วอชิงตันโพสต์รายงานว่า คณะนักดาราศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค แถลงผลการศึกษาที่ค้นพบหลักฐานใหม่ที่สนับสนุนว่า มีดาวเคราะห์ดวงใหม่ในระบบสุริยจักรวาล ลักษณะเป็นดาวน้ำแข็งดวงใหญ่โคจรอยู่ที่ขอบจักรวาล เลยจากพลูโต ดาวเคราะห์ที่ถูกลดสถานะลงไปเป็นดาวเคราะห์แคระ เบื้องต้นนี้เรียกว่า ดาวเคราะห์เก้า หรือ แพลเน็ตไนน์ (Planet Nine)
ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารดาราศาสตร์ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่อย่างน้อยในสองทวีป เพื่อค้นหาดาวที่อยู่ไกลกว่าดาวเคราะห์ดวงที่ 8 คือเนปจูน ออกไปราว 20 เท่า แต่ไม่ได้สำรวจพบจากกล้องโทรทรรศน์โดยตรง อาศัยการศึกษาที่เริ่มจากดาวเคราะห์แคระเซดนา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพลูโต มีลักษณะถูกแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอวกาศขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึงดาวเก้า หลักฐานใหม่นี้มาจากการใช้สูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์
เมื่อประเมินแล้ว ดาวเก้าจะใช้เวลา 10,000-20,000 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และน่าจะมีขนาดใหญ่กว่าโลก ราว 5-10 เท่า ซึ่งหากตรงตามข้อสันนิษฐานนี้ ดาวจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 รองจากดาวพฤหัสฯ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
"แม้ว่าตอนแรกเราจะสงสัยว่ามีดาวดวงนี้อยู่จริงหรือ แต่เมื่อเราเดินหน้าตรวจสอบวงโคจรขของมันว่าจะเป็นอย่างไรในระบบสุริยจักรวาลไกลโพ้น เราเริ่มมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ ว่ามีดาวอยู่ที่นั่นจริงๆ"คอนสแตนติน เบทีกิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดาราศาสตร์แห่งแคลเทค กล่าว
เครดิต:
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1453319077
ปล. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 10,000-20,000 ปี ชาตินี้นี้จะมีโอกาสเจอไหมเนี้ย
พบหลักฐานหนุนมีดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยจักรวาล อยู่ไกลกว่าพลูโต
วอชิงตันโพสต์รายงานว่า คณะนักดาราศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค แถลงผลการศึกษาที่ค้นพบหลักฐานใหม่ที่สนับสนุนว่า มีดาวเคราะห์ดวงใหม่ในระบบสุริยจักรวาล ลักษณะเป็นดาวน้ำแข็งดวงใหญ่โคจรอยู่ที่ขอบจักรวาล เลยจากพลูโต ดาวเคราะห์ที่ถูกลดสถานะลงไปเป็นดาวเคราะห์แคระ เบื้องต้นนี้เรียกว่า ดาวเคราะห์เก้า หรือ แพลเน็ตไนน์ (Planet Nine)
ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารดาราศาสตร์ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่อย่างน้อยในสองทวีป เพื่อค้นหาดาวที่อยู่ไกลกว่าดาวเคราะห์ดวงที่ 8 คือเนปจูน ออกไปราว 20 เท่า แต่ไม่ได้สำรวจพบจากกล้องโทรทรรศน์โดยตรง อาศัยการศึกษาที่เริ่มจากดาวเคราะห์แคระเซดนา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพลูโต มีลักษณะถูกแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอวกาศขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึงดาวเก้า หลักฐานใหม่นี้มาจากการใช้สูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์
เมื่อประเมินแล้ว ดาวเก้าจะใช้เวลา 10,000-20,000 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และน่าจะมีขนาดใหญ่กว่าโลก ราว 5-10 เท่า ซึ่งหากตรงตามข้อสันนิษฐานนี้ ดาวจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 รองจากดาวพฤหัสฯ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
"แม้ว่าตอนแรกเราจะสงสัยว่ามีดาวดวงนี้อยู่จริงหรือ แต่เมื่อเราเดินหน้าตรวจสอบวงโคจรขของมันว่าจะเป็นอย่างไรในระบบสุริยจักรวาลไกลโพ้น เราเริ่มมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ ว่ามีดาวอยู่ที่นั่นจริงๆ"คอนสแตนติน เบทีกิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดาราศาสตร์แห่งแคลเทค กล่าว
เครดิต: http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1453319077
ปล. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 10,000-20,000 ปี ชาตินี้นี้จะมีโอกาสเจอไหมเนี้ย