[CR] Endurance กับการปั่นที่ไปได้ทุกที่จริงๆ (Review Lapierre Sensium 500 ปี16)

กระทู้รีวิว
เกริ่นก่อนครับ ผมเป็นพวกชอบลองไปเรื่อย ประเภทขาไม่แรง ขอลองก่อนพอเก็บอาการจักรยานได้บ้างจึงอยากแชร์ประสบการณ์ เพราะวันนี้เหมือนเจอสิ่งที่ใช้ที่สุดสำหรับผม กับการปั่นจักรยานมาแค่ 4 ปีกว่าเอง เรียกว่าเป็นพวกโชคดีที่มีโอกาสได้ลอง ไม่ว่าจะเป็น Trek Madone 5’13, Bainchi Infinito’14, BMC SLR01’14, TMR02’16, GF01’16, Spe Tarmac’14 ,Giant TCR’14, Propel’15, Ridley NoahSL’16 ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้เป็นเจ้าของทั้งหมดนะครับ แต่ก็ยืมเค้ามาลอง บางรายใจดีให้ยืมหลายวันเลยก็มีหลายคันอยู่ คือส่วนตัวทำ Service ด้วยครับก็ขอลองหน้าด้านๆ เลย อีกอย่างก็ได้เช็คอาการรถด้วยครับซึ่งลูกค้าก็เข้าใจและยินดี และก่อนหน้านี้ผมปลื้มสุดกับ Ridley Fenix SL’16 ตัวล่าสุดด้วยความที่มันเป็น Endurance ที่พุ่งค่อนข้างดีมาก และเรียกได้ว่าไปไหนก็ได้แต่ติดตรงที่ว่าไปเจอของใหม่กว่าจึงเปลี่ยนซะก่อนมาเป็นเจ้าตัวนี้แหละครับ Lapierre Sensium 500 อย่างแรกที่โดนคือสีได้ใจมาก ผมก็อินดี้นิดๆ อ่ะชอบของแปลกเป็นพิเศษ ก่อนจัด ผมหาข้อมูลอยู่ 1 วันถ้วน เห้ย แบรนด์อันดับ 1 ฝรั่งเศสเลยหรอ อันนี้ไม่ชัวร์ รู้แค่ว่าทีม FDJ ปั่น Lapierre ได้รองชนะเลิศลำดับที่ 2 เวลารวมในการแข่งขัน Tour de France ปี 2014 และ ปี 15 ได้แชมป์ 1 สเตจใน tour เดียวกันแค่นี้ จัดเลย



เข้าเรื่องและ Sensium 500 เป็นรถ Endurace ด้วยอายุก็ 30 แล้วผมว่าเลือกเพราะจะขี่ทนนี้แหละ ไม่ต้องทนขี่เหมือนหลายๆ ตัวก่อนหน้า ยิ่งพวก aero ต้องเกร็งตัวหน่อยๆ ตลอดเมื่อลมปะทะข้าง หรือเฟรมแข็งๆพุ่งโครตๆ ผมไม่เอาแล้วครับ ทรมานเกิ๊น ไหนจะแรงกระแทกจากพื้นถนนอีกทำให้ร่างกายล้าแบบไม่รู้ตัว (ชวนนอกเรื่องครับ ผมเคยคุยกับ Mr.Hands นักปั่น BH ของ ASIABIKE แต่ปัจจุบันปั่น BMC แล้ว กล่าวว่า “จักรยานควรมีความนุ่มนวลอยู่บ้างใช่ว่าแข็งจะดีอย่างเดียวเพราะเราจะไปได้เร็วแค่ 50 กม.แต่เกินกว่านั้นจะเริ่มล้ามาก การปั่นจะได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือถ้าเราปั่นความเร็วเฉลี่ยที่ดีกว่า ส่งผลโดยตรงต่อเวลารวมดีกว่าแน่นอน เพราะการแข่งแต่ละครั้งมักเกิน 100 กม.อยู่แล้ว ยังพอเหลือแรงให้สปริ๊นหน้าเส้นอีก” ผมสรุปจากที่แกบรรยายภาษาอังกฤษ ผมก็งูๆ ปลาๆ เข้าใจได้ประมาณนี้) คือกลุ่มผมออกทริปสั้นก็ 80 ขึ้นแล้วครับ ทริปยาวก็แตะ 200 โลตลอดๆ คือวันอาทิตย์ทั้งวันอ่ะครับ

Sensium มากับกรุ๊ป 105 เต็มชุด และล้อ RS010 ที่ผมโครตไม่ชอบ แทบอยากบอกว่ารถคันไหนใส่ล้อนี้มีแย่ลงทุกคันทุกเฟรม แฮนด์และ stem ของ Lapierre คาดว่าหนักแน่ๆ หลักอานคาร์บอนของ Lapierre เอง และอานได้ Selle Italia รุ่น X1 ผมชอบอานแบรนด์นี้ครับนั่งง่ายดี แต่ชอบอาน Spe มากกว่าตูดใครตูดมันอ่ะ และเอามาช่างน้ำหนักรวมเดิมๆ 8.49kg ที่ไซด์ S หนักไปหน่อยนะ

ผมกลับจากทดสอบได้ ร้อยกว่าโล 2 ครั้ง ก็ชำแหละครับ เฟรมหนัก 1.06kg ก็ไม่หนักครับ แต่ก็ไม่เบาเท่าไหร่ ตะเกียบหน้า 0.36kg เบาใช้ได้เลย หลักอาน Lapierre คาร์บอน 0.26kg น้ำหนักพอได้ครับ stem Lapierre 0.145kg แฮนด์ Lapierre 0.28kg อาน Selle Italia รุ่น X1 0.30kg อานนี้หนักเกิ๊น ล้อหน้า RS010 พร้อมยาง Michelin dynamic sport ขนาด 700x25 รวมแกนปลดและยางใน หนัก 1.355kg และ ล้อหลังพร้อมยางรวมแกนปลดและยางในหนัก 1.640kg ล้อพร้อมยางหนักมากครับ เปลี่ยนครับ













สิ่งที่เปลี่ยนเข้าไปเรียกว่าจัดหนักครับ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว โดยตั้งใจว่าจะเป็นจักรยานที่ลงตัวสุดๆ ไม่จำเป็นต้องไปได้เร็ว แต่เวลารวมเฉลี่ยแล้วต้องดีและอยากได้น้ำหนักไม่เกิน 7.4 พร้อมปั่นจริง จึงจัดรายการเปลี่ยน ตามนี้ครับ กรุ๊ปมาเป็น Force 22 น้ำหนักเท่าไหร่ไม่รู้ เหตุผลเดียวที่ทราบคือเบากว่า Ultegra และราคาปีนี้ขึ้นโหดมาก ล้อผมเลือก Easton ea90SL ชั่งลืมถอดจุ๊บ tubless ออกก่อนได้ 1.565kg  ยาง Vittoria Corsa 700x25 หนัก 0.26kg ต่อเส้น แกนปลด Token 0.045kg อาน Spe Romin รางคาร์บอนหนัก 0.165kg stem Uno7 ขนาด100 หนัก 0.105kg แฮนด์ 3T Ergonova ขนาด 42 หนัก 0.265kg ลืมชั่ง บันได ไมล์ และไฟ เสร็จแล้วจบที่ 7.505kg นึกว่าจะเบากว่านี้ซักหน่อย ตกเป้าไป 0.105kg แต่ก็พอใจครับจบงบไม่ถึงแสน















ประกอบเสร็จทดสอบปั่นเขาใหญ่กันเลย สิ่งที่เปลี่ยนไปเห็นได้ชัดคือไม่หน่วงขาตอนเร่งเหมือนก่อนหน้าแล้วครับ กับล้อ Easton ea90SL ไม่ถึง 2 หมื่นพร้อมยางอาการรถพุ่งขึ้นมากครับ ขอชมล้อตัวนี้ก่อนครับด้วยความที่คลิ๊กโม่ค่อนข้างถี่จึงต่อเนื่องมากสำหรับทางเขาขาขึ้นแบบนี้มันทันใจมากไม่มีวืดเลย ซี่ล้อกับขอบล้อแข็งดีมากครับ มีการเสริมตาไก่เพิ่มความแข็งแรงอีกด้วย ยางตัวใหม่ของ Vittoria Corsa เกาะถนนมากครับ และยังคงขอบนุ่มเหมือนเดิมทำให้ผมรู้สึกนุ่มเพิ่มขึ้นด้วย แต่ประกอบกับรถแล้วผมเกลียดสีของขอบยางมากครับมันจะวินเทจไปไหนเนี้ย ทำใจอย่างเดียวครับ



ตัวจักรยานอาการของเฟรมชัดขึ้นมากไปในทางที่ดีเลยครับ อีกอย่างผมพึ่งทราบมาว่าใช้ technology คาร์บอนจากตัว top ของ Lapierre รุ่น Xelius ปี 15 มาใช้กับ Sensium ปี 16 เป็นครั้งแรก เฟรมเรียกได้ว่าเร่งดีพุ่งพอควร ไม่หวือหวาเหมือนเฟรมแข่งที่แข็งเป๊ก และไม่ได้นุ่มนิ่มเหมือนพวกเฟรม endurance ซักเท่าไหร่เลย ที่จะนุ่มนวลมากๆ รับแรงกระแทกส่งถึงนักปั่นแบบนวลๆ อะไรประมาณนั้น แต่ก็ให้ตัวรับแรงกระแทกได้ดีระดับหนึ่งพอให้รู้สึกดี ลูกระนาดพื้นถนน ผิวทางไม่เรียบ และรอยต่อสะพานบอกได้เลยครับว่าไม่ต้องยกปั่นสวนไปได้เลยสบายมาก ไม่เจ็บก้นและข้อมือ คงเป็นเพราะหางหลังที่ยาวร่วมกับหลักอานกลมขนาด 27.2 ที่เด่นด้านความนุ่มนวลและน้ำหนักเบา และตะเกียบหน้าที่รับแรงได้ดี ไหล่สบายมากครับ เติมเรียกได้ว่าเติมไม่หนักมากไปได้สบายกับความเร็วสูงระดับ 60 กลางถึงปลาย ทางราบไปได้ดีทั้งที่ไม่ใช่เฟรม aero ที่น่าสนใจเรื่องสุดท้ายที่ผมจับความรู้สึกได้คือเฟรม stiffness น่าจะสูงมากเนื่องจากยืนโยกขึ้นเขาใหญ่เรียกได้ว่าไม่ย้วยเลย ปลื้มมากกับ Sensium ลำนี้ ครับ

สุดท้ายนี้ ที่ออกมาเล่าให้ฟัง เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ใช้เป็นข้อมูลร่วมการตัดสินใจบ้างไม่มากก็น้อยครับ และขอบคุณครับที่อ่านจนจบครับ
ชื่อสินค้า:   Lapierre Sensium 500
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่