"คำพูดแรกที่คนมักจะพูดหลังจากที่ตื่นมาแล้วพบว่าตัวเองพิการคือ อยากตาย"
"ผมรู้ดีเพราะผมผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว" ... "หลายครั้ง"
จากการที่มีโอกาสได้ประสานงานกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมของสสส.ทำให้ผมได้มีโอกาสพบกับโลกที่คนทั่วไปเข้าไม่ถึง นั่นก็คือโลกของคนพิการ
ความพิการมีมาในหลายรูปแบบ ทางการเคลื่อนไหว ทางการรับรู้ ทางสติปัญญา บ้างก็เป็นมาตั้งแต่เกิด บ้างเป็นจากโรคร้าย และที่โหดร้ายที่สุดคือเกิดจากอุบัติเหตุ ความรู้สึกว่าเมื่อวานยังเดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่วันนี้กลับเป็นคนที่ทำอะไรไม่ได้ ความคิดนี้ผลักดันให้ผู้พิการคิดสั้นมานักต่อนัก
"หน้าที่ปัจจุบันผมมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือการรณรงค์ให้ผู้คนเห็นอันตรายของการเมาแล้วขับ อีกเรื่องหนึ่งคือการสอนให้คนที่เพิ่งประสบเหตุเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเองให้ได้"
พี่ที่ผมมีโอกาสได้คุยด้วยได้เล่าถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะพนักงานบริษัทเอกชน สถานที่ปฏิบัติงานของเขาไม่ใช่อาคารสำนักงาน ไม่ใช่โรงงาน ไม่ใช่แม้แต่ที่ทำงานรูปแบบใดๆของเอกชน แต่หากเป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคอีสาน
อาจจะฟังดูแปลกสักเล็กน้อย แต่นี่คือเรื่องดีเรื่องหนึ่งที่ควรป่าวประกาศให้รู้กันทั่วไป
ขอท้าวความถึงสภาพปัญหาก่อน เดิมทีประเทศไทยเองมีการคำนึงถึงผู้พิการจึงได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายให้สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องจ้างพนักงานพิการตามสัดส่วนของพนักงาน หากไม่จ้างก็จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจ้างคนพิการก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องภาษี เรียกว่ามีทั้งรางวัลหากทำตามและมีโทษหากไม่ทำ (มาตรา 33 และ 35)
แต่กระนั้นการจ้างงานคนพิการก็ไม่ได้แพร่หลายอย่างเจตนารมณ์ของกฎหมาย ข้อจำกัดของสถานที่ทำงานทำให้เอกชนจำนวนมากเลือกที่จะไม่จ้างคนพิการแต่นำส่งเงินเข้ากองทุนแทน แต่ทว่าคนพิการจำนวนมากกลับเข้าไม่ถึงเงินจากกองทุน จึงไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้
เงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่โลกนี้มีสิ่งที่สำคัญกว่าเงิน เป้าหมายของชีวิต ความภาคภูมิใจในฐานะมนุษย์ ไม่เพียงไม่เป็นภาระของครอบครัว ของสังคม แต่เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ เรื่องพวกนี้สำคัญอย่างมาก แล้วเราจะทำให้มันเกิดขึ้นกับผู้พิการได้อย่างไร? นี่คือคำถาม
ซึ่งในปัจจุบันเราได้พบคำตอบแล้ว ก็คือการจ้างงานผู้พิการด้วยมาตรา 33 โดยให้ผู้พิการได้ทำงานในชุมชน ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นโดยรับค่าจ้างจากเอกชน
"ผมมีเป้าหมายจะเก็บเงินซื้อบ้านให้แม่ครับ"
ในปัจจุบันภาครัฐได้ยินยอมให้เอกชนจ้างงานคนพิการให้ทำงานในท้องถิ่นได้แล้ว บทบาทหน้าที่ของหลายท่านคือการทำงานทั่วไปในรพสต. บ้างก็ทำงานที่อนามัย ทำหน้าที่รับลงทะเบียนผู้มาติดต่อ วัดความดัน ทำงานจิปาถะตามแต่ที่ตัวเองจะทำได้
ในมุมของทางท้องถิ่นเอง เสียงสะท้อนก็เป็นไปในเชิงบวก ผลการทำงานของคนพิการแต่ละท่านเกือบทั้งหมดได้รับประเมินในระดับสูง แน่นอนว่ามีบ้างที่มีผลการทำงานไม่น่าพอใจ เพราะถึงอย่างไรผลการทำงานก็เป็นเรื่องของปัจเจก แต่สัดส่วนของผู้ที่ทำงานได้ดีมีมากยิ่งกว่ามากเสียอีก
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง? สำหรับมิตรสหายในภาคเอกชนก็ช่วยกันส่งเรื่องนี้ออกไปเถอะครับ ให้บริษัทของท่านได้รับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมกับการจ้างงานคนพิการ ลองให้โอกาสคนพิการด้วยการจ้างงานให้ทำงานในชุมชนดูสิครับ
นี่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทำสิ่งดีๆกันเถอะครับ ยังมีผู้พิการอีกมากที่ยังรอการจ้างงานจากภาคเอกชนนะครับ
ขณะนี้มีบริษัทหลายแห่งที่เห็นด้วยในหลักการและจ้างพนักงานพิการด้วยมาตรานี้แล้วหลายแห่งและสำหรับท่านใดที่มีประสบการณ์พบเจอหรือทำงานร่วมกับผู้พิการที่จ้างผ่านมาตรา 33 ของเอกชนก็อยากได้ฟีดแบ็คของท่านด้วยครับ
จ้างงานคนพิการเพื่อทำงานในชุมชนกันเถอะครับ
"ผมรู้ดีเพราะผมผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว" ... "หลายครั้ง"
จากการที่มีโอกาสได้ประสานงานกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมของสสส.ทำให้ผมได้มีโอกาสพบกับโลกที่คนทั่วไปเข้าไม่ถึง นั่นก็คือโลกของคนพิการ
ความพิการมีมาในหลายรูปแบบ ทางการเคลื่อนไหว ทางการรับรู้ ทางสติปัญญา บ้างก็เป็นมาตั้งแต่เกิด บ้างเป็นจากโรคร้าย และที่โหดร้ายที่สุดคือเกิดจากอุบัติเหตุ ความรู้สึกว่าเมื่อวานยังเดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่วันนี้กลับเป็นคนที่ทำอะไรไม่ได้ ความคิดนี้ผลักดันให้ผู้พิการคิดสั้นมานักต่อนัก
"หน้าที่ปัจจุบันผมมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือการรณรงค์ให้ผู้คนเห็นอันตรายของการเมาแล้วขับ อีกเรื่องหนึ่งคือการสอนให้คนที่เพิ่งประสบเหตุเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเองให้ได้"
พี่ที่ผมมีโอกาสได้คุยด้วยได้เล่าถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะพนักงานบริษัทเอกชน สถานที่ปฏิบัติงานของเขาไม่ใช่อาคารสำนักงาน ไม่ใช่โรงงาน ไม่ใช่แม้แต่ที่ทำงานรูปแบบใดๆของเอกชน แต่หากเป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคอีสาน
อาจจะฟังดูแปลกสักเล็กน้อย แต่นี่คือเรื่องดีเรื่องหนึ่งที่ควรป่าวประกาศให้รู้กันทั่วไป
ขอท้าวความถึงสภาพปัญหาก่อน เดิมทีประเทศไทยเองมีการคำนึงถึงผู้พิการจึงได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายให้สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องจ้างพนักงานพิการตามสัดส่วนของพนักงาน หากไม่จ้างก็จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจ้างคนพิการก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องภาษี เรียกว่ามีทั้งรางวัลหากทำตามและมีโทษหากไม่ทำ (มาตรา 33 และ 35)
แต่กระนั้นการจ้างงานคนพิการก็ไม่ได้แพร่หลายอย่างเจตนารมณ์ของกฎหมาย ข้อจำกัดของสถานที่ทำงานทำให้เอกชนจำนวนมากเลือกที่จะไม่จ้างคนพิการแต่นำส่งเงินเข้ากองทุนแทน แต่ทว่าคนพิการจำนวนมากกลับเข้าไม่ถึงเงินจากกองทุน จึงไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้
เงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่โลกนี้มีสิ่งที่สำคัญกว่าเงิน เป้าหมายของชีวิต ความภาคภูมิใจในฐานะมนุษย์ ไม่เพียงไม่เป็นภาระของครอบครัว ของสังคม แต่เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ เรื่องพวกนี้สำคัญอย่างมาก แล้วเราจะทำให้มันเกิดขึ้นกับผู้พิการได้อย่างไร? นี่คือคำถาม
ซึ่งในปัจจุบันเราได้พบคำตอบแล้ว ก็คือการจ้างงานผู้พิการด้วยมาตรา 33 โดยให้ผู้พิการได้ทำงานในชุมชน ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นโดยรับค่าจ้างจากเอกชน
"ผมมีเป้าหมายจะเก็บเงินซื้อบ้านให้แม่ครับ"
ในปัจจุบันภาครัฐได้ยินยอมให้เอกชนจ้างงานคนพิการให้ทำงานในท้องถิ่นได้แล้ว บทบาทหน้าที่ของหลายท่านคือการทำงานทั่วไปในรพสต. บ้างก็ทำงานที่อนามัย ทำหน้าที่รับลงทะเบียนผู้มาติดต่อ วัดความดัน ทำงานจิปาถะตามแต่ที่ตัวเองจะทำได้
ในมุมของทางท้องถิ่นเอง เสียงสะท้อนก็เป็นไปในเชิงบวก ผลการทำงานของคนพิการแต่ละท่านเกือบทั้งหมดได้รับประเมินในระดับสูง แน่นอนว่ามีบ้างที่มีผลการทำงานไม่น่าพอใจ เพราะถึงอย่างไรผลการทำงานก็เป็นเรื่องของปัจเจก แต่สัดส่วนของผู้ที่ทำงานได้ดีมีมากยิ่งกว่ามากเสียอีก
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง? สำหรับมิตรสหายในภาคเอกชนก็ช่วยกันส่งเรื่องนี้ออกไปเถอะครับ ให้บริษัทของท่านได้รับทราบและเข้ามามีส่วนร่วมกับการจ้างงานคนพิการ ลองให้โอกาสคนพิการด้วยการจ้างงานให้ทำงานในชุมชนดูสิครับ
นี่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทำสิ่งดีๆกันเถอะครับ ยังมีผู้พิการอีกมากที่ยังรอการจ้างงานจากภาคเอกชนนะครับ
ขณะนี้มีบริษัทหลายแห่งที่เห็นด้วยในหลักการและจ้างพนักงานพิการด้วยมาตรานี้แล้วหลายแห่งและสำหรับท่านใดที่มีประสบการณ์พบเจอหรือทำงานร่วมกับผู้พิการที่จ้างผ่านมาตรา 33 ของเอกชนก็อยากได้ฟีดแบ็คของท่านด้วยครับ