รายงานฉบับใหม่ของธนาคารโลกเรื่อง Scaling up HIV Treatment for MSM in Bangkok: What Does it Take? พบว่ากรุงเทพมหานครกำลังประสบปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชาย การเพิ่มการให้บริการและกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย เข้ารับบริการตรวจและรักษาเชื้อเอชไอวีฟรีและเป็นความลับนั้นจะช่วยหยุดยั้งการระบาดและลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีได้ถึงครึ่งใน 10 ปีข้างหน้า
โครงการแก้ปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวีในไทยที่ผ่านมามุ่งเป้าไปที่หญิงขายบริการกับผู้ซื้อบริการ และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การดำเนินการเพื่อรับมือกับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายยังคงมีอย่างจำกัด ส่งผลให้กลุ่มชายรักชายในไทยยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระดับสูงมาโดยตลอดและยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจำนวนชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวีในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 28 ในปี 2555 จากจำนวนประชากรชายรักชายทั้งเมืองราว 120,000-250,000 คน
รายงานฉบับใหม่นี้ได้เสนอกลยุทธ์ด้านสุขภาพและสาธารณสุข เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตและลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ได้ถึงครึ่งภายในปี 2565 รายงานการวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลก ภายใต้ความร่วมมือจากสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)—โดยได้เรียกร้องให้มีการเข้ารับบริการตรวจและรักษามากขึ้น คลีนิคเพื่อสุขภาพสาธารณะมีพร้อมให้บริการอยู่แล้วโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและเป็นความลับ
"การตรวจและรักษาเชื้อเอชไอวี/เอดส์สามารถช่วยชีวิตคน รักษาสุขภาพ และป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้” นายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว“การที่มีบริการตรวจและรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสถานพยาบาลและสถานีอนามัยชุมชนต่าง ๆ มากมายสามารถช่วยให้ไทยชะลอ หรือแม้กระทั่งหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายและกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ในกรุงเทพมหานครได้ เราต้องเริ่มทำเดี๋ยวนี้”
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการตรวจเชื้อเอชไอวีมีจำนวนน้อย ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีคลินิกและบุคลากรทางการแพทย์มากพอที่จะรองรับการตรวจและรักษาชายรักชายทุกคน ขณะนี้มีเพียง 1 ใน 5 ของกลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัส (ART) เท่านั้น ทั้งที่พวกเขาสามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
“ยิ่งคุณไปตรวจเชื้อเอชไอวีเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเข้ารับการรักษาและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วเท่านั้น”ดร.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าว “เมื่อคุณรู้สถานะของตนเองแล้ว เชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ก็เหมือนโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่คุณเพียงต้องกินยาทุกวันและดูแลสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง”
รายงานฉบับนี้เสนอว่าหากใช้บริการจากสถานพยาบาลที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มศักยภาพ ชายรักชายอีกราว 43,000 คนจะได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี และผู้ติดเชื้อจำนวน 5,100 คนจะได้รักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในปี 2565 ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนชายรักชายในกรุงเทพฯ ที่จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 44 ได้ภายในปี 2565 โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม หากเพิ่มงบลงทุนอีก 55.3 ล้านเหรียญภายในทศวรรษหน้า กรุงเทพมหานครจะบรรลุการรักษาอย่างถ้วนหน้าตามระยะเวลาเดิมโดยสามารถให้การรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัสในกลุ่มชายรักชายได้อีก 12,600 คน
รายงานได้ระบุตัวอย่างแนวคิดริเริ่มที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการตรวจจากคลินิกสาธารณะ อาทิ การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมให้อยากเข้ามารับการตรวจและติดตามผล เว็บไซต์ Gay Bangkok ที่รณรงค์ให้ชายรักชายมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและตรวจหาเชื้อเอชไอวี รวมทั้งยังได้จัดให้มีคลินิกเคลื่อนที่ตอนกลางคืนไปประจำตามจุดต่างๆ ที่กลุ่มชายรักชายนิยมไป และจัดศูนย์ตรวจอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวของชายรักชายในกรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกในการตรวจ
“การที่จะยกระดับความพยายามเพื่อยุติการระบาดของเอดส์ทั่วโลกให้ได้ภายในพ.ศ.2573 นั้น จำต้องอาศัยการด้าน ชีวการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการปรับโครงสร้างเข้าด้วยกัน” นายเดวิด วิลสัน ผู้อำนวยการโครงการเอดส์โลกของธนาคารโลก กล่าว“ด้วยมีโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ที่พร้อมด้วยคุณภาพที่มีอยู่แล้ว กรุงเทพมหานครมีโอกาสที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วย 5,000 รายและลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ถึงครึ่งภายในปี 2565 และสามารถเป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆ ต่อไป”
รายงานการวิจัยนี้เรียบเรียงโดยทีมนักวิจัยจากสถาบันเคอร์บีในสังกัดมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ สภากาชาดไทย และธนาคารโลก รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์แลนเซ็ต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก worldbank.org
Report by LIV Capsule
การเพิ่มการตรวจและรักษาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ฟรีและเป็นความลับช่วยชีวิตคนจำนวนมาก
โครงการแก้ปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวีในไทยที่ผ่านมามุ่งเป้าไปที่หญิงขายบริการกับผู้ซื้อบริการ และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การดำเนินการเพื่อรับมือกับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายยังคงมีอย่างจำกัด ส่งผลให้กลุ่มชายรักชายในไทยยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระดับสูงมาโดยตลอดและยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจำนวนชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวีในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 28 ในปี 2555 จากจำนวนประชากรชายรักชายทั้งเมืองราว 120,000-250,000 คน
รายงานฉบับใหม่นี้ได้เสนอกลยุทธ์ด้านสุขภาพและสาธารณสุข เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตและลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ได้ถึงครึ่งภายในปี 2565 รายงานการวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลก ภายใต้ความร่วมมือจากสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)—โดยได้เรียกร้องให้มีการเข้ารับบริการตรวจและรักษามากขึ้น คลีนิคเพื่อสุขภาพสาธารณะมีพร้อมให้บริการอยู่แล้วโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและเป็นความลับ
"การตรวจและรักษาเชื้อเอชไอวี/เอดส์สามารถช่วยชีวิตคน รักษาสุขภาพ และป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้” นายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว“การที่มีบริการตรวจและรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสถานพยาบาลและสถานีอนามัยชุมชนต่าง ๆ มากมายสามารถช่วยให้ไทยชะลอ หรือแม้กระทั่งหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายและกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ในกรุงเทพมหานครได้ เราต้องเริ่มทำเดี๋ยวนี้”
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการตรวจเชื้อเอชไอวีมีจำนวนน้อย ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีคลินิกและบุคลากรทางการแพทย์มากพอที่จะรองรับการตรวจและรักษาชายรักชายทุกคน ขณะนี้มีเพียง 1 ใน 5 ของกลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัส (ART) เท่านั้น ทั้งที่พวกเขาสามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
“ยิ่งคุณไปตรวจเชื้อเอชไอวีเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเข้ารับการรักษาและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วเท่านั้น”ดร.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าว “เมื่อคุณรู้สถานะของตนเองแล้ว เชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ก็เหมือนโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่คุณเพียงต้องกินยาทุกวันและดูแลสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง”
รายงานฉบับนี้เสนอว่าหากใช้บริการจากสถานพยาบาลที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มศักยภาพ ชายรักชายอีกราว 43,000 คนจะได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี และผู้ติดเชื้อจำนวน 5,100 คนจะได้รักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในปี 2565 ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนชายรักชายในกรุงเทพฯ ที่จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 44 ได้ภายในปี 2565 โดยใช้งบประมาณเท่าเดิม หากเพิ่มงบลงทุนอีก 55.3 ล้านเหรียญภายในทศวรรษหน้า กรุงเทพมหานครจะบรรลุการรักษาอย่างถ้วนหน้าตามระยะเวลาเดิมโดยสามารถให้การรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัสในกลุ่มชายรักชายได้อีก 12,600 คน
รายงานได้ระบุตัวอย่างแนวคิดริเริ่มที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการตรวจจากคลินิกสาธารณะ อาทิ การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมให้อยากเข้ามารับการตรวจและติดตามผล เว็บไซต์ Gay Bangkok ที่รณรงค์ให้ชายรักชายมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและตรวจหาเชื้อเอชไอวี รวมทั้งยังได้จัดให้มีคลินิกเคลื่อนที่ตอนกลางคืนไปประจำตามจุดต่างๆ ที่กลุ่มชายรักชายนิยมไป และจัดศูนย์ตรวจอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวของชายรักชายในกรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกในการตรวจ
“การที่จะยกระดับความพยายามเพื่อยุติการระบาดของเอดส์ทั่วโลกให้ได้ภายในพ.ศ.2573 นั้น จำต้องอาศัยการด้าน ชีวการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการปรับโครงสร้างเข้าด้วยกัน” นายเดวิด วิลสัน ผู้อำนวยการโครงการเอดส์โลกของธนาคารโลก กล่าว“ด้วยมีโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ที่พร้อมด้วยคุณภาพที่มีอยู่แล้ว กรุงเทพมหานครมีโอกาสที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วย 5,000 รายและลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ถึงครึ่งภายในปี 2565 และสามารถเป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆ ต่อไป”
รายงานการวิจัยนี้เรียบเรียงโดยทีมนักวิจัยจากสถาบันเคอร์บีในสังกัดมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ สภากาชาดไทย และธนาคารโลก รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์แลนเซ็ต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก worldbank.org
Report by LIV Capsule