สวัสดีค่ะ
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์โครงการ Match4LaraThailand นะคะ
(Facebook:
https://www.facebook.com/Match4LaraThailand/?fref=ts)
หลายๆท่านอาจะเคยเห็นข่าวประชาสัมพันธ์โครงการฯในสื่อต่างๆกันบ้างแล้ว
แต่ขอนำเรื่องของโครงการฯและเรื่องของลาร่ามาแชร์ให้ชาวพันทิปได้อ่านได้เห็นและร่วมกันช่วยเหลือต่อแล้วกันนะคะ
ลาร่า หรือ Lara Casalotti สาวลูกครึ่งไทย-จีนและอิตาเลียน วัย 24 ปี
นักศึกษาปริญญาโทที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับมานุษยวิทยา สาขา Global Migrant ที่ประเทศอังกฤษ
เพราะเธอให้ความสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ
ลาร่าเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครตั้งแต่อายุ 14 ปี
โดยเริ่มจากใช้เวลาปิดเทอม ไปดูแลเด็กๆที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าต่างๆ
เมื่อโตขึ้นเธอก็ศึกษาต่อด้านมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และปัญหาผู้อพยพทั่วโลก
ซึ่งขณะศึกษาต่อ ลาร่าก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งการเป็นอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆในเมืองไทย และเด็กๆที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ รณรงค์และเข้าช่วยเหลือผู้อพยพในลอนดอน
ตลอดจนเข้าร่วมงานกับองค์การสหประชาชาติ (ESCAP) ในการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนในภาคพื้นทวีปเอเชียแปซิฟิคอีกด้วย
ระหว่างเดินทางตามอาจารย์มาทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้อพยพในเมืองไทยเมื่อช่วงปลายปี2558ที่ผ่านมาก็พบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ
สุดท้ายเมื่อไปพบแพทย์ก็ถูกวินิจฉัยว่าเป็น
โรคลูคีเมีย หรือ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน(แบบไมอีลอยด์)
ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการทำคีโมฯหรือทานยาเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือไขกระดูกเพื่อรักษา
โดยสเต็มเซลล์ที่ดีที่สุด ควรมาจากพี่น้องหรือครอบครัวที่มีลักษณะเนื้อเยื่อทางพันธุกรรม (HLA) ตรงกัน
ซึ่งมีโอกาสเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
น่าเสียดายที่น้องชายเพียงคนเดียวของลาร่ารวมถึงคนในครอบครัวไม่มีใครมี HLA ของสเต็มเซลล์ตรงกันกับเธอเลย
และเนื่องจากลาร่าเป็นลูกครึ่ง ทำให้โอกาสได้เจอ HLA ที่ตรงกัน หรือ match กันกับเธอมีน้อยมาก
เพราะจำนวนของผู้เป็นลูกครึ่งทั่วโลก คิดเป็น 3% เท่านั้น
แม้ว่าโอกาสมีเพียงน้อยนิด แค่ 1 ใน 40,000 ที่จะได้เจอสเต็มเซลล์ที่ตรงกัน
แต่ครอบครัวของลาร่ายังไม่สิ้นความหวัง จึงตั้งโครงการ Match4Lara ขึ้น และกระจายข่าวออกไปทางสื่อออนไลน์
เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนออกมาบริจาคสเต็มเซลล์ โดยเริ่มจากประเทศอังกฤษที่ลาร่าอาศัยอยู่
เมื่อเรื่องราวของลาร่าแพร่ออกไปในวงกว้างก็มีผู้บริจาคที่มีความหลายหลายทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นกว่า 3,000 คนในมูลนิธิ Anthony Nolan ประเทศอังกฤษซึ่งจากผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนผู้บริจาคที่เป็นลูกครึ่งหรือผู้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติเพียง 0.5-1.5% เท่านั้นจากเอเชียตะวันออกและยุโรป ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนผู้บริจาคที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมาตลอด
นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ เจ.เค.โรว์ลิ่ง และสตีเฟ่น ฟราย (ดาราตลกชาวอังกฤษ)
ที่เผยแพร่เรื่องราวของลาร่าในสื่อทวิตเตอร์ ทำให้ Match4lara กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
เกิดเป็นกระแสขึ้นในข่าวตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
ทั้งนี้ตัวลาร่าและครอบครัวของเธอ
ไม่ได้เจาะจงให้โครงการนี้มีเพื่อช่วยเหลือลาร่าเพียงแค่คนเดียว
พวกเขาเข้าใจดี ว่าโอกาสที่ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับสเต็มเซลล์ที่ตรงกันนั้นยากเพียงใด
พวกเขาจึงหวังว่าโครงการฯนี้ จะสามารถจุดประกายความหวังให้กับผู้ป่วยนับพันที่กำลังต่อสู้กับการรอคอย
ได้มีโอกาสเจอสเต็มเซลล์ของตัวเองในที่สุด
ด้วยเหตุนี้ Match4LaraThailand จึงถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย อันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติประเทศหนึ่ง
เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนออกมาร่วมบริจาคโลหิตและสเต็มเซลล์
โดยหวังว่าอย่างน้อยจะมีโอกาสในการช่วยเหลือผู้ป่วยอีกกว่า 1,900 คนทั่วประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งขณะนี้โครงการ Match4LaraThailand ได้รับการตอบรับหลังเป็นอย่างดีหลังจากประชาสัมพันธ์ออกไป
มีผู้บริจาคหลั่งไหลไปที่สภากาชาดไทยเพื่อบริจาคสเต็มเซลล์เกือบสองพันคนแล้ว รวมทั้งศิลปินดารา เช่น ชมพู่ อารยา ,เอมมี่ กลิ่นประทุม,
กีต้าร์ ศิริพิชญ์ ฯลฯ โดยทางสภากาชาดจะนำค่า HLA ของทุกๆคนไปตรวจเพื่อดูว่าตรงกับผู้ป่วยอีกกว่า 1,900 คนทั่วประเทศไทยและลาร่าหรือไม่
ผู้สนใจสามารถร่วมแสดงความจำนงบริจาคสเต็มเซลล์ได้
โดยการมาบริจาคโลหิตตามปกติที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
และ
*กรอกแบบฟอร์มแสดงความจำนงเป็นผู้บริจาคสเต็มเซลล์นะคะ
(กรณีไม่ได้กรอกแบบฟอร์มเป็นผู้บริจาคสเต็มเซลล์ ทางศูนย์บริการโลหิตฯจะไม่นำเลือดของท่านไปทำการตรวจ HLA นะคะ
เพราะจะถือว่าอาสาสมัครเป็นผู้บริจาคเลือดเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บริจาคสเต็มเซลล์)
และผลตรวจสเต็มเซลล์นี้จะถูกเก็บเป็นข้อมูลไว้กับศูนย์ฯ โดยที่ผู้บริจาคจะไม่ได้รับการติดต่อหรือรายงานผลใดๆ
จนกว่าผลตรวจ HLA ของท่าน จะไป Match กับผู้ป่วยที่ต้องการสเต็มเซลล์คนใดคนหนึ่ง
ดังนั้นถ้าไม่ได้บริจาคสเต็มเซลล์ทันทีก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะ
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทร. 02-256-4300, 02-263-9600 ต่อ 1301, 1310 หรือ 1771
และติดตามรายละเอียดได้ที่แฟนเพจ Match4LaraThailand
และเว็บไซต์ www.match4lara.com
"สาวลูกครึ่งผู้อุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือสังคม ในวันนี้กลับต้องเป็นผู้รอคอยความช่วยเหลือ" #Match4LaraThailand
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์โครงการ Match4LaraThailand นะคะ
(Facebook: https://www.facebook.com/Match4LaraThailand/?fref=ts)
หลายๆท่านอาจะเคยเห็นข่าวประชาสัมพันธ์โครงการฯในสื่อต่างๆกันบ้างแล้ว
แต่ขอนำเรื่องของโครงการฯและเรื่องของลาร่ามาแชร์ให้ชาวพันทิปได้อ่านได้เห็นและร่วมกันช่วยเหลือต่อแล้วกันนะคะ
ลาร่า หรือ Lara Casalotti สาวลูกครึ่งไทย-จีนและอิตาเลียน วัย 24 ปี
นักศึกษาปริญญาโทที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับมานุษยวิทยา สาขา Global Migrant ที่ประเทศอังกฤษ
เพราะเธอให้ความสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ
ลาร่าเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครตั้งแต่อายุ 14 ปี
โดยเริ่มจากใช้เวลาปิดเทอม ไปดูแลเด็กๆที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าต่างๆ
เมื่อโตขึ้นเธอก็ศึกษาต่อด้านมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และปัญหาผู้อพยพทั่วโลก
ซึ่งขณะศึกษาต่อ ลาร่าก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งการเป็นอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆในเมืองไทย และเด็กๆที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ รณรงค์และเข้าช่วยเหลือผู้อพยพในลอนดอน
ตลอดจนเข้าร่วมงานกับองค์การสหประชาชาติ (ESCAP) ในการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนในภาคพื้นทวีปเอเชียแปซิฟิคอีกด้วย
ระหว่างเดินทางตามอาจารย์มาทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้อพยพในเมืองไทยเมื่อช่วงปลายปี2558ที่ผ่านมาก็พบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ
สุดท้ายเมื่อไปพบแพทย์ก็ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลูคีเมีย หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน(แบบไมอีลอยด์)
ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการทำคีโมฯหรือทานยาเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือไขกระดูกเพื่อรักษา
โดยสเต็มเซลล์ที่ดีที่สุด ควรมาจากพี่น้องหรือครอบครัวที่มีลักษณะเนื้อเยื่อทางพันธุกรรม (HLA) ตรงกัน
ซึ่งมีโอกาสเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
น่าเสียดายที่น้องชายเพียงคนเดียวของลาร่ารวมถึงคนในครอบครัวไม่มีใครมี HLA ของสเต็มเซลล์ตรงกันกับเธอเลย
และเนื่องจากลาร่าเป็นลูกครึ่ง ทำให้โอกาสได้เจอ HLA ที่ตรงกัน หรือ match กันกับเธอมีน้อยมาก
เพราะจำนวนของผู้เป็นลูกครึ่งทั่วโลก คิดเป็น 3% เท่านั้น
แม้ว่าโอกาสมีเพียงน้อยนิด แค่ 1 ใน 40,000 ที่จะได้เจอสเต็มเซลล์ที่ตรงกัน
แต่ครอบครัวของลาร่ายังไม่สิ้นความหวัง จึงตั้งโครงการ Match4Lara ขึ้น และกระจายข่าวออกไปทางสื่อออนไลน์
เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนออกมาบริจาคสเต็มเซลล์ โดยเริ่มจากประเทศอังกฤษที่ลาร่าอาศัยอยู่
เมื่อเรื่องราวของลาร่าแพร่ออกไปในวงกว้างก็มีผู้บริจาคที่มีความหลายหลายทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นกว่า 3,000 คนในมูลนิธิ Anthony Nolan ประเทศอังกฤษซึ่งจากผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนผู้บริจาคที่เป็นลูกครึ่งหรือผู้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติเพียง 0.5-1.5% เท่านั้นจากเอเชียตะวันออกและยุโรป ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนผู้บริจาคที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมาตลอด
นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ เจ.เค.โรว์ลิ่ง และสตีเฟ่น ฟราย (ดาราตลกชาวอังกฤษ)
ที่เผยแพร่เรื่องราวของลาร่าในสื่อทวิตเตอร์ ทำให้ Match4lara กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
เกิดเป็นกระแสขึ้นในข่าวตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
ทั้งนี้ตัวลาร่าและครอบครัวของเธอ ไม่ได้เจาะจงให้โครงการนี้มีเพื่อช่วยเหลือลาร่าเพียงแค่คนเดียว
พวกเขาเข้าใจดี ว่าโอกาสที่ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับสเต็มเซลล์ที่ตรงกันนั้นยากเพียงใด
พวกเขาจึงหวังว่าโครงการฯนี้ จะสามารถจุดประกายความหวังให้กับผู้ป่วยนับพันที่กำลังต่อสู้กับการรอคอย
ได้มีโอกาสเจอสเต็มเซลล์ของตัวเองในที่สุด
ด้วยเหตุนี้ Match4LaraThailand จึงถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย อันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติประเทศหนึ่ง
เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนออกมาร่วมบริจาคโลหิตและสเต็มเซลล์
โดยหวังว่าอย่างน้อยจะมีโอกาสในการช่วยเหลือผู้ป่วยอีกกว่า 1,900 คนทั่วประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งขณะนี้โครงการ Match4LaraThailand ได้รับการตอบรับหลังเป็นอย่างดีหลังจากประชาสัมพันธ์ออกไป
มีผู้บริจาคหลั่งไหลไปที่สภากาชาดไทยเพื่อบริจาคสเต็มเซลล์เกือบสองพันคนแล้ว รวมทั้งศิลปินดารา เช่น ชมพู่ อารยา ,เอมมี่ กลิ่นประทุม,
กีต้าร์ ศิริพิชญ์ ฯลฯ โดยทางสภากาชาดจะนำค่า HLA ของทุกๆคนไปตรวจเพื่อดูว่าตรงกับผู้ป่วยอีกกว่า 1,900 คนทั่วประเทศไทยและลาร่าหรือไม่
ผู้สนใจสามารถร่วมแสดงความจำนงบริจาคสเต็มเซลล์ได้
โดยการมาบริจาคโลหิตตามปกติที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
และ *กรอกแบบฟอร์มแสดงความจำนงเป็นผู้บริจาคสเต็มเซลล์นะคะ
(กรณีไม่ได้กรอกแบบฟอร์มเป็นผู้บริจาคสเต็มเซลล์ ทางศูนย์บริการโลหิตฯจะไม่นำเลือดของท่านไปทำการตรวจ HLA นะคะ
เพราะจะถือว่าอาสาสมัครเป็นผู้บริจาคเลือดเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บริจาคสเต็มเซลล์)
และผลตรวจสเต็มเซลล์นี้จะถูกเก็บเป็นข้อมูลไว้กับศูนย์ฯ โดยที่ผู้บริจาคจะไม่ได้รับการติดต่อหรือรายงานผลใดๆ
จนกว่าผลตรวจ HLA ของท่าน จะไป Match กับผู้ป่วยที่ต้องการสเต็มเซลล์คนใดคนหนึ่ง
ดังนั้นถ้าไม่ได้บริจาคสเต็มเซลล์ทันทีก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะ
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทร. 02-256-4300, 02-263-9600 ต่อ 1301, 1310 หรือ 1771
และติดตามรายละเอียดได้ที่แฟนเพจ Match4LaraThailand
และเว็บไซต์ www.match4lara.com