สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
เคล็ดลับ ของ ความสำเร็จคือการลงมือ ทำ
นี่คือตัวอย่าง ที่ผมลงมือ ปลุกสตอเบอรี่ ในภาคใต้ บนดาดฟ้า ซึ่งกลางวันร้อนมากๆ
ใช้ กระบะใส่ถุงดิน ธรรมดานี่แหละ
อุปสรรค มี คือ
1.อุณหภุมิ หาก เกิน 29-30 C ดอกจะไม่ติดผลครับ ดอกจะฝ่อและไหม่ไปในทีสุด ปัญหานี้เจอเยอะที่สุด
2.ศัตรูพืช และเชื่อรา เนือจากผมใช้ลดอุณหภุมิใด้ใช้น้ำรด เช้า เย็น
ดูผลงานครับ ปลูกปีที่แล้ว








เยี่ยมเยียนได้ที่ http://tree-planet.blogspot.com/
นี่คือตัวอย่าง ที่ผมลงมือ ปลุกสตอเบอรี่ ในภาคใต้ บนดาดฟ้า ซึ่งกลางวันร้อนมากๆ
ใช้ กระบะใส่ถุงดิน ธรรมดานี่แหละ
อุปสรรค มี คือ
1.อุณหภุมิ หาก เกิน 29-30 C ดอกจะไม่ติดผลครับ ดอกจะฝ่อและไหม่ไปในทีสุด ปัญหานี้เจอเยอะที่สุด
2.ศัตรูพืช และเชื่อรา เนือจากผมใช้ลดอุณหภุมิใด้ใช้น้ำรด เช้า เย็น
ดูผลงานครับ ปลูกปีที่แล้ว








เยี่ยมเยียนได้ที่ http://tree-planet.blogspot.com/
ความคิดเห็นที่ 8
ข้อมูลที่บอกมา ถูกต้องแค่บางส่วน สตอเบอร์รี่ ศูนย์วิจัยโครงการหลวง เพาะพันธุ์พระราชทานเชียงใหม่ 80 ทนต่อความแล้งและอากาศร้อน ปลูกได้ทุกสภาพอากาศ แต่จะให้ผลผลิตที่ดีมากถ้าอากาศเย็น ไม่จำเป็นต้องปลูกแบบไฮโดรพรอนิค ปลูกลงดิน ธรรมดา รดน้ำใส่ปุ๋ยได้ บนดอยก็ปลูก เป็นขั้นบันได ไม่มีระบบอะไรซับซ้อน ความต้องการตลาดของสตอเบอร์รี่ สำหรับทางใต้เป็นที่นิยมและราคาสูงเพราะเป็นผลไม้หาทานได้ยากสำหรับทางใต้ ถ้าปลูกกันจิงๆจัง ความต้องการของตลาดมีสูง ถึงผลผลิตจะน้อยแต่ราคาต่อ กิโลกรัม อยู่ที่. 150-200 บาท ซึ่งถือว่าสูงทีเดียว แล้วข้อเท็จจริงอีกอย่าง สตอเบอร์รี่ที่ปลูกทางเหนือของบ้านเรา ไม่ได้ปลูกแบบออแกนนิคนะครับ ทุกไร่ทุกสวน ล้วนอัดยาอัดปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนจัดเต็ม ก่อนทานควรแช่ด่างทับทิมหรือล้างให้สะอาดจิงๆ ซึ่งเอาจิงๆแล้ว สตอเบอร์รี่ปลูกใต้ต้นยางได้สบายๆ เพราะคน กทม.เคยนำต้นพันธุ์ ต้นกล้าที่เพาะในถุงดำ ลงมาปลูก ตามระเบียงคอนโด ใน กทม. มันก็โต แต่ให้ผลเล็ก เพราะต่างแค่ปุ๋ยและยา นั่นเอง
สรุปการปลูกสตอเบอร์รี่ ต้องคัดสายพันธุ์ที่เหมาะสม กรมเกษตร ยังสามารถสร้างสายพันธุ์ยางพารา มาปลูกทางเหนือกับอิสายได้ คงไม่เป็นการลำบาก ถ้าจะวิจัยสายพันธุ์สตอเบอร์รี่ มาปลูกทางใต้ได้ ยังไงๆก็ยังดีกว่าปล่อนที่ให้ว่าง รอกรีดยางตอนตี3-4 กรีดวันละไม่กี่ชั่วโมง ที่เหลือ ก็พักผ่อน เอาเวลาที่เหลือ ลงมือ ปลูกอะไรก็ได้ที่จะสร้างรายได้เพิ่ม มีหลายอย่างที่ปลูกได้ ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะลงมือทำมันรึป่าว อย่ารอให้ใครช่วย คุณควรจะเริ่มช่วยตัวเองก่อน
สรุปการปลูกสตอเบอร์รี่ ต้องคัดสายพันธุ์ที่เหมาะสม กรมเกษตร ยังสามารถสร้างสายพันธุ์ยางพารา มาปลูกทางเหนือกับอิสายได้ คงไม่เป็นการลำบาก ถ้าจะวิจัยสายพันธุ์สตอเบอร์รี่ มาปลูกทางใต้ได้ ยังไงๆก็ยังดีกว่าปล่อนที่ให้ว่าง รอกรีดยางตอนตี3-4 กรีดวันละไม่กี่ชั่วโมง ที่เหลือ ก็พักผ่อน เอาเวลาที่เหลือ ลงมือ ปลูกอะไรก็ได้ที่จะสร้างรายได้เพิ่ม มีหลายอย่างที่ปลูกได้ ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะลงมือทำมันรึป่าว อย่ารอให้ใครช่วย คุณควรจะเริ่มช่วยตัวเองก่อน
แสดงความคิดเห็น
+ + + มาทำ SWOT การปลูกสตอเบอรี่ในสวนยางพาราตามแนวคิดลุงตู่กันดูค่ะ + + +
การที่เราจะลงทุนทำธุรกิจอะไรซักอย่างเราควรที่จะต้องทำ SWOT Analysis กันดูนะคะ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ
จากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทำให้ท่านนายกฯลุงตู่ ได้คิดหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาให้กับชาวสวนยาง หนึ่งในทางออกที่
ท่านนายกฯ ได้เสนอแนะก็คือ การปลูกพืชอย่างอื่นทดแทนและควบคู่ไปในพื้นที่สวนยางพารา เพื่อเพิ่มรายได้เข้ามา และ พืช
ที่ลุงตู่แนะนำคือ สตอเบอรี่ และ กล้วยหอม แต่ก่อนที่เราจะลงมือทำอะไร เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีว่า จะสามารถ
ทำได้หรือเปล่า ทำแล้วคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า ดังนั้นเราจะมาลองทำ SWOT กันดูนะคะ ที่ จขกท. ทำมาคร่าวๆนี้อาจจะ
ผิดๆถูกๆก็ขอให้เพื่อนๆช่วยกันดู โต้แย้ง เสนอแนะ ด้วยนะคะ วันนี้เรามาทำ SWOT การปลูกสตอเบอรี่ในสวนยางพารากันค่ะ
STREANGTH (s)
1. ประหยัดเงินลงทุนเรื่องพื้นที่เพาะปลูกเพราะมีอยู่แล้ว คือพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในสวนยางพารา หรือ ทั้งหมด
2. (ไม่แน่ใจ) มีความพร้อมด้านเงินลงทุน เพราะเป็นเจ้าของสวนยางมานาน มีเงินเก็บเยอะ
3. มีต้นทุนด้านแรงงานพร้อมอยู่แล้ว
WEAKNESS (es)
1. สตอเบอรี่ เป็นพืชที่อ่อนไหวมาก ดูแลรักษายาก ต้องใช้เทคนิคและความเชี่ยวชาญสูงในการเพาะปลูก ทำให้เสียเงินทุน
และเวลามาก เช่น
- การคัดเลือกกล้าพันธุ์ที่จะให้ผลผลิตได้สูงนั้นยาก ถ้าไม่เชี่ยวชาญหรือคัดเลือกกล้าพันธุ์ไม่ดีก็อาจไม่ได้ผลที่คุ้มค่า
- วิธีการปลูกต้องใช้ระบบไฮโดรโพรนิคส์ น้ำ ปุ๋ย ต้องมาพร้อมกันในระบบน้ำหยด ต้องตั้งเวลาให้ซน้ำวันละ 4 ครั้ง
ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและต้องเสียเวลาในการดูแลมาก
- วิธีการปลูกที่ยุ่งยาก ต้องหันต้นไหล (ต้นกล้า) ที่เจริญมาจากต้นแม่เข้ากลางแปลง เพื่อผลสตอเบอรี่ที่จะออกมาจะได้
หันออกรับแดดได้เต็มที่ และ เก็บผลได้สะดวก
2. มีความเสี่ยงในการขาดทุนสูงมาก จากเหตุผลในข้อ 1
3. สตอเบอรี่ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดมากและอากาศเย็นจึงจะให้ผลผลิตได้ดี ในขณะที่ถ้าปลูกในสวนยางพารา ที่ใบ
ของต้นยางคุมพื้นที่แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดิน ความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของสตอเบอรี่จึงสูงมาก
4. สตอเบอรี่ นิยมปลูกแบบพืชออร์แกนิค หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ในขณะที่สวนยางพารา ต้องใช้สารเคมีเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการกระตุ้นผลผลิตมาเป็นเวลานาน จึงไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นจะยุ่งยากในการควบคุมผลผลิต เสี่ยงต่อการไม่ได้
ผลผลิตตามที่ต้องการของตลาด
5. โรคของสตอเบอรี่กับโรคของยางพารา แตกต่างกันไปคนละแบบ ดังนั้นถ้านำไปปลูกรวมกัน จะยิ่งเป็นการเพิ่มโรคของพืช
ทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ดูแลรักษาหรือป้องกันโรคได้ยาก และต้องใช้เงินในการบำรุงรักษามากเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังอาจ
ไปลดปริมาณและคุณภาพของผลผลิตแต่ละอย่างลงอีกด้วย
6. ความต้องการแร่ธาตุของสตอเบอรี่ กับ ยางพารา แตกต่างกัน ทำให้ยากต่อการบำรุงรักษาเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ
(อาจซ้ำกับข้อ 4 )
OPPORTUNITIES
1. เพิ่มโอกาสในการมีรายได้เข้ามาเพิ่มมากขึ้น ราคาสตอเบอรี่ค่อนข้างสูง
2. ลดภาวะการขาดทุนจากราคายางพาราที่ตกต่ำ
3. เป็นโอกาสในการแสวงหาความรู้ ทดลองความชำนาญ ในการประกอบอาชีพแบบใหม่
4. ลดความเสี่ยงในการลงทุน
5. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มความต้องการของตลาด เนื่องจากสตอเบอรี่เป็นพืชที่ให้วิตามินและเกลือแร่สูง เน้นไปที่ตลาดที่
เกี่ยวกับความสวยงาม และสุขภาพ
6. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจแนวใหม่ จากการแปรรูปสตอเบอรี่ เช่น ธุรกิจแยม น้ำผลไม้
THREAT (s)
1. สภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย เป็นอุปสรรคทำให้ผลผลิตสตอเบอรี่น้อย
2. Demand ในตลาดมีน้อย เนื่องจากรสชาติยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และ ราคาค่อนข้างสูง
3. สตอเบอรี่เน่าเสียง่าย ช่วงเวลาการวางขายสั้น การเก็บรักษาสต็อกยาก เสี่ยงต่อการขาดทุนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
4. การแปรรูปสตอเบอรี่ ไม่หลากหลายและต้องใช้เงินลงทุนเพื่มขึ้นอีก