การตัดปลิโพธ หัวข้อ ๑๐. อิทธิโพธ
เมื่อแน่ใจในการทำกัมมัฏฐานแล้ว มีกิจที่จะต้องตัดปลิโพธ
คือสิ่งที่เป็นกังวล อันจะเกาะเกี่ยวหรือรบกวนใจต่างๆ
ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่และเรื่องหยุมหยิม
หัวข้อ ๑๐. อิทธิโพธ คือความกังวลห่วงใยเกี่ยวกับการได้ฤทธิ์ หรือการได้อิทธิปาฏิหารย์
ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ยั่วยวนใจอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติและผู้ไม่ปฏิบัติ.
ผู้หลงใหลในการได้ฤทธิ์แล้วมาทำกัมมัฏฐานนั้น มีทางที่จะวิกลจริตได้โดยง่าย.
เขาจะต้องตัดความห่วงใยในการที่จะได้ฤทธิ์เสียแล้วโดยเด็ดขาด
การปฏิบัติจึงจะดำเนินไปตามคลองของการบรรลุมรรคผลนิพพาน นี้อย่างหนึ่ง,
อีกอย่างหนึ่ง ก็คือบุคคลที่ปฏิบัติมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครั้งลุถึงขั้นที่จิตสามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์บางอย่างได้
ความสนใจก็เริ่มเบนมาทางฤทธิ์นี้ และอยากจะให้ดำเนินต่อไปในทางนี้จนถึงที่สุด
นี้จัดเป็นปลิโพธอย่างยิ่ง ต่อการปฏิบัติที่จะดำเนินต่อไปในทาง
ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นทางธรรมแท้.
การทำพร้อมกันสองอย่าง ไม่มีทางที่จะทำได้ด้วยเจตนา
แต่เป็นไปได้ในทางที่เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดในทางธรรมแล้ว
บางคนก็ยังมีความสำเร็จทางฝ่ายอิทธิปาฏิหาริย์เป็นของผนวก อีกส่วนหนึ่งด้วย.
แต่มิได้หมายความว่าจะเป็นอย่างนั้นทุกคนไป เป็นได้เฉพาะคน และเฉพาะเหตุการณ์.
สำหรับการปฏิบัติฝึกฝนเพื่อได้อิทธิปาฏิหาริย์โดยตรงนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่เอามาปนกับเรื่องนี้.
ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องทำจิตให้เป็นธรรมาธิปไตยล้วน
ไม่มุ่งหวังอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นทางแห่งลาภสักการะและอื่นๆ ไม่เกี่ยวกับตัดกิเลสเลย.
*ที่มา หนังสือ อานาปานสติภาวนา เล่ม ๑ หน้า ๓๕-๓๖ โดยพุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖
เกี่ยวกับ "อิทธิปาฏิหาริย์" โดยพุทธทาสภิกขุ ได้สอนไว้
เมื่อแน่ใจในการทำกัมมัฏฐานแล้ว มีกิจที่จะต้องตัดปลิโพธ
คือสิ่งที่เป็นกังวล อันจะเกาะเกี่ยวหรือรบกวนใจต่างๆ
ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่และเรื่องหยุมหยิม
หัวข้อ ๑๐. อิทธิโพธ คือความกังวลห่วงใยเกี่ยวกับการได้ฤทธิ์ หรือการได้อิทธิปาฏิหารย์
ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ยั่วยวนใจอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติและผู้ไม่ปฏิบัติ.
ผู้หลงใหลในการได้ฤทธิ์แล้วมาทำกัมมัฏฐานนั้น มีทางที่จะวิกลจริตได้โดยง่าย.
เขาจะต้องตัดความห่วงใยในการที่จะได้ฤทธิ์เสียแล้วโดยเด็ดขาด
การปฏิบัติจึงจะดำเนินไปตามคลองของการบรรลุมรรคผลนิพพาน นี้อย่างหนึ่ง,
อีกอย่างหนึ่ง ก็คือบุคคลที่ปฏิบัติมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครั้งลุถึงขั้นที่จิตสามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์บางอย่างได้
ความสนใจก็เริ่มเบนมาทางฤทธิ์นี้ และอยากจะให้ดำเนินต่อไปในทางนี้จนถึงที่สุด
นี้จัดเป็นปลิโพธอย่างยิ่ง ต่อการปฏิบัติที่จะดำเนินต่อไปในทาง
ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นทางธรรมแท้.
การทำพร้อมกันสองอย่าง ไม่มีทางที่จะทำได้ด้วยเจตนา
แต่เป็นไปได้ในทางที่เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดในทางธรรมแล้ว
บางคนก็ยังมีความสำเร็จทางฝ่ายอิทธิปาฏิหาริย์เป็นของผนวก อีกส่วนหนึ่งด้วย.
แต่มิได้หมายความว่าจะเป็นอย่างนั้นทุกคนไป เป็นได้เฉพาะคน และเฉพาะเหตุการณ์.
สำหรับการปฏิบัติฝึกฝนเพื่อได้อิทธิปาฏิหาริย์โดยตรงนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่เอามาปนกับเรื่องนี้.
ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องทำจิตให้เป็นธรรมาธิปไตยล้วน
ไม่มุ่งหวังอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นทางแห่งลาภสักการะและอื่นๆ ไม่เกี่ยวกับตัดกิเลสเลย.
*ที่มา หนังสือ อานาปานสติภาวนา เล่ม ๑ หน้า ๓๕-๓๖ โดยพุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖