ระบบประชาธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์มีการปกครองระบบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส 9 ปี ใน ค.ศ.1798 โดยกองทัพฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังเข้ามาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่งผลให้สหพันธรัฐเก่าได้ล่มสลายและได้มีการก่อตั้งรัฐบาลขึ้นภายใต้การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบบประชาธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์ได้ใช้ระบอบการปกครอบแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ดี สวิสเป็นชาติในยุโรปชาติหลังๆ ที่อนุญาติให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งเฉกเช่นเดียวกับเพศชาย ในปี ค.ศ. 1959 มีเพียงรัฐเดียวที่ให้สิทธิ์ผู้หญิงในการออกเสียง มีการตรากฎหมายขึ้นใน ค.ศ.1980 ให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย แต่กว่าจะเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศก็ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ซึ่งสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1990 ผู้หญิงในทุกรัฐสามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งได้ครบทุกมลรัฐในสวิตเซอร์แลนด์
ระบอบประชาธิปไตยที่สวิส ถือได้ว่าเข้าใกล้แบบอุดมคติ โดยต้นแบบของประชาธิปไตยของสวิสได้มาจากสหรัฐอเมริกาและมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศของตนเอง ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจการปกครองโดยแท้จริง ซึ่งพลเมืองชาวสวิสจะเป็นผู้เลือกผู้แทนในทุกระดับ แบ่งตามเบตปกครองที่ตนเองอยู่ จึงทำให้พลเมืองสวิสรู้หน้าที่ในการเลือกตั้งของตนเองดี ซึ่งไม่มีการซื้อเสียง การลงคะแนนเสียง การปกครองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ระดับเมือง (Municipality) จะมีอำนาจในการออกกฎหมายและตัดสินใจในระดับเมือง
2. ระดับมลรัฐ (Cantons) มีอำนาจในการออกกฎหมายและตัดสินใจในระดับมลรัฐ
3. สหพันธรัฐ (Confederation) คือการปกครองระดับประเทศ ซึ่งจะมีฝ่ายบริหาร 7 ท่าน เป็นรัฐมนตรีของกระทรวงต่างๆ แต่ละท่านจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานาธิบดีของประเทศ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรงนี้ได้มาจากการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมโดยสภา Ständerat และ Nationalrat ได้แก่
- Ständerat (Council of States) ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในมลรัฐ แต่ละมลรัฐมีสมาชิกได้ 2 ท่าน ยกเว้นบางมลรัฐที่มีเพียง 1 ท่าน แต่จะมาจากทุกมลรัฐ สมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 46 ท่าน และมีวาระ 4 ปี โดยการเลือกประธานของฝ่ายนี้จะเลือกจากสมาชิกที่มีวัยวุฒิมากที่สุดและทำหน้าที่ 1 ปี ปีต่อไปจะสลับให้สมาชิกที่มีวัยวุฒิมากที่สุดคนต่อมาได้มีโอกาสเป็น
- Nationalrat (National Council) ได้จากการเลือกตั้งของพลเมืองโดยตรงแบ่งตามโควต้าของประชาชน ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 200 ท่าน และมีวาระ 4 ปี หน้าที่หลักของสหพันธรัฐ คือการปกครองภาพใหญ่ๆ ของประเทศ
** Nationalrat และ Ständerat มีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจเหนือกัน วิธีการนี้ใช้เพื่อคานอำนาจของรัฐบาล โดยทั้งสองสภาจะทำงานร่วมกัน ซึ่งสมาชิกของทั้งสองสภาจะทำงานประมาณ 60% ส่วนที่เหลือจะไปทำงานของตัวเองซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐสภา
อย่างไรก็ดีระบบการปกครองของสวิสก็เน้นรูปแบบ Check and Balance เพื่อดูว่าไม่มีนักการเมืองท่านใดมีอำนาจเหนือกันหรือใช้อำนาจในทางมิชอบ ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับหัวหน้าจะมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี อีกทั้งความเชื่อที่ว่าการปกครองในแต่ละมลรัฐควรจะออกแบบให้เหมาะสมกับพลเมืองของมลรัฐนั้นๆ โดยประชาชนเชื่อว่า มลรัฐแต่ละมลรัฐมีความไม่เหมือนกัน ด้านอาชีพ การศึกษา ภูมิประเทศ อุตสาหกรรมหลักในเขตนั้นๆ รายได้ของประชาชน ภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้นการเลือกใช้กฎหมายฉบับเดียวกันปกครองทั้งประเทศจะไม่สามารถที่จะตอบสนองความเป็นจริงของพลเมืองในมลรัฐที่แตกต่างกันได้ จึงทำให้ระบบการปกครองระดับมลรัฐและระดับเมืองเข้ามีบทบาทอย่างมาก ในการออกแบบกฎหมายปลีกย่อย ซึ่งการปกครองนี้ทางสหพันธรัฐจะไม่สามารถเข้ามาตัดสินใจได้เป็นอำนาจของนายกเทศมนตรีและหัวหน้าเมืองในเขตนั้น
ระบอบประชาธิปไตยที่สวิส ถือได้ว่าเข้าใกล้แบบอุดมคติ โดยต้นแบบของประชาธิปไตยของสวิสได้มาจากสหรัฐอเมริกาและมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศของตนเอง ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจการปกครองโดยแท้จริง ซึ่งพลเมืองชาวสวิสจะเป็นผู้เลือกผู้แทนในทุกระดับ แบ่งตามเบตปกครองที่ตนเองอยู่ จึงทำให้พลเมืองสวิสรู้หน้าที่ในการเลือกตั้งของตนเองดี ซึ่งไม่มีการซื้อเสียง การลงคะแนนเสียง การปกครองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
-----------------------------------------------------------------------------
ในปีนี้ ก็มีการเลือกตั้งประจำชาติสวิส ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับนินพอควรเลย ทางรัฐบาลมีการเปิดเสรีให้กับพลเมืองที่จะเลือกตั้งได้ 2 วิธี คือ
1. การไปลงคะแนนยังคูหาที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ แบบทั่ว ๆ ไป และ
2. ลงคะแนนเสียงทางจดหมาย ซึ่งรัฐบาลจะส่งจดหมายมายังที่อยู่ของพลเมือง ในจดหมายจะให้รายละเอียดของผู้สมัครแต่ละท่าน รวมทั้งนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง และแบบฟอร์มการเลือกผู้แทน พร้อมจดหมายจ่าหน้าซองส่งกลับ ซึ่งจะมีการส่งก่อนการเลือกตั้งประมาณ 1-2 อาทิตย์
เอกสารประกอบการเลือก ทั้ง Ständerat และ Nationalrat
ผู้สมัครชิงตำแหน่งรวมถึงนโยบาย ทั้ง Ständerat และ Nationalrat
หากไม่แน่ใจสามารถที่จะเข้าเว็ปไซต์เพื่อทำการสำรวจความต้องการว่าพรรคใด เข้ากับความต้องการของเรามากที่สุด โดยมีหัวข้อหลักๆ ให้เลือก หากเราไม่เข้าใจคำถาม ก็จะมีรายละเอียดอธิบายให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละนโยบาล เราก็ทำการกรอกข้อมูลให้ครบ
เว็ปไซต์ที่สามารถที่จะเข้าไปดูรายละเอียดผู้สมัคร
หัวข้อหลักๆ ที่พลเมืองใส่ใจ ก็มีการทำลิสมาโดยรัฐบาล
รายละเอียด้านในของแต่ละหัวข้อหลัก ๆ
หากไม่เข้าใจคำถามก็สามารถที่จะดูคำอธิบาย ทั้งด้านข้อดีและข้อเสีย
ทางเว็ปไซต์ก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูล และแสดงผลออกมาเป็นแบบตัวเลข
แผนภาพ 3 มิติ เพื่อว่า ผู้สมัครแต่ละท่าน ใกล้เคียงกับความต้องการเรามากน้อยแค่ไหน
แต่เราจะเลือกหรือไม่ก็ได้ เป็นเพียงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
--------------------------
อีกอย่างที่นินฟังจากคนสวิสและค่อนข้างประทับใจ
1. ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนๆ ก็ยังนั่งรถประจำทาง หรือรถไฟ ไปทำงานตามปรกติ และพลเมืองสามารถที่จะเข้าไปคุยด้วยโดยตรง โดยไม่มีการ์ดรอบตัว
2. การที่จะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่บริหารไปรับประทานอาหาร โดยหวังจะได้รับความสิเน่หาจากโปรเจ๊คที่จะได้รับการสนับสนุน ก็จะถูกตรวจสอบโดยภาครัฐ
3. ผู้บริหารทุกท่าน ยังต้องทำงานและเสียภาษีเท่ากับคนทั่วไปที่ทำงานตามเขตและภิมิภาคที่ตนอยู่ โดยไม่มีรับอภิสิทธ์เหนือพลเมืองคนอื่นๆ
4. พลเมืองรับรู้หน้าที่ในการเลือกตั้ง สังเกตได้จากจำนวนผู้ที่ใช้สิทธิเลือกตั้งของประเทศนี้มีมากกว่า 70% ของประชากรในประเทศ และทุกคนเลือกผู้แทนด้วยความสมัครใจ แถมการเลือกตั้งก็ยังตามความสะดวก ว่าพลเมืองจะไปที่เคาเตอร์เลือกตั้งหรือเลือกผ่านจดหมาย ที่ส่งมาที่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความซื่อตรงของพลเมืองในประเทศ
ทำให้นินเห็นความแตกต่างพอสมควรระหว่างประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้พลเมืองได้ทำการเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่โดยเสรี นินหวังว่าจะได้เห็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยแบบนี้ ที่พลเมืองไทย รู้สิทธิและหน้าที่ในการที่จะแสดงเสียงจริงในการเลือกนักการเมืองที่ดีและมีความสามารถจริงเข้ามาบริหารประเทศ และพร้อมที่จะนำประเทศเดินหน้าไปอย่างจริงใจ
ระบบประชาธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์ และการเลือกตั้ง
สวิตเซอร์แลนด์มีการปกครองระบบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส 9 ปี ใน ค.ศ.1798 โดยกองทัพฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังเข้ามาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่งผลให้สหพันธรัฐเก่าได้ล่มสลายและได้มีการก่อตั้งรัฐบาลขึ้นภายใต้การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบบประชาธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์ได้ใช้ระบอบการปกครอบแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ดี สวิสเป็นชาติในยุโรปชาติหลังๆ ที่อนุญาติให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งเฉกเช่นเดียวกับเพศชาย ในปี ค.ศ. 1959 มีเพียงรัฐเดียวที่ให้สิทธิ์ผู้หญิงในการออกเสียง มีการตรากฎหมายขึ้นใน ค.ศ.1980 ให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย แต่กว่าจะเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศก็ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ซึ่งสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1990 ผู้หญิงในทุกรัฐสามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งได้ครบทุกมลรัฐในสวิตเซอร์แลนด์
ระบอบประชาธิปไตยที่สวิส ถือได้ว่าเข้าใกล้แบบอุดมคติ โดยต้นแบบของประชาธิปไตยของสวิสได้มาจากสหรัฐอเมริกาและมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศของตนเอง ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจการปกครองโดยแท้จริง ซึ่งพลเมืองชาวสวิสจะเป็นผู้เลือกผู้แทนในทุกระดับ แบ่งตามเบตปกครองที่ตนเองอยู่ จึงทำให้พลเมืองสวิสรู้หน้าที่ในการเลือกตั้งของตนเองดี ซึ่งไม่มีการซื้อเสียง การลงคะแนนเสียง การปกครองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ระดับเมือง (Municipality) จะมีอำนาจในการออกกฎหมายและตัดสินใจในระดับเมือง
2. ระดับมลรัฐ (Cantons) มีอำนาจในการออกกฎหมายและตัดสินใจในระดับมลรัฐ
3. สหพันธรัฐ (Confederation) คือการปกครองระดับประเทศ ซึ่งจะมีฝ่ายบริหาร 7 ท่าน เป็นรัฐมนตรีของกระทรวงต่างๆ แต่ละท่านจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานาธิบดีของประเทศ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรงนี้ได้มาจากการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมโดยสภา Ständerat และ Nationalrat ได้แก่
- Ständerat (Council of States) ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในมลรัฐ แต่ละมลรัฐมีสมาชิกได้ 2 ท่าน ยกเว้นบางมลรัฐที่มีเพียง 1 ท่าน แต่จะมาจากทุกมลรัฐ สมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 46 ท่าน และมีวาระ 4 ปี โดยการเลือกประธานของฝ่ายนี้จะเลือกจากสมาชิกที่มีวัยวุฒิมากที่สุดและทำหน้าที่ 1 ปี ปีต่อไปจะสลับให้สมาชิกที่มีวัยวุฒิมากที่สุดคนต่อมาได้มีโอกาสเป็น
- Nationalrat (National Council) ได้จากการเลือกตั้งของพลเมืองโดยตรงแบ่งตามโควต้าของประชาชน ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 200 ท่าน และมีวาระ 4 ปี หน้าที่หลักของสหพันธรัฐ คือการปกครองภาพใหญ่ๆ ของประเทศ
** Nationalrat และ Ständerat มีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจเหนือกัน วิธีการนี้ใช้เพื่อคานอำนาจของรัฐบาล โดยทั้งสองสภาจะทำงานร่วมกัน ซึ่งสมาชิกของทั้งสองสภาจะทำงานประมาณ 60% ส่วนที่เหลือจะไปทำงานของตัวเองซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐสภา
อย่างไรก็ดีระบบการปกครองของสวิสก็เน้นรูปแบบ Check and Balance เพื่อดูว่าไม่มีนักการเมืองท่านใดมีอำนาจเหนือกันหรือใช้อำนาจในทางมิชอบ ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับหัวหน้าจะมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี อีกทั้งความเชื่อที่ว่าการปกครองในแต่ละมลรัฐควรจะออกแบบให้เหมาะสมกับพลเมืองของมลรัฐนั้นๆ โดยประชาชนเชื่อว่า มลรัฐแต่ละมลรัฐมีความไม่เหมือนกัน ด้านอาชีพ การศึกษา ภูมิประเทศ อุตสาหกรรมหลักในเขตนั้นๆ รายได้ของประชาชน ภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้นการเลือกใช้กฎหมายฉบับเดียวกันปกครองทั้งประเทศจะไม่สามารถที่จะตอบสนองความเป็นจริงของพลเมืองในมลรัฐที่แตกต่างกันได้ จึงทำให้ระบบการปกครองระดับมลรัฐและระดับเมืองเข้ามีบทบาทอย่างมาก ในการออกแบบกฎหมายปลีกย่อย ซึ่งการปกครองนี้ทางสหพันธรัฐจะไม่สามารถเข้ามาตัดสินใจได้เป็นอำนาจของนายกเทศมนตรีและหัวหน้าเมืองในเขตนั้น
ระบอบประชาธิปไตยที่สวิส ถือได้ว่าเข้าใกล้แบบอุดมคติ โดยต้นแบบของประชาธิปไตยของสวิสได้มาจากสหรัฐอเมริกาและมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศของตนเอง ซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจการปกครองโดยแท้จริง ซึ่งพลเมืองชาวสวิสจะเป็นผู้เลือกผู้แทนในทุกระดับ แบ่งตามเบตปกครองที่ตนเองอยู่ จึงทำให้พลเมืองสวิสรู้หน้าที่ในการเลือกตั้งของตนเองดี ซึ่งไม่มีการซื้อเสียง การลงคะแนนเสียง การปกครองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
-----------------------------------------------------------------------------
ในปีนี้ ก็มีการเลือกตั้งประจำชาติสวิส ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับนินพอควรเลย ทางรัฐบาลมีการเปิดเสรีให้กับพลเมืองที่จะเลือกตั้งได้ 2 วิธี คือ
1. การไปลงคะแนนยังคูหาที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ แบบทั่ว ๆ ไป และ
2. ลงคะแนนเสียงทางจดหมาย ซึ่งรัฐบาลจะส่งจดหมายมายังที่อยู่ของพลเมือง ในจดหมายจะให้รายละเอียดของผู้สมัครแต่ละท่าน รวมทั้งนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง และแบบฟอร์มการเลือกผู้แทน พร้อมจดหมายจ่าหน้าซองส่งกลับ ซึ่งจะมีการส่งก่อนการเลือกตั้งประมาณ 1-2 อาทิตย์
เอกสารประกอบการเลือก ทั้ง Ständerat และ Nationalrat
ผู้สมัครชิงตำแหน่งรวมถึงนโยบาย ทั้ง Ständerat และ Nationalrat
หากไม่แน่ใจสามารถที่จะเข้าเว็ปไซต์เพื่อทำการสำรวจความต้องการว่าพรรคใด เข้ากับความต้องการของเรามากที่สุด โดยมีหัวข้อหลักๆ ให้เลือก หากเราไม่เข้าใจคำถาม ก็จะมีรายละเอียดอธิบายให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละนโยบาล เราก็ทำการกรอกข้อมูลให้ครบ
เว็ปไซต์ที่สามารถที่จะเข้าไปดูรายละเอียดผู้สมัคร
หัวข้อหลักๆ ที่พลเมืองใส่ใจ ก็มีการทำลิสมาโดยรัฐบาล
รายละเอียด้านในของแต่ละหัวข้อหลัก ๆ
หากไม่เข้าใจคำถามก็สามารถที่จะดูคำอธิบาย ทั้งด้านข้อดีและข้อเสีย
ทางเว็ปไซต์ก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูล และแสดงผลออกมาเป็นแบบตัวเลข
แผนภาพ 3 มิติ เพื่อว่า ผู้สมัครแต่ละท่าน ใกล้เคียงกับความต้องการเรามากน้อยแค่ไหน
แต่เราจะเลือกหรือไม่ก็ได้ เป็นเพียงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
--------------------------
อีกอย่างที่นินฟังจากคนสวิสและค่อนข้างประทับใจ
1. ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนๆ ก็ยังนั่งรถประจำทาง หรือรถไฟ ไปทำงานตามปรกติ และพลเมืองสามารถที่จะเข้าไปคุยด้วยโดยตรง โดยไม่มีการ์ดรอบตัว
2. การที่จะเชิญผู้ที่ทำหน้าที่บริหารไปรับประทานอาหาร โดยหวังจะได้รับความสิเน่หาจากโปรเจ๊คที่จะได้รับการสนับสนุน ก็จะถูกตรวจสอบโดยภาครัฐ
3. ผู้บริหารทุกท่าน ยังต้องทำงานและเสียภาษีเท่ากับคนทั่วไปที่ทำงานตามเขตและภิมิภาคที่ตนอยู่ โดยไม่มีรับอภิสิทธ์เหนือพลเมืองคนอื่นๆ
4. พลเมืองรับรู้หน้าที่ในการเลือกตั้ง สังเกตได้จากจำนวนผู้ที่ใช้สิทธิเลือกตั้งของประเทศนี้มีมากกว่า 70% ของประชากรในประเทศ และทุกคนเลือกผู้แทนด้วยความสมัครใจ แถมการเลือกตั้งก็ยังตามความสะดวก ว่าพลเมืองจะไปที่เคาเตอร์เลือกตั้งหรือเลือกผ่านจดหมาย ที่ส่งมาที่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความซื่อตรงของพลเมืองในประเทศ
ทำให้นินเห็นความแตกต่างพอสมควรระหว่างประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้พลเมืองได้ทำการเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่โดยเสรี นินหวังว่าจะได้เห็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยแบบนี้ ที่พลเมืองไทย รู้สิทธิและหน้าที่ในการที่จะแสดงเสียงจริงในการเลือกนักการเมืองที่ดีและมีความสามารถจริงเข้ามาบริหารประเทศ และพร้อมที่จะนำประเทศเดินหน้าไปอย่างจริงใจ