(ถาม) ผมอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบาย เกี่ยวกับการฝึกสมาธิ แบบที่เป็นทางด้านอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์
(ตอบ) โอ๊ย ไม่ใช่เวลานี้ เรื่องสมาธิ เรื่องอะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องเฉพาะ มันยาว มันมา ไม่ใช่เอามาพูดได้เวลานี้ ไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้ ไปหาอ่านจากหนังสือก็ได้ แล้วก็ไม่ได้แนะนำให้ทำ ปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติโดยตรง เรื่องศีล ปัญญา ที่เราจะต้องทำ อย่างในฐานะที่ว่าเป็นการลับดาบประจำตัว นั้นมันนอกเรื่อง สมาธิเพื่อปาฏิหาริย์ ไม่รวมอยู่ในเรื่องนี้ มันเท่ากับคุณลับดาบแล้วไปฟันหัวคน นี้ไม่ถูก ต้องลับดาบเพื่อตัดรากชัฏ ตัดกิเลส ตัดตัณหา ถามอย่างอื่น
(ถาม) ที่ท่านอาจารย์บอกว่ามี ๓ วิธี แล้วเราควรจะปฏิบัติ วิธีไหน หรือจะปฏิบัติทั้ง ๓ วิธีเลย? ที่บอกว่าเพื่อให้เห็นนิพพาน ที่ให้เห็นนิพพานชั่วคราว และเพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แล้วก็เพื่อใช้ในการทำงานไวคล่องต่อการทำงาน
(ตอบ) ปนกันยุ่งแล้ว เอ้าได้ ฟังให้ถูกแล้ว สมาธิ ๔ ประเภท
(๑) ถ้าเจริญสมาธิ เพื่อให้ได้รับความสงบจิตสงบใจ เป็นสุข เหมือนกับว่าชิมรสพระนิพพาน เป็นการชิมลองนี้ ให้เจริญสมาธิแบบที่จะทำให้ได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้แบบหนึ่ง
(๒) ถ้าว่าทำสมาธิเพื่อปาฏิหาริย์ เช่นทิพย์จักษุ เป็นต้นนี้ ก็ให้เจริญสมาธิประเภททิวาสัญญา อาโลกสัญญา ทำกลางวันเป็นกลางคืน ทำกลางคืนเป็นกลางวันเป็นต้นนี้ กระทั่งอย่างอื่นอีก นี้เราไม่ต้องการ
(๓) เพื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือทำสมาธิกำหนดอิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกอริยาบถทุกอย่างทุกประการนั้น นี้ก็ทำอยู่เป็นสัมปชัญญะ นี่แนะให้ทำ
(๔) สมาธิ เพื่อสิ้นอาสวะนั้น ให้คอยกำหนดความเกิดขึ้น แห่งอุปาทานขันธ์ และความดับไปแห่งอุปาทานขันธ์ ตัวอย่างเมื่อตาเห็นรูป เกิดผัสสะ เกิดเวทนา ถ้ามีอวิชชาเข้ามาครอบงำขณะนั้น มันก็ปรุงเป็นตัณหา เป็นอุปาทาน อย่างนี้เรียกว่าอุปาทานนั้น ถูกยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจของอุปาทาน อุปาทานขันธ์ เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อตาเห็นรูป ดับไปอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อหูฟังเสียง ดับไปอย่างไร นี่อย่างนี้ก็จะเป็นสมาธิภาวนา คอยกำหนดเกิดขึ้นดับไปแห่งอุปาทานขันธ์
ทั้ง ๔ ประเภทนี้ ประเภทสุดท้าย เป็นประเภทที่แนะนำ เป็นความสำคัญ
ทีนี้ อีกอันหนึ่งนั้น ลักษณะของสมาธิ ถ้าเราจะรู้ว่า มีสมาธิถูกต้องหรือไม่ เราก็สำรวจดูด้วยลักษณะ ๓ ประการ
มีจิตบริสุทธิ์ขาวผ่อง นี้อย่างหนึ่ง
มีจิตตั้งมั่นสม่ำเสมอ นี้อย่างหนึ่ง
จิตว่องไวควรแก่หน้าที่การงานทางจิต นี้อย่างหนึ่ง
ถ้าประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการนี้แล้ว อานิสงส์อยู่ในตัวเอง เราควรจะฝึกสมาธิชนิดที่ว่า ทำจิตให้ว่องไวในหน้าที่การงานของจิต นั่นแหละดี ตั้งมั่นเฉยๆ ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์อะไร มันสบายเท่านั้นเอง
พุทธทาสภิกขุ
โมกธรรมประยุกต์
๑๔ เมษายน ๒๕๑๘
การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นนิพพาน เพื่อให้เห็นนิพพานชั่วคราว และเพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ - พุทธทาสภิกขุ
(ตอบ) โอ๊ย ไม่ใช่เวลานี้ เรื่องสมาธิ เรื่องอะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องเฉพาะ มันยาว มันมา ไม่ใช่เอามาพูดได้เวลานี้ ไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้ ไปหาอ่านจากหนังสือก็ได้ แล้วก็ไม่ได้แนะนำให้ทำ ปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติโดยตรง เรื่องศีล ปัญญา ที่เราจะต้องทำ อย่างในฐานะที่ว่าเป็นการลับดาบประจำตัว นั้นมันนอกเรื่อง สมาธิเพื่อปาฏิหาริย์ ไม่รวมอยู่ในเรื่องนี้ มันเท่ากับคุณลับดาบแล้วไปฟันหัวคน นี้ไม่ถูก ต้องลับดาบเพื่อตัดรากชัฏ ตัดกิเลส ตัดตัณหา ถามอย่างอื่น
(ถาม) ที่ท่านอาจารย์บอกว่ามี ๓ วิธี แล้วเราควรจะปฏิบัติ วิธีไหน หรือจะปฏิบัติทั้ง ๓ วิธีเลย? ที่บอกว่าเพื่อให้เห็นนิพพาน ที่ให้เห็นนิพพานชั่วคราว และเพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แล้วก็เพื่อใช้ในการทำงานไวคล่องต่อการทำงาน
(ตอบ) ปนกันยุ่งแล้ว เอ้าได้ ฟังให้ถูกแล้ว สมาธิ ๔ ประเภท
(๑) ถ้าเจริญสมาธิ เพื่อให้ได้รับความสงบจิตสงบใจ เป็นสุข เหมือนกับว่าชิมรสพระนิพพาน เป็นการชิมลองนี้ ให้เจริญสมาธิแบบที่จะทำให้ได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้แบบหนึ่ง
(๒) ถ้าว่าทำสมาธิเพื่อปาฏิหาริย์ เช่นทิพย์จักษุ เป็นต้นนี้ ก็ให้เจริญสมาธิประเภททิวาสัญญา อาโลกสัญญา ทำกลางวันเป็นกลางคืน ทำกลางคืนเป็นกลางวันเป็นต้นนี้ กระทั่งอย่างอื่นอีก นี้เราไม่ต้องการ
(๓) เพื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือทำสมาธิกำหนดอิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกอริยาบถทุกอย่างทุกประการนั้น นี้ก็ทำอยู่เป็นสัมปชัญญะ นี่แนะให้ทำ
(๔) สมาธิ เพื่อสิ้นอาสวะนั้น ให้คอยกำหนดความเกิดขึ้น แห่งอุปาทานขันธ์ และความดับไปแห่งอุปาทานขันธ์ ตัวอย่างเมื่อตาเห็นรูป เกิดผัสสะ เกิดเวทนา ถ้ามีอวิชชาเข้ามาครอบงำขณะนั้น มันก็ปรุงเป็นตัณหา เป็นอุปาทาน อย่างนี้เรียกว่าอุปาทานนั้น ถูกยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจของอุปาทาน อุปาทานขันธ์ เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อตาเห็นรูป ดับไปอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อหูฟังเสียง ดับไปอย่างไร นี่อย่างนี้ก็จะเป็นสมาธิภาวนา คอยกำหนดเกิดขึ้นดับไปแห่งอุปาทานขันธ์
ทั้ง ๔ ประเภทนี้ ประเภทสุดท้าย เป็นประเภทที่แนะนำ เป็นความสำคัญ
ทีนี้ อีกอันหนึ่งนั้น ลักษณะของสมาธิ ถ้าเราจะรู้ว่า มีสมาธิถูกต้องหรือไม่ เราก็สำรวจดูด้วยลักษณะ ๓ ประการ
มีจิตบริสุทธิ์ขาวผ่อง นี้อย่างหนึ่ง
มีจิตตั้งมั่นสม่ำเสมอ นี้อย่างหนึ่ง
จิตว่องไวควรแก่หน้าที่การงานทางจิต นี้อย่างหนึ่ง
ถ้าประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการนี้แล้ว อานิสงส์อยู่ในตัวเอง เราควรจะฝึกสมาธิชนิดที่ว่า ทำจิตให้ว่องไวในหน้าที่การงานของจิต นั่นแหละดี ตั้งมั่นเฉยๆ ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์อะไร มันสบายเท่านั้นเอง
พุทธทาสภิกขุ
โมกธรรมประยุกต์
๑๔ เมษายน ๒๕๑๘