หลังสิ้นสุดงานพระราชทานเพลิงพระศพของสมเด็จพระสังฆราช....ดูเหมือนว่าเมฆหมอกแห่งการเมืองในคณะสงฆ์จะเริ่มก่อเค้าทะมึนขึ้นเรื่อยๆ โดยมีวาระเรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชเป็น “เผือกร้อน” ที่ตอนนี้พุทธะอิสระหรือนายสุวิทย์ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็น แล้วก็โยนเผือกร้อนดั่งว่าไปที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ว่าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งวัดปากน้ำด้วยประโยคคำถามที่ร้อนแรงว่า
“คนพันธุ์นี้ใช่ไหมที่เหมาะกับตำแหน่งสังฆราช?” ด้านฝ่ายมหาเถรสมาคมเองก็โต้ตอบกลับด้วยการเชิญนายกรัฐมนตรี พณ ท่าน พลเอกประยุทธ์ไปเป็นประธานสวดมนต์ข้ามปีแห่งชาติที่วัดปากน้ำ ไปๆ มาๆ เผือกร้อนมาตกแหมะบนตักของพณ ท่านนายกฯ คนปัจจุบันของประเทศไทยเฉยเลย(ใครว่าการเมืองในคณะสงฆ์ไม่แยบยล เห็นเกมส์โยนเผือกร้อนตรงนี้แล้วก็คือคิดใหม่ได้เลย) ที่นี้เรามาคอยดูกันว่าวันที่ 31 ธันวานนี้ พณ ท่านจะรับคำเชิญไปเป็นประธานที่วัดปากน้ำไหม? ไม่อยากจะชี้นำเลยว่าการไปหรือไม่ไปมีผลอย่างไร.....เรามาคอยลุ้นไปพร้อมๆ กันดีกว่านะครับ
การเมืองในวงการสงฆ์มีมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล การแตกนิกายต่างๆ ออกไปส่วนหนึ่งก็มาจากการเมืองคือความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นสาเหตุ....เช่นก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ล้าหลังก็ให้เปลี่ยนให้เหมาะสมได้ พระสงฆ์ต่างก็มานั่งถกกันว่าสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ว่านั้นคืออะไร บ้างก็ว่าเรื่องข้าวปลาอาหาร ของขบเขี้ยวขบฉัน แต่เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็แยกนิกายกันไปส่วนหนึ่งเป็นหินยาน(เถรวาท)ส่วนหนึ่งเป็นมหายานตามที่ทราบกัน
ในระยะแรกๆ สุโขทัยรับเอาพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาก่อน ต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงเริ่มเลื่อมใสพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกา ก็ได้อาราธนานิมนต์พระจากนครศรีธรรมราชมาอยู่ที่สุโขทัย แคว้นสุโขทัยเลยมีพระพุทธศาสนาสองนิกายสองคณะในเวลานั้น นั่นก็คือฝ่าย
คามวาสี(พระบ้าน)และ
อรัญญวาสี(พระป่า) ซึ่งตรงนี้ไม่มีการบันทึกความขัดแย้งของสงฆ์จากสองคณะแต่อย่างใด เมื่อสุโขทัยกลายเป็นของอยุธยาๆ ก็ได้รับเอาพระพุทธศาสนาจากสุโขทัยส่วนหนึ่งเข้ามา คณะสงฆ์กลายเป็นสามนิกาย คือ
คณะอรัญวาสี คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คณะคามวาสีฝ่ายขวา (โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า การเมืองของคณะสงฆ์น่าจะเริ่มขึ้นตรงนี้ ไม่เช่นนั้นคงไม่แตกแยกออกมาอีกเป็นฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา แต่ผมยังหาหนังสืออ่านได้ลึกละเอียดตรงนี้ยังไม่ได้ จึงไม่กล้ายืนยันสาเหตุที่ต้องมีคณะสงฆ์ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา)
ลุมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์....การเมืองในคณะสงฆ์เริ่มดุเดือดด้วยว่ามาการเมืองฝ่ายบ้านเมืองเข้ามาพัวพันด้วย พระสงฆ์เริ่มแบ่งแยกกันอย่างเห็นได้ชัดไม่ต่างจากฝ่ายบ้านเมือง เช่นกรณีของสมเด็จพระวันรัตพระอาจารย์สอนวิปัสสนาของพระเจ้าตากสินวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆัง) หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระวันรัตน์ถูกนำไปตัวสึกแล้วประหาร
และที่แยกคณะสงฆ์ออกเป็นสองพรรคสองฝ่ายอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุดจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือการถือกำเนิดของคณะสงฆ์นิกายธรรมยุตในรัชสมัยของรัชกาลที่สาม และนอกจากการถือกำเนิดของธรรมยุตนิกายแล้ว สิ่งที่ตามมาอีกก็คือ พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (ประกาศใช้วันที่ 20 กรกฏาคม 2445) ที่ได้ให้อภิสิทธิ์แก่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตเหนือกว่าคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายหลายด้าน รวมไปถึงธรรมเนียมการแต่งตั้งตำแหน่งพระสังฆราชที่มีแต่พระฝ่ายธรรมยุติครองตำแหน่งเป็นเวลานานมาก ตรงนี้นี่เองทำให้เกิดการกินแหนงแคลงใจระหว่างพระฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติ จนมีการเปรียบเทียบในเชิงน้อยอกน้อยใจว่าฝ่ายหนึ่งเป็นเหมือนลูกเมียหลวงอีกฝ่ายลูกเมียน้อย ในหนังสือ “พุทธศาสนวงศ์”(พศ.2517) ของสมเด็จพระญาณสังวรที่ทรงเขียนไว้หน้าที่ 54 ว่า
“เมื่อรัชกาลที่สี่ เสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ก็ได้ทรงมอบหมายตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย เช่น....ได้มอบหมายตำแหน่งเจ้าคณะให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรวิเรศวิรยางกรณ์ ต่อมาก็ได้มอบหมายตำแหน่งนี้แก่สมเด็นพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ต่อมาก็มอบหมายให้สมเด็นพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ต่อมาก็มอบหมายให้สมเด็จพระวิรญาณวงศ์ เป็นทอดๆ ตามลำดับ จึงเข้าใจว่ามีการเตรียมสมเด็จพระสังฆราชไว้ในกลุ่มผู้นำฝ่ายธรรมยุตตลอดมา”
แต่เดิมทีอำนาจการปกครองสงฆ์ขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการ เมื่อมีพรบ.สงฆ์ ร.ศ. 121 ออกมา อำนาจต่างๆ ก็ถูกโอนมาที่เถรสมาคม ส่วนอำนาจแต่งตั้ง พระสังฆราช สมณะศักดิ์ และเจ้าคณะ พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งตรงนั้น ปัจจุบันนี้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับปัจจุบัน (2535) การแต่งตั้งพระสังฆราช สมณะศักดิ์ และเจ้าคณะ ก็ยังเป็น “พระราชอำนาจ” ของพระมหากษัตริย์อยู่ พฤติกรรมของนายสุวิทย์ที่กำลังด่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่เป็นสมเด็จเด็จอาวุโสสูงสุดและดำรงรักษาการพระสังฆราชอยู่ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเท่าไหร่ เราก็คอยดูกันต่อไป
….การเมืองคือเรื่อง “นิกาย” บทความนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการที่จะเรียนรู้การเมืองของคณะสงฆ์ไทย....
การเมืองในวงการสงฆ์มีมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล การแตกนิกายต่างๆ ออกไปส่วนหนึ่งก็มาจากการเมืองคือความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นสาเหตุ....เช่นก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ล้าหลังก็ให้เปลี่ยนให้เหมาะสมได้ พระสงฆ์ต่างก็มานั่งถกกันว่าสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ว่านั้นคืออะไร บ้างก็ว่าเรื่องข้าวปลาอาหาร ของขบเขี้ยวขบฉัน แต่เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็แยกนิกายกันไปส่วนหนึ่งเป็นหินยาน(เถรวาท)ส่วนหนึ่งเป็นมหายานตามที่ทราบกัน
ในระยะแรกๆ สุโขทัยรับเอาพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาก่อน ต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงเริ่มเลื่อมใสพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกา ก็ได้อาราธนานิมนต์พระจากนครศรีธรรมราชมาอยู่ที่สุโขทัย แคว้นสุโขทัยเลยมีพระพุทธศาสนาสองนิกายสองคณะในเวลานั้น นั่นก็คือฝ่ายคามวาสี(พระบ้าน)และอรัญญวาสี(พระป่า) ซึ่งตรงนี้ไม่มีการบันทึกความขัดแย้งของสงฆ์จากสองคณะแต่อย่างใด เมื่อสุโขทัยกลายเป็นของอยุธยาๆ ก็ได้รับเอาพระพุทธศาสนาจากสุโขทัยส่วนหนึ่งเข้ามา คณะสงฆ์กลายเป็นสามนิกาย คือคณะอรัญวาสี คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คณะคามวาสีฝ่ายขวา (โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า การเมืองของคณะสงฆ์น่าจะเริ่มขึ้นตรงนี้ ไม่เช่นนั้นคงไม่แตกแยกออกมาอีกเป็นฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา แต่ผมยังหาหนังสืออ่านได้ลึกละเอียดตรงนี้ยังไม่ได้ จึงไม่กล้ายืนยันสาเหตุที่ต้องมีคณะสงฆ์ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา)
ลุมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์....การเมืองในคณะสงฆ์เริ่มดุเดือดด้วยว่ามาการเมืองฝ่ายบ้านเมืองเข้ามาพัวพันด้วย พระสงฆ์เริ่มแบ่งแยกกันอย่างเห็นได้ชัดไม่ต่างจากฝ่ายบ้านเมือง เช่นกรณีของสมเด็จพระวันรัตพระอาจารย์สอนวิปัสสนาของพระเจ้าตากสินวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆัง) หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระวันรัตน์ถูกนำไปตัวสึกแล้วประหาร
และที่แยกคณะสงฆ์ออกเป็นสองพรรคสองฝ่ายอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุดจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือการถือกำเนิดของคณะสงฆ์นิกายธรรมยุตในรัชสมัยของรัชกาลที่สาม และนอกจากการถือกำเนิดของธรรมยุตนิกายแล้ว สิ่งที่ตามมาอีกก็คือ พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (ประกาศใช้วันที่ 20 กรกฏาคม 2445) ที่ได้ให้อภิสิทธิ์แก่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตเหนือกว่าคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายหลายด้าน รวมไปถึงธรรมเนียมการแต่งตั้งตำแหน่งพระสังฆราชที่มีแต่พระฝ่ายธรรมยุติครองตำแหน่งเป็นเวลานานมาก ตรงนี้นี่เองทำให้เกิดการกินแหนงแคลงใจระหว่างพระฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติ จนมีการเปรียบเทียบในเชิงน้อยอกน้อยใจว่าฝ่ายหนึ่งเป็นเหมือนลูกเมียหลวงอีกฝ่ายลูกเมียน้อย ในหนังสือ “พุทธศาสนวงศ์”(พศ.2517) ของสมเด็จพระญาณสังวรที่ทรงเขียนไว้หน้าที่ 54 ว่า
“เมื่อรัชกาลที่สี่ เสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ก็ได้ทรงมอบหมายตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย เช่น....ได้มอบหมายตำแหน่งเจ้าคณะให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรวิเรศวิรยางกรณ์ ต่อมาก็ได้มอบหมายตำแหน่งนี้แก่สมเด็นพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ต่อมาก็มอบหมายให้สมเด็นพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ต่อมาก็มอบหมายให้สมเด็จพระวิรญาณวงศ์ เป็นทอดๆ ตามลำดับ จึงเข้าใจว่ามีการเตรียมสมเด็จพระสังฆราชไว้ในกลุ่มผู้นำฝ่ายธรรมยุตตลอดมา”
แต่เดิมทีอำนาจการปกครองสงฆ์ขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการ เมื่อมีพรบ.สงฆ์ ร.ศ. 121 ออกมา อำนาจต่างๆ ก็ถูกโอนมาที่เถรสมาคม ส่วนอำนาจแต่งตั้ง พระสังฆราช สมณะศักดิ์ และเจ้าคณะ พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งตรงนั้น ปัจจุบันนี้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับปัจจุบัน (2535) การแต่งตั้งพระสังฆราช สมณะศักดิ์ และเจ้าคณะ ก็ยังเป็น “พระราชอำนาจ” ของพระมหากษัตริย์อยู่ พฤติกรรมของนายสุวิทย์ที่กำลังด่าสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่เป็นสมเด็จเด็จอาวุโสสูงสุดและดำรงรักษาการพระสังฆราชอยู่ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเท่าไหร่ เราก็คอยดูกันต่อไป