เอเอฟพี - รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติงบด้านกลาโหมสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 4.98 ล้านล้านเยน (ราว 1.39 ล้านล้านบาท) สำหรับปีงบประมาณหน้า ตามแผนของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ซึ่งมุ่งเสริมศักยภาพด้านการลาดตระเวนและป้องกันน่านน้ำท่ามกลางข้อพิพาทกับจีน
กรุงโตเกียวได้จัดสรรงบประมาณ 4.98 ล้านล้านเยนเพื่อภารกิจป้องกันประเทศสำหรับปีงบประมาณหน้า ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2016 และนับเป็นการอัดฉีดงบกลาโหมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ เปิดเผยว่า “นี่คืองบกลาโหมก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา” ยิ่งกว่าสถิติสูงสุด 4.96 ล้านล้านเยน เมื่อปี 2002 และสะท้อนนโยบายของ อาเบะ ที่ต้องการเสริมเขี้ยวเล็บแก่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับการเผชิญหน้ากับปักกิ่งเรื่องหมู่เกาะพิพาทในทะเลจีนตะวันออก
อิทธิพลของแดนมังกรสร้างความกังวลแก่ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศที่เกรงว่า จีนจะใช้มาตรการก้าวร้าวในการอ้างสิทธิ์เหนือน่านน้ำพิพาทมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์บางคนกลับเชื่อว่า เป็นความปรารถนาของ อาเบะ เองที่จะยกระดับกองกำลังของญี่ปุ่น และปลดปล่อยประเทศออกจากโซ่ตรวนแห่งสันตินิยม (Pacifism)
ก่อนหน้านี้ นายกฯ อาเบะ พยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดของกองกำลังญี่ปุ่น แต่เมื่อไม่สามารถโน้มน้าวให้พลเมืองส่วนใหญ่เห็นด้วยได้ จึงใช้วิธี “ตีความ” ตัวบทเดิมเสียใหม่ และเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นส่งทหารไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรที่ถูกโจมตีได้
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเตรียมจัดซื้อในปีนี้ ได้แก่ เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 จำนวน 20 ลำ มูลค่ารวม 350,000 ล้านเยน และ วี-22 ออสเปรย์ ซึ่งเป็นเครื่องบินชนิดปรับใบพัดที่สามารถขึ้น-ลงแนวดิ่งได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ แต่มีพิสัยเดินทางไกลเทียบเท่าเครื่องบินทั่วไป อีกจำนวน 5 ลำ
ทางกระทรวงฯ ยังเตรียมถอยสุดยอดเครื่องบินขับไล่ F-35A มาเสริมทัพอีก 6 ลำ และจะสั่งซื้อฝูงอากาศยานไร้คนขับ “โกลบอล ฮอว์ก” ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยใช้วงเงินบางส่วนจากงบประมาณในปี 2015
ญี่ปุ่นยังได้สั่งซื้อพาหนะสะเทินน้ำสะเทินบกเพิ่มอีก 30 คัน รวมถึงเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ E-2D จำนวน 1 ลำ เพื่อส่งไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่สุ่มเสี่ยง เช่น หมู่เกาะนันเซโชโตะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของทะเลจีนตะวันออกกับมหาสมุทรแปซิฟิก
คณะรัฐมนตรีอาเบะมีมติในปี 2013 ให้จัดสรรงบประมาณ 24.7 ล้านล้านเยนระหว่างปี 2014-2019 เพื่อการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ, เรือดำน้ำ, เครื่องบินขับไล่ และยานพาหนะสะเทินน้ำสะเทินบก ตามแผนปรับยุทธศาสตร์ป้องกันดินแดนสู่ภูมิภาคตอนใต้ และตะวันตก
จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซ็งกากุที่ญี่ปุ่นครอบครองอยู่ตามกฎหมาย โดยเรียกหมู่เกาะนี้ว่า เตี้ยวอี๋ว์ และได้ส่งทั้งเรือและเครื่องบินเข้าไปป้วนเปี้ยนใกล้ๆ หมู่เกาะเพื่อท้าทายญี่ปุ่นอยู่เป็นประจำ
นอกจากข้อพิพาทกับจีนแล้ว ญี่ปุ่นยังต้องคอยระวังภัยคุกคามจากขีปนาวุธ และโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือด้วย
งบกลาโหมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 จากวงเงินงบประมาณปี 2015 ของญี่ปุ่นที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 96.34 ล้านล้านเยน
คิดเป็นเงินไทย 5 ล้านล้านบาท --- ตอนแรกอ่านนึกว่า 5 ล้านล้านเยน
เงินกลาโหม มากกว่างบประมาณแผ่นดินทั้งปี 1 เท่าตัว แต่ญี่ปุ่นไม่มีกองทัพนิหว่า เอาเงินไปทำไมเยอะแยะ 555 มีแค่กองกำลังป้องกันตนเอง
แค่ป้องกันตนเอง เอางบไปทำไมเยอะแยะ แถวเอาไปเยอะก้สร้างอะไรไม่ค่อยได้
ขนาดเรือพิฆาตแค่ต่อให้เสร็จได้ แต่ไม่มีเงินซื้ออาวุธติดเลย
นิขนาดญี่ปุ่นเพิ่ง เพิ่ม vat จาก 5 เป็น 8
ของไทยภาษีตอนนี้ 7 จะเพิ่มเป็น 10
งบกลาโหมญี่ปุ่น 5 ล้านล้านบาท (28 ลลบ)มากที่สุดตั้งแต่เคยมีมา สงสัยจะมีเรือพิฆาตดาดฟ้าเรียบมาอีก /แล้วไทยเราละมีเท่าไหร่
กรุงโตเกียวได้จัดสรรงบประมาณ 4.98 ล้านล้านเยนเพื่อภารกิจป้องกันประเทศสำหรับปีงบประมาณหน้า ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2016 และนับเป็นการอัดฉีดงบกลาโหมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ เปิดเผยว่า “นี่คืองบกลาโหมก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา” ยิ่งกว่าสถิติสูงสุด 4.96 ล้านล้านเยน เมื่อปี 2002 และสะท้อนนโยบายของ อาเบะ ที่ต้องการเสริมเขี้ยวเล็บแก่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับการเผชิญหน้ากับปักกิ่งเรื่องหมู่เกาะพิพาทในทะเลจีนตะวันออก
อิทธิพลของแดนมังกรสร้างความกังวลแก่ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศที่เกรงว่า จีนจะใช้มาตรการก้าวร้าวในการอ้างสิทธิ์เหนือน่านน้ำพิพาทมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์บางคนกลับเชื่อว่า เป็นความปรารถนาของ อาเบะ เองที่จะยกระดับกองกำลังของญี่ปุ่น และปลดปล่อยประเทศออกจากโซ่ตรวนแห่งสันตินิยม (Pacifism)
ก่อนหน้านี้ นายกฯ อาเบะ พยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดของกองกำลังญี่ปุ่น แต่เมื่อไม่สามารถโน้มน้าวให้พลเมืองส่วนใหญ่เห็นด้วยได้ จึงใช้วิธี “ตีความ” ตัวบทเดิมเสียใหม่ และเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นส่งทหารไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรที่ถูกโจมตีได้
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเตรียมจัดซื้อในปีนี้ ได้แก่ เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 จำนวน 20 ลำ มูลค่ารวม 350,000 ล้านเยน และ วี-22 ออสเปรย์ ซึ่งเป็นเครื่องบินชนิดปรับใบพัดที่สามารถขึ้น-ลงแนวดิ่งได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ แต่มีพิสัยเดินทางไกลเทียบเท่าเครื่องบินทั่วไป อีกจำนวน 5 ลำ
ทางกระทรวงฯ ยังเตรียมถอยสุดยอดเครื่องบินขับไล่ F-35A มาเสริมทัพอีก 6 ลำ และจะสั่งซื้อฝูงอากาศยานไร้คนขับ “โกลบอล ฮอว์ก” ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยใช้วงเงินบางส่วนจากงบประมาณในปี 2015
ญี่ปุ่นยังได้สั่งซื้อพาหนะสะเทินน้ำสะเทินบกเพิ่มอีก 30 คัน รวมถึงเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ E-2D จำนวน 1 ลำ เพื่อส่งไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่สุ่มเสี่ยง เช่น หมู่เกาะนันเซโชโตะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของทะเลจีนตะวันออกกับมหาสมุทรแปซิฟิก
คณะรัฐมนตรีอาเบะมีมติในปี 2013 ให้จัดสรรงบประมาณ 24.7 ล้านล้านเยนระหว่างปี 2014-2019 เพื่อการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ, เรือดำน้ำ, เครื่องบินขับไล่ และยานพาหนะสะเทินน้ำสะเทินบก ตามแผนปรับยุทธศาสตร์ป้องกันดินแดนสู่ภูมิภาคตอนใต้ และตะวันตก
จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซ็งกากุที่ญี่ปุ่นครอบครองอยู่ตามกฎหมาย โดยเรียกหมู่เกาะนี้ว่า เตี้ยวอี๋ว์ และได้ส่งทั้งเรือและเครื่องบินเข้าไปป้วนเปี้ยนใกล้ๆ หมู่เกาะเพื่อท้าทายญี่ปุ่นอยู่เป็นประจำ
นอกจากข้อพิพาทกับจีนแล้ว ญี่ปุ่นยังต้องคอยระวังภัยคุกคามจากขีปนาวุธ และโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือด้วย
งบกลาโหมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 จากวงเงินงบประมาณปี 2015 ของญี่ปุ่นที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 96.34 ล้านล้านเยน
คิดเป็นเงินไทย 5 ล้านล้านบาท --- ตอนแรกอ่านนึกว่า 5 ล้านล้านเยน
เงินกลาโหม มากกว่างบประมาณแผ่นดินทั้งปี 1 เท่าตัว แต่ญี่ปุ่นไม่มีกองทัพนิหว่า เอาเงินไปทำไมเยอะแยะ 555 มีแค่กองกำลังป้องกันตนเอง
แค่ป้องกันตนเอง เอางบไปทำไมเยอะแยะ แถวเอาไปเยอะก้สร้างอะไรไม่ค่อยได้
ขนาดเรือพิฆาตแค่ต่อให้เสร็จได้ แต่ไม่มีเงินซื้ออาวุธติดเลย
นิขนาดญี่ปุ่นเพิ่ง เพิ่ม vat จาก 5 เป็น 8
ของไทยภาษีตอนนี้ 7 จะเพิ่มเป็น 10