โซเชียล-โมบิลิตี้-คลาวด์ 3 เทรนด์กำหนดอนาคต
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559
โดย : ณัฏฐ์ธยาน์ สุทธิเจริญ
เทรนด์เทคโนโลยีสำหรับอนาคตที่จะเกิดเป็นภาพใหญ่หลังประมูล 4จี นั้น และเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนับจากปี 2559 เป็นต้นไป เชื่อได้ว่าจะเป็นโอกาสของสิ่งที่เรียกว่าแนวโน้มใหญ่หรือเมกะเทรนด์ คือ โซเชียล โมบิลิตี้ อะนาไลติกส์ และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ทั้งภาคธุรกิจ และประเทศมีการเติบโตอย่างมั่นคง
จากเทรนด์การใช้งานอุปกรณ์โมบิลิตี้ ทำให้ ไอดีซี ประเทศไทย คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นอีก 25 ล้านคน ในปี 2561 ทำให้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนแตะ 50 ล้านราย คิดเป็น 73% ของประชากรทั้งหมด ทำให้องค์กรธุรกิจต่างต้องเร่งหาแนวทางและลงทุนพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานสมาร์ทโฟนให้ง่ายขึ้นตามแนวคิดที่เรียกว่า โมบายเฟิสต์ (Mobile First)
อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้องค์กรต้องรู้จักปรับตัว ให้เหมาะสมกับตลาด และรู้จักที่จะนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงลูกค้า และรู้จักนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ผ่านระบบที่เรียกว่า ค็อกนิทีฟ (Cognitive) เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้แบบออฟไลน์ และเพิ่มประสิทธิภาพของบิ๊กดาต้าเพื่อให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นสามารถเก็บในรูปแบบดิจิทัลพร้อมใช้งานทันที
ทั้งนี้ อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นสิ่งที่ ช่วยเชื่อมต่อโลกให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโมบายอินเทอร์เน็ต ไว-ไฟ ไวร์เลส และบรอดแบนด์ ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายง่ายขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพสำหรับสังคมในท้องถิ่นให้เชื่อมต่อโลกได้ดีขึ้น และเพื่อให้การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เป็นไปได้ง่ายขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใกล้ตัว และนั่นทำให้มีการพัฒนาในเรื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) หรือไอโอที ที่น่าสนใจ ยกตัวอย่าง Li-Fi หรือ Light Fidelity เทคโนโลยีไร้สายใช้การส่งสัญญาณผ่านตัวกลางแสงที่จะช่วยให้รับส่งสัญญาณได้เร็วสูงสุดถึง 10.5 Gbps
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Li-Fi ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เป็นขั้นตอนการทดลอง แม้จะเกิดขึ้นมาได้จริง ก็ยังไม่ทราบแผนว่าจะนำมาปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยอีโคซิสเต็มต่างๆ ด้วย
"กรณีของ Li-Fi ยังอยู่ในช่วงของการทดลอง คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ ถึงจะบอกได้ว่าจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีของ WiMax ที่เป็นเทคโนโลยีที่ดีเหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร" วัตสัน กล่าว
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มไอทีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงในเชิงธุรกิจนั้น ผลจากการวิจัยของฟอเรสเตอร์ คอนซัลติ้ง เทคโนโลยี ระบุว่า เทคโนโลยีและการผลักดันในด้านเศรษฐกิจจะช่วยให้ธุรกิจควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีขึ้น
ธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับดีไวซ์ต่างๆ การใช้เทคโนโลยีโมบิลิตี้ในองค์กรมีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้นผ่านอุปกรณ์สวมใส่ ที่จะสอดคล้องในเรื่องของการนำดีไวซ์มาใช้ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพทำงานให้ดีขึ้น
"ภาคธุรกิจมีแนวโน้มการลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพิ่มโอกาสในกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เพื่อเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจวางแผนการตลาด และวางกลยุทธ์ด้านการบริหารให้จัดการได้มากขึ้น" ธเนศ กล่าว
ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า นับจากนี้จะเป็นโลกของโมบิลิตี้กับคลาวด์ และเชื่อว่าไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก 2 เรื่องนี้ ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรับกับเทรนด์ของมือถือและคลาวด์ เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
"ทุกอย่างจะต่อยอดบนแพลตฟอร์มของโมบิลิตี้และคลาวด์ที่เข้ามาทำให้เทคโนโลยีแพร่หลายไปสู่การใช้งานของผู้บริโภค" ชวพล กล่าว
หากมองในเชิงการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ในช่องทางออนไลน์ หรือที่เรียกว่าอี-คอมเมิร์ซ นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องของการซื้อขายเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมไปถึงผู้ให้บริการขนส่ง (E-Delivery) และผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง (E-Fulfilment) ด้วย
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ราคูเท็นตลาดดอทคอม กล่าวว่า นอกจากปัญหาเรื่องช่องทางการชำระเงินแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญสำหรับอี-คอมเมิร์ซ นั่นก็คือระบบโลจิสติกส์ เพราะการขนส่งสินค้าหลังเสร็จสิ้นการซื้อขายแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
"โลกของอี-คอมเมิร์ซนั้น ประกอบด้วย การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ช่องทางการชำระเงินและการจัดส่งสินค้า ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นผ่านอุปกรณ์โมบิลิตี้ เก็บข้อมูลการซื้อขายทั้งหมดไว้บนคลาวด์และดึงมาใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ธุรกิจออนไลน์ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง" ภาวุธ กล่าวทิ้งท้าย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า A3)
บทความ : โซเชียล-โมบิลิตี้-คลาวด์ 3 เทรนด์กำหนดอนาคต
โซเชียล-โมบิลิตี้-คลาวด์ 3 เทรนด์กำหนดอนาคต
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559
โดย : ณัฏฐ์ธยาน์ สุทธิเจริญ
เทรนด์เทคโนโลยีสำหรับอนาคตที่จะเกิดเป็นภาพใหญ่หลังประมูล 4จี นั้น และเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนับจากปี 2559 เป็นต้นไป เชื่อได้ว่าจะเป็นโอกาสของสิ่งที่เรียกว่าแนวโน้มใหญ่หรือเมกะเทรนด์ คือ โซเชียล โมบิลิตี้ อะนาไลติกส์ และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ทั้งภาคธุรกิจ และประเทศมีการเติบโตอย่างมั่นคง
จากเทรนด์การใช้งานอุปกรณ์โมบิลิตี้ ทำให้ ไอดีซี ประเทศไทย คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นอีก 25 ล้านคน ในปี 2561 ทำให้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนแตะ 50 ล้านราย คิดเป็น 73% ของประชากรทั้งหมด ทำให้องค์กรธุรกิจต่างต้องเร่งหาแนวทางและลงทุนพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานสมาร์ทโฟนให้ง่ายขึ้นตามแนวคิดที่เรียกว่า โมบายเฟิสต์ (Mobile First)
อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้องค์กรต้องรู้จักปรับตัว ให้เหมาะสมกับตลาด และรู้จักที่จะนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงลูกค้า และรู้จักนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ผ่านระบบที่เรียกว่า ค็อกนิทีฟ (Cognitive) เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้แบบออฟไลน์ และเพิ่มประสิทธิภาพของบิ๊กดาต้าเพื่อให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นสามารถเก็บในรูปแบบดิจิทัลพร้อมใช้งานทันที
ทั้งนี้ อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นสิ่งที่ ช่วยเชื่อมต่อโลกให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโมบายอินเทอร์เน็ต ไว-ไฟ ไวร์เลส และบรอดแบนด์ ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายง่ายขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพสำหรับสังคมในท้องถิ่นให้เชื่อมต่อโลกได้ดีขึ้น และเพื่อให้การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เป็นไปได้ง่ายขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใกล้ตัว และนั่นทำให้มีการพัฒนาในเรื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) หรือไอโอที ที่น่าสนใจ ยกตัวอย่าง Li-Fi หรือ Light Fidelity เทคโนโลยีไร้สายใช้การส่งสัญญาณผ่านตัวกลางแสงที่จะช่วยให้รับส่งสัญญาณได้เร็วสูงสุดถึง 10.5 Gbps
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Li-Fi ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เป็นขั้นตอนการทดลอง แม้จะเกิดขึ้นมาได้จริง ก็ยังไม่ทราบแผนว่าจะนำมาปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยอีโคซิสเต็มต่างๆ ด้วย
"กรณีของ Li-Fi ยังอยู่ในช่วงของการทดลอง คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ ถึงจะบอกได้ว่าจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีของ WiMax ที่เป็นเทคโนโลยีที่ดีเหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร" วัตสัน กล่าว
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มไอทีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงในเชิงธุรกิจนั้น ผลจากการวิจัยของฟอเรสเตอร์ คอนซัลติ้ง เทคโนโลยี ระบุว่า เทคโนโลยีและการผลักดันในด้านเศรษฐกิจจะช่วยให้ธุรกิจควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีขึ้น
ธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับดีไวซ์ต่างๆ การใช้เทคโนโลยีโมบิลิตี้ในองค์กรมีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้นผ่านอุปกรณ์สวมใส่ ที่จะสอดคล้องในเรื่องของการนำดีไวซ์มาใช้ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพทำงานให้ดีขึ้น
"ภาคธุรกิจมีแนวโน้มการลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพิ่มโอกาสในกระบวนการทำงาน รวมถึงระบบวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เพื่อเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจวางแผนการตลาด และวางกลยุทธ์ด้านการบริหารให้จัดการได้มากขึ้น" ธเนศ กล่าว
ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า นับจากนี้จะเป็นโลกของโมบิลิตี้กับคลาวด์ และเชื่อว่าไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก 2 เรื่องนี้ ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรับกับเทรนด์ของมือถือและคลาวด์ เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
"ทุกอย่างจะต่อยอดบนแพลตฟอร์มของโมบิลิตี้และคลาวด์ที่เข้ามาทำให้เทคโนโลยีแพร่หลายไปสู่การใช้งานของผู้บริโภค" ชวพล กล่าว
หากมองในเชิงการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ในช่องทางออนไลน์ หรือที่เรียกว่าอี-คอมเมิร์ซ นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องของการซื้อขายเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมไปถึงผู้ให้บริการขนส่ง (E-Delivery) และผู้ให้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง (E-Fulfilment) ด้วย
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ราคูเท็นตลาดดอทคอม กล่าวว่า นอกจากปัญหาเรื่องช่องทางการชำระเงินแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญสำหรับอี-คอมเมิร์ซ นั่นก็คือระบบโลจิสติกส์ เพราะการขนส่งสินค้าหลังเสร็จสิ้นการซื้อขายแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
"โลกของอี-คอมเมิร์ซนั้น ประกอบด้วย การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ช่องทางการชำระเงินและการจัดส่งสินค้า ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นผ่านอุปกรณ์โมบิลิตี้ เก็บข้อมูลการซื้อขายทั้งหมดไว้บนคลาวด์และดึงมาใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ธุรกิจออนไลน์ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง" ภาวุธ กล่าวทิ้งท้าย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า A3)