ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท: โรคที่ 80% ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัดแต่ต้องใช้เวลา
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเสื่อมตามวัย การทำงานที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ซึ่งเมื่อเส้นประสาทถูกทับ อาจทำให้มีอาการปวดร้าวมาตามแขนหรือขา ในบางรายที่มีการกดทับมากขึ้นอาจจะทำให้มีการอ่อนแรงร่วมด้วยได้
ซึ่งโรคนี้มีการศึกษาแล้วว่า หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในแนวทางที่ไม่ใช่การผ่าตัดอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ อาการปวดสามารถลดลงได้ ซึ่งการรักษาในแนวทางนี้จะประกอบด้วย
- การปฏิบัติตัวเพื่อถนอมสุขภาพหลัง ข้อนี้ผมให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเลยครับ เพราะหากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลังอยู่ ต่อให้รักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แม้กระทั่งการผ่าตัด ก็จะทำให้มีความเสื่อมของกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นได้ซึ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หรือมีอาการกลับเป็นซ้ำได้หลังจากที่หายขาดไปแล้ว การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมได้แก่
1. งดการก้มเงยคอหรือหลังบ่อย ๆ
2. งดการยกของหนัก
3. ปรับท่าทางการทำงานระหว่างให้เหมาะสม
4. ลดน้ำหนักหากเริ่มมีน้ำหนักที่มากเกินปกติ
- การรักษาโดยการทานยา อย่างที่รักษาในกลุ่มโรคนี้จะประกอบด้วย ยาแก้ปวด ยาลดอาการปวดตามเส้นประสาท หรือวิตามินที่ช่วยในการทำงานของเส้นประสาท
- กายภาพบำบัด จะมีอยู่หลายวิธีได้แก่ การดึงหลัง การบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง การประคบหรือการใช้คลื่นความถี่เพื่อลดอาการอักเสบเฉพาะที่ เป็นต้น
ซึ่งการปฏิบัติตัวเพื่อถนอมสุขภาพหลัง การทานยา กายภาพบำบัด ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและระยะเวลาเพื่อให้อาการดีขึ้น ซึ่งต้องพึ่งตัวผู้ป่วยเองด้วยเพื่อให้การรักษาได้อย่างเต็มที่
แต่หากอาการปวดหลังยังคงไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติเช่น มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ มีไข้เรื้อรังหรือมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรมาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมครับ
Facebook page: Dr. Gamabunta
https://www.facebook.com/pages/DrGamabunta/1455340874769253
ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท: โรคที่ 80% ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัดแต่ต้องใช้เวลา
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเสื่อมตามวัย การทำงานที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ซึ่งเมื่อเส้นประสาทถูกทับ อาจทำให้มีอาการปวดร้าวมาตามแขนหรือขา ในบางรายที่มีการกดทับมากขึ้นอาจจะทำให้มีการอ่อนแรงร่วมด้วยได้
ซึ่งโรคนี้มีการศึกษาแล้วว่า หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในแนวทางที่ไม่ใช่การผ่าตัดอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ อาการปวดสามารถลดลงได้ ซึ่งการรักษาในแนวทางนี้จะประกอบด้วย
- การปฏิบัติตัวเพื่อถนอมสุขภาพหลัง ข้อนี้ผมให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเลยครับ เพราะหากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลังอยู่ ต่อให้รักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แม้กระทั่งการผ่าตัด ก็จะทำให้มีความเสื่อมของกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นได้ซึ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หรือมีอาการกลับเป็นซ้ำได้หลังจากที่หายขาดไปแล้ว การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมได้แก่
1. งดการก้มเงยคอหรือหลังบ่อย ๆ
2. งดการยกของหนัก
3. ปรับท่าทางการทำงานระหว่างให้เหมาะสม
4. ลดน้ำหนักหากเริ่มมีน้ำหนักที่มากเกินปกติ
- การรักษาโดยการทานยา อย่างที่รักษาในกลุ่มโรคนี้จะประกอบด้วย ยาแก้ปวด ยาลดอาการปวดตามเส้นประสาท หรือวิตามินที่ช่วยในการทำงานของเส้นประสาท
- กายภาพบำบัด จะมีอยู่หลายวิธีได้แก่ การดึงหลัง การบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง การประคบหรือการใช้คลื่นความถี่เพื่อลดอาการอักเสบเฉพาะที่ เป็นต้น
ซึ่งการปฏิบัติตัวเพื่อถนอมสุขภาพหลัง การทานยา กายภาพบำบัด ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและระยะเวลาเพื่อให้อาการดีขึ้น ซึ่งต้องพึ่งตัวผู้ป่วยเองด้วยเพื่อให้การรักษาได้อย่างเต็มที่
แต่หากอาการปวดหลังยังคงไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติเช่น มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ มีไข้เรื้อรังหรือมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรมาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมครับ
Facebook page: Dr. Gamabunta
https://www.facebook.com/pages/DrGamabunta/1455340874769253