มีคนแชร์กัน อยากสอบถามว่าจริงมั้ยครับ คือแกเป็นคนสำคัญมากคนหนึ่ง หนังสือที่แกเขียน(Imagined Communities )เป็นหนังสือที่คนที่เรียนรัฐศาสตร์จะต้องอ่านก่อน จำได้ว่าตอนพึ่งเข้ามามหาลัยใหม่ๆยังอยู่ในผลิตผลของวิธีคิดแบบราชาชาตินิยม อ.ให้อ่านหนังสิเล่มนี้กับหนังสือ ปวศ.ไทยร่วมสมัยนี้เปลี่ยนวิธีคิดไปเลย
เชื่อมานานแล้วว่า Imagined Communities มีชะตากรรมเหมือนหนังสือสำคัญหลายเล่มซึ่งมักถูกใช้เพื่อผลักดันแนวคิดและการเปลี่ยนแปลงสังคมจนการเมืองของ Imagined Communities มีอิทธิพลกว่า Imagined Communities ในฐานะตัวบท และที่จริงการนำเข้าหนังสือเล่มนี้สู่ผู้อ่านภาษาไทยในยุคต้นก็เต็มไปด้วยการให้น้ำหนักต่อประเด็นประเภท "ชาตินิยมที่เป็นทางการ" / "ชาตินิยมโดยรัฐ" เพื่อตอบโจทย์การรื้อถอนความเป็นชาติและความเป็นไทยที่เป็นประเด็นยอดนิยมของปัญญาชนในยุค 2540-2550 ดังจะเห็นได้จากการเกิดบทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ประเภทความเป็นชาติในแบบเรียน การประกอบสร้างความเป็นชาติ หรือความเป็นนั้นความเป็นนี่ในแบบเรียน และการประกอบสร้างความเป็นนั่นความเป็นนี่จนแพร่ระบาดเป็นอุตสาหกรรมศึกษาการประกอบสร้างตามมาอีกหลายปี
แม้การนำเสนอ Imagined Communities แบบนี้จะสนุกและทำให้งานชิ้นนี้น่าอ่านในบรรดาผู้ใฝ่ใจวิพากษ์วิจารณ์และเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ถึงจุดหนึ่งมันก็ทำให้งานชิ้นนี้ถูกอ่านแบบเดียวจนกลายเป็นการสร้าง cliche ่เช่น "ความเป็นชาติเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง" "ชาติไม่มีมีอยู่จริง" ซึ่งถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นเพดานกำกับความเข้าใจเรื่องชาติให้เป็นสูตรสำเร็จใหม่ตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ชาติเพิ่งสร้าง=ชาติไมมีพลัง? , ชาติถูกสร้าง=ชาติไม่มีอยูจริง? การเปิดโปงว่าชาติถูกสร้าง = ความสามารถในการ bypass ไปสู่ Post-Nation ทันที?
ถ้าเปรียบเทียบงานเบนชิ้นนี้ให้เข้าใจง่ายๆ คือเป็นงานที่กระบวนท่าโด่งดังจนผู้อ่านสนุกสนานกับการหยิบยืมกระบวนท่าไปใช้สู้รบทางปัญญาในยุครื้อความเป็นชาติรื้อความเป็นไทย แต่เคล็ดวิชาที่เบนหยิบยืมมาจาก Mimesis และ Illuminations กลับเป็นสิ่งมีผู้พูดถึงน้อยมาก แม้กระทั่งบทที่เบนพูดเรื่องนี้ใน Imagined Communities ก็อาจมีคนพูดและใช้น้อยที่สุดด้วยเช่นกัน
ในฐานะที่ไม่ได้เป็นลูกศิษย์เบนและไม่ได้มี passion อะไรกับประโยคประเภท "ครูเบน" สิ่งที่ข้าพเจ้าจะนึกถึงเบนและงานชิ้นสำคัญของเขาเสมอก็คือความสามารถผสมแนวคิดที่ยากและซับซ้อนเรื่องประวัติศาสตร์และเวลา แล้วใช้มันอ่านเรื่องที่ "ง่ายๆ" อย่างการเมืองเปรียบเทียบและประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ นอกจากนั้นก็คือความเอาใจใส่และอ่านงานข้าพเจ้าอย่างละเอียดลออระดับรายบรรทัดของ Barbara Andayaชนิดที่ไม่เคยพบอาจารย์คนไหนในเมืองไทยทำแบบนี้ เช่นเดียวกับการระลึกถึง Charnvit Kasetsiri และธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ซึ่งทั้งสามคนนี้คงได้รับอิทธิพลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจาก "ครูเบน" Kokoro Soseki
จากเพจ. อ.ศิโรจน์
อ. เบเนดิก แอนเดอร์สันคนเขียน Imagined Communities ตายแล้วเหรอครับ
เชื่อมานานแล้วว่า Imagined Communities มีชะตากรรมเหมือนหนังสือสำคัญหลายเล่มซึ่งมักถูกใช้เพื่อผลักดันแนวคิดและการเปลี่ยนแปลงสังคมจนการเมืองของ Imagined Communities มีอิทธิพลกว่า Imagined Communities ในฐานะตัวบท และที่จริงการนำเข้าหนังสือเล่มนี้สู่ผู้อ่านภาษาไทยในยุคต้นก็เต็มไปด้วยการให้น้ำหนักต่อประเด็นประเภท "ชาตินิยมที่เป็นทางการ" / "ชาตินิยมโดยรัฐ" เพื่อตอบโจทย์การรื้อถอนความเป็นชาติและความเป็นไทยที่เป็นประเด็นยอดนิยมของปัญญาชนในยุค 2540-2550 ดังจะเห็นได้จากการเกิดบทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ประเภทความเป็นชาติในแบบเรียน การประกอบสร้างความเป็นชาติ หรือความเป็นนั้นความเป็นนี่ในแบบเรียน และการประกอบสร้างความเป็นนั่นความเป็นนี่จนแพร่ระบาดเป็นอุตสาหกรรมศึกษาการประกอบสร้างตามมาอีกหลายปี
แม้การนำเสนอ Imagined Communities แบบนี้จะสนุกและทำให้งานชิ้นนี้น่าอ่านในบรรดาผู้ใฝ่ใจวิพากษ์วิจารณ์และเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ถึงจุดหนึ่งมันก็ทำให้งานชิ้นนี้ถูกอ่านแบบเดียวจนกลายเป็นการสร้าง cliche ่เช่น "ความเป็นชาติเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง" "ชาติไม่มีมีอยู่จริง" ซึ่งถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นเพดานกำกับความเข้าใจเรื่องชาติให้เป็นสูตรสำเร็จใหม่ตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ชาติเพิ่งสร้าง=ชาติไมมีพลัง? , ชาติถูกสร้าง=ชาติไม่มีอยูจริง? การเปิดโปงว่าชาติถูกสร้าง = ความสามารถในการ bypass ไปสู่ Post-Nation ทันที?
ถ้าเปรียบเทียบงานเบนชิ้นนี้ให้เข้าใจง่ายๆ คือเป็นงานที่กระบวนท่าโด่งดังจนผู้อ่านสนุกสนานกับการหยิบยืมกระบวนท่าไปใช้สู้รบทางปัญญาในยุครื้อความเป็นชาติรื้อความเป็นไทย แต่เคล็ดวิชาที่เบนหยิบยืมมาจาก Mimesis และ Illuminations กลับเป็นสิ่งมีผู้พูดถึงน้อยมาก แม้กระทั่งบทที่เบนพูดเรื่องนี้ใน Imagined Communities ก็อาจมีคนพูดและใช้น้อยที่สุดด้วยเช่นกัน
ในฐานะที่ไม่ได้เป็นลูกศิษย์เบนและไม่ได้มี passion อะไรกับประโยคประเภท "ครูเบน" สิ่งที่ข้าพเจ้าจะนึกถึงเบนและงานชิ้นสำคัญของเขาเสมอก็คือความสามารถผสมแนวคิดที่ยากและซับซ้อนเรื่องประวัติศาสตร์และเวลา แล้วใช้มันอ่านเรื่องที่ "ง่ายๆ" อย่างการเมืองเปรียบเทียบและประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ นอกจากนั้นก็คือความเอาใจใส่และอ่านงานข้าพเจ้าอย่างละเอียดลออระดับรายบรรทัดของ Barbara Andayaชนิดที่ไม่เคยพบอาจารย์คนไหนในเมืองไทยทำแบบนี้ เช่นเดียวกับการระลึกถึง Charnvit Kasetsiri และธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ซึ่งทั้งสามคนนี้คงได้รับอิทธิพลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจาก "ครูเบน" Kokoro Soseki
จากเพจ. อ.ศิโรจน์