"เมื่อลูกเริ่มเบื่ออาหาร และ finger foods คือคำตอบ" บ้านไหนลูกทานยาก ลองแวะมาอ่านค่ะ

สวัสดีค่าแม่ๆ วันนั้นลงรูปเอด้าเด็กเหงือก 8 เดือน กินอาหารเองเป็นชิ้น คำถามที่โดนถามมากที่สุดคือ ไม่ติดคอเหรอ? กินได้แล้วเหรอ? ฟันไม่ขึ้นแล้วเคี้ยวยังงัยกินได้ยังงัย? บอกวิธีหน่อยได้มั้ย อยากให้ลูกลองบ้าง? วันนี้เรามีคำตอบสำหรับทุกคำถามนะจ๊า อีกอย่างจะอธิบายเรื่อง #fingerfoods และมีศัพท์ใหม่อีกคำมานำเสนอคือ baby led weaning หรือ BLW (จำง่ายๆคล้ายๆรถ BMW อิอิ)





#15factsaboutthis

1.#คืออะไร BLW ถ้าตามตัว baby led weaning //weaning คือ การหย่านม แต่ในความหมายนี้ BLW คือการที่ให้ลูกกินอาหารด้วยตัวเอง ควบคุมการหยิบจับ ป้อนเข้าปากเอง เพราะฉะนั้น finger food ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า BLW จ้า

2.#เริ่มเมื่อไหร่ดี BLW คล้ายๆเป็นการเลี้ยงลูกทางเลือก นั่นหมายถึง พ่อแม่ที่อังกฤษ/อเมริกาบางคนใช้วิธีการนี่ตั้งแต่ลูกเริ่มอาหารเสริมตอน 6 เดือน(เค้าจะไม่ให้ลูกรู้จักกับPuree/อาหารบดเลย)  แต่แหวนว่าช่วงที่เหมาะคือ 7-9 เดือน เดือนแรกป้อนบดให้เค้ารู้จักรสชาดอาหารไปก่อน







3.#วิธีการ เนื่องจาก BLW เน้นให้ลูกกินได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่กินได้คือสิ่งที่นิ่ม และก่อนจะจับเข้าปากได้ จะต้องเป็นสิ่งที่ใหญ่หรือยาวพอให้เค้าจับได้ทั้งมือ(วัยนี้ใช้นิ้วยังไม่เป็น)

4.#ถ้าใหญ่เกินไม่ติดคอรึงัย? คำถามยอดฮิตมากๆ แหวนก็เคยคิดแบบนี้ เอาจริงๆขอเล่าก่อน // คือแหวนตามแม่ฝรั่งคนนึงในเฟสบุ๊ค ซึ่งคนนี้เค้ามีคนตามเยอะมาก และเป็นแม่ทันสมัยและเก่งคนนึง แถมมีลูก 4 คน --- แล้วลูกคนสุดท้องเค้าเพิ่ง 6 เดือน อาหารจานแรกที่เค้านำเหนอคือ แพร์ทั้งลูกนึ่ง ---อิฮั้นก็งง-ดิคะ อ่านเมนท์อย่างเร็ว ว่าอะไรยังงัย ก็เลยรู้จัก BLW และ Google อย่างไว บางคอมเมนท์ก็ถามแกมด่าว่าไม่ติดคอเหรอ บ้าป่าวให้กินไปได้งัยบลาๆ ในใจแหวนก็แบบ เฮ่ยยยยยเค้าไม่น่าพลาดนะ ลูกตั้ง 4 คนแล้ว เค้าคงตั้งใจแล้วจริงๆ BLW มันดีขนาดนั้นเลยเหรอ เอาวะ ลองอ่านดูดิ๊ เลยอ๋ออออเลย และก็ให้ลูกได้ลอง เออว่ะ มันดียังงี้นี่เอง... จบ ตัดเข้าข้อ 4 ต่อ อิอิ

4.#ถ้าใหญ่เกินไม่ติดคอรึยังงัย(อีกที 55) การป้อนเป็นชิ้นแบบ BLW ลูกจะตั้งใจที่จะเอาอาหารเข้าปากเอง  เค้าจะเรียนรู้ที่จะควบคุมลิ้น เรียนรู้ที่จะเคี้ยวก่อนที่จะใช้ลิ้นดันอาหารเข้าปากเมื่อถึงเวลาที่เค้าพร้อมจะกลืน ทุกอย่างเป็นไปโดยลูกเป็นคนกำหนดเอง ไม่ใช่มีใครเอาช้อนยัดเข้าไปในปาก ลองนึกว่าเวลามีคนป้อนอาหารเราจังหวะไม่ได้บางทีเราก็จะสำลัก เวลาเราทานเองจึงง่ายที่สุด

5.#ไม่จริงอ่ะเคยป้อนลูกแล้วเหมือนจะสำลัก จริงๆอาการที่พบคือการกระแอมอาหารออกมา (gagging) เหมือนเวลาที่เราจะอาเจียน อาการนี้ไม่ใช่อาการสำลักหรืออาหารติดคอ การที่เด็กกระแอมอาหารออกมาเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ เค้าทำเพื่อไม่ให้เค้าสำลัก ทำเพื่อไม่ให้อาหารติดคอ อาการนี้จะช่วยเลื่อนอาหารออกมาข้างหน้าก่อนที่จะลงคอแล้วก็บดเคี้ยวอีกครั้ง
อาการจะต่างจากสำลักหรืออาหารติดคอ การสำลักอาหาร อารหารติดคอ ลูกจะมีอาการแทบจะหายใจไม่ออก มองแบบขอความช่วยเหลือ พ่อแม่ควรจะสังเกตเห็นได้ถึงความแตกต่าง ถ้าอาการเป็นเหมือนแค่เวลาเราจะอาเจียน อันนั้นไม่อันตราย  ถ้าอาการอาหารติดคอ หายใจไม่ออกอันนี้อันตราย ต้องช่วยเหลือ ซึ่งโอกาสเสี่ยงน้อยมาก แทบไม่ค่อยพบเลย

6.#ฟันไม่มี/ฟันเท่านี้จะเคี้ยวยังงัยเนี่ย? ฟันไม่มีไม่ใช่อุปสรรคในการบดเคี้ยวอาหาร อุปสรรคในการเคี้ยวคือการ"ไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว" (เอด้าเป็นเด็กเหงือกจนถึง 10 เดือน) / จากเดิมเราจะให้ลูกได้รู้จักการกลืน ก่อนการเคี้ยว นั่นคือป้อนอาหารบด แต่ BLW คือการกินแบบธรรมชาติของมนุษย์ คือลูกจะต้องรู้จักการเคี้ยวก่อน ไม่งั้นกลืนไม่ได้ ซึ่งเค้าจะเคี้ยวโดยการขยับขากรรไกรและบดด้วยเหงือกโดยมีลิ้นและน้ำลายเป็นตัวช่วย






7.#ไหนบอกว่าให้เตรียมอาหารชิ้นใหญ่ๆ แล้วจะเอาเข้าปากยังงัย อาหารชิ้นใหญ่เพื่อให้ลูกได้หยิบจับง่าย ส่วนขนาดในการเลือกกิน เค้าจะกำหนดเอง เค้าจะกัดพอดีคำเอง #ถึงเน้นว่าให้เริ่มนิ่มๆนะคะ นิ่มแค่ไหน? ลองชิมดู ใช้ลิ้นบดกับเพดานปากแล้วเละมั้ย กลืนได้มั้ย? ถ้ามีฟันกรามแล้ว(ขวบกว่าๆ) ค่อยปรับให้แข็งขึ้นค่ะ ...แล้วถ้ากัดคำใหญ่ไป เวลาเคี้ยวๆ ส่วนเกินจะไหลออกมาอัตโนมัต ประมาณนั้นค่ะเหมือนเรากินข้าวคำใหญ่เกินน่ะแหล่ะ ข้าวก็ออกจากปากใช่มั้ยเอ่ย ยิ้ม...ลูกมีความสามารถหลายอย่างที่เรานึกไม่ถึง โดยเรามักบดบังความสามารถเหล่านั้น เพราะคิดว่าเค้ายังเด็ก

8.#เริ่มจากอะไรก่อนดีอ่ะ เริ่มจากผักต้มนิ่ม #ย้ำนิ่มๆ ชิ้นใหญ่ๆ เช่น บล็อคโคลี่/กะหล่ำดอกหั่นดอกใหญ่ๆ แครอทหั่นตามขวางเป็นแว่นๆ หรือจะหั่นตามยาวเป็นชิ้นยาวๆ ประมาณ3 นิ้ว ถั่วฝักยาวก็ทำแบบเดียวกัน ให้เค้าจับข้างนึงกัดข้างนึง (ถ้า 8-9 เดือน ให้ทำทั้งเล็กทั้งใหญ่ ลูกจะได้ฝึกการจับด้วยนิ้ว และควบคุมหัวแม่โป้ง) อีกอย่างคือ เวลาเค้าจับมันจะเละบางส่วน เพราะฉะนั้นเหลือถึงปากจริงๆจะไม่ใหญ่มาก ทำสลับกันไปเรื่อยๆทั้งผัก/ผลไม้ เน้นนิ่มๆก่อน อันไหนเนื้อแข็ง ต้มหรือนึ่งก่อนทุกครั้งกันการสำลัก เพราะฉะนั้นยึดคอนเซปที่ว่า ทำให้ใหญ่/ทำให้ยาว ทำให้นิ่ม ทำให้หลากหลาย -----หลังๆเริ่มเคี้ยวโปร ก็ทำเมนูจริงๆจังๆไปเลย แต่ห้ามปรุงรส รอขวบนึงดีกว่า ที่แหวนทำง่ายมาก คือทำอาหารชนิดนึง แล้วแบ่งกันกับลูก อาจแบ่งของลูกออกไปก่อน แล้วของแม่ปรุงรสเพิ่ม การกินในสิ่งเดียวกันแบบเดียวกัน ลูกจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและกินได้มากขึ้น เหมือนที่ลูกชอบแย่งรีโมต แย่งมือถือ เพราะเห็นพ่อแม่ใช้ เลยอยากใช้ด้วย(อันนี้สังเกตเอง)

ปล.ชีวิตปราศจากเครื่องบดและถาดน้ำแข็งนี่ช่างสงบสุขจริงๆ อิอิ



เดี๋ยวมาต่ออีก 7 ข้อที่เหลือนะคะ...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่