แฟนเลยคุยกับหมอว่าจะจ่ายค่ายาเอง หมอเลยเอาเรื่องเข้าที่ประชุมแต่ ผ.อ. ไม่ให้กลัวเสียชื่อเสียง หมอบอกว่ามันเคยมีปัญหาการฟ้องร้องกัน ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าฟ้องร้องเรื่องอะไรกัน หมอตัดปัญหาโดยการบอกว่ายังไม่ต้องรับ Herceptin ซึ่งตามที่หาอ่านในเน็ต คนที่เป็นมะเร็งเต้านมชนิดเฮอร์ทูบวก ถ้าไม่รับยา Herceptin โอกาสกับมาเป็นซ้ำอีกสูงมากและการแพร่กระจายก็เร็วด้วย
เมื่อวานนี้แฟนผมก็คุยกับหมอว่า คิดจะไปติดต่อที่มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติที่จุฬา หมอบอกว่าจะรับ Herceptin ก็ต้องรับตอนนี้เลย ซึ่งแฟนผมก็จะลงไปติดต่อเลย และจะให้หมอเซ็นต์เอกสารรับรองให้ แต่หมอบอกไม่ต้องหรอก รักษาแค่นี้ก็พอ แต่แฟนคิดว่ามันไม่พอนะ เพราะการกลับมาเป็นของมะเร็งอีกครั้งมันสูงมาก
แฟนบอกหมอว่า ตายไม่เป็นไร แต่การให้คีโมมันเหมือนตกนรก หมอบอกว่าไม่เป็นไรหรอกเพื่อนรับคีโมมีเยอะ ไม่ตายหรอกหมอพูดประมาณว่าเป็นอีกครั้งค่อยรับ Herceptin แต่เพื่ออะไร???? ทำไมต้องรอให้เป็นอีกครั้งครับ ใครพอจะมีวิธีแนะนำบ้างครับ
(แฟนผมรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลทางภาคเหนือ เมืองไม้สักครับ)
แก้ไข
-การที่ไม่เข้าเกณฑ์ของรัฐ คือ ไม่สามารถรับยาฟรีได้ครับ แต่ถ้าจ่ายเองราคาจะลดลงเหลือประมาณ 7-8 แสนครับ ซึ่งผมยินยอมจ่าย แต่หมอไม่ยอมให้รับครับ