จขกท.จะมาเล่าพลางบ่นกับวรรณกรรมอิตาลีชิ้นเอกที่คลั่งไคล้มาตั้งนานและเพิ่งมีโอกาสอ่านจบไป
Dante Alighieri by Domenico di Michelino
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2010 ค่ายเกม EA ได้ปล่อยเกม Dante’s Inferno และอนิเมชัน Dante's Inferno: An Animated Epic ออกมา ทำให้จขกท.สนใจเป็นอย่างมากและพยายามขวนขวายหาข้อมูลของเกมนี้จนพบว่าแรงบันดาลใจของเกมนี้ก็คือ Inferno ของ Dante Alighieri กวีผู้เลื่องลือของอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 14
Dante's Inferno
Dante's Inferno: An Animated Epic
จากนั้นมาจขกท.ก็สนใจวนเวียนกับ Inferno ตั้งแต่หาหนังสือ The Dante Club ที่ว่าด้วยเรื่องของ Henry Wadsworth Longfellow ผู้แปล The Divine Comedy จากภาษาอิตาเลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษฉบับแรกสุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Matthew Pearl ได้นำมาโยงกับคดีฆาตกรรมปริศนาที่เลียนแบบทัณฑ์ทรมานจาก Inferno
หลังจากนั้นในช่วงปี 2011 ก็ได้หนังสือ The Dore’ Illustrations for Dante’s Divine Comedy ฉบับภาษาไทยมา ในช่วงนั้นสกิลภาษาอังกฤษของจขกท.ยังอ่อนด๋อยมาก จึงได้แต่ตามหาหนังสือเกี่ยวกับ The Divine Comedy ฉบับภาษาไทยอยู่เรื่อยจนมาพบกับหนังสือภาพเข้าเล่มนี้เข้า หลังจากนั้นในช่วงปี 2012 จขกท.ก็หาญกล้าปีกแข็งซื้อ The Divine Comedy of Dante Alighieri Inferno มาตั้งใจว่าสักวันจะอ่านให้จบให้จงได้
The Dore’ Illustrations for Dante’s Divine Comedy
The Divine Comedy of Dante Alighieri Inferno
แต่ผลปรากฏว่าอ่านจบไปได้เพียงแค่แคนโต้เดียวก็วางซุกทิ้งไว้มานานเกือบ 3 ปี และในช่วงปี 2014 Inferno ของ Dan Brown ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Inferno ของ Dante ก็ออกกมาให้นักอ่านได้ชื่นใจพร้อมกับจุดกระแสความสนใจจนของจขกท.อีกครั้ง และเมื่อช่วงตุลาคมที่ผ่านมา จขกท.เห็นว่าสกิลการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้นมากแล้วจึงได้ตัดสินใจจับ Inferno มาอ่านอีกครั้ง
Inferno Dan Brown
The Divine Comedy เป็นวรรณกรรมเอกของอิตาลีที่ผู้เขียน Dante Alighieri ได้จินตนาการว่าตนได้เดินทางท่อง Inferno Purgatory และ Paradise โดยมี Virgil กวีเอกของโรมันผู้แต่ง The Aeneid เป็นผู้นำทางตามคำขอร้องของ Beatrice คนรักที่จากไปของ Dante ซึ่งก็มีคนมักยกเทียบกับไตรภูมิพระร่วงของไทยอยู่บ่อยครั้ง และมักเรียกล้อเลียน The Divine Comedy ว่า ไตรภูมิดานเต้ ซึ่งความคล้ายคลึงกันนี้ก็คงเป็นธีมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นหลัก ทำให้ผู้ที่ไม่เคยสัมผัสมักยกไปเปรียบเทียบกันเสมอ
The Divine Comedy เป็นบทกวีกลอนเปล่า 3 บรรทัดที่เรียกว่าแคนโต้ โดยใน The Divine Comedy แต่ละแคนโต้จะมี 136-160 บรรทัด และมีทั้งหมด 100 แค้นโต้ แบ่งเป็น Inferno 34 แคนโต้ Purgatory 33 แคนโต้ และ Paradise 33 แคนโต้
เนื้อหาทั้งหมดจะแบ่งเป็นสามภาค
ภาคแรก Inferno
เริ่มที่ใจกลางป่าทึบ Dante หลงทางจากเส้นทางที่ถูกต้อง เมื่อจะเดินขึ้นเขาก็ถูกสัตว์ร้าย 3 ชนิดขวางไว้ จึงหันหลังกลับเดินลงเขาและเจอ Virgil กวีเอกแห่งยุคโรมันผู้จะนำทางเขาไปยังเส้นทางที่ถูกต้องอีกครา จากนั้น Virgil ก็นำทาง Dante ลงไปยัง Inferno ตอนที่จขกท.อ่าน Inferno จะเห็นได้ชัดเจนว่า Dante ดึงเอาอิทธิพลของงานเขียนยุคกรีกมาใช้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ชื่อแม่น้ำทุกสายยังใช้ชื่อเดียวกับแม่น้ำในปรกรณัมกรีก สิ่งมีชิวิตต่างๆก็เอาจากปรณัมกรีกอย่างชัดเจน หรืออาจเรียกได้ว่านรกของ Dante อิงความเชื่อแบบกรีกแต่จะมีแตกต่างกันบ้าง โดย Inferno จะแบ่งได้เป็น 9 ชั้น ได้แก่ Limbo, ราคะ (The Lustful) , ตะกละ (The Gluttonous) , โลภและตระหนี่ (The Avaricious & Prodigal),โกรธและขี้โมโห The Wrathful and Sullen ,นอกรีต (Th
tics),ความรุนแรง ( The Violence) , การหลอกลวง (Fraud) , การทรยศ (Treachery)
Inferno
Three Beasts by William Blake
ในบรรดานรกทั้ง 9 ชั้นจขกท. ประทับใจชั้นที่ 8 ที่สุดเพราะในชั้นนี้เองมีการลงทัณฑ์ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ Dante คือการลงโทษพวก Simonist หรือผู้ที่ทำการทุจริตเพื่อให้ได้ตำแหน่งทางศาสนา ลงทัณฑ์ด้วยการเอาหัวห้อยลงในหลุมที่ขุดพอดีกับตัว และบนฝ่าเท้าทั้งสองข้างมีไฟลุกอยู่ และเช่นกันที่ชั้นนี้มีการเปลี่ยนร่าง หรือ Metamorphosis ของคนกับงูอันสุดพิศดารจนทำให้ Dante เหนือกว่ากวีคนอื่นๆ
Pope Nicholas III by Suloni Robertson
Vanni Fucci by Suloni Robertson
Thieves by Gustave Dore
ภาคที่ 2 Purgatory
Purgatory หรืออาจเรียกว่าแดนชำระบาปนี่เป็นแนวความคิดที่เราไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไร แต่พอจะกล่าวได้ว่าใครที่ทำบาปไว้แล้วสำนึกก่อนตายจะได้มายังที่แห่งนี้เพื่อชดใช้บาปด้วยความสำนึก โดยแดนนี้จะเป็นภูเขาสูง 7 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นสวน Eden หรือสวรรค์บนผืนพิภพ
Mount Purgatory
Parade by Gustave Dore
ภาคที่ 3 Paradise
เป็นสวรรค์ตามคติความเชื่อแบบโบราณซึ่งจะเรียงลำดับตามจักรวาลวิทยาแบบเก่าของปโทเลมี โดยชั้นบนสุดคือ The Empyrean เป็นดอกกุหลาบซึ่งเป็นที่ประทับของบุคคลในศาสนาคริสต์ตั้งแต่พันธสัญญาเก่าและพันธสัญญาใหม่
Paradise
The Empyrean by Gustave Dore
แม้ว่า The Divine Comedy จะเป็นวรรณกรรมศาสนาแต่แท้จริงแล้วเบื้องหลังคือการวิพากษ์การเมืองและศาสนาในบริบทสังคมอิตาเลียนที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน โดยในช่วงศตวรรษที่ 12-13 อิตาลีแตกแยกด้วยกลุ่มก้อนทางการเมืองจากการสนับสนุนจักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ของกลุ่ม Ghibellines (กิเบอรีน) และกลุ่มผู้สนับสนุนพระสันตปาปาของกลุ่ม Guelphs (เกวลฟ์) และ Dante ก็เป็นสมาชิกกลุ่ม Guelph แห่งเมือง Florence และแม้ว่ากลุ่ม Ghibellineจะแพ้ไปความขัดแย้งก็คงอยู่ เนื่องจากพวกเกวลฟ์ได้แตกเป็นเป็น White Guelph และ Black Guelph ซึ่งพวก Black Guelph แพ้และไปขอความช่วยเหลือจากพระสันตปาปา Boniface VIII ทำให้พวก White Guelph ที่ Dante สังกัดอยู่โดนเนรเทศออกจากบ้านเกิดตัวเองไป ในระหว่างโดนเนรเทศนี้เอง Dante จึงได้เขียน The Divine Comedy ขึ้นมา ซึ่งภายหลังความคิดของ Dante เปลี่ยนไปโดยแสดงให้เห็นใน Purgatory และ Paradise ว่า Dante มีใจสนับสนุนฝั่งจักรพรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์โรมัน และเห็นว่าจักรพรรดิโรมันคือตัวแทนของความยุติธรรมอันศักสิทธิ์ที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์ มากกว่าอำนาจฝ่ายสันตปาปาซึ่งมีอำนาจเกินไปและได้เสื่อมถอยลงจากความชอบธรรม และในกาลต่อมาอำนาจของสันตปาปายิ่งเสื่อมถอยมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดต่ำสุดในช่วงศตวรรษที่ 14-15และนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16
Painting of the Guelph and Ghibelline families, by Ottavio Baussano
จขทกท. อ่าน The Divine Comedy จากฉบับแปลของ Allen Mandelbaum ซึ่งเป็นฉบับที่แปลในยุคใหม่แล้วภาษาจึงไม่มีความยากเท่าไร แต่กระนั้นก็ยังเปิดเทียบกับฉบับของ Henry Wadsworth Longfellow และของ A. S. Kline เพื่อใจความที่สมบูรณ์ ใจจริงก็อยากอ่านฉบับ Longfellow เพราะเป็นฉบับที่ Matthew Pearl ใช้เขียน The Dante Club แต่ภาษาเก่าเกินไปและเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ ฉบับของ Longfellow ส่วนใหญ่ที่แต่เนื้อหาและภาพประกอบของ Gustave Dore แต่ไม่มีเนื้อหาส่วนของ Note อธิบายบริบทตัวหนังสือซึ่งยิ่งเนื้อหาเก่าการมีเชิงอรรถอธิบายจะทำให้เข้าใจหนังสือได้ดีกว่า
ฉบับที่จขกท. อ่านใช้ฉบับของ Everyman's Library แปลโดย Allen Mandelbaum
ปล.ปีหน้าจะมี Inferno แปลไทยออกมาแล้วด้วยนะ
อ่านเล่า The Divine Comedy
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2010 ค่ายเกม EA ได้ปล่อยเกม Dante’s Inferno และอนิเมชัน Dante's Inferno: An Animated Epic ออกมา ทำให้จขกท.สนใจเป็นอย่างมากและพยายามขวนขวายหาข้อมูลของเกมนี้จนพบว่าแรงบันดาลใจของเกมนี้ก็คือ Inferno ของ Dante Alighieri กวีผู้เลื่องลือของอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 14
จากนั้นมาจขกท.ก็สนใจวนเวียนกับ Inferno ตั้งแต่หาหนังสือ The Dante Club ที่ว่าด้วยเรื่องของ Henry Wadsworth Longfellow ผู้แปล The Divine Comedy จากภาษาอิตาเลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษฉบับแรกสุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Matthew Pearl ได้นำมาโยงกับคดีฆาตกรรมปริศนาที่เลียนแบบทัณฑ์ทรมานจาก Inferno
หลังจากนั้นในช่วงปี 2011 ก็ได้หนังสือ The Dore’ Illustrations for Dante’s Divine Comedy ฉบับภาษาไทยมา ในช่วงนั้นสกิลภาษาอังกฤษของจขกท.ยังอ่อนด๋อยมาก จึงได้แต่ตามหาหนังสือเกี่ยวกับ The Divine Comedy ฉบับภาษาไทยอยู่เรื่อยจนมาพบกับหนังสือภาพเข้าเล่มนี้เข้า หลังจากนั้นในช่วงปี 2012 จขกท.ก็หาญกล้าปีกแข็งซื้อ The Divine Comedy of Dante Alighieri Inferno มาตั้งใจว่าสักวันจะอ่านให้จบให้จงได้
แต่ผลปรากฏว่าอ่านจบไปได้เพียงแค่แคนโต้เดียวก็วางซุกทิ้งไว้มานานเกือบ 3 ปี และในช่วงปี 2014 Inferno ของ Dan Brown ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Inferno ของ Dante ก็ออกกมาให้นักอ่านได้ชื่นใจพร้อมกับจุดกระแสความสนใจจนของจขกท.อีกครั้ง และเมื่อช่วงตุลาคมที่ผ่านมา จขกท.เห็นว่าสกิลการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้นมากแล้วจึงได้ตัดสินใจจับ Inferno มาอ่านอีกครั้ง
The Divine Comedy เป็นวรรณกรรมเอกของอิตาลีที่ผู้เขียน Dante Alighieri ได้จินตนาการว่าตนได้เดินทางท่อง Inferno Purgatory และ Paradise โดยมี Virgil กวีเอกของโรมันผู้แต่ง The Aeneid เป็นผู้นำทางตามคำขอร้องของ Beatrice คนรักที่จากไปของ Dante ซึ่งก็มีคนมักยกเทียบกับไตรภูมิพระร่วงของไทยอยู่บ่อยครั้ง และมักเรียกล้อเลียน The Divine Comedy ว่า ไตรภูมิดานเต้ ซึ่งความคล้ายคลึงกันนี้ก็คงเป็นธีมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นหลัก ทำให้ผู้ที่ไม่เคยสัมผัสมักยกไปเปรียบเทียบกันเสมอ
The Divine Comedy เป็นบทกวีกลอนเปล่า 3 บรรทัดที่เรียกว่าแคนโต้ โดยใน The Divine Comedy แต่ละแคนโต้จะมี 136-160 บรรทัด และมีทั้งหมด 100 แค้นโต้ แบ่งเป็น Inferno 34 แคนโต้ Purgatory 33 แคนโต้ และ Paradise 33 แคนโต้
เนื้อหาทั้งหมดจะแบ่งเป็นสามภาค
เริ่มที่ใจกลางป่าทึบ Dante หลงทางจากเส้นทางที่ถูกต้อง เมื่อจะเดินขึ้นเขาก็ถูกสัตว์ร้าย 3 ชนิดขวางไว้ จึงหันหลังกลับเดินลงเขาและเจอ Virgil กวีเอกแห่งยุคโรมันผู้จะนำทางเขาไปยังเส้นทางที่ถูกต้องอีกครา จากนั้น Virgil ก็นำทาง Dante ลงไปยัง Inferno ตอนที่จขกท.อ่าน Inferno จะเห็นได้ชัดเจนว่า Dante ดึงเอาอิทธิพลของงานเขียนยุคกรีกมาใช้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ชื่อแม่น้ำทุกสายยังใช้ชื่อเดียวกับแม่น้ำในปรกรณัมกรีก สิ่งมีชิวิตต่างๆก็เอาจากปรณัมกรีกอย่างชัดเจน หรืออาจเรียกได้ว่านรกของ Dante อิงความเชื่อแบบกรีกแต่จะมีแตกต่างกันบ้าง โดย Inferno จะแบ่งได้เป็น 9 ชั้น ได้แก่ Limbo, ราคะ (The Lustful) , ตะกละ (The Gluttonous) , โลภและตระหนี่ (The Avaricious & Prodigal),โกรธและขี้โมโห The Wrathful and Sullen ,นอกรีต (Thtics),ความรุนแรง ( The Violence) , การหลอกลวง (Fraud) , การทรยศ (Treachery)
ในบรรดานรกทั้ง 9 ชั้นจขกท. ประทับใจชั้นที่ 8 ที่สุดเพราะในชั้นนี้เองมีการลงทัณฑ์ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ Dante คือการลงโทษพวก Simonist หรือผู้ที่ทำการทุจริตเพื่อให้ได้ตำแหน่งทางศาสนา ลงทัณฑ์ด้วยการเอาหัวห้อยลงในหลุมที่ขุดพอดีกับตัว และบนฝ่าเท้าทั้งสองข้างมีไฟลุกอยู่ และเช่นกันที่ชั้นนี้มีการเปลี่ยนร่าง หรือ Metamorphosis ของคนกับงูอันสุดพิศดารจนทำให้ Dante เหนือกว่ากวีคนอื่นๆ
Purgatory หรืออาจเรียกว่าแดนชำระบาปนี่เป็นแนวความคิดที่เราไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไร แต่พอจะกล่าวได้ว่าใครที่ทำบาปไว้แล้วสำนึกก่อนตายจะได้มายังที่แห่งนี้เพื่อชดใช้บาปด้วยความสำนึก โดยแดนนี้จะเป็นภูเขาสูง 7 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นสวน Eden หรือสวรรค์บนผืนพิภพ
เป็นสวรรค์ตามคติความเชื่อแบบโบราณซึ่งจะเรียงลำดับตามจักรวาลวิทยาแบบเก่าของปโทเลมี โดยชั้นบนสุดคือ The Empyrean เป็นดอกกุหลาบซึ่งเป็นที่ประทับของบุคคลในศาสนาคริสต์ตั้งแต่พันธสัญญาเก่าและพันธสัญญาใหม่
แม้ว่า The Divine Comedy จะเป็นวรรณกรรมศาสนาแต่แท้จริงแล้วเบื้องหลังคือการวิพากษ์การเมืองและศาสนาในบริบทสังคมอิตาเลียนที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน โดยในช่วงศตวรรษที่ 12-13 อิตาลีแตกแยกด้วยกลุ่มก้อนทางการเมืองจากการสนับสนุนจักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ของกลุ่ม Ghibellines (กิเบอรีน) และกลุ่มผู้สนับสนุนพระสันตปาปาของกลุ่ม Guelphs (เกวลฟ์) และ Dante ก็เป็นสมาชิกกลุ่ม Guelph แห่งเมือง Florence และแม้ว่ากลุ่ม Ghibellineจะแพ้ไปความขัดแย้งก็คงอยู่ เนื่องจากพวกเกวลฟ์ได้แตกเป็นเป็น White Guelph และ Black Guelph ซึ่งพวก Black Guelph แพ้และไปขอความช่วยเหลือจากพระสันตปาปา Boniface VIII ทำให้พวก White Guelph ที่ Dante สังกัดอยู่โดนเนรเทศออกจากบ้านเกิดตัวเองไป ในระหว่างโดนเนรเทศนี้เอง Dante จึงได้เขียน The Divine Comedy ขึ้นมา ซึ่งภายหลังความคิดของ Dante เปลี่ยนไปโดยแสดงให้เห็นใน Purgatory และ Paradise ว่า Dante มีใจสนับสนุนฝั่งจักรพรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์โรมัน และเห็นว่าจักรพรรดิโรมันคือตัวแทนของความยุติธรรมอันศักสิทธิ์ที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์ มากกว่าอำนาจฝ่ายสันตปาปาซึ่งมีอำนาจเกินไปและได้เสื่อมถอยลงจากความชอบธรรม และในกาลต่อมาอำนาจของสันตปาปายิ่งเสื่อมถอยมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดต่ำสุดในช่วงศตวรรษที่ 14-15และนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16
จขทกท. อ่าน The Divine Comedy จากฉบับแปลของ Allen Mandelbaum ซึ่งเป็นฉบับที่แปลในยุคใหม่แล้วภาษาจึงไม่มีความยากเท่าไร แต่กระนั้นก็ยังเปิดเทียบกับฉบับของ Henry Wadsworth Longfellow และของ A. S. Kline เพื่อใจความที่สมบูรณ์ ใจจริงก็อยากอ่านฉบับ Longfellow เพราะเป็นฉบับที่ Matthew Pearl ใช้เขียน The Dante Club แต่ภาษาเก่าเกินไปและเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ ฉบับของ Longfellow ส่วนใหญ่ที่แต่เนื้อหาและภาพประกอบของ Gustave Dore แต่ไม่มีเนื้อหาส่วนของ Note อธิบายบริบทตัวหนังสือซึ่งยิ่งเนื้อหาเก่าการมีเชิงอรรถอธิบายจะทำให้เข้าใจหนังสือได้ดีกว่า
ปล.ปีหน้าจะมี Inferno แปลไทยออกมาแล้วด้วยนะ