1 นาทีเท่ากับ 1 ชีวิต สายด่วน '1669'
สายตรวจระวังภัย : 1 นาทีเท่ากับ 1 ชีวิต สายด่วน '1669' : โดย...ปฏิญญา เอี่ยมตาล
ภาพการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลของทุกปี กลายเป็นภาพที่ปรากฏเพื่อเตือนสติเหล่าบรรดานักดื่ม ให้หยุดพฤติกรรมการสุ่มเสี่ยง และลดการบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง 7 วันอันตราย...ปีใหม่นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2558 ไปจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2559
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาฯ สพฉ. ระบุว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ยึดหลัก มาตรการ 4 บวก 1 ในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งประกอบด้วย 1.ไม่ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 2.ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับ หรือขับขี่ขณะมีอาการมึนเมา 3.คาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง 4.ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้บวกอีก 1 ความสำคัญที่ผู้ขับขี่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจ คือ ไม่ประมาท ไม่ขับขี่รถย้อนศร และไม่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
ทั้งนี้ กรณีที่ประชาชนประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ระหว่างเดินทางสามารถโทรแจ้งสายด่วน 1669 ได้ทันที โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ทุกจังหวัด คอยรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง โดยมี 9 ข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้ง 1669 ดังนี้ 1. เมื่อพบผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้ง 1669 ทันที 2. ให้ข้อมูลว่าเกิดอุบัติเหตุอะไรมีผู้บาดเจ็บในลักษณะใด 3. บอกสถานที่และจุดเกิดเหตุที่ชัดเจน 4. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการรุนแรงของแต่ละคน และจำนวนผู้บาดเจ็บ 5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ 6. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน หรือรถติดแก๊ส ฯลฯ 7. ชื่อผู้แจ้งและเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 8. ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ 9. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
“การแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผู้โทร ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ คือการช่วยเหลือขั้นแรก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดชีวิต ปลอดภัยมากขึ้น และระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือมีอาการทรุดหนักก่อนถึงโรงพยาบาลได้ อีกประการสำคัญที่อยากจะขอย้ำเตือน กรณีบุคคลบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมโทรศัพท์ป่วนสายด่วน 1669 ซึ่งอยากจะเตือนว่าควรหยุดการกระทำดังกล่าวได้แล้ว เพราะสายด่วน 1669 เป็นสายด่วนแห่งชีวิต และไม่ควรโทรเล่น เพราะทำให้คนที่ต้องการโทรแจ้งเหตุจริงๆ ไม่สามารถโทรได้ และอาจทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเสียชีวิตได้ และอยากขอให้คิดว่า 1 นาทีของเราเท่ากับ 1 ชีวิต หรือแม้กระทั่ง 10 วินาทีก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้หลายคน”
ด้าน “กมลศักดิ์ ชาโรจน์" หนึ่งในประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของพวกคึกคะนองโทรป่วนสายด่วน 1669 จนต้องสูญเสียญาติไปอย่างไม่มีวันกลับ เล่าประสบการณ์ในฐานะเป็นผู้แจ้งเหตุว่า ช่วงเย็นกลับบ้านมาเจอญาติมีอาการชักเกร็ง น้ำลายฟูมปากจึงรีบโทรแจ้ง 1669 กดโทรไปกว่า 20 ครั้ง ก็ไม่ติด สายไม่ว่าง จนอาการเริ่มหนักขึ้นจึงเปลี่ยนมาโทร 191 ซึ่งมีตำรวจรับและบอกให้โทร 1669 ตามเดิม
“ผมโทรอยู่นานประมาณ 15 นาที จึงสามารถพูดคุยและแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ได้ ต่อมาเมื่อมีเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ จึงได้สอบถามว่า ทำไมโทรยากจัง ซึ่งคำตอบที่ได้กลับมานั้นก็คือ มีกลุ่มบุคคลชอบโทรเข้ามาป่วน และก่อกวนอยู่บ่อยครั้ง วันนั้นพอทีมกู้ชีพมารับญาติผมไปส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ญาติผมก็เสียชีวิต โดยแพทย์บอกว่า สมองขาดออกซิเจนช่วงที่มีอาการชักเกร็ง หากวันเกิดเหตุผมโทรติดครั้งแรก และมีเจ้าหน้าที่มาช่วยอย่างรวดเร็ว ญาติของผมก็คงไม่จบชีวิตแบบนี้" กมลศักดิ์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.komchadluek.net/detail/20151228/219478.html
สายด่วน '1669' 1 นาที เท่ากับ 1 ชีวิต
สายตรวจระวังภัย : 1 นาทีเท่ากับ 1 ชีวิต สายด่วน '1669' : โดย...ปฏิญญา เอี่ยมตาล
ภาพการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลของทุกปี กลายเป็นภาพที่ปรากฏเพื่อเตือนสติเหล่าบรรดานักดื่ม ให้หยุดพฤติกรรมการสุ่มเสี่ยง และลดการบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง 7 วันอันตราย...ปีใหม่นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2558 ไปจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2559
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาฯ สพฉ. ระบุว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ยึดหลัก มาตรการ 4 บวก 1 ในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งประกอบด้วย 1.ไม่ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 2.ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับ หรือขับขี่ขณะมีอาการมึนเมา 3.คาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง 4.ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้บวกอีก 1 ความสำคัญที่ผู้ขับขี่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจ คือ ไม่ประมาท ไม่ขับขี่รถย้อนศร และไม่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
ทั้งนี้ กรณีที่ประชาชนประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ระหว่างเดินทางสามารถโทรแจ้งสายด่วน 1669 ได้ทันที โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ทุกจังหวัด คอยรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง โดยมี 9 ข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้ง 1669 ดังนี้ 1. เมื่อพบผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้ง 1669 ทันที 2. ให้ข้อมูลว่าเกิดอุบัติเหตุอะไรมีผู้บาดเจ็บในลักษณะใด 3. บอกสถานที่และจุดเกิดเหตุที่ชัดเจน 4. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการรุนแรงของแต่ละคน และจำนวนผู้บาดเจ็บ 5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ 6. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน หรือรถติดแก๊ส ฯลฯ 7. ชื่อผู้แจ้งและเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 8. ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ 9. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
“การแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผู้โทร ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ คือการช่วยเหลือขั้นแรก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดชีวิต ปลอดภัยมากขึ้น และระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือมีอาการทรุดหนักก่อนถึงโรงพยาบาลได้ อีกประการสำคัญที่อยากจะขอย้ำเตือน กรณีบุคคลบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมโทรศัพท์ป่วนสายด่วน 1669 ซึ่งอยากจะเตือนว่าควรหยุดการกระทำดังกล่าวได้แล้ว เพราะสายด่วน 1669 เป็นสายด่วนแห่งชีวิต และไม่ควรโทรเล่น เพราะทำให้คนที่ต้องการโทรแจ้งเหตุจริงๆ ไม่สามารถโทรได้ และอาจทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเสียชีวิตได้ และอยากขอให้คิดว่า 1 นาทีของเราเท่ากับ 1 ชีวิต หรือแม้กระทั่ง 10 วินาทีก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้หลายคน”
ด้าน “กมลศักดิ์ ชาโรจน์" หนึ่งในประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของพวกคึกคะนองโทรป่วนสายด่วน 1669 จนต้องสูญเสียญาติไปอย่างไม่มีวันกลับ เล่าประสบการณ์ในฐานะเป็นผู้แจ้งเหตุว่า ช่วงเย็นกลับบ้านมาเจอญาติมีอาการชักเกร็ง น้ำลายฟูมปากจึงรีบโทรแจ้ง 1669 กดโทรไปกว่า 20 ครั้ง ก็ไม่ติด สายไม่ว่าง จนอาการเริ่มหนักขึ้นจึงเปลี่ยนมาโทร 191 ซึ่งมีตำรวจรับและบอกให้โทร 1669 ตามเดิม
“ผมโทรอยู่นานประมาณ 15 นาที จึงสามารถพูดคุยและแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ได้ ต่อมาเมื่อมีเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ จึงได้สอบถามว่า ทำไมโทรยากจัง ซึ่งคำตอบที่ได้กลับมานั้นก็คือ มีกลุ่มบุคคลชอบโทรเข้ามาป่วน และก่อกวนอยู่บ่อยครั้ง วันนั้นพอทีมกู้ชีพมารับญาติผมไปส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ญาติผมก็เสียชีวิต โดยแพทย์บอกว่า สมองขาดออกซิเจนช่วงที่มีอาการชักเกร็ง หากวันเกิดเหตุผมโทรติดครั้งแรก และมีเจ้าหน้าที่มาช่วยอย่างรวดเร็ว ญาติของผมก็คงไม่จบชีวิตแบบนี้" กมลศักดิ์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.komchadluek.net/detail/20151228/219478.html