เรื่อง ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขายไฟดีกว่าปลูกยาง นักวิชาการม.อ.ขอบอก 7ปีคืนทุนไม่ต้องรอกรีด7ปี
ที่มา : มติชน
ดร.สมพร ช่วยอารีย์ นักวิชาการภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somporn Chuai-Aree ว่า
ปลูกยาง 7 ปีกว่าจะได้กรีด ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบออนกริดหรือขายไฟ 7 ปีคืนทุน
1.ถ้ารัฐทราบแบบนี้แล้ว กับที่กลัวๆ อยู่ว่าไฟฟ้าไม่พอนั้น ลองคิดดูครับ เชื่อว่าทุกคนคิดได้ ไม่ต้องไปแกล้งชาวบ้านด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะไปสร้างความขัดแย้งเพิ่มทำไม ชอบนักหรือครับ?
2.ปลูกยางแล้วต้องลุกขึ้นเที่ยงคืน อดหลับอดนอน มากลางวันง่วงๆ ต้องทำงานอื่น แต่แผงโซลาร์เซลล์แค่เดินไปดูขี้นก ใบไม้ร่วงบนแผง เช็ดฝุ่นบ้างไม่ใช่ทุกวัน แต่เก็บเกี่ยวด้วยระบบเองทุกวัน ดูมิเตอร์ระบบทำงานปกติ ดูผ่านมือถือจากระยะไกล ผ่านเว็บอายุยาง อายุแผงโซลาร์เซลล์ 25-30 ปีพอๆ กัน
3.ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ว่าจะให้ท่านๆ เกษตรกรไปโค่นยางมาลงทุนระบบโซลาร์เซลล์นะครับ อย่าเข้าใจผิด แต่อยากจะกระตุกให้เห็นหนทางทำมาหากิน อย่าบ้าเชิงเดียวกันนักแรง ศึกษาจุดแข็งให้ได้ ใช้จุดเด่นให้ถูก ปลูกให้เข้าจังหวะ มีตรรกะในระบบคิด นำพลังงานฟรีๆ เหล่านี้มาปรับใช้ในระบบการเกษตรและประมงครับ
4.ไฟฟ้าที่ผลิตได้รายวันไม่ต้องขายก็ได้ นำมาสร้างอาชีพต่างๆ หนุนเสริมอาชีพเดิมๆ ที่ทำอยู่ ทุ่นแรง ประหยัดไฟ ช่วยเสริมสวนยางที่มีอยู่
5.รัฐสนับสนุนอย่าช้านัก ไม่ต้องรออีก 30 ปีหรอกครับ ระวังชาวบ้านจะล้ำไปเร็วกว่านโยบายที่จะออกมา...
6.ผมพูดมา 2 ปีกว่าแล้ว ทำให้ดูแล้ว โพสต์เฟซเกือบทุกวัน สับคัตเอาต์ให้ดูแล้ว ที่เหลือคือลาออกไปทำนา ทำสวน ทำไร่...สร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อการรู้เท่าทันจิตใจตน...
ลองคิดกันดูครับ ไม่ต้องจบปริญญาตรี โท เอก ก็คิดได้ ทำได้ ทำเป็น ไม่จำกัดเพศ วัย และศาสนา
ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขายไฟดีกว่าปลูกยาง นักวิชาการม.อ.ขอบอก 7ปีคืนทุนไม่ต้องรอกรีด7ปี
ที่มา : มติชน
ดร.สมพร ช่วยอารีย์ นักวิชาการภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somporn Chuai-Aree ว่า
ปลูกยาง 7 ปีกว่าจะได้กรีด ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบออนกริดหรือขายไฟ 7 ปีคืนทุน
1.ถ้ารัฐทราบแบบนี้แล้ว กับที่กลัวๆ อยู่ว่าไฟฟ้าไม่พอนั้น ลองคิดดูครับ เชื่อว่าทุกคนคิดได้ ไม่ต้องไปแกล้งชาวบ้านด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะไปสร้างความขัดแย้งเพิ่มทำไม ชอบนักหรือครับ?
2.ปลูกยางแล้วต้องลุกขึ้นเที่ยงคืน อดหลับอดนอน มากลางวันง่วงๆ ต้องทำงานอื่น แต่แผงโซลาร์เซลล์แค่เดินไปดูขี้นก ใบไม้ร่วงบนแผง เช็ดฝุ่นบ้างไม่ใช่ทุกวัน แต่เก็บเกี่ยวด้วยระบบเองทุกวัน ดูมิเตอร์ระบบทำงานปกติ ดูผ่านมือถือจากระยะไกล ผ่านเว็บอายุยาง อายุแผงโซลาร์เซลล์ 25-30 ปีพอๆ กัน
3.ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ว่าจะให้ท่านๆ เกษตรกรไปโค่นยางมาลงทุนระบบโซลาร์เซลล์นะครับ อย่าเข้าใจผิด แต่อยากจะกระตุกให้เห็นหนทางทำมาหากิน อย่าบ้าเชิงเดียวกันนักแรง ศึกษาจุดแข็งให้ได้ ใช้จุดเด่นให้ถูก ปลูกให้เข้าจังหวะ มีตรรกะในระบบคิด นำพลังงานฟรีๆ เหล่านี้มาปรับใช้ในระบบการเกษตรและประมงครับ
4.ไฟฟ้าที่ผลิตได้รายวันไม่ต้องขายก็ได้ นำมาสร้างอาชีพต่างๆ หนุนเสริมอาชีพเดิมๆ ที่ทำอยู่ ทุ่นแรง ประหยัดไฟ ช่วยเสริมสวนยางที่มีอยู่
5.รัฐสนับสนุนอย่าช้านัก ไม่ต้องรออีก 30 ปีหรอกครับ ระวังชาวบ้านจะล้ำไปเร็วกว่านโยบายที่จะออกมา...
6.ผมพูดมา 2 ปีกว่าแล้ว ทำให้ดูแล้ว โพสต์เฟซเกือบทุกวัน สับคัตเอาต์ให้ดูแล้ว ที่เหลือคือลาออกไปทำนา ทำสวน ทำไร่...สร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อการรู้เท่าทันจิตใจตน...
ลองคิดกันดูครับ ไม่ต้องจบปริญญาตรี โท เอก ก็คิดได้ ทำได้ ทำเป็น ไม่จำกัดเพศ วัย และศาสนา