สืบเนื่องจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/34276567
มีหลายคนถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการไปทำงานที่เกาหลีมาเยอะมากจนตอบไม่ทัน ตุ้ยก็เลยขอยกยอดมาตอบในกระทู้นี้เลยนะคะ เผื่อคนอื่น ๆ ที่สงสัยเหมือนกันจะได้หายข้องใจด้วย
คำถามแรกเลยค่ะ
“เลือกงานได้ไหม”
- ถ้าสอบไปกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน วันที่สมัครสอบสามารถเลือกประเภทงานได้ 1 ประเภทกิจการ จาก 3 ประเภทกิจการดังต่อไปนี้ค่ะ
กิจการอุตสาหกรรมการผลิต
กิจการเกษตรกรรมและปศุสัตว์
และกิจการก่อสร้าง
คำถามต่อมา
“มีเพื่อนทำงานอยู่ที่เกาหลี ไปทำงานกับเพื่อนได้ไหม”
- เพื่อป้องกันการแทรกแซงของนายหน้า ทางเกาหลีจึง
ห้าม ไม่ให้ลูกจ้างเลือกที่ทำงาน หรือนายจ้างระบุตัวลูกจ้างค่ะ
แต่
ในวันรายงานตัวผู้สอบผ่าน(ก็คือขึ้นทะเบียนคนหางานนั่นแหละค่ะ) ทางกรมการจัดหางานจะให้คุณระบุ “ที่” ที่คุณต้องการไปทำงาน 3 แห่ง จากตัวเลือก 18 ตัวเลือก ก็จะเป็น 9 จังหวัด, 8 มหานคร รวมกับ 1 ช่องไม่ระบุนะคะ พูดง่าย ๆ อีกทีก็คือเลือกเมืองที่จะไปได้ค่ะ อ้อแล้วก็ ผู้ที่สอบในประเภทงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างจะต้องเลือกสายงาน 3 สายงานด้วยค่ะ สายงานในประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิต ก็เช่น งานผลิตอาหาร, สายงานทอผ้า, สายงานผลิตอะไหล่รถยนต์ ฯลฯ สายงานในประเภทงานก่อสร้างก็เช่น ช่างเชื่อม, ช่างไม้, แรงงานทั่วไป เป็นต้นค่ะ ซึ่งในข้อนี้ทางโรงเรียนก็จะช่วยแนะนำในการเลือกสายงานและเมืองที่จะไปทำงานให้คุณเองค่ะ
อันนี้คือใบรายงานตัวผู้สอบผ่านนะคะ จะเห็นว่ามีช่องให้เลือกงาน และให้เลือกสถานที่ที่อยากไปทำงานค่ะ
อันนี้ใบบอกว่าเกาหลีมีงานอะไรให้ทำบ้างค่ะ
“สายตาสั้น เป็นนู่นเป็นนี่ ไปได้ไหม”
- โรคต้องห้ามของประเทศเกาหลีมีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ร่างกายผิดปกติ เช่น กระดูกสันหลังคด กระดูกแขนขาโก่ง หรือ คดงอ
2. โรคจิตเภท
3. โรคติดต่อร้ายแรง ได้แก่ โรคเอดส์ กามโรค วัณโรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี โรคเท้าช้าง และ โรคคุดทะราด
4. โรคซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ
5. ตาบอดสี(ที่จริงข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์นะคะ ถ้าหมอเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หมอก็เซ็นใบรับรองแพทย์ให้ค่ะ และทางเกาหลีก็บอกมาว่าถ้านายจ้างไม่ได้ระบุมาว่าไม่รับบุคคลที่ตาบอดสีก็อาจจะได้รับเลือกค่ะ)
6. หูตึง
7. สายตาสั้น(ไม่เกิน 400 ค่ะ)
อันนี้ตุ้ยขอแนะนำเลยค่ะว่าถ้าอยากไปทำงานเกาหลีให้ไปตรวจร่างกายก่อนเลย เพราะหลายคนเป็นไวรัสบีแล้วไม่รู้ตัว เมื่อมาถึงขั้นตอนรายงานตัวผู้สอบผ่านจะต้องส่งใบตรวจร่างกาย ถ้าระบุตรวจเจอโรคต้องห้าม ทางกรมไม่รับรายงานตัวนะคะ ตุ้ยไม่อยากให้คุณ ๆ เสียเวลาเปล่า ๆ ค่ะ
“ได้เงินเดือน 3-4 หมื่นจริง ๆ เหรอ ทุกคนเลยเหรอ”
- แรงงานที่ไปทำงานที่เกาหลีแบบถูกกฎหมาย(ตามระบบ EPS) จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายว่าด้วยการจ้างงานแรงงานต่างชาติทุกประการค่ะ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการรับประกันค่าแรงขั้นต่ำด้วยค่ะ โดยทางเกาหลีมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทุกปี(เพิ่มบ้างคงที่บ้าง แต่ 5-6 ปีล่าสุดนี่เพิ่มตลอดนะคะ) อย่างปี 2559 นี้ก็ตกชั่วโมงละ 6030 วอน ถ้าคุณทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน อย่างน้อย ๆ คุณก็จะต้องได้เงิน 6030*209 = 1,260,270 วอน แปลงเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 38,000 บาทค่ะ ต้องได้ทุกคน ทุกประเภทงานแน่นอนค่ะ ส่วนคนที่อยู่เกาหลีอยู่แล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงขั้นต่ำ พอปีใหม่ก็จะได้รับค่าแรงใหม่เหมือนกันค่ะ อ้อ ค่าทำงานล่วงเวลาหรือทำงานกะดึกนี่
ถ้ามีก็จ่ายต่างหากนะคะ
บางคนโชคดีเจอโรงงานที่โอทีทุกวัน อ่ะ เราลองมาคิดกันดูเล่น ๆ นะคะ สมมุติทำงาน จ-ศ ก็ได้เงิน 6030*209 = 1,260,270 วอนแล้วใช่ไหมคะ แล้วสมมุติต่อว่ามีโอทีวันละ 3 ชั่วโมง เดือนนั้นทำงาน 22 วัน ก็จะได้เงินเพิ่มมาอีก (6030*1.5*3)*22 = 596,970 วอน สรุปว่าเดือนนั้นคน ๆ นั้นจะได้เงินเดือน 1,857,240 วอน เทียบเคียงเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 50,000 กว่าบาทค่ะ
“ค่าแรงได้เต็ม ๆ เลยไหม”
- คืออันนี้ต้องดูสัญญาจ้างค่ะ บางคนได้อยู่ฟรีกินฟรี บางคนได้อยู่ฟรีเก็บค่ากิน บางคนเก็บทั้งค่ากินค่าอยู่ ไม่เหมือนกันค่ะ อ้อแล้วก็ นอกจากค่ากินค่าอยู่แล้วยังมีค่าประกันจิปาถะอีกนะคะ แต่ไอ้ค่าประกันจิปาถะนี่มันมีตัวที่ให้เงินก้อนคืนตอนกลับไทยด้วยค่ะ ฉะนั้นไม่ต้องเสียดายมากนะคะ กรณีที่ไปเกาหลีแล้วขาดทุนหรือเท่าทุนหรือไม่มีเงินส่งกลับบ้านนี่แทบหาไม่เจอค่ะ
ตัวอย่างสัญญาจ้างนะคะ
“ที่พักเป็นแบบไหน”
- ก็ ... มีหลายแบบค่ะ ทั้งอยู่หอ อยู่คอนเทนเนอร์ อยู่บ้านเจ้านาย(กรณีทำงานเกษตร) อันนี้ตอบไม่ได้จริง ๆ ว่าใครจะเจอแบบไหน ต้องดูในสัญญาจ้างนะคะ ตัวอย่างสัญญาจ้างอยู่ข้อข้างบน ส่วนตัวอย่างที่พักมีดังต่อไปนี้ค่ะ
“ใช้ชีวิตยังไง ลำบากไหม”
- กิจวัตรประจำวันหลัก ๆ ก็ทำงานค่ะ ส่วนในวันหยุดจะทำอะไรก็ได้ ส่วนเรื่องอาหารการกิน อาหารเกาหลีก็ไม่ได้แตกต่างจากอาหารไทยมากหรอกค่ะ ไก่ ๆ หมู ๆ เหมือนกัน ส่วนอาหารไทยนี่ก็หาทานได้ปกตินะคะ มีร้านขายเครื่องปรุงทำอาหารไทยทั้งออนไลน์ออฟไลน์ แล้วก็มีร้านอาหารไทยอยู่ทั่วไปค่ะ
วันไหนว่าง ก็ไปเที่ยวได้นะคะ จะตามรอยซีรีย์ ตามกรี๊ดโอป้าเกาหลีก็ได้ ไม่มีใครห้าม
ร้านขายของไทยมีเยอะนะคะ ลองหาดู กะปิ น้ำปลา ปลาร้า มาเต็ม ไม่ต้องกลัวว่าจะคิดถึงส้มตำนะคะ
วันไหนเบื่ออาหารไทย ก็ไปร้านอาหารเกาหลีค่ะ จะกินเนื้อ กินผัก หรือจะทะเลย่าง มีหมด เหมือนไทยเป๊ะ
***การใช้ชีวิตเป็นแรงงานที่เกาหลีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ บอกเลย***
“สนใจจะไป แต่เคยติด ตม. จะไปได้ไหม”
- เป็นคำถามที่ถามกันมาเยอะมากค่ะ ตุ้ยขอตอบตามหลักการก่อนนะคะ ในกรณีที่คุณ
“ไม่เคย” มีประวัติการพำนักในเกาหลีแบบผิดกฎหมายเลย แล้วคุณดันติด ตม. เนี่ย ในการเข้าเกาหลีครั้งต่อไป หากคุณมีหลักฐานชัดเจนจนเจ้าหน้าที่เชื่อว่าคุณมาเที่ยวจริง ๆ คุณก็ผ่านค่ะ
แต่
ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ตม. มันจะโอนซ้ายเอียงขวาไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ณ ตอนนั้นเค้าสำรวจมาแล้วว่าคนไทยพำนักแบบผิดกฎหมายอยู่เยอะ เค้าก็อาจจะไม่ให้คนที่เคยติด ตม. เข้าเพราะอยู่ในข่ายบุคคลสุ่มเสี่ยง แล้วก็นะคะ ตอนที่คุณติด ตม. ไม่มีใครรู้ว่าตอนนั้นเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลของคุณลงระบบว่าอะไรยังไงหรือเปล่า ดังนั้นตุ้ยก็ขอสรุปคำตอบในข้อนี้ว่า
ตอบแบบฟันธงไม่ได้ เพราะ คนที่วีซ่าออกก็มี คนที่ไม่ออกก็มีค่ะ
อนึ่ง หากคุณเคยติด ตม. แล้วคุณดันไปเปลี่ยนชื่อนามสกุลล่ะก็
จบข่าวนะคะ แล้วก็ คนที่
เคยพำนักแบบผิดกฎหมาย จะกี่วันก็แล้วแต่ ให้เข้าใจว่าคุณติดแบล็กลิสต์แน่นอน อย่างน้อย ๆ ก็ 5 ปี และถึงจะเลย 5 ปีไปแล้ว แต่โอกาสที่จะ
เข้าไม่ได้นี่ตุ้ยว่ามีมากกว่าเข้าได้นะคะ
.
.
.
คร่าว ๆ ก็ประมานนี้ค่ะ ไว้ถ้าตุ้ยรวบรวมคำถามโดน ๆ หรือข้อมูลที่น่าสนใจได้อีก ตุ้ยจะมาทำภาค 3 นะคะ
ก่อนกะจบนะคะ
ตุ้ยขอแนะนำคนที่ยังไม่เคยไปทำงานต่างประเทศนะคะ
ถ้าอยากจะไป ควรไปแบบถูกกฎหมายจะดีที่สุด เพราะถ้าคุณซื้อทัวร์ไปแล้วคุณเข้าไม่ได้ คุณอาจจะเสียโอกาสในการไปทำงานอย่างถูกต้องในภายหลังค่ะ
ปล1. รูปภาพขออนุญาตเจ้าของแล้วนะคะ
ปล2. หากมีข้อสงสัยอะไร ถามได้ค่ะ อยากแชร์ประสบการณ์
ปล3. ถ้าหากมีอะไรที่อยากให้ตุ้ยมาไขข้อข้องใจ หรืออธิบายละเอียด ๆ แบบนี้อีก ก็เสนอแนะได้นะคะ
จากพี่ตุ้ยเองค่ะ
เฉลยคำถามคาใจ ก่อนไปทำงานที่เกาหลี
มีหลายคนถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการไปทำงานที่เกาหลีมาเยอะมากจนตอบไม่ทัน ตุ้ยก็เลยขอยกยอดมาตอบในกระทู้นี้เลยนะคะ เผื่อคนอื่น ๆ ที่สงสัยเหมือนกันจะได้หายข้องใจด้วย
คำถามแรกเลยค่ะ “เลือกงานได้ไหม”
- ถ้าสอบไปกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน วันที่สมัครสอบสามารถเลือกประเภทงานได้ 1 ประเภทกิจการ จาก 3 ประเภทกิจการดังต่อไปนี้ค่ะ
กิจการอุตสาหกรรมการผลิต
กิจการเกษตรกรรมและปศุสัตว์
และกิจการก่อสร้าง
คำถามต่อมา “มีเพื่อนทำงานอยู่ที่เกาหลี ไปทำงานกับเพื่อนได้ไหม”
- เพื่อป้องกันการแทรกแซงของนายหน้า ทางเกาหลีจึง ห้าม ไม่ให้ลูกจ้างเลือกที่ทำงาน หรือนายจ้างระบุตัวลูกจ้างค่ะ
แต่
ในวันรายงานตัวผู้สอบผ่าน(ก็คือขึ้นทะเบียนคนหางานนั่นแหละค่ะ) ทางกรมการจัดหางานจะให้คุณระบุ “ที่” ที่คุณต้องการไปทำงาน 3 แห่ง จากตัวเลือก 18 ตัวเลือก ก็จะเป็น 9 จังหวัด, 8 มหานคร รวมกับ 1 ช่องไม่ระบุนะคะ พูดง่าย ๆ อีกทีก็คือเลือกเมืองที่จะไปได้ค่ะ อ้อแล้วก็ ผู้ที่สอบในประเภทงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างจะต้องเลือกสายงาน 3 สายงานด้วยค่ะ สายงานในประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิต ก็เช่น งานผลิตอาหาร, สายงานทอผ้า, สายงานผลิตอะไหล่รถยนต์ ฯลฯ สายงานในประเภทงานก่อสร้างก็เช่น ช่างเชื่อม, ช่างไม้, แรงงานทั่วไป เป็นต้นค่ะ ซึ่งในข้อนี้ทางโรงเรียนก็จะช่วยแนะนำในการเลือกสายงานและเมืองที่จะไปทำงานให้คุณเองค่ะ
อันนี้คือใบรายงานตัวผู้สอบผ่านนะคะ จะเห็นว่ามีช่องให้เลือกงาน และให้เลือกสถานที่ที่อยากไปทำงานค่ะ
อันนี้ใบบอกว่าเกาหลีมีงานอะไรให้ทำบ้างค่ะ
“สายตาสั้น เป็นนู่นเป็นนี่ ไปได้ไหม”
- โรคต้องห้ามของประเทศเกาหลีมีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ร่างกายผิดปกติ เช่น กระดูกสันหลังคด กระดูกแขนขาโก่ง หรือ คดงอ
2. โรคจิตเภท
3. โรคติดต่อร้ายแรง ได้แก่ โรคเอดส์ กามโรค วัณโรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี โรคเท้าช้าง และ โรคคุดทะราด
4. โรคซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ
5. ตาบอดสี(ที่จริงข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์นะคะ ถ้าหมอเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หมอก็เซ็นใบรับรองแพทย์ให้ค่ะ และทางเกาหลีก็บอกมาว่าถ้านายจ้างไม่ได้ระบุมาว่าไม่รับบุคคลที่ตาบอดสีก็อาจจะได้รับเลือกค่ะ)
6. หูตึง
7. สายตาสั้น(ไม่เกิน 400 ค่ะ)
อันนี้ตุ้ยขอแนะนำเลยค่ะว่าถ้าอยากไปทำงานเกาหลีให้ไปตรวจร่างกายก่อนเลย เพราะหลายคนเป็นไวรัสบีแล้วไม่รู้ตัว เมื่อมาถึงขั้นตอนรายงานตัวผู้สอบผ่านจะต้องส่งใบตรวจร่างกาย ถ้าระบุตรวจเจอโรคต้องห้าม ทางกรมไม่รับรายงานตัวนะคะ ตุ้ยไม่อยากให้คุณ ๆ เสียเวลาเปล่า ๆ ค่ะ
“ได้เงินเดือน 3-4 หมื่นจริง ๆ เหรอ ทุกคนเลยเหรอ”
- แรงงานที่ไปทำงานที่เกาหลีแบบถูกกฎหมาย(ตามระบบ EPS) จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายว่าด้วยการจ้างงานแรงงานต่างชาติทุกประการค่ะ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการรับประกันค่าแรงขั้นต่ำด้วยค่ะ โดยทางเกาหลีมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทุกปี(เพิ่มบ้างคงที่บ้าง แต่ 5-6 ปีล่าสุดนี่เพิ่มตลอดนะคะ) อย่างปี 2559 นี้ก็ตกชั่วโมงละ 6030 วอน ถ้าคุณทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน อย่างน้อย ๆ คุณก็จะต้องได้เงิน 6030*209 = 1,260,270 วอน แปลงเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 38,000 บาทค่ะ ต้องได้ทุกคน ทุกประเภทงานแน่นอนค่ะ ส่วนคนที่อยู่เกาหลีอยู่แล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงขั้นต่ำ พอปีใหม่ก็จะได้รับค่าแรงใหม่เหมือนกันค่ะ อ้อ ค่าทำงานล่วงเวลาหรือทำงานกะดึกนี่ถ้ามีก็จ่ายต่างหากนะคะ บางคนโชคดีเจอโรงงานที่โอทีทุกวัน อ่ะ เราลองมาคิดกันดูเล่น ๆ นะคะ สมมุติทำงาน จ-ศ ก็ได้เงิน 6030*209 = 1,260,270 วอนแล้วใช่ไหมคะ แล้วสมมุติต่อว่ามีโอทีวันละ 3 ชั่วโมง เดือนนั้นทำงาน 22 วัน ก็จะได้เงินเพิ่มมาอีก (6030*1.5*3)*22 = 596,970 วอน สรุปว่าเดือนนั้นคน ๆ นั้นจะได้เงินเดือน 1,857,240 วอน เทียบเคียงเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 50,000 กว่าบาทค่ะ
“ค่าแรงได้เต็ม ๆ เลยไหม”
- คืออันนี้ต้องดูสัญญาจ้างค่ะ บางคนได้อยู่ฟรีกินฟรี บางคนได้อยู่ฟรีเก็บค่ากิน บางคนเก็บทั้งค่ากินค่าอยู่ ไม่เหมือนกันค่ะ อ้อแล้วก็ นอกจากค่ากินค่าอยู่แล้วยังมีค่าประกันจิปาถะอีกนะคะ แต่ไอ้ค่าประกันจิปาถะนี่มันมีตัวที่ให้เงินก้อนคืนตอนกลับไทยด้วยค่ะ ฉะนั้นไม่ต้องเสียดายมากนะคะ กรณีที่ไปเกาหลีแล้วขาดทุนหรือเท่าทุนหรือไม่มีเงินส่งกลับบ้านนี่แทบหาไม่เจอค่ะ
ตัวอย่างสัญญาจ้างนะคะ
“ที่พักเป็นแบบไหน”
- ก็ ... มีหลายแบบค่ะ ทั้งอยู่หอ อยู่คอนเทนเนอร์ อยู่บ้านเจ้านาย(กรณีทำงานเกษตร) อันนี้ตอบไม่ได้จริง ๆ ว่าใครจะเจอแบบไหน ต้องดูในสัญญาจ้างนะคะ ตัวอย่างสัญญาจ้างอยู่ข้อข้างบน ส่วนตัวอย่างที่พักมีดังต่อไปนี้ค่ะ
“ใช้ชีวิตยังไง ลำบากไหม”
- กิจวัตรประจำวันหลัก ๆ ก็ทำงานค่ะ ส่วนในวันหยุดจะทำอะไรก็ได้ ส่วนเรื่องอาหารการกิน อาหารเกาหลีก็ไม่ได้แตกต่างจากอาหารไทยมากหรอกค่ะ ไก่ ๆ หมู ๆ เหมือนกัน ส่วนอาหารไทยนี่ก็หาทานได้ปกตินะคะ มีร้านขายเครื่องปรุงทำอาหารไทยทั้งออนไลน์ออฟไลน์ แล้วก็มีร้านอาหารไทยอยู่ทั่วไปค่ะ
วันไหนว่าง ก็ไปเที่ยวได้นะคะ จะตามรอยซีรีย์ ตามกรี๊ดโอป้าเกาหลีก็ได้ ไม่มีใครห้าม
ร้านขายของไทยมีเยอะนะคะ ลองหาดู กะปิ น้ำปลา ปลาร้า มาเต็ม ไม่ต้องกลัวว่าจะคิดถึงส้มตำนะคะ
วันไหนเบื่ออาหารไทย ก็ไปร้านอาหารเกาหลีค่ะ จะกินเนื้อ กินผัก หรือจะทะเลย่าง มีหมด เหมือนไทยเป๊ะ
***การใช้ชีวิตเป็นแรงงานที่เกาหลีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ บอกเลย***
“สนใจจะไป แต่เคยติด ตม. จะไปได้ไหม”
- เป็นคำถามที่ถามกันมาเยอะมากค่ะ ตุ้ยขอตอบตามหลักการก่อนนะคะ ในกรณีที่คุณ “ไม่เคย” มีประวัติการพำนักในเกาหลีแบบผิดกฎหมายเลย แล้วคุณดันติด ตม. เนี่ย ในการเข้าเกาหลีครั้งต่อไป หากคุณมีหลักฐานชัดเจนจนเจ้าหน้าที่เชื่อว่าคุณมาเที่ยวจริง ๆ คุณก็ผ่านค่ะ
แต่
ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ตม. มันจะโอนซ้ายเอียงขวาไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ณ ตอนนั้นเค้าสำรวจมาแล้วว่าคนไทยพำนักแบบผิดกฎหมายอยู่เยอะ เค้าก็อาจจะไม่ให้คนที่เคยติด ตม. เข้าเพราะอยู่ในข่ายบุคคลสุ่มเสี่ยง แล้วก็นะคะ ตอนที่คุณติด ตม. ไม่มีใครรู้ว่าตอนนั้นเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลของคุณลงระบบว่าอะไรยังไงหรือเปล่า ดังนั้นตุ้ยก็ขอสรุปคำตอบในข้อนี้ว่า ตอบแบบฟันธงไม่ได้ เพราะ คนที่วีซ่าออกก็มี คนที่ไม่ออกก็มีค่ะ
อนึ่ง หากคุณเคยติด ตม. แล้วคุณดันไปเปลี่ยนชื่อนามสกุลล่ะก็ จบข่าวนะคะ แล้วก็ คนที่เคยพำนักแบบผิดกฎหมาย จะกี่วันก็แล้วแต่ ให้เข้าใจว่าคุณติดแบล็กลิสต์แน่นอน อย่างน้อย ๆ ก็ 5 ปี และถึงจะเลย 5 ปีไปแล้ว แต่โอกาสที่จะเข้าไม่ได้นี่ตุ้ยว่ามีมากกว่าเข้าได้นะคะ
.
.
.
คร่าว ๆ ก็ประมานนี้ค่ะ ไว้ถ้าตุ้ยรวบรวมคำถามโดน ๆ หรือข้อมูลที่น่าสนใจได้อีก ตุ้ยจะมาทำภาค 3 นะคะ
ก่อนกะจบนะคะ
ตุ้ยขอแนะนำคนที่ยังไม่เคยไปทำงานต่างประเทศนะคะ ถ้าอยากจะไป ควรไปแบบถูกกฎหมายจะดีที่สุด เพราะถ้าคุณซื้อทัวร์ไปแล้วคุณเข้าไม่ได้ คุณอาจจะเสียโอกาสในการไปทำงานอย่างถูกต้องในภายหลังค่ะ
ปล1. รูปภาพขออนุญาตเจ้าของแล้วนะคะ
ปล2. หากมีข้อสงสัยอะไร ถามได้ค่ะ อยากแชร์ประสบการณ์
ปล3. ถ้าหากมีอะไรที่อยากให้ตุ้ยมาไขข้อข้องใจ หรืออธิบายละเอียด ๆ แบบนี้อีก ก็เสนอแนะได้นะคะ
จากพี่ตุ้ยเองค่ะ