ถ้ารัฐบาลไทยมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง และยั่งยืนตลอดเวลา (ไม่ใช่ว่าจะทำแค่ในช่วงที่มีการตรวจสอบเท่านั้น) น่าจะทำให้คนที่อยู่ภายใต้กฏ และหลักเกณฑ์ จะต้องปฏิบัติตามได้เหมือนๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเอกชนทุกภาคส่วนธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรมประมง และประมงพื้นบ้าน
"การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของทะเลไทยให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งก็ไม่ใช่เรื่องยาก"
แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบัน ความไม่แน่นอนของการได้ใบเหลือง หรือใบแดงของอุตสาหกรรมประมงไทยยัง 50 - 50
ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้รับใบเหลือในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมประมงและรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เกิดอาการตื่นตระหนก เมื่อได้รับการ "กระตุ้น" ถึงภัยจากการได้รับใบแดงจากอุตสาหกรรมห้องเย็นที่มีเดิมพันเป็นตลาดสหภาพ ยุโรปในมูลค่ามากกว่า 27,688 ล้านบาท และช่วงกลางเดือนมกราคม 2559 อียูจะเข้ามาประเมินการดำเนินการแก้ปัญหาของไทย
ย้อนรอยใบเหลืองไทย
Council Regulation (EC) 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated หรือ IUU Fishing) ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา กรมประมงและผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต่างรับรู้แล้วว่า ระเบียบฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 เท่ากับมีระยะเวลาเตรียมการที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ นี้มากกว่า 2 ปี
ทว่าระยะเวลาดังกล่าวต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 2556 กลับถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อผู้เกี่ยวข้องอ่านระเบียบฉบับนี้และ "ตีความ" การปฏิบัติกันอย่างตื้นเขิน หรืออาจจะเรียกได้ว่า มีการดำเนินการกันอย่างลูบหน้าปะจมูก
โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ ดำเนินการที่เป็น "เปลือก" ไม่ใช่แก่นแท้ของปัญหาอุตสาหกรรมประมงของไทย โดยจะเห็นได้ว่า ขวบปีแรกหมดไปกับการระบุให้กรมประมงไทยอยู่ในสถานะ Competent Authority (CA), การออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Cath Certificate), การแจกจ่ายสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook), การตรวจสอบสุขอนามัยท่าเรือประมง และการจัดอบรมและวางแนวทางปฏิบัติให้กับชาวประมง-แพปลา-ผู้ประกอบการโรงงาน ห้องเย็น, การจดทะเบียนเรือ และความพยายามที่จะวางระบบการควบคุมการทำประมงและระบบการตรวจสอบย้อนกลับ สินค้าประมงตลอดสายการผลิต
แต่การดำเนินการทั้งหมดนั้นไม่เพียงพอ ภายหลังจากที่คณะผู้แทนสหภาพยุโรปเข้ามาประเมินระบบการควบคุมการทำประมง IUU ในช่วงปี 2557 โดยทางคณะผู้ประเมินมีความเห็นว่า ระบบควบคุมการทำประมงของประเทศไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและ "เป็นรูปธรรม" หมายความว่า ใช้งานได้จริงและมีผลในทางปฏิบัติในการยับยั้งการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งสหภาพยุโรปเห็นว่าเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมงของไทยอย่างกว้างขวาง
ที่สำคัญก็คือ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์เองก็ได้แจ้งเตือนกลับมายังรัฐบาลไทยในช่วงเดือนตุลาคม 2557 แล้วว่า สหภาพยุโรปมีเจตจำนงที่จะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือตามกฎ ระเบียบ EC 1005/2008 ข้อ 31 (2) และข้อ 33 ซึ่งก็เป็นความจริง เมื่อสหภาพยุโรปออกประกาศ Commission Decision 2015/C 142/06 ในเดือนเมษายน 2558 แจ้งให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า การได้รับ "ใบเหลือง" นับเป็นกระบวนการ "แจ้งเตือน" ก่อนที่จะพิจารณาให้ "ใบแดง" หรือการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นขั้นร้ายแรงที่สุดในโอกาสต่อไป
เกมตั้งรับของฝ่ายไทย
แม้ว่าไทยจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการเร่งจดทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทำ การประมง, การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง, การพัฒนาและติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือประมงไทย (Vessel Monitoring System หรือ VMS) ในเรือประมงตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป, การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการตรวจสอบ (Cross Checking) และเอกสารที่ดำเนินการมานั้นก็ยังไม่เพียงพอที่ไทยจะหลุดจากการเป็นประเทศ ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
น่าสนใจว่า สาระสำคัญในการได้รับ "ใบเหลือง" ในกรณีของประเทศไทยที่ระบุไว้ใน Commission Decision 2015/C 142/06 มีข้อกล่าวหาประเทศไทยอย่างฉกาจฉกรรจ์ ตั้งแต่ การจับปลาโดยไม่มีอาชญาบัตร/ใบอนุญาตที่ถูกต้องที่ออกโดยรัฐ, การทำประมงโดยไม่มีระบบติดตามเรือ VMS, เรือประมงไม่มีการบันทึกรายงานการเข้า-ออก, ข้อมูลสัตว์น้ำที่จับได้, เรือประมงติดธงไทยถูกจับได้ในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน (อินโดนีเซีย-บังกลาเทศ-โซมาเลีย-มาดากัสการ์-เมียนมา-ปาปัวนิวกินี) โดยไม่มีใบอนุญาตการทำประมงที่ถูกต้อง หรือ ปลอมแปลงมา ในกรณีประมงนอกน่านน้ำ ไปจนกระทั่งถึงกองเรือประมงไทยทำการจับปลาจนเกินขนาด, การเพิ่มขึ้นของจำนวนเรือประมงในอัตราทวีคูณ เป็นผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในเขตน่านน้ำไทย และสากลลดลง โดยเรือประมงเหล่านี้มีการใช้สมุดปูมเรือ (Logbook) น้อยมาก แสดงให้เห็นว่าประมงไทยส่วนใหญ่ยังขาดการรายงาน, การทำประมงและอุตสาหกรรมประมงของไทยตกอยู่ในสถานะปริมาณสัตว์น้ำที่ จับได้ลดลง พื้นที่การทำประมงลดลง แต่เรือประมงกลับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า กองเรือประมงไทยมีการทำประมงที่ผิดกฎหมายนอกน่านน้ำไทย จับสัตว์น้ำโดยไม่มีการรายงานหรือรายงานเท็จ
งานเข้าโรงงาน/ห้องเย็น
ที่สำคัญก็คือ สหภาพยุโรปกล่าวหาว่า ประเทศไทยไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ประมง (วัตถุดิบ) ที่ถูกส่งเข้ามายังท่าเรือไทยและต่อไปยังโรงงานแปรรูป (ห้องเย็น) นั้น ไม่ได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) เนื่องจาก
1) โรงงาน/ห้องเย็นในไทยมีการแปรรูปวัตถุดิบที่มาจากประเทศที่สามเป็นจำนวนมาก โดยวัตถุดิบเหล่านี้มีที่มาทั้งจากประเทศที่ไม่อยู่ในข่าย IUU และประเทศที่ไม่ได้แจ้งกับสหภาพยุโรปตามระเบียบ IUU รวมถึงวานูอาตู-ไมโครนีเซีย-หมู่เกาะมาร์แชลส์
2) หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบการนำเข้าวัตถุดิบไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การตรวจสอบจำนวนใบอนุญาตย้อนกลับมีความยุ่งยาก
3) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)ที่ไทยพัฒนาขึ้นนั้น ยังไม่มีการเชื่อมโยงกับระบบการลงบัญชีของบริษัทเอกชน (โรงงาน/ห้องเย็น) ส่งผลให้ข้อมูลปัจจุบันขาดความน่าเชื่อถือ
4) บริษัทเอกชนจัดทำบัญชีวัตถุดิบคงเหลือด้วยการกรอกข้อมูลบัญชีเต็มตามจำนวน ที่ปรากฏในใบรับรองการจับสัตว์น้ำ แต่ตรงข้ามกับปริมาณที่มีการซื้อขายจริง ซึ่งบัญชีนี้แตกต่างจากบัญชีภายในของบริษัท เพียงเพื่อต้องการใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ
5) มีการนำเข้าปลาทูน่าแช่แข็งที่ไม่ผ่านกระบวนการควบคุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากร
และ 6) ผลการวิเคราะห์พบว่ามีความแตกต่างระหว่างปริมาณวัตถุดิบที่จับจากน่านน้ำไทย กับแสดงน้ำหนักที่เท่ากับผลิตภัณฑ์แปรรูปวัตถุดิบสุดท้าย หรือมีปริมาณมากกว่าวัตถุดิบถึง 2 เท่า
นั่นหมายถึง สหภาพยุโรปได้ลงไปในรายละเอียดของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในระบบตรวจสอบย้อนกลับของ ฝ่ายไทย ทว่ากลับไม่มีรายงานการแก้ไขปัญหานี้ในช่วงสุดท้ายก่อนที่คณะผู้แทนสหภาพ ยุโรปจะเข้ามาประเมินการดำเนินการของรัฐบาลไทยในกลางเดือนมกราคม
นอกเหนือไปจากการรายงานความคืบหน้าในเรื่องของการผ่าน พ.ร.ก.กำหนดการประมง, แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย (NPOA-IUU), แผน/นโยบายบริหารจัดการประมงทะเล, การปราบปรามการค้ามนุษย์ในเรือประมง-โรงงานแปรรูป, การกำหนดวันจับสัตว์น้ำในอ่าวไทย, การติดตามควบคุมเรือประมงขนาด 60 ตันกรอส และการพัฒนาระบบติดตามควบคุมและเฝ้าระวัง (MCS)
ชวนให้สงสัยว่า การดำเนินการของรัฐบาลไทยนั้น เพียงพอที่จะปลดประเทศไทยออกจากสถานะ "ใบเหลือง" หรือไม่ อย่างไร ?
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1452745164
นับถอยหลังอียูตรวจการบ้าน ใบเหลืองประมงไทย
แต่จากสภาพการณ์ปัจจุบัน ความไม่แน่นอนของการได้ใบเหลือง หรือใบแดงของอุตสาหกรรมประมงไทยยัง 50 - 50
ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้รับใบเหลือในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมประมงและรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เกิดอาการตื่นตระหนก เมื่อได้รับการ "กระตุ้น" ถึงภัยจากการได้รับใบแดงจากอุตสาหกรรมห้องเย็นที่มีเดิมพันเป็นตลาดสหภาพ ยุโรปในมูลค่ามากกว่า 27,688 ล้านบาท และช่วงกลางเดือนมกราคม 2559 อียูจะเข้ามาประเมินการดำเนินการแก้ปัญหาของไทย
ย้อนรอยใบเหลืองไทย
Council Regulation (EC) 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated หรือ IUU Fishing) ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา กรมประมงและผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต่างรับรู้แล้วว่า ระเบียบฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 เท่ากับมีระยะเวลาเตรียมการที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ นี้มากกว่า 2 ปี
ทว่าระยะเวลาดังกล่าวต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 2556 กลับถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อผู้เกี่ยวข้องอ่านระเบียบฉบับนี้และ "ตีความ" การปฏิบัติกันอย่างตื้นเขิน หรืออาจจะเรียกได้ว่า มีการดำเนินการกันอย่างลูบหน้าปะจมูก
โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ ดำเนินการที่เป็น "เปลือก" ไม่ใช่แก่นแท้ของปัญหาอุตสาหกรรมประมงของไทย โดยจะเห็นได้ว่า ขวบปีแรกหมดไปกับการระบุให้กรมประมงไทยอยู่ในสถานะ Competent Authority (CA), การออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Cath Certificate), การแจกจ่ายสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook), การตรวจสอบสุขอนามัยท่าเรือประมง และการจัดอบรมและวางแนวทางปฏิบัติให้กับชาวประมง-แพปลา-ผู้ประกอบการโรงงาน ห้องเย็น, การจดทะเบียนเรือ และความพยายามที่จะวางระบบการควบคุมการทำประมงและระบบการตรวจสอบย้อนกลับ สินค้าประมงตลอดสายการผลิต
แต่การดำเนินการทั้งหมดนั้นไม่เพียงพอ ภายหลังจากที่คณะผู้แทนสหภาพยุโรปเข้ามาประเมินระบบการควบคุมการทำประมง IUU ในช่วงปี 2557 โดยทางคณะผู้ประเมินมีความเห็นว่า ระบบควบคุมการทำประมงของประเทศไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและ "เป็นรูปธรรม" หมายความว่า ใช้งานได้จริงและมีผลในทางปฏิบัติในการยับยั้งการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งสหภาพยุโรปเห็นว่าเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมงของไทยอย่างกว้างขวาง
ที่สำคัญก็คือ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์เองก็ได้แจ้งเตือนกลับมายังรัฐบาลไทยในช่วงเดือนตุลาคม 2557 แล้วว่า สหภาพยุโรปมีเจตจำนงที่จะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือตามกฎ ระเบียบ EC 1005/2008 ข้อ 31 (2) และข้อ 33 ซึ่งก็เป็นความจริง เมื่อสหภาพยุโรปออกประกาศ Commission Decision 2015/C 142/06 ในเดือนเมษายน 2558 แจ้งให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า การได้รับ "ใบเหลือง" นับเป็นกระบวนการ "แจ้งเตือน" ก่อนที่จะพิจารณาให้ "ใบแดง" หรือการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นขั้นร้ายแรงที่สุดในโอกาสต่อไป
เกมตั้งรับของฝ่ายไทย
แม้ว่าไทยจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการเร่งจดทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทำ การประมง, การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง, การพัฒนาและติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือประมงไทย (Vessel Monitoring System หรือ VMS) ในเรือประมงตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป, การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการตรวจสอบ (Cross Checking) และเอกสารที่ดำเนินการมานั้นก็ยังไม่เพียงพอที่ไทยจะหลุดจากการเป็นประเทศ ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
น่าสนใจว่า สาระสำคัญในการได้รับ "ใบเหลือง" ในกรณีของประเทศไทยที่ระบุไว้ใน Commission Decision 2015/C 142/06 มีข้อกล่าวหาประเทศไทยอย่างฉกาจฉกรรจ์ ตั้งแต่ การจับปลาโดยไม่มีอาชญาบัตร/ใบอนุญาตที่ถูกต้องที่ออกโดยรัฐ, การทำประมงโดยไม่มีระบบติดตามเรือ VMS, เรือประมงไม่มีการบันทึกรายงานการเข้า-ออก, ข้อมูลสัตว์น้ำที่จับได้, เรือประมงติดธงไทยถูกจับได้ในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน (อินโดนีเซีย-บังกลาเทศ-โซมาเลีย-มาดากัสการ์-เมียนมา-ปาปัวนิวกินี) โดยไม่มีใบอนุญาตการทำประมงที่ถูกต้อง หรือ ปลอมแปลงมา ในกรณีประมงนอกน่านน้ำ ไปจนกระทั่งถึงกองเรือประมงไทยทำการจับปลาจนเกินขนาด, การเพิ่มขึ้นของจำนวนเรือประมงในอัตราทวีคูณ เป็นผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในเขตน่านน้ำไทย และสากลลดลง โดยเรือประมงเหล่านี้มีการใช้สมุดปูมเรือ (Logbook) น้อยมาก แสดงให้เห็นว่าประมงไทยส่วนใหญ่ยังขาดการรายงาน, การทำประมงและอุตสาหกรรมประมงของไทยตกอยู่ในสถานะปริมาณสัตว์น้ำที่ จับได้ลดลง พื้นที่การทำประมงลดลง แต่เรือประมงกลับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า กองเรือประมงไทยมีการทำประมงที่ผิดกฎหมายนอกน่านน้ำไทย จับสัตว์น้ำโดยไม่มีการรายงานหรือรายงานเท็จ
งานเข้าโรงงาน/ห้องเย็น
ที่สำคัญก็คือ สหภาพยุโรปกล่าวหาว่า ประเทศไทยไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ประมง (วัตถุดิบ) ที่ถูกส่งเข้ามายังท่าเรือไทยและต่อไปยังโรงงานแปรรูป (ห้องเย็น) นั้น ไม่ได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) เนื่องจาก
1) โรงงาน/ห้องเย็นในไทยมีการแปรรูปวัตถุดิบที่มาจากประเทศที่สามเป็นจำนวนมาก โดยวัตถุดิบเหล่านี้มีที่มาทั้งจากประเทศที่ไม่อยู่ในข่าย IUU และประเทศที่ไม่ได้แจ้งกับสหภาพยุโรปตามระเบียบ IUU รวมถึงวานูอาตู-ไมโครนีเซีย-หมู่เกาะมาร์แชลส์
2) หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบการนำเข้าวัตถุดิบไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การตรวจสอบจำนวนใบอนุญาตย้อนกลับมีความยุ่งยาก
3) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)ที่ไทยพัฒนาขึ้นนั้น ยังไม่มีการเชื่อมโยงกับระบบการลงบัญชีของบริษัทเอกชน (โรงงาน/ห้องเย็น) ส่งผลให้ข้อมูลปัจจุบันขาดความน่าเชื่อถือ
4) บริษัทเอกชนจัดทำบัญชีวัตถุดิบคงเหลือด้วยการกรอกข้อมูลบัญชีเต็มตามจำนวน ที่ปรากฏในใบรับรองการจับสัตว์น้ำ แต่ตรงข้ามกับปริมาณที่มีการซื้อขายจริง ซึ่งบัญชีนี้แตกต่างจากบัญชีภายในของบริษัท เพียงเพื่อต้องการใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ
5) มีการนำเข้าปลาทูน่าแช่แข็งที่ไม่ผ่านกระบวนการควบคุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากร
และ 6) ผลการวิเคราะห์พบว่ามีความแตกต่างระหว่างปริมาณวัตถุดิบที่จับจากน่านน้ำไทย กับแสดงน้ำหนักที่เท่ากับผลิตภัณฑ์แปรรูปวัตถุดิบสุดท้าย หรือมีปริมาณมากกว่าวัตถุดิบถึง 2 เท่า
นั่นหมายถึง สหภาพยุโรปได้ลงไปในรายละเอียดของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในระบบตรวจสอบย้อนกลับของ ฝ่ายไทย ทว่ากลับไม่มีรายงานการแก้ไขปัญหานี้ในช่วงสุดท้ายก่อนที่คณะผู้แทนสหภาพ ยุโรปจะเข้ามาประเมินการดำเนินการของรัฐบาลไทยในกลางเดือนมกราคม
นอกเหนือไปจากการรายงานความคืบหน้าในเรื่องของการผ่าน พ.ร.ก.กำหนดการประมง, แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย (NPOA-IUU), แผน/นโยบายบริหารจัดการประมงทะเล, การปราบปรามการค้ามนุษย์ในเรือประมง-โรงงานแปรรูป, การกำหนดวันจับสัตว์น้ำในอ่าวไทย, การติดตามควบคุมเรือประมงขนาด 60 ตันกรอส และการพัฒนาระบบติดตามควบคุมและเฝ้าระวัง (MCS)
ชวนให้สงสัยว่า การดำเนินการของรัฐบาลไทยนั้น เพียงพอที่จะปลดประเทศไทยออกจากสถานะ "ใบเหลือง" หรือไม่ อย่างไร ?
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้