ไม่ดุ้งเหล็ก/ไม่ทาบเหล็ก คำนี้ในการหล่อคานคอนกรีต หมายความว่าอย่างไรครับ

กระทู้คำถาม
ไปอ่านพบใน facebook มาครับ ที
https://www.facebook.com/InnoEngTechWorld/photos/a.312397542117858.79973.312386385452307/1074574475900157/?type=3&theater

นีคือ ภาพทีลงในเรื่อง


นีคือ ข้อความทีเขียนใน facebook ครับ

********************
แบบนี้ไม่ดี ไม่ควรทำครับ
ไม่ดุ้งเหล็ก/ไม่ทาบเหล็ก
ระยะทาบไม่พอ อันตรายมาก
หน้าตัดเสาลดลงจากขนาด
0.20×0.40 เป็น 0.20×0.20
บอกถึงความมักง่ายของผู้รับเหมา
เสาไม่ได้รับเฉพาะแรงกด
หรือน้ำหนักจากชั้นบน/ชั้นหลังคา
**************

ขอเรียนถามครับว่า คำว่า  ไม่ดุ้งเหล็ก / ไม่ทาบเหล็ก
นีคืออย่างไรครับ ในภาพมีผิดพลาดในการก่อสร้างตรงไหนครับ
สำหรับขนาดคานทีเล็กลง นี่เข้าใจครับ
ขอความรู้ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คำว่า ทาบเหล็ก หมายถึง รอยต่อของเหล็กที่ตำแหน่งทาบที่ปลอดภัยสำหรับโครงสร้าง (ไม่ใช่คิดต่อตรงไหนก็ต่อ ) เช่น เหล็กบนทาบกลาง
                                           หรือเหล็กล่างทาบริมเป็นต้น ( ยังไม่รวมกฎแผ่นดินไหว ) และระยะการทาบมีดังนี้ DB = 40 เท่าของเหล็ก เช่น
                                            DB  25 ระยะทาบ = 1.00 ม. (สำคัญนะครับ)
คำว่า ดุ้งเหล็ก  หมายถึง  ของเสาเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตำแหน่งเสาเยื่องประมาณนี้ โดยระยะยอมรับต้องไม่เกิน 3 ซม.จากตำแหน่ง ( เยื้องมาก
                                           เสาวิบัติ ) คิดง่ายๆคือลองเอาไม้มาต่อกันในแนวตั้งถ้าตรงกันไม้จะเข็ง และถ้าเยื้องกันแหละ และโดยส่วนใหญ่
                                           วิศวกรจะออกแบบอาคารจะลดขนาดเสาทีละ 5  ซม. /ชั้นแต่ต้องไม่ตำกว่า 0.25 x 0.25 ซม.

**** ผมว่าน่าจะประมาณนี้
ปล.   ในภาพ ตามปกติของคานต้องอยู่ในเสานะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่