สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
" สายดินช่วยเวลาเราโดนไฟดูด แล้วผมจะทดสอบยังไงว่าสายดินบ้านผมมีประสิทธิภาพขนาดไหน ได้มาตรฐานรึเปล่า "
ตอบ สายดินมีไว้สำหรับป้องกันไฟฟ้าดูดจ้า ( เดี๋ยวจะบอกให้ว่าถ้าเราโดนไฟฟ้าดูดแล้ว สายดิน ก็ช่วยไม่ได้ ถ้าต่อไม่ถูกต้อง )
" แล้วผมจะทดสอบยังไงว่าสายดินบ้านผมมีประสิทธิภาพขนาดไหน ได้มาตรฐานรึเปล่า "
ตอบ ง่ายมากครับ เพียงเรามีความรู้ทางด้านไฟฟ้าเราก็ทดสอบได้แล้ว
" ได้มาตรฐานรึเปล่า "
ตอบ ถ้าจะเอามาตรฐาน ต้องถามคุณว่า เครื่องมือคุณพร้อมไหม
1. Earth tester เอาไว้ทดสอบความต้านทานดิน ถ้าจะซื้อเองราคาประมาณ 8000 - 10000 บาท
2. มิเตอร์วัดไฟ ( ตัวนี้ไม่แพง ) 300 - 1000 บาท
วิธีการทดสอบ สายดิน
1 ปลดสายกราวด์ ที่ตู้ไฟฟ้าออก
2 ต่อสาย Earth tester ตามรูป สายสีเขียว ( E ) หนีบที่ขั้วกราวด์ ( ตรงบ่อกราวด์ ) ถัดไปอีก 5 เมตร นำสายสีเหลือง ( P ) คีบที่แท่งทดสอบแล้วปักลงดิน ถัดไปอีก 5 เมตร นำสายสีแดง ( C ) คีบที่แท่งทดสอบแล้วปักลงดิน
3 เปิดเครื่องวัดความต้านทาน ค่ามาตรฐาน แนะนำต้องได้ค่าไม่เกิน 5 โอมห์ แต่ในพิ้นที่ที่ทำกราวด์ได้ยาก การไฟฟ้าอนุโลมให้ได้ 25 โอมห์ (ค่าแนะนำ ไม่เกิน 5 โอมห์ ดีที่สุด )
4 ถ้าได้ค่าความต้านทานมากกว่า 5 โอมห์ ท่านต้องตอกกราวด์เพิ่ม หรือ ขุดดินให้ลึกที่สุดแล้วตอกกราวด์ใหม่
ถ้าความต้านทานดิน ของคุณได้ค่าตามมาตรฐานแล้ว ( ไม่เกิน 5 โอมห์ ) ต่อไปเป็นการเช็คสายกราวด์ในบ้านว่าต่อถึงกันหรือไม่
มาตรฐานการไฟฟ้าของประเทศไทยต้องต่อตามนี้
วิธีตรวจเช็คสายดิน
1 ใช้มิเตอร์วัดไฟ L - N ต้องได้ 220 v
2 ใช้มิเตอร์วัดไฟ L - G ต้องได้ 220 v
ถ้าได้ค่าตามนี้ ถือว่า สายดินต่อถึงกันจนถึงตู้ไฟฟ้า ( ถูกต้องตามมาตรฐาน )
จบ วิธีทดสอบสายดินว่ามีประสิทธิภาพขนาดไหน และได้มาตรฐานหรือไม่
ต่อไป น่าจะยาว
" แล้วมีสายดินกับไม่มีสายดิน แตกต่างกันมากขนาดไหน(พอรู้ครับ แต่ไม่ค่อยละเอียด) "
ตอบ ถ้าจะเอาแบบละเอียดต้องเรียนครับ ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในหลักสูตรปกติ และ ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 75 ชั่วโมงในหลักสูตรไฟฟ้า ระยะสั้น
เอาแค่พอหอมปากหอมคอนะครับ กับคำถามที่ว่า " มีสายดินกับไม่มีสายดิน แตกต่างกันมากขนาดไหน "
รูปที่ 1 กรณีไม่มีสายดิน
หากไม่ติดตั้งสายดิน เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วแล้วคนไปสัมผัส กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวคนครบวงจรที่ดิน ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ( กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวคนเพียง 30 มิลิแอมป์ ก็ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต)
รูปที่ 2 กรณีต่อสายดินที่ตัวอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว
กรณีต่อสายดินที่ตัวอุปกรณ์โดยตรง กรณีนี้หากความต้านทานดินมีค่าสูงขึ้น ( อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลักดินเอง หลักดินหรือจุดต่อกลักดินเกิดการกัดกร่อน ) ถ้าหากเกิดไฟรั่วขึ้นแล้วคนไปสัมผัส หากความต้านทานดินมีค่าสูง กระแสไฟฟ้าจะแบ่งไหลไปที่หลักดินส่วนหนึ่ง และ แบ่งไหลผ่านตัวคนส่วนหนึ่ง ส่วนที่ว่าจะอันตราย มาก หรือ น้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่าค่าความต้านทานดินมีค่าสูงเพียงใดถ้ามีค่าสูงมาก กระแสไฟฟ้าก็จะไหลลงดินได้น้อย ไหลผ่านตัวคนมากขึ้นจนเกิดอันตรายได้
รูปที่ 3 กรณีต่อสายดินเข้าที่สาย N ของอุปกรณ์
กรณีต่อสายดินเข้าที่สาย N ของอุปกรณ์ ถ้าหากสาย N ขาด หรือ หลวม จะทำให้โคลงของอุปกรณ์มีกระแสไหล ถ้าหากคนไปสัมผัสก็จะเกิดอันตรายได้
รูปที่ 4 กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท
กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้น เบรกเกอร์ก็จะตัดอย่างรวดเร็ว ( เหมือนการซ็อต L - N เข้าหากันกระแสลัดวงจรจะสูงมาก เบรกเกอร์จะตัดอย่างรวดเร็ว ) เมื่อคนไปสัมผัสก็จะปลอดภัย
- การต่อสายดินลักษณะนี้ จะสามารถป้องกันได้กรณีไฟ้ฟ้ารั่วลงโครงอุปกรณ์เท่านั้น ถ้าหากคนไปสัมผัสสาย L โดยตรงจะไม่สามารถป้องกันได้คนจะโดนไฟฟ้าดูดจนเป็นอันตรายได้
รูปที่ 4 กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท และเพิ่มอุปกรณ์กันไฟฟ้าดูด ( ELCB )
กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท และเพิ่มอุปกรณ์กันไฟฟ้าดูด ( ELCB ) เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้น เบรกเกอร์ก็จะตัด คนก็จะปลอดภัย และเมื่อใดก็ตามถ้าคนไปสัมผัสสาย L โดยตรง เบรกเกอร์ก็จะตัดคนก็จะปลอดภัย
ยกเว้น คนไปสัมผัส สาย L และ N พร้อมกัน กรณีนี้เบรกเกอร์จะไม่ตัด เพราะเบรกเกอร์จะเช็คว่าคนเป็นโหลดทางไฟฟ้า ก็จะถูกไฟฟ้าดูดจนเกิดอันตรายได้ ( กรณีนี้เกิดขึ้นได้ยาก )
" มีสายดินแล้วเรายังโดนไฟดูดได้รึเปล่า กรณีไหนบ้าง "
คำตอบอยู่ด้านบนแล้วครับ ลองทำความเข้าใจดูว่ามีสายดินแล้วยังโดนไฟฟ้าดูดได้อย่างไร และการต่อสายดินแบบไหนปลอดภัย
ตอบ สายดินมีไว้สำหรับป้องกันไฟฟ้าดูดจ้า ( เดี๋ยวจะบอกให้ว่าถ้าเราโดนไฟฟ้าดูดแล้ว สายดิน ก็ช่วยไม่ได้ ถ้าต่อไม่ถูกต้อง )
" แล้วผมจะทดสอบยังไงว่าสายดินบ้านผมมีประสิทธิภาพขนาดไหน ได้มาตรฐานรึเปล่า "
ตอบ ง่ายมากครับ เพียงเรามีความรู้ทางด้านไฟฟ้าเราก็ทดสอบได้แล้ว
" ได้มาตรฐานรึเปล่า "
ตอบ ถ้าจะเอามาตรฐาน ต้องถามคุณว่า เครื่องมือคุณพร้อมไหม
1. Earth tester เอาไว้ทดสอบความต้านทานดิน ถ้าจะซื้อเองราคาประมาณ 8000 - 10000 บาท
2. มิเตอร์วัดไฟ ( ตัวนี้ไม่แพง ) 300 - 1000 บาท
วิธีการทดสอบ สายดิน
1 ปลดสายกราวด์ ที่ตู้ไฟฟ้าออก
2 ต่อสาย Earth tester ตามรูป สายสีเขียว ( E ) หนีบที่ขั้วกราวด์ ( ตรงบ่อกราวด์ ) ถัดไปอีก 5 เมตร นำสายสีเหลือง ( P ) คีบที่แท่งทดสอบแล้วปักลงดิน ถัดไปอีก 5 เมตร นำสายสีแดง ( C ) คีบที่แท่งทดสอบแล้วปักลงดิน
3 เปิดเครื่องวัดความต้านทาน ค่ามาตรฐาน แนะนำต้องได้ค่าไม่เกิน 5 โอมห์ แต่ในพิ้นที่ที่ทำกราวด์ได้ยาก การไฟฟ้าอนุโลมให้ได้ 25 โอมห์ (ค่าแนะนำ ไม่เกิน 5 โอมห์ ดีที่สุด )
4 ถ้าได้ค่าความต้านทานมากกว่า 5 โอมห์ ท่านต้องตอกกราวด์เพิ่ม หรือ ขุดดินให้ลึกที่สุดแล้วตอกกราวด์ใหม่
ถ้าความต้านทานดิน ของคุณได้ค่าตามมาตรฐานแล้ว ( ไม่เกิน 5 โอมห์ ) ต่อไปเป็นการเช็คสายกราวด์ในบ้านว่าต่อถึงกันหรือไม่
มาตรฐานการไฟฟ้าของประเทศไทยต้องต่อตามนี้
วิธีตรวจเช็คสายดิน
1 ใช้มิเตอร์วัดไฟ L - N ต้องได้ 220 v
2 ใช้มิเตอร์วัดไฟ L - G ต้องได้ 220 v
ถ้าได้ค่าตามนี้ ถือว่า สายดินต่อถึงกันจนถึงตู้ไฟฟ้า ( ถูกต้องตามมาตรฐาน )
จบ วิธีทดสอบสายดินว่ามีประสิทธิภาพขนาดไหน และได้มาตรฐานหรือไม่
ต่อไป น่าจะยาว
" แล้วมีสายดินกับไม่มีสายดิน แตกต่างกันมากขนาดไหน(พอรู้ครับ แต่ไม่ค่อยละเอียด) "
ตอบ ถ้าจะเอาแบบละเอียดต้องเรียนครับ ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในหลักสูตรปกติ และ ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 75 ชั่วโมงในหลักสูตรไฟฟ้า ระยะสั้น
เอาแค่พอหอมปากหอมคอนะครับ กับคำถามที่ว่า " มีสายดินกับไม่มีสายดิน แตกต่างกันมากขนาดไหน "
รูปที่ 1 กรณีไม่มีสายดิน
หากไม่ติดตั้งสายดิน เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วแล้วคนไปสัมผัส กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวคนครบวงจรที่ดิน ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ( กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวคนเพียง 30 มิลิแอมป์ ก็ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต)
รูปที่ 2 กรณีต่อสายดินที่ตัวอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว
กรณีต่อสายดินที่ตัวอุปกรณ์โดยตรง กรณีนี้หากความต้านทานดินมีค่าสูงขึ้น ( อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลักดินเอง หลักดินหรือจุดต่อกลักดินเกิดการกัดกร่อน ) ถ้าหากเกิดไฟรั่วขึ้นแล้วคนไปสัมผัส หากความต้านทานดินมีค่าสูง กระแสไฟฟ้าจะแบ่งไหลไปที่หลักดินส่วนหนึ่ง และ แบ่งไหลผ่านตัวคนส่วนหนึ่ง ส่วนที่ว่าจะอันตราย มาก หรือ น้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่าค่าความต้านทานดินมีค่าสูงเพียงใดถ้ามีค่าสูงมาก กระแสไฟฟ้าก็จะไหลลงดินได้น้อย ไหลผ่านตัวคนมากขึ้นจนเกิดอันตรายได้
รูปที่ 3 กรณีต่อสายดินเข้าที่สาย N ของอุปกรณ์
กรณีต่อสายดินเข้าที่สาย N ของอุปกรณ์ ถ้าหากสาย N ขาด หรือ หลวม จะทำให้โคลงของอุปกรณ์มีกระแสไหล ถ้าหากคนไปสัมผัสก็จะเกิดอันตรายได้
รูปที่ 4 กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท
กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้น เบรกเกอร์ก็จะตัดอย่างรวดเร็ว ( เหมือนการซ็อต L - N เข้าหากันกระแสลัดวงจรจะสูงมาก เบรกเกอร์จะตัดอย่างรวดเร็ว ) เมื่อคนไปสัมผัสก็จะปลอดภัย
- การต่อสายดินลักษณะนี้ จะสามารถป้องกันได้กรณีไฟ้ฟ้ารั่วลงโครงอุปกรณ์เท่านั้น ถ้าหากคนไปสัมผัสสาย L โดยตรงจะไม่สามารถป้องกันได้คนจะโดนไฟฟ้าดูดจนเป็นอันตรายได้
รูปที่ 4 กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท และเพิ่มอุปกรณ์กันไฟฟ้าดูด ( ELCB )
กรณีต่อสายดินตามมาตรฐาน วสท และเพิ่มอุปกรณ์กันไฟฟ้าดูด ( ELCB ) เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้น เบรกเกอร์ก็จะตัด คนก็จะปลอดภัย และเมื่อใดก็ตามถ้าคนไปสัมผัสสาย L โดยตรง เบรกเกอร์ก็จะตัดคนก็จะปลอดภัย
ยกเว้น คนไปสัมผัส สาย L และ N พร้อมกัน กรณีนี้เบรกเกอร์จะไม่ตัด เพราะเบรกเกอร์จะเช็คว่าคนเป็นโหลดทางไฟฟ้า ก็จะถูกไฟฟ้าดูดจนเกิดอันตรายได้ ( กรณีนี้เกิดขึ้นได้ยาก )
" มีสายดินแล้วเรายังโดนไฟดูดได้รึเปล่า กรณีไหนบ้าง "
คำตอบอยู่ด้านบนแล้วครับ ลองทำความเข้าใจดูว่ามีสายดินแล้วยังโดนไฟฟ้าดูดได้อย่างไร และการต่อสายดินแบบไหนปลอดภัย
แสดงความคิดเห็น
เราจะทดสอบยังไงว่าสายดินที่บ้านเราใช้ได้
สายดินช่วยเวลาเราโดนไฟดูด แล้วผมจะทดสอบยังไงว่าสายดินบ้านผมมีประสิทธิภาพขนาดไหน ได้มาตรฐานรึเปล่า
แล้วมีสายดินกับไม่มีสายดิน แตกต่างกันมากขนาดไหน(พอรู้ครับ แต่ไม่ค่อยละเอียด)
มีสายดินแล้วเรายังโดนไฟดูดได้รึเปล่า กรณีไหนบ้าง