คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ถ้าเอกภพขยายตัวต่อไปเรื่อย ๆ จนแสงจากดาวดาวที่ห่างไกลออกไป เริ่มจะเดินทางมาไม่ถึงโลกมากขึ้น ๆ
วันนึงคนบนโลก (สมมุติว่ายังมีโลกและชีวิตอยู่) ก็จะเห็นดวงดาวบนท้องฟ้ายามกลางคืนน้อยลง
หรือแม้จะส่องกล้องโทรทรรศน์มองขึ้นไปก็จะมองเห็นดวงดาวได้น้อยกว่ายุคของเราใช่ไหมครับ
คืออย่างนี้ครับ การขยายตัวของเอกภพ นั้น เป็นการขยายตัวในขอบเขตที่ไกลมาก ๆๆๆๆๆ
แต่ .... ดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าที่เรามองเห็น คือ ดาวฤกษ์ในแกแลคซี่ทางช้างเผือก เท่านั้น ซึ่งรูปร่าง และ จำนวนของดาว
ในแกแลคซี่ทั้งหมด จะไม่ได้ขยายตัวออกไปตามการขยายตัวของจักรวาลครับ ดังนั้น ที่ จขกท.ถามมา ก็ตอบได้ว่า
แสงจากดาวทั้งหมดก็ยังคงมาถึงโลกได้ และดาวบนท้องฟ้าก็จะยังคงเดิม ยกเว้น ดาวฤกษ์หลาย ๆ ดวง
ก็จะเริ่มเป็นไปตามอายุขัย คือ กลายเป็นดาวยักษ์แดง และจบชีวิตลงด้วยการยุบเป็นดาวแคระขาว หรือ ระเบิดเป็น Supernova
ดูตามภาพนี้ครับ นี่คือแกแลคซี่ทางช้างเผือกแบบ Top view จากลูกศรชี้คือดวงอาทิตย์
และ ดวงดาว ที่เราเห็นบนฟ้าด้วยตาเปล่า คือรัศมีแค่ วงสีแดง เท่านั้น และหากสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์
ก็จะขยายวงได้เป็นวงสีเหลือง ซึ่งดวงดาวทั้งหมดก็เคลื่อนที่โคจรไปรอบ ๆ แกนกลางทางช้างเผือกพร้อมกับเราครับ
โดยที่การขยายตัวของจักรวาล ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับขนาด และ ไม่มีนัยสำคัญที่ทำให้ดาวต่าง ๆ ในทางช้างเผือก
ต้องขยายตัวออกไปครับ ดังนั้น เราจึงเห็นท้องฟ้าเป็นเหมือนเดิมไปอีกยาวนาน แต่ .... เนื่องจากดาวทั้งหมดเคลื่อนที่ตลอดเวลา
นักดาราศาสตร์ได้เคยประเมินว่า ตำแหน่ง ของดาวต่าง ๆ ในจักรราศี (กลุ่มดาว) จะเปลี่ยนไปในอีกประมาณ 50,000 ปีจากนี้
ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ แม้เราจะมีบันทึกเกี่ยวกับดาวดาวที่เราเห็นบนท้องฟ้ายังไง
ถ้าเค้ามองขึ้นไปหรือส่องกล้องดูยังไงก็ไม่เห็นอย่างที่เราเคยเห็น เค้าก็จะไม่เชื่อสิ่งที่เราบันทึกไว้จากยุคนี้หรือเปล่าครับ
ก็ตามที่ผมกล่าวไปในข้อบน คือ ตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ จะเริ่มเปลี่ยนใน 50,000 ปีจากนี้
ดังนั้น หากวันนั้นยังมีมนุษย์อยู่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะต้องคำนวณการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ว่านี้ได้แน่นอนครับ
นับจากนี้จะไม่มี บันทึก หรอกครับ จะมีแต่แผนที่ดาวที่เก็บใว้ใน Database ที่พร้อมจะนำมาคำนวณได้ครับ
แล้วสมมุติถ้าคิดใหม่อีกมุม สิ่งมีชีวิตก่อนหน้าเรา(สมมุติเป็นไดโนเสาร์) จะมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าเยอะกว่าทุกวันนี้หรือเปล่าอะครับ
เพราะหลายล้านปีก่อน เอกภพจะยังไม่ขยายตัวเท่าทุกวันนี้ หรือว่าแค่ย้อนไปยุคไดโนเสาร์มันยังไม่มีนัยสำคัญอะไรเลยอะครับ
ช่วงเวลาในยุคไดโนเสาร์ คือ 250 - 65 ล้าน ปี ที่ผ่านมา เวลาเพียงเท่านี้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญครับ
ดังนั้น ท้องฟ้าในยุคไดโนเสาร์ก็จะมีกลุ่มดาวที่ใกล้เคียงทุกวันนี้ แต่แน่นอนว่าตำแหน่งจะไม่เหมือนตอนนี้ และที่สำคัญ คือ
ระยะเวลาเพียง 2 - 300 ล้านปี + - ถือเป็นช่วงที่สั้นมากของชีวิตดาวฤกษ์ครับ เพราะอายุของดาวฤกษ์เฉลี่ยจะมากถึง
10,000 ล้านปี (ดาวดวงใหญ่ อายุจะสั้นกว่านี้) ดังนั้น ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์มาถึงวันนี้จึงอาจมีเพียงดาวบางดวงที่ดับไป
และ ทุกดวง จะเปลี่ยนตำแหน่ง (เล็กน้อย) ครับ
วันนึงคนบนโลก (สมมุติว่ายังมีโลกและชีวิตอยู่) ก็จะเห็นดวงดาวบนท้องฟ้ายามกลางคืนน้อยลง
หรือแม้จะส่องกล้องโทรทรรศน์มองขึ้นไปก็จะมองเห็นดวงดาวได้น้อยกว่ายุคของเราใช่ไหมครับ
คืออย่างนี้ครับ การขยายตัวของเอกภพ นั้น เป็นการขยายตัวในขอบเขตที่ไกลมาก ๆๆๆๆๆ
แต่ .... ดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าที่เรามองเห็น คือ ดาวฤกษ์ในแกแลคซี่ทางช้างเผือก เท่านั้น ซึ่งรูปร่าง และ จำนวนของดาว
ในแกแลคซี่ทั้งหมด จะไม่ได้ขยายตัวออกไปตามการขยายตัวของจักรวาลครับ ดังนั้น ที่ จขกท.ถามมา ก็ตอบได้ว่า
แสงจากดาวทั้งหมดก็ยังคงมาถึงโลกได้ และดาวบนท้องฟ้าก็จะยังคงเดิม ยกเว้น ดาวฤกษ์หลาย ๆ ดวง
ก็จะเริ่มเป็นไปตามอายุขัย คือ กลายเป็นดาวยักษ์แดง และจบชีวิตลงด้วยการยุบเป็นดาวแคระขาว หรือ ระเบิดเป็น Supernova
ดูตามภาพนี้ครับ นี่คือแกแลคซี่ทางช้างเผือกแบบ Top view จากลูกศรชี้คือดวงอาทิตย์
และ ดวงดาว ที่เราเห็นบนฟ้าด้วยตาเปล่า คือรัศมีแค่ วงสีแดง เท่านั้น และหากสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์
ก็จะขยายวงได้เป็นวงสีเหลือง ซึ่งดวงดาวทั้งหมดก็เคลื่อนที่โคจรไปรอบ ๆ แกนกลางทางช้างเผือกพร้อมกับเราครับ
โดยที่การขยายตัวของจักรวาล ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับขนาด และ ไม่มีนัยสำคัญที่ทำให้ดาวต่าง ๆ ในทางช้างเผือก
ต้องขยายตัวออกไปครับ ดังนั้น เราจึงเห็นท้องฟ้าเป็นเหมือนเดิมไปอีกยาวนาน แต่ .... เนื่องจากดาวทั้งหมดเคลื่อนที่ตลอดเวลา
นักดาราศาสตร์ได้เคยประเมินว่า ตำแหน่ง ของดาวต่าง ๆ ในจักรราศี (กลุ่มดาว) จะเปลี่ยนไปในอีกประมาณ 50,000 ปีจากนี้
ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ แม้เราจะมีบันทึกเกี่ยวกับดาวดาวที่เราเห็นบนท้องฟ้ายังไง
ถ้าเค้ามองขึ้นไปหรือส่องกล้องดูยังไงก็ไม่เห็นอย่างที่เราเคยเห็น เค้าก็จะไม่เชื่อสิ่งที่เราบันทึกไว้จากยุคนี้หรือเปล่าครับ
ก็ตามที่ผมกล่าวไปในข้อบน คือ ตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ จะเริ่มเปลี่ยนใน 50,000 ปีจากนี้
ดังนั้น หากวันนั้นยังมีมนุษย์อยู่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะต้องคำนวณการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ว่านี้ได้แน่นอนครับ
นับจากนี้จะไม่มี บันทึก หรอกครับ จะมีแต่แผนที่ดาวที่เก็บใว้ใน Database ที่พร้อมจะนำมาคำนวณได้ครับ
แล้วสมมุติถ้าคิดใหม่อีกมุม สิ่งมีชีวิตก่อนหน้าเรา(สมมุติเป็นไดโนเสาร์) จะมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าเยอะกว่าทุกวันนี้หรือเปล่าอะครับ
เพราะหลายล้านปีก่อน เอกภพจะยังไม่ขยายตัวเท่าทุกวันนี้ หรือว่าแค่ย้อนไปยุคไดโนเสาร์มันยังไม่มีนัยสำคัญอะไรเลยอะครับ
ช่วงเวลาในยุคไดโนเสาร์ คือ 250 - 65 ล้าน ปี ที่ผ่านมา เวลาเพียงเท่านี้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญครับ
ดังนั้น ท้องฟ้าในยุคไดโนเสาร์ก็จะมีกลุ่มดาวที่ใกล้เคียงทุกวันนี้ แต่แน่นอนว่าตำแหน่งจะไม่เหมือนตอนนี้ และที่สำคัญ คือ
ระยะเวลาเพียง 2 - 300 ล้านปี + - ถือเป็นช่วงที่สั้นมากของชีวิตดาวฤกษ์ครับ เพราะอายุของดาวฤกษ์เฉลี่ยจะมากถึง
10,000 ล้านปี (ดาวดวงใหญ่ อายุจะสั้นกว่านี้) ดังนั้น ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์มาถึงวันนี้จึงอาจมีเพียงดาวบางดวงที่ดับไป
และ ทุกดวง จะเปลี่ยนตำแหน่ง (เล็กน้อย) ครับ
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเอกภพขยายตัวไปเรื่อย ๆ คนในอนาคตก็จะมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าน้อยลงเรื่อย ๆ ใช่หรือเปล่าครับ
วันนึงคนบนโลก (สมมุติว่ายังมีโลกและชีวิตอยู่) ก็จะเห็นดวงดาวบนท้องฟ้ายามกลางคืนน้อยลง
หรือแม้จะส่องกล้องโทรทรรศน์มองขึ้นไปก็จะมองเห็นดวงดาวได้น้อยกว่ายุคของเราใช่ไหมครับ
ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ แม้เราจะมีบันทึกเกี่ยวกับดาวดาวที่เราเห็นบนท้องฟ้ายังไง
ถ้าเค้ามองขึ้นไปหรือส่องกล้องดูยังไงก็ไม่เห็นอย่างที่เราเคยเห็น เค้าก็จะไม่เชื่อสิ่งที่เราบันทึกไว้จากยุคนี้หรือเปล่าครับ