นักฟิสิกส์คาดการณ์ว่า "การเดินทางข้ามเวลา" (time travel) และการย้ายมวลสารข้ามสถานที่หรือ "การเทเลพอร์ต" (teleportation) อาจเป็นความจริงภายในศตวรรษนี้
นักวิทยาศาสตร์จากราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) ได้คาดการณ์ถึงอนาคตข้างหน้า ในวันที่เราจะได้เห็นเทคโนโลยีไซไฟเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง
วิทยาการอย่างหนึ่งที่หลายคนอยากเห็นก็คือ "การเทเลพอร์ต" ในขณะที่ความคืบหน้าในปัจจุบันสามารถเทเลพอร์ตอนุภาคทีละตัว (เช่น โฟตอน) ได้ภายในระยะทางสั้นๆเท่านั้น คงต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าเราจะสามารถเทเลพอร์ตวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ในทันที
"การเทเลพอร์ตบุคคลโดยส่งอะตอมทีละตัวนั้นเป็นเรื่องยากมากและเป็นวิถีทางที่นักฟิสิกส์เผชิญอยู่ แต่บางทีพัฒนาการในวิชาเคมีและชีววิทยาเชิงโมเลกุลอาจจะช่วยให้เราทำสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น" ดร.แมรี่ แจคเกอลีน โรเมโร (Mary Jacquiline Romero) กล่าว "สิ่งที่ดีสำหรับการเทเลพอร์ตก็คือ ไม่มีกฎเกณฑ์พื้นฐานอะไรที่บอกเราว่ามันไม่สามารถทำได้"
ดร.แมรี่ แจคเกอลีน โรเมโร
การข้ามสถานที่ในพริบตาอาจเป็นเรื่องน่าสนใจ แต่สิ่งที่ยั่วเย้าเรามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการข้ามเวลา แม้จะมีข้อสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้จริงหรือ แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามันเป็นไปได้แน่
"ผมน่าจะบอกว่า เรามองปี 2100 ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานพอจนน่าจะทำให้มองโลกในแง่ดีได้ว่าการท่องอนาคตสักสัปดาห์อาจเกิดขึ้นจริง" นักเขียนชื่อ โคลิน สจ๊วต (Colin Stuart) กล่าว
โคลิน สจ๊วต
แต่แม้นักวิทยาศาสตร์หลายคนจะเชื่อว่ามันเป็นไปได้ แต่มันย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะสำเร็จอย่างง่ายดายแน่นอน
การข้ามเวลาและการเทเลพอร์ต
นักฟิสิกส์คาดการณ์ว่า "การเดินทางข้ามเวลา" (time travel) และการย้ายมวลสารข้ามสถานที่หรือ "การเทเลพอร์ต" (teleportation) อาจเป็นความจริงภายในศตวรรษนี้
นักวิทยาศาสตร์จากราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) ได้คาดการณ์ถึงอนาคตข้างหน้า ในวันที่เราจะได้เห็นเทคโนโลยีไซไฟเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง
วิทยาการอย่างหนึ่งที่หลายคนอยากเห็นก็คือ "การเทเลพอร์ต" ในขณะที่ความคืบหน้าในปัจจุบันสามารถเทเลพอร์ตอนุภาคทีละตัว (เช่น โฟตอน) ได้ภายในระยะทางสั้นๆเท่านั้น คงต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าเราจะสามารถเทเลพอร์ตวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ในทันที
"การเทเลพอร์ตบุคคลโดยส่งอะตอมทีละตัวนั้นเป็นเรื่องยากมากและเป็นวิถีทางที่นักฟิสิกส์เผชิญอยู่ แต่บางทีพัฒนาการในวิชาเคมีและชีววิทยาเชิงโมเลกุลอาจจะช่วยให้เราทำสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น" ดร.แมรี่ แจคเกอลีน โรเมโร (Mary Jacquiline Romero) กล่าว "สิ่งที่ดีสำหรับการเทเลพอร์ตก็คือ ไม่มีกฎเกณฑ์พื้นฐานอะไรที่บอกเราว่ามันไม่สามารถทำได้"
ดร.แมรี่ แจคเกอลีน โรเมโร
การข้ามสถานที่ในพริบตาอาจเป็นเรื่องน่าสนใจ แต่สิ่งที่ยั่วเย้าเรามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการข้ามเวลา แม้จะมีข้อสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้จริงหรือ แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามันเป็นไปได้แน่
"ผมน่าจะบอกว่า เรามองปี 2100 ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานพอจนน่าจะทำให้มองโลกในแง่ดีได้ว่าการท่องอนาคตสักสัปดาห์อาจเกิดขึ้นจริง" นักเขียนชื่อ โคลิน สจ๊วต (Colin Stuart) กล่าว
โคลิน สจ๊วต
แต่แม้นักวิทยาศาสตร์หลายคนจะเชื่อว่ามันเป็นไปได้ แต่มันย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะสำเร็จอย่างง่ายดายแน่นอน