ที่มา :
http://supertraderclub.com/articles/mindset/important-thing-more-than-chart-reading/
จากการให้คำปรึกษานักเก็งกำไรหลายร้อยคนที่ใช้กราฟในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าซื้อหรือขายทางเทคนิค ส่วนใหญ่จะยังเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของการอ่านกราฟอยู่พอสมควร โดยคิดว่าการที่ราคาหุ้นลงมาแนวรับหรือถึงแนวต้าน หรือแม้แต่ก็สัญญาณขายทางเทคนิคแล้วจำเป็นต้องเป็นอย่างที่เราคิดเสมอ โดยพอไม่เป็นอย่างที่เราคิดแล้วเราก็คิดว่าวิธีการอ่านสัญญาณทางเทคนิคของเรามันผิด หรือใช้ไม่ได้ผล หรืออาจจะสูญเสียกำลังใจหรือความเชื่อต่อแนวทางการอ่านกราฟทางเทคนิคเลยก็ได้
สิ่งที่สำคัญกว่าการอ่านกราฟ
แก่นสำคัญของการอ่านกราฟก็คือ การเล่นอยู่กับความน่าจะเป็นและสิ่งสำคัญที่ทำให้กำไรมากกว่าการอ่านกราฟทางเทคนิคก็คือ การบริหารหน้าตัก (Money Management) และการบริหารหน้าตักที่ว่านี้ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการตัดขาดทุนเท่านั้น มันเป็นอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่าการตัดขาดทุนมันรวมไปถึงการจัดสรรเงินทุนให้เหมาะกับระดับของจิตใจเราด้วย โดยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บางทีนักเก็งกำไรอาจจะแบ่งไม้เข้าซื้อเป็น 2 ไม้ โดยเข้าซื้อไม้แรกก่อน โดยถ้าไม้แรกพลาดจะยังไม่ขายแต่จะไปเข้าซื้อไม้ที่สองตอนเกิดภาวะขายมากเกินไป (oversold) พอราคากลับมาครึ่งทางก็ตัดขายเพื่อดึงทุนกลับคืนมา โดยวิธีนี้อาจจะขัดกับความเชื่อบางคนที่บอกว่าการถัวเฉลี่ยขาลงเป็นเรื่องผิด แต่ถ้าศึกษาประวัติเทรดเดอร์เก็งกำไรระยะสั้นที่ประสบความสำเร็จบางคนจะพบว่า การเทรดสองไม้กลับสร้างความยั่งยืนในการอยู่รอดตลาดเก็งกำไรได้ แต่เทรดเดอร์บางคนก็เทรดไม้เดียวแต่กระจายเทรดหลายตัวเพื่อลดความเสี่ยงและกระจายความน่าจะเป็นให้มากขึ้นก็สามารถทำกำไรได้เหมือนกัน
มุ่งพัฒนาวินัยในการบริหารหน้าตัก
มือใหม่ที่อ่านกราฟยังไม่ชำนาญแต่ถ้ามีวินัยในการตัดขาดทุนหรือทำตามแผนการบริหารหน้าตักของตนเองโดยจำกัดความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะอยู่รอดได้ในระยะยาว ผิดกับเทรดเดอร์ที่อ่านกราฟเชี่ยวชาญแค่ไหน แต่ไม่มีวินัยในการบริหารหน้าตักสุดท้ายแล้วมักจะพบกับการขาดทุนอย่างหนักในที่สุด สมมติว่าเราอ่านกราฟแม่นแค่ 40% แต่ทุกครั้งเราตัดขาดทุนที่ 1 บาท โดยที่กำไรในการเทรดควรมากกว่าอย่างน้อย 2 เท่าของจุดที่เราตัดขาดทุน เราเทรด 10 ครั้ง แม้ผิด 6 ครั้ง เราก็ยังได้กำไร ไม่ก็ยังเหลือเงินทุนในการเทรดเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ในระยะยาว แต่ถ้าเราตัดขาดทุนที่ 1 บาทบ้าง 2 บาทบ้าง หรือบางที 3 บาท โดยละเลยการตัดขาดทุนตามแผนที่เราวางไว้ โอกาสที่เงินทุนจะหมดก่อนที่เราจะพัฒนาในถึงจุดที่อยุ่รอดได้ในระยะยาวก็เหลือน้อยเต็มที
อย่ากลัวที่จะขาดทุน
คนเทรดหุ้นมือใหม่ส่วนใหญ่จะกลัวกับการขาดทุนมาก แต่ถ้าคุณยังอยู่ในตลาดนี้ไม่ว่าคุณจะเก่งเทพแค่ไหน คุณก็ยังจะต้องเจอกับการขาดทุนอยู่ดี สิ่งสำคัญก็คือ เวลาขาดทุนคุณต้องคุมมันให้อยู่ ก่อนจะคุมการขาดทุนให้อยู่คุณต้องฝึกควบคุมตัวเองให้อยู่ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่ผมเคยให้คำปรึกษาในการเทรด 10 คน จะทำได้แค่ 2 คนเท่านั้น และ 2 คนนี้แหล่ะที่อยู่รอดในตลาดได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นจงใส่ใจกับการตัดขาดทุนและชอบมันซะ คุณจะได้เรียนอะไรมากมายจากการขาดทุนแต่ละครั้ง อย่าหลอกตัวเองและหนีความจริงแต่จงพิจารณาตัวเองและจุดที่ผิดพลาดแล้วก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นในการเทรดครั้งต่อ ๆ ไป
บทส่งท้าย
เรื่องที่ฟังดูง่ายที่สุดมักทำยากที่สุด เช่น หุ้นลงก็ตัดขาดทุนซะ ฟังดูง่ายดาย แต่พอถึงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับการขาดทุนจริง ๆ มันมักจะเป็นเรื่องยากถึงขนาดที่ทำให้เราสับสนและคิดอะไรไม่ออก บางคนหาหนทางปลอบใจตัวเองด้วยการไปถามคนรอบข้างว่าเราควรจะทำยังไงกับหุ้นที่ราคาลดลงไปทุกวันดี ซึ่งไม่มีอะไรดีไปกว่าการยอมรับตัวเองว่าทำผิดพลาด เรียนรู้ และแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้เร็วที่สุด รวมถึงเก็บไว้เป็นบทเรียนในการเทรดคร้งต่อไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราอยู่รอดในตลาดได้อย่างมั่นคง
สิ่งที่สำคัญกว่าการอ่านกราฟ
ที่มา : http://supertraderclub.com/articles/mindset/important-thing-more-than-chart-reading/
จากการให้คำปรึกษานักเก็งกำไรหลายร้อยคนที่ใช้กราฟในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดเข้าซื้อหรือขายทางเทคนิค ส่วนใหญ่จะยังเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของการอ่านกราฟอยู่พอสมควร โดยคิดว่าการที่ราคาหุ้นลงมาแนวรับหรือถึงแนวต้าน หรือแม้แต่ก็สัญญาณขายทางเทคนิคแล้วจำเป็นต้องเป็นอย่างที่เราคิดเสมอ โดยพอไม่เป็นอย่างที่เราคิดแล้วเราก็คิดว่าวิธีการอ่านสัญญาณทางเทคนิคของเรามันผิด หรือใช้ไม่ได้ผล หรืออาจจะสูญเสียกำลังใจหรือความเชื่อต่อแนวทางการอ่านกราฟทางเทคนิคเลยก็ได้
สิ่งที่สำคัญกว่าการอ่านกราฟ
แก่นสำคัญของการอ่านกราฟก็คือ การเล่นอยู่กับความน่าจะเป็นและสิ่งสำคัญที่ทำให้กำไรมากกว่าการอ่านกราฟทางเทคนิคก็คือ การบริหารหน้าตัก (Money Management) และการบริหารหน้าตักที่ว่านี้ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการตัดขาดทุนเท่านั้น มันเป็นอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่าการตัดขาดทุนมันรวมไปถึงการจัดสรรเงินทุนให้เหมาะกับระดับของจิตใจเราด้วย โดยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บางทีนักเก็งกำไรอาจจะแบ่งไม้เข้าซื้อเป็น 2 ไม้ โดยเข้าซื้อไม้แรกก่อน โดยถ้าไม้แรกพลาดจะยังไม่ขายแต่จะไปเข้าซื้อไม้ที่สองตอนเกิดภาวะขายมากเกินไป (oversold) พอราคากลับมาครึ่งทางก็ตัดขายเพื่อดึงทุนกลับคืนมา โดยวิธีนี้อาจจะขัดกับความเชื่อบางคนที่บอกว่าการถัวเฉลี่ยขาลงเป็นเรื่องผิด แต่ถ้าศึกษาประวัติเทรดเดอร์เก็งกำไรระยะสั้นที่ประสบความสำเร็จบางคนจะพบว่า การเทรดสองไม้กลับสร้างความยั่งยืนในการอยู่รอดตลาดเก็งกำไรได้ แต่เทรดเดอร์บางคนก็เทรดไม้เดียวแต่กระจายเทรดหลายตัวเพื่อลดความเสี่ยงและกระจายความน่าจะเป็นให้มากขึ้นก็สามารถทำกำไรได้เหมือนกัน
มุ่งพัฒนาวินัยในการบริหารหน้าตัก
มือใหม่ที่อ่านกราฟยังไม่ชำนาญแต่ถ้ามีวินัยในการตัดขาดทุนหรือทำตามแผนการบริหารหน้าตักของตนเองโดยจำกัดความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะอยู่รอดได้ในระยะยาว ผิดกับเทรดเดอร์ที่อ่านกราฟเชี่ยวชาญแค่ไหน แต่ไม่มีวินัยในการบริหารหน้าตักสุดท้ายแล้วมักจะพบกับการขาดทุนอย่างหนักในที่สุด สมมติว่าเราอ่านกราฟแม่นแค่ 40% แต่ทุกครั้งเราตัดขาดทุนที่ 1 บาท โดยที่กำไรในการเทรดควรมากกว่าอย่างน้อย 2 เท่าของจุดที่เราตัดขาดทุน เราเทรด 10 ครั้ง แม้ผิด 6 ครั้ง เราก็ยังได้กำไร ไม่ก็ยังเหลือเงินทุนในการเทรดเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ในระยะยาว แต่ถ้าเราตัดขาดทุนที่ 1 บาทบ้าง 2 บาทบ้าง หรือบางที 3 บาท โดยละเลยการตัดขาดทุนตามแผนที่เราวางไว้ โอกาสที่เงินทุนจะหมดก่อนที่เราจะพัฒนาในถึงจุดที่อยุ่รอดได้ในระยะยาวก็เหลือน้อยเต็มที
อย่ากลัวที่จะขาดทุน
คนเทรดหุ้นมือใหม่ส่วนใหญ่จะกลัวกับการขาดทุนมาก แต่ถ้าคุณยังอยู่ในตลาดนี้ไม่ว่าคุณจะเก่งเทพแค่ไหน คุณก็ยังจะต้องเจอกับการขาดทุนอยู่ดี สิ่งสำคัญก็คือ เวลาขาดทุนคุณต้องคุมมันให้อยู่ ก่อนจะคุมการขาดทุนให้อยู่คุณต้องฝึกควบคุมตัวเองให้อยู่ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่ผมเคยให้คำปรึกษาในการเทรด 10 คน จะทำได้แค่ 2 คนเท่านั้น และ 2 คนนี้แหล่ะที่อยู่รอดในตลาดได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นจงใส่ใจกับการตัดขาดทุนและชอบมันซะ คุณจะได้เรียนอะไรมากมายจากการขาดทุนแต่ละครั้ง อย่าหลอกตัวเองและหนีความจริงแต่จงพิจารณาตัวเองและจุดที่ผิดพลาดแล้วก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นในการเทรดครั้งต่อ ๆ ไป
บทส่งท้าย
เรื่องที่ฟังดูง่ายที่สุดมักทำยากที่สุด เช่น หุ้นลงก็ตัดขาดทุนซะ ฟังดูง่ายดาย แต่พอถึงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับการขาดทุนจริง ๆ มันมักจะเป็นเรื่องยากถึงขนาดที่ทำให้เราสับสนและคิดอะไรไม่ออก บางคนหาหนทางปลอบใจตัวเองด้วยการไปถามคนรอบข้างว่าเราควรจะทำยังไงกับหุ้นที่ราคาลดลงไปทุกวันดี ซึ่งไม่มีอะไรดีไปกว่าการยอมรับตัวเองว่าทำผิดพลาด เรียนรู้ และแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้เร็วที่สุด รวมถึงเก็บไว้เป็นบทเรียนในการเทรดคร้งต่อไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราอยู่รอดในตลาดได้อย่างมั่นคง