กราบสวัสดีเพื่อนๆและพี่ๆชาวพันธุ์ทิพย์ทุกท่านครับ พวกเราเป็นกลุ่มประชาชนส่วนนึงผู้ที่อยู่อาศัยและมีที่ดิน บริเวณ ต.อ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ครับ ปรกติแล้วพวกเราจะเข้ามาอ่านเรื่องราวต่างๆในพันธุ์ทิพย์อยู่บ่อยครั้ง กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของพวกเราในพันธุ์ทิพย์ครับ/ค่ะ
1. เรื่องราวนั้นมีอยู่ว่า...
พวกเรากลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยแต่ละคนส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯครับ แต่ได้มาซื้อที่ดินเอาไว้อยู่ที่ ต.อ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นบางคนก็ได้ทำการปลูกบ้านซึ่งก็วางแผนเอาไว้ว่าจะย้ายมาอยู่หลังจากทำงานเกษียณแล้ว ปัจจุบันพวกเราแต่ละคนจะเดินทางมาที่บ้านพักหรือบริเวณแห่งนี้ประมาณ 1-2 เดือนครั้ง เนื่องจากต่างคนยังทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ บ้านพักหรือบริเวณแห่งนี้ของพวกเราส่วนใหญ่เป็นที่ดินติดชายทะเลครับ บรรยากาศสงบร่มรื่น สวยงาม และยังมีชายหาดที่สมบูรณ์เต็มไปด้วยสัตว์ทะเลน้อยใหญ่มากมายครับ
แต่หลังจากนั้นไม่นาน...ก็มีจดหมายมาบอกว่ากำลังจะมีโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายหาดขึ้น ที่อ่าวน้อยอันสวยงามแห่งนี้ครับ...
1.1 ตำแหน่งที่อยู่ของอ่าวน้อย
อ่าวน้อยเป็นอ่าวที่มีขนาดค่อนข้างเล็กครับ พื้นที่ชายหาดจากหลักที่ดินลงไปยังน้ำทะเลมีความยาวไม่มาก (ประมาณ 10 กว่าเมตรในช่วงน้ำลง) แต่จากแบบแปลนการสร้างเขื่อนที่พวกเราได้มาจากกรมโยธาธิการและผังเมือง จ.ประจวบ นั้น เขื่อนมีขนาดใหญ่ครับ และอีกทั้งยังมีส่วนที่เป็นถนนซึ่งมีความกว้างประมาณ 6 เมตร ซึ่งถ้ามีการสร้างเขื่อนขึ้นมาก็น่าจะเป็นที่แน่นอนว่า พื้นที่ตรงนี้จะมีส่วนที่เป็นชายหาดเหลืออยู่น้อยมาก หรือ ไม่มีชายหาดเหลืออีกเลย กลายเป็นเขื่อนคอนกรีต แล้วลงไปจนสุดก็จะกลายเป็นน้ำ ไม่มีพื้นที่ให้คนเดินชายหาด ไม่มีพื้นที่ให้คนลงไปเล่นทรายเล่นน้ำ และอาจจะไม่มีพื้นที่เหลือให้สัตว์น้ำเช่น ปูเสฉวน ใช้ชีวิตอยู่บนชายหาดอีกต่อไป
2. ข้อมูลทางวิชาการ
2.1 การกัดเซาะชายหาดคืออะไร?
"การกัดเซาะชายหาด (coastal erosion) เกิดจากการที่มีปัจจัยที่ไปเปลี่ยนแปลงสมดุลของตะกอนทรายชายหาด และ จากการไปเปลี่ยนแปลงทิศทางและพลังงานของคลื่น ลม และกระแสน้ำ"
ซึ่งนิยามนี้จะสอดคล้องกับ "ระบบกลุ่มหาด" ที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.2 ปัญหาที่แท้จริงส่วนหนึ่งของการกัดเซาะชายหาด
2.3 การกัดเซาะชายหาดเป็นปัญหาที่จะต้องรีบแก้ไขโดยการสร้างเขื่อนไช่หรือไม่?
2.4 การสร้างเขื่อนสามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดได้จริงหรือไม่?
2.5 สรุปปัญหาและข้อเสนอ
2.6 สำหรับทุกท่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมว่าการสร้างเขื่อนบนชายหาดมีผลอย่างไร สามารถอ่านเอกสารวิชาการเรื่อง "หาดทราย" ของ อ.กัลยาณี ทีมหาวิทยาลัยสงขลา ที่จัดทำขึ้นจากการทบทวนข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัย โดยจะมีทั้งหมด 5 เล่ม
เล่ม 1, 3: เหมาะสำหรับประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทียังไม่ประสบปัญหากัดเซาะและที่กำลังเป็นปัญหา
เล่ม 2, 4, 5: เหมาะสำหรับประชาชนองค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทีกำลังเป็นปัญหา
หาดทราย (เล่ม 1) “หาดทราย: มรดกทางธรรมชาติที่นับวันจะสูญสิ้น”
เนื้อหา: เน้นการสร้างความเข้าใจถึงสาเหตุการกัดเซาะ และกรณีตัวอย่าง
ดาวน์โหลดได้ที่:
หาดทราย เล่ม 1
หาดทราย (เล่ม 2) “หาดทราย: คุณค่า ชีวิตที่ถูกลืม”
เนื้อหา: ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงระบบหาด และกรณีตัวอย่างการใช้ประโยชนของชุมชน
ดาวน์โหลดได้ที่:
หายทราย เล่ม 2
หาดทราย (เล่ม 3) “หาดทราย: คอร์รัปชั่น พิราบขาว กฎของนิวตัน”
เนื้อหา: ความรู้ทั่วไปสำหรับเยาวชน
ดาวน์โหลดได้ที่:
หาดทราย เล่ม 3
หาดทราย (เล่ม 4) “ข้อเสนอเชิงนโยบาย : แนวทางการฟื้นฟู การใช้ประโยชน์หาดทราย และการอนุรักษ์”
เนื้อหา: แนวปฏิบัติในการรับมือ(จัดการ)กับปัญหากัดเซาะของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลดได้ที่:
หาดทราย เล่ม 4
หาดทราย (เล่ม 5) “เปลี่ยนหลักคิด คืนชีวิตให้หาดทราย : บทสรุปสำหรับผู้บริหารและประชาชน”
เนื้อหา: ทิศทางในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาด
ดาวน์โหลดได้ที่:
หาดทราย เล่ม 5
2.7 กรณีศึกษาจากการที่ชาวบ้านรวมตัวกันฟ้องศาลปกครองอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง
ชาวบ้านสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง << คลิ๊ก
ชาวบ้านหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ อ.เมือง จ.สงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง << คลิ๊ก
3. รายละเอียดและเหตุผล
ในขณะนี้นั้นได้มีการเริ่มต้นดำเนินงานการสร้างเขื่อนแล้วครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 phase ซึ่งตอนนี้กำลังเริ่มต้นดำเนินงานสร้างใน phase ที่ 1 อยู่ แต่ phase 2 และ phase 3 ยังอยู่ในช่วงการของบประมาณ
3.1 เบื้องต้นนั้นกลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึง ไม่เห็นด้วยในการสร้างเขื่อนครับ แต่ไม่สามารถระงับโครงการนี้ได้ จากการร่วมประชุมหารือกันนั้น สรุปออกมาได้เป็นข้อๆดังนี้
• ไม่ได้รับการแจ้งเตือนเรื่องการเข้าประชุมประชาพิจารณ์ต่างๆ ก่อนการสร้างเขื่อน อาจเป็นเพราะเนื่องมาจากแต่ละคนอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ
• มีประชาชนส่วนหนึ่ง ที่สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อน
• ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ไม่สามารถระงับโครงการได้ เนื่องจากได้มีการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว
• คิดในแง่บวก ผู้นำเสนอและผู้จัดทำโครงการนี้ อาจจะต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยเจตุนาที่ดี รวมทั้ง ผู้รับเหมาและผู้อนุมัติ ก็เพียงแค่ต้องทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่อาจจะไม่เข้าใจถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขที่แท้จริง
3.2 เหตุผลที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการต้องการสร้างเขื่อน
• เพื่อป้องกันการกัดเซาะหาดจากน้ำทะเลที่ทำให้พื้นที่เสียหาย
• เพื่อต้องการโปรโมทการท่องเที่ยว และ เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมสันทนาการ
3.3 เหตุผลที่ กลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึงไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อน
• จากการพูดคุยกับเพื่อนบ้านและประสบการณ์ของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้มาตลอดระยะเวลาหลายปี ชายหาดอ่าวน้อยแห่งนี้เป็นอ่าวปิด ยังไม่น่าจะเกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดที่ร้ายแรงจนถึงขั้นต้องมาสร้างเขื่อนใหญ่โต เพื่อเป็นการป้องกัน
• หากมีปัญหาการกัดเซาะชายหาดจริง เชื่อว่ายังมีวิธีการอื่นๆที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอีกทั้งยังใช้งบประมาณน้อยกว่า
• การสร้างเขื่อนบนชายหาดอ่าวน้อย เป็นโครงการที่จะมีผู้ได้ประโยชน์เพียงส่วนน้อย เทียบกันแล้ว หากนำงบประมาณส่วนนี้ไปพัฒนาพื้นที่อื่นๆในจังหวัดประจวบ น่าจะทำให้ส่วนรวมได้ประโยชน์มากกว่า เช่นการพัฒนาถนน โรงพยาบาล หรือ โรงเรียน
• ถ้าเพื่อเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยว การรักษาชายหาดเอาไว้น่าจะเป็นการทำให้มีผู้คนมาท่องเที่ยวเยอะกว่าเพราะผู้คนอยากมาเที่ยวทะเลเพราะต้องการสัมผัสกับชายหาดและธรรมชาติที่สวยงาม แทนที่จะเป็นเขื่อนคอนกรีต ไม่เหลือธรรมชาติที่สวยงามอีกต่อไป
• ถ้าเพื่อให้มีพื้นที่ให้การจัดกิจกรรมสันทนาการ ผู้คนสามารถใช้พื้นที่ชายหาด ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้มากมาย ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างพื้นที่คอนกรีตบนชายหาด เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย
• เหตุผลที่กลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึงไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อน ไม่ไช่เพราะต้องการชายหาดที่เป็นส่วนตัว และจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากจะมีผู้คนมาเยี่ยมชมหาดแห่งนี้ แต่การที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนก็เพียงเพราะต้องการเก็บรักษาธรรมชาติที่สมบูรณ์ ที่นับวันจะเหลือน้อยลงไป เพื่อไว้ให้ลูกหลานและคนรุ่นหลังได้ชื่นชม
3.4 รูปภาพอ่าวน้อยในปัจจุบัน
3.5 รูปภาพอ่าวน้อย ที่อาจจะมีสภาพเป็นแบบนี้หลังจากมีการสร้างเขื่อน
(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพจากชายหาดที่มีการสร้างเขื่อนแล้วที่เขาตาม่องล่าย ต.อ่าวน้อย ครับ)
4. สรุป
4.1 จากเรื่องราวทั้งหมดที่เขียนมาจึงอยากรบกวนขอความคิดเห็นจากเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ครับว่า
• เพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ครับ
• เพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์เห็นด้วยหรือไม่หากจะได้มาเที่ยวชายหาดที่กลายเป็นเขื่อนคอนกรีตครับ
• พวกเราทุกคนอยากจะรบกวนเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ว่าพอจะมีคำแนะนำใดบ้างครับ
• พวกเราทุกคนอยากจะขอเชิญชวนเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ มาเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศที่อ่าวน้อยแห่งนี้ครับ ก่อนที่จะกลายเป็นเขื่อนคอนกรีต
สุดท้ายนี้
เรื่องการสร้างเขื่อนที่อ่าวน้อยแห่งนี้ได้มีผู้นำเรื่องไปลงใน Facebook ด้วยครับ โดยสามารถอ่านและติดตามได้ที่
เครือข่ายเฝ้าระวัง รักษาชายหาด
และพวกเราทุกคนอยากจะขอเชิญชวนพี่ๆทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ชายหาดได้ที่
Facebook
เครือข่ายเฝ้าระวัง รักษาชายหาด (beachwatchnetwork)
และ
Website
http://www.bwn.psu.ac.th/
ขอบกระคุณครับ/ค่ะ
หาดทรายหน้าบ้านพวกเรากำลังจะกลายเขื่อนคอนกรีต...
1. เรื่องราวนั้นมีอยู่ว่า...
พวกเรากลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยแต่ละคนส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯครับ แต่ได้มาซื้อที่ดินเอาไว้อยู่ที่ ต.อ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นบางคนก็ได้ทำการปลูกบ้านซึ่งก็วางแผนเอาไว้ว่าจะย้ายมาอยู่หลังจากทำงานเกษียณแล้ว ปัจจุบันพวกเราแต่ละคนจะเดินทางมาที่บ้านพักหรือบริเวณแห่งนี้ประมาณ 1-2 เดือนครั้ง เนื่องจากต่างคนยังทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ บ้านพักหรือบริเวณแห่งนี้ของพวกเราส่วนใหญ่เป็นที่ดินติดชายทะเลครับ บรรยากาศสงบร่มรื่น สวยงาม และยังมีชายหาดที่สมบูรณ์เต็มไปด้วยสัตว์ทะเลน้อยใหญ่มากมายครับ
แต่หลังจากนั้นไม่นาน...ก็มีจดหมายมาบอกว่ากำลังจะมีโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายหาดขึ้น ที่อ่าวน้อยอันสวยงามแห่งนี้ครับ...
1.1 ตำแหน่งที่อยู่ของอ่าวน้อย
อ่าวน้อยเป็นอ่าวที่มีขนาดค่อนข้างเล็กครับ พื้นที่ชายหาดจากหลักที่ดินลงไปยังน้ำทะเลมีความยาวไม่มาก (ประมาณ 10 กว่าเมตรในช่วงน้ำลง) แต่จากแบบแปลนการสร้างเขื่อนที่พวกเราได้มาจากกรมโยธาธิการและผังเมือง จ.ประจวบ นั้น เขื่อนมีขนาดใหญ่ครับ และอีกทั้งยังมีส่วนที่เป็นถนนซึ่งมีความกว้างประมาณ 6 เมตร ซึ่งถ้ามีการสร้างเขื่อนขึ้นมาก็น่าจะเป็นที่แน่นอนว่า พื้นที่ตรงนี้จะมีส่วนที่เป็นชายหาดเหลืออยู่น้อยมาก หรือ ไม่มีชายหาดเหลืออีกเลย กลายเป็นเขื่อนคอนกรีต แล้วลงไปจนสุดก็จะกลายเป็นน้ำ ไม่มีพื้นที่ให้คนเดินชายหาด ไม่มีพื้นที่ให้คนลงไปเล่นทรายเล่นน้ำ และอาจจะไม่มีพื้นที่เหลือให้สัตว์น้ำเช่น ปูเสฉวน ใช้ชีวิตอยู่บนชายหาดอีกต่อไป
2. ข้อมูลทางวิชาการ
2.1 การกัดเซาะชายหาดคืออะไร?
"การกัดเซาะชายหาด (coastal erosion) เกิดจากการที่มีปัจจัยที่ไปเปลี่ยนแปลงสมดุลของตะกอนทรายชายหาด และ จากการไปเปลี่ยนแปลงทิศทางและพลังงานของคลื่น ลม และกระแสน้ำ"
ซึ่งนิยามนี้จะสอดคล้องกับ "ระบบกลุ่มหาด" ที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.2 ปัญหาที่แท้จริงส่วนหนึ่งของการกัดเซาะชายหาด
2.3 การกัดเซาะชายหาดเป็นปัญหาที่จะต้องรีบแก้ไขโดยการสร้างเขื่อนไช่หรือไม่?
2.4 การสร้างเขื่อนสามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดได้จริงหรือไม่?
2.5 สรุปปัญหาและข้อเสนอ
2.6 สำหรับทุกท่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมว่าการสร้างเขื่อนบนชายหาดมีผลอย่างไร สามารถอ่านเอกสารวิชาการเรื่อง "หาดทราย" ของ อ.กัลยาณี ทีมหาวิทยาลัยสงขลา ที่จัดทำขึ้นจากการทบทวนข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัย โดยจะมีทั้งหมด 5 เล่ม
เล่ม 1, 3: เหมาะสำหรับประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทียังไม่ประสบปัญหากัดเซาะและที่กำลังเป็นปัญหา
เล่ม 2, 4, 5: เหมาะสำหรับประชาชนองค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทีกำลังเป็นปัญหา
หาดทราย (เล่ม 1) “หาดทราย: มรดกทางธรรมชาติที่นับวันจะสูญสิ้น”
เนื้อหา: เน้นการสร้างความเข้าใจถึงสาเหตุการกัดเซาะ และกรณีตัวอย่าง
ดาวน์โหลดได้ที่: หาดทราย เล่ม 1
หาดทราย (เล่ม 2) “หาดทราย: คุณค่า ชีวิตที่ถูกลืม”
เนื้อหา: ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงระบบหาด และกรณีตัวอย่างการใช้ประโยชนของชุมชน
ดาวน์โหลดได้ที่: หายทราย เล่ม 2
หาดทราย (เล่ม 3) “หาดทราย: คอร์รัปชั่น พิราบขาว กฎของนิวตัน”
เนื้อหา: ความรู้ทั่วไปสำหรับเยาวชน
ดาวน์โหลดได้ที่: หาดทราย เล่ม 3
หาดทราย (เล่ม 4) “ข้อเสนอเชิงนโยบาย : แนวทางการฟื้นฟู การใช้ประโยชน์หาดทราย และการอนุรักษ์”
เนื้อหา: แนวปฏิบัติในการรับมือ(จัดการ)กับปัญหากัดเซาะของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลดได้ที่: หาดทราย เล่ม 4
หาดทราย (เล่ม 5) “เปลี่ยนหลักคิด คืนชีวิตให้หาดทราย : บทสรุปสำหรับผู้บริหารและประชาชน”
เนื้อหา: ทิศทางในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาด
ดาวน์โหลดได้ที่: หาดทราย เล่ม 5
2.7 กรณีศึกษาจากการที่ชาวบ้านรวมตัวกันฟ้องศาลปกครองอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง
ชาวบ้านสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง << คลิ๊ก
ชาวบ้านหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ อ.เมือง จ.สงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายหาดทรายและชายฝั่ง << คลิ๊ก
3. รายละเอียดและเหตุผล
ในขณะนี้นั้นได้มีการเริ่มต้นดำเนินงานการสร้างเขื่อนแล้วครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 phase ซึ่งตอนนี้กำลังเริ่มต้นดำเนินงานสร้างใน phase ที่ 1 อยู่ แต่ phase 2 และ phase 3 ยังอยู่ในช่วงการของบประมาณ
3.1 เบื้องต้นนั้นกลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึง ไม่เห็นด้วยในการสร้างเขื่อนครับ แต่ไม่สามารถระงับโครงการนี้ได้ จากการร่วมประชุมหารือกันนั้น สรุปออกมาได้เป็นข้อๆดังนี้
• ไม่ได้รับการแจ้งเตือนเรื่องการเข้าประชุมประชาพิจารณ์ต่างๆ ก่อนการสร้างเขื่อน อาจเป็นเพราะเนื่องมาจากแต่ละคนอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ
• มีประชาชนส่วนหนึ่ง ที่สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อน
• ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ไม่สามารถระงับโครงการได้ เนื่องจากได้มีการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว
• คิดในแง่บวก ผู้นำเสนอและผู้จัดทำโครงการนี้ อาจจะต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยเจตุนาที่ดี รวมทั้ง ผู้รับเหมาและผู้อนุมัติ ก็เพียงแค่ต้องทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่อาจจะไม่เข้าใจถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขที่แท้จริง
3.2 เหตุผลที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการต้องการสร้างเขื่อน
• เพื่อป้องกันการกัดเซาะหาดจากน้ำทะเลที่ทำให้พื้นที่เสียหาย
• เพื่อต้องการโปรโมทการท่องเที่ยว และ เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมสันทนาการ
3.3 เหตุผลที่ กลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึงไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อน
• จากการพูดคุยกับเพื่อนบ้านและประสบการณ์ของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้มาตลอดระยะเวลาหลายปี ชายหาดอ่าวน้อยแห่งนี้เป็นอ่าวปิด ยังไม่น่าจะเกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดที่ร้ายแรงจนถึงขั้นต้องมาสร้างเขื่อนใหญ่โต เพื่อเป็นการป้องกัน
• หากมีปัญหาการกัดเซาะชายหาดจริง เชื่อว่ายังมีวิธีการอื่นๆที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอีกทั้งยังใช้งบประมาณน้อยกว่า
• การสร้างเขื่อนบนชายหาดอ่าวน้อย เป็นโครงการที่จะมีผู้ได้ประโยชน์เพียงส่วนน้อย เทียบกันแล้ว หากนำงบประมาณส่วนนี้ไปพัฒนาพื้นที่อื่นๆในจังหวัดประจวบ น่าจะทำให้ส่วนรวมได้ประโยชน์มากกว่า เช่นการพัฒนาถนน โรงพยาบาล หรือ โรงเรียน
• ถ้าเพื่อเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยว การรักษาชายหาดเอาไว้น่าจะเป็นการทำให้มีผู้คนมาท่องเที่ยวเยอะกว่าเพราะผู้คนอยากมาเที่ยวทะเลเพราะต้องการสัมผัสกับชายหาดและธรรมชาติที่สวยงาม แทนที่จะเป็นเขื่อนคอนกรีต ไม่เหลือธรรมชาติที่สวยงามอีกต่อไป
• ถ้าเพื่อให้มีพื้นที่ให้การจัดกิจกรรมสันทนาการ ผู้คนสามารถใช้พื้นที่ชายหาด ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้มากมาย ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างพื้นที่คอนกรีตบนชายหาด เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย
• เหตุผลที่กลุ่มประชาชนบริเวณอ่าวน้อยส่วนนึงไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อน ไม่ไช่เพราะต้องการชายหาดที่เป็นส่วนตัว และจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากจะมีผู้คนมาเยี่ยมชมหาดแห่งนี้ แต่การที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนก็เพียงเพราะต้องการเก็บรักษาธรรมชาติที่สมบูรณ์ ที่นับวันจะเหลือน้อยลงไป เพื่อไว้ให้ลูกหลานและคนรุ่นหลังได้ชื่นชม
3.4 รูปภาพอ่าวน้อยในปัจจุบัน
3.5 รูปภาพอ่าวน้อย ที่อาจจะมีสภาพเป็นแบบนี้หลังจากมีการสร้างเขื่อน
(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพจากชายหาดที่มีการสร้างเขื่อนแล้วที่เขาตาม่องล่าย ต.อ่าวน้อย ครับ)
4. สรุป
4.1 จากเรื่องราวทั้งหมดที่เขียนมาจึงอยากรบกวนขอความคิดเห็นจากเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ครับว่า
• เพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ครับ
• เพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์เห็นด้วยหรือไม่หากจะได้มาเที่ยวชายหาดที่กลายเป็นเขื่อนคอนกรีตครับ
• พวกเราทุกคนอยากจะรบกวนเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ว่าพอจะมีคำแนะนำใดบ้างครับ
• พวกเราทุกคนอยากจะขอเชิญชวนเพื่อนๆและพี่ๆในพันธุ์ทิพย์ มาเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศที่อ่าวน้อยแห่งนี้ครับ ก่อนที่จะกลายเป็นเขื่อนคอนกรีต
สุดท้ายนี้
เรื่องการสร้างเขื่อนที่อ่าวน้อยแห่งนี้ได้มีผู้นำเรื่องไปลงใน Facebook ด้วยครับ โดยสามารถอ่านและติดตามได้ที่
เครือข่ายเฝ้าระวัง รักษาชายหาด
และพวกเราทุกคนอยากจะขอเชิญชวนพี่ๆทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ชายหาดได้ที่
Facebook เครือข่ายเฝ้าระวัง รักษาชายหาด (beachwatchnetwork)
และ
Website http://www.bwn.psu.ac.th/
ขอบกระคุณครับ/ค่ะ