อันดับ 1 ได้แก่ การบินไทย 5 ปีที่ผ่านมา ทำกำไรเพียงปีเดียวคือ 2555 (+6228.97ล้าน) ที่เหลือ 4 ปีขาดทุนยับเยิน ปี 54 ขาดทุน 1 หมื่นกว่าล้าน ปี 56 ขาดทุน 1.2 หมื่นล้าน ปี 57 ขาดทุน 1.56 หมื่นล้าน ปี 58 ขาดทุน 1.8 หมื่นล้าน (3ไตรมาส) คิดเฉลี่ยขาดทุนไตรมาสละ 6 พันล้าน ถ้าคำนวณ 4 ไตรมาส น่าจะทะลุ 2.4 หมื่นล้าน คาดว่าถ้ายังขาดทุนแบบนี้ ภายในเวลา 10 ปีจะสูญเงินไปถึงแสนล้าน แซงหน้า ขสมก. ที่เฉลี่ยขาดทุนปีละ 2400 ล้าน
อันดับ 2 ได้แก่ ขสมก. ขาดทุนมาตั้งแต่ก่อตั้ง ปีหน้าครบรอบ 40 ปี ยังไม่มีกำไร เป็นหนี้สะสมเกือบแสนล้าน ต้องจ่ายดอกเบี้ย 250 ล้านบาทต่อเดือน จนต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ และตอนนี้หยุดพักชำระหนี้ทั้งหมด
อันดับ 3 ได้แก่ การรถไฟแห่งชาติ ขาดทุนมาตั้งแต่ 2517 จนถึงปัจจุบันเกือบ 8 หมื่นล้านบาท แม้แต่ประเทศต้นแบบรถไฟความเร็วสูง ปี 2529 ญี่ปุ่นเคยขาดทุน 25 ล้านล้านเยน ตอนนั้นญี่ปุ่นมีรถไฟชินคันเซน ตอนหลังสามารถพลิกฟื้น โดยมีการแปรรูปให้เอกชนมาบริหารจึงไปต่อได้
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งชาติ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของรถไฟฟ้าใต้ดิน (ฺBMCL) ซึ่งเข้าตลาดหุ้นมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปันผลสักบาทเดียว ล่าสุดหนี้สินระยะยาว 1 หมื่นล้าน ขาดทุนสะสมมากกว่า 1.2 หมื่นล้าน ต้องเพิ่มทุนปรับโครงสร้างหนี้มาเรื่อยๆ เพื่อพยุงบริษัท ให้คนเมืองได้นั่งในราคาเฉลี่ยนต่อสถานีไม่ถึง 10 บาท
จะเห็นว่า แม้ทั้ง 3 หน่วยงานจะมีผลขาดทุนก็ตาม เราจะไม่ได้ยินเสียงนกหวีด เนื่องจากโครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ชนชั้นกลางได้ประโยชน์ แต่หากมีรัฐบาลใดทำโครงการเพื่อให้รากหญ้าได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นจำนำข้าว กองทุนหมู่บ้าน SML ฯลฯ 30 บาท พวกเขาก็จะลุกขึ้นมาเป่านกหวีด แล้วประสานเสียงว่า .."ประชานิยม" เจ้าข้าเอ้ยย!!
ดังนั้นการต่อสู้ของชนชั้นสลิ่มจึงมิได้ต่อสู้เพื่อประเทศชาติตามที่กล่าวอ้าง แท้จริงแล้ว พวกเขาต่อสู้จากความเห็นแก่ตัว ..ดร.วิรไท สันติประภพ เคยออกมาอัดรัฐบาลเพื่อไทย แต่บังเอิญไปตรงจริตของชนชั้นสลิ่มซะงั้น ..ขรรมหนักมาก
จัดอันดับหน่วยงานรัฐ + วิสาหกิจ ที่ขาดทุนสูงสุด
อันดับ 2 ได้แก่ ขสมก. ขาดทุนมาตั้งแต่ก่อตั้ง ปีหน้าครบรอบ 40 ปี ยังไม่มีกำไร เป็นหนี้สะสมเกือบแสนล้าน ต้องจ่ายดอกเบี้ย 250 ล้านบาทต่อเดือน จนต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ และตอนนี้หยุดพักชำระหนี้ทั้งหมด
อันดับ 3 ได้แก่ การรถไฟแห่งชาติ ขาดทุนมาตั้งแต่ 2517 จนถึงปัจจุบันเกือบ 8 หมื่นล้านบาท แม้แต่ประเทศต้นแบบรถไฟความเร็วสูง ปี 2529 ญี่ปุ่นเคยขาดทุน 25 ล้านล้านเยน ตอนนั้นญี่ปุ่นมีรถไฟชินคันเซน ตอนหลังสามารถพลิกฟื้น โดยมีการแปรรูปให้เอกชนมาบริหารจึงไปต่อได้
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งชาติ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของรถไฟฟ้าใต้ดิน (ฺBMCL) ซึ่งเข้าตลาดหุ้นมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปันผลสักบาทเดียว ล่าสุดหนี้สินระยะยาว 1 หมื่นล้าน ขาดทุนสะสมมากกว่า 1.2 หมื่นล้าน ต้องเพิ่มทุนปรับโครงสร้างหนี้มาเรื่อยๆ เพื่อพยุงบริษัท ให้คนเมืองได้นั่งในราคาเฉลี่ยนต่อสถานีไม่ถึง 10 บาท
จะเห็นว่า แม้ทั้ง 3 หน่วยงานจะมีผลขาดทุนก็ตาม เราจะไม่ได้ยินเสียงนกหวีด เนื่องจากโครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ชนชั้นกลางได้ประโยชน์ แต่หากมีรัฐบาลใดทำโครงการเพื่อให้รากหญ้าได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นจำนำข้าว กองทุนหมู่บ้าน SML ฯลฯ 30 บาท พวกเขาก็จะลุกขึ้นมาเป่านกหวีด แล้วประสานเสียงว่า .."ประชานิยม" เจ้าข้าเอ้ยย!!
ดังนั้นการต่อสู้ของชนชั้นสลิ่มจึงมิได้ต่อสู้เพื่อประเทศชาติตามที่กล่าวอ้าง แท้จริงแล้ว พวกเขาต่อสู้จากความเห็นแก่ตัว ..ดร.วิรไท สันติประภพ เคยออกมาอัดรัฐบาลเพื่อไทย แต่บังเอิญไปตรงจริตของชนชั้นสลิ่มซะงั้น ..ขรรมหนักมาก