รอยเตอร์ /เอเจนซีส์ / MGR online - สื่อดังเมืองลุงแซม “แม็กแคล็ตชี” เผยแพร่รายงานชิ้นพิเศษซึ่งตีแผ่ข้อมูลอันน่าตกตะลึงที่ระบุว่าตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา มีคนงานที่เป็นลูกจ้างด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกันต้องเสียชีวิตจากผลพวงของการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีไปแล้วไม่ต่ำกว่า 33,480 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างที่ทำงานในโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้สหรัฐฯ คว้าชัยชนะในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 และขึ้นแท่นเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ตลอดยุคสงครามเย็นที่ผ่านมา
สื่อดังอย่างแม็กแคล็ตชีนำเสนอรายงานดังกล่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากผลการสืบสวนภายในของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับบรรดาคนงานที่ทำงานในโครงการด้านอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาล ตลอดระยะเวลา 70 ปีมานี้
โดยรายงานชิ้นนี้ซึ่งแม็คแคล็ตชีระบุว่า ได้มาจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (US Department of Labor) ภายใต้กฎหมายรัฐบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ระบุว่า ตลอด 7 ทศวรรษที่ผ่านมา มีคนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างหัวรบนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกัน รวมทั้งสิ้น 107,394 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีคนงานที่เป็นลูกจ้างด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกัน ที่ต้องเสียชีวิตจากผลพวงของการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีไปแล้วไม่ต่ำกว่า 33,480 ราย ขณะที่คนงานอีกจำนวนมากต้องล้มป่วยจากผลกระทบของสารกัมมันตภาพรังสีชนิดต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ “อาวุธนิวเคลียร์ เมด อิน ยูเอสเอ”
จำนวนแรงงานที่ต้องเสียชีวิตจากการทำงานในโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีไม่ต่ำกว่า 33,480 รายดังกล่าว ถือเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงกว่าจำนวนทหารอเมริกันที่ไปตายในสงครามที่อิรัก และอัฟกานิสถานรวมกันถึง 4 เท่าตัว
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2001 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือคนงานและอดีตคนงานในโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกันที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากสารกัมมันตภาพรังสี หลังมีการร้องเรียนจำนวนมากว่า รัฐบาลอเมริกันละเลยแรงงานกลุ่มนี้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อเมริกาได้ก้าวขึ้นผงาดในเวทีโลก ในฐานะมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์และการทหาร
รายงานระบุว่า เมื่อแรกตั้งกองทุนดังกล่าว รัฐบาลอเมริกันประเมินว่าน่าจะมีคนงานและอดีตคนงานยื่นเรื่องขอรับเงินชดเชยจากผลกระทบด้านนิวเคลียร์เพียงปีละ 120 ล้านดอลลาร์ (ราว 4,330 ล้านบาท) และประเมินจำนวนคนงานที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ที่เพียง 3,000 ราย
แต่เมื่อถึงปี 2015 กลับพบข้อมูลว่า กองทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ นี้ กลับต้องแบกรับการจ่ายเงินชดเชยสูงถึง 12,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 433,000 ล้านบาท) ให้กับแรงงานด้านนิวเคลียร์มากกว่า 53,000 ราย ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่า โครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคสงครามเย็นได้สร้างความสูญเสียมหาศาลกับชีวิตและสุขภาพของแรงงานที่เกี่ยวข้อง และทีมบรรณาธิการของแม็คแคล็ตชีได้ขนานนามเรื่องอื้อฉาวที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ว่าเป็น “มรดกแห่งความตายบนแผ่นดินอเมริกา”
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000136979
รายงานชี้ลูกจ้างโครงการอาวุธนิวเคลียร์รัฐบาลมะกันสังเวยชีวิตเพราะถูกรังสีมากกว่า 33,000 ราย ยอดตายสูงกว่าทหารที่ไปรบในอิ
สื่อดังอย่างแม็กแคล็ตชีนำเสนอรายงานดังกล่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากผลการสืบสวนภายในของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับบรรดาคนงานที่ทำงานในโครงการด้านอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาล ตลอดระยะเวลา 70 ปีมานี้
โดยรายงานชิ้นนี้ซึ่งแม็คแคล็ตชีระบุว่า ได้มาจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (US Department of Labor) ภายใต้กฎหมายรัฐบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ระบุว่า ตลอด 7 ทศวรรษที่ผ่านมา มีคนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างหัวรบนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกัน รวมทั้งสิ้น 107,394 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีคนงานที่เป็นลูกจ้างด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกัน ที่ต้องเสียชีวิตจากผลพวงของการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีไปแล้วไม่ต่ำกว่า 33,480 ราย ขณะที่คนงานอีกจำนวนมากต้องล้มป่วยจากผลกระทบของสารกัมมันตภาพรังสีชนิดต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ “อาวุธนิวเคลียร์ เมด อิน ยูเอสเอ”
จำนวนแรงงานที่ต้องเสียชีวิตจากการทำงานในโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีไม่ต่ำกว่า 33,480 รายดังกล่าว ถือเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงกว่าจำนวนทหารอเมริกันที่ไปตายในสงครามที่อิรัก และอัฟกานิสถานรวมกันถึง 4 เท่าตัว
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2001 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือคนงานและอดีตคนงานในโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลอเมริกันที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากสารกัมมันตภาพรังสี หลังมีการร้องเรียนจำนวนมากว่า รัฐบาลอเมริกันละเลยแรงงานกลุ่มนี้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อเมริกาได้ก้าวขึ้นผงาดในเวทีโลก ในฐานะมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์และการทหาร
รายงานระบุว่า เมื่อแรกตั้งกองทุนดังกล่าว รัฐบาลอเมริกันประเมินว่าน่าจะมีคนงานและอดีตคนงานยื่นเรื่องขอรับเงินชดเชยจากผลกระทบด้านนิวเคลียร์เพียงปีละ 120 ล้านดอลลาร์ (ราว 4,330 ล้านบาท) และประเมินจำนวนคนงานที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ที่เพียง 3,000 ราย
แต่เมื่อถึงปี 2015 กลับพบข้อมูลว่า กองทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ นี้ กลับต้องแบกรับการจ่ายเงินชดเชยสูงถึง 12,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 433,000 ล้านบาท) ให้กับแรงงานด้านนิวเคลียร์มากกว่า 53,000 ราย ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ว่า โครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคสงครามเย็นได้สร้างความสูญเสียมหาศาลกับชีวิตและสุขภาพของแรงงานที่เกี่ยวข้อง และทีมบรรณาธิการของแม็คแคล็ตชีได้ขนานนามเรื่องอื้อฉาวที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ว่าเป็น “มรดกแห่งความตายบนแผ่นดินอเมริกา”http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000136979