คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ดูจาก 5 forces ตามนี้นะครับ
PB
- อำนาจต่อรองกับ supplier มีพอสมควรเพราะซื้อวัตถุดิบมากที่สุดในธุรกิจขนมปังและมากลำดับต้นๆของอุตสาหกรรมอาหาร
- อำนาจต่อรองกับลูกค้า เยอะที่สุดในตลาดเพราะลูกค้าโดยตรงคือช่องทางการขายนั้นครอบคลุมทั่วประเทศ แม้จะมีคนเถียงว่าพึ่งกับ 7-11 อนาคตจะต้องตาย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าไม่พึ่งนี่สิแปลกเพราะตัวเขาเองก็ครอบคลุมทุกช่องทางอยู่แล้ว ถ้าโตกับ 7-11 ไปด้วยก็ยิ่งดี คนที่ควรจะกลุ้มใจกว่าคงไม่ใช่ PB หรอกครับ ควรจะเป็นขนมและเครื่องดื่มทั้งหลายที่ยังขายผ่าน 7-11 ราว 60% ของยอดขาย
- สินค้าทดแทนในแง่คุณค่าก็หาได้ยาก เพราะถ้าเปรียบเทียบว่าซื้อขนมปังของบริษัทนี้ จะซื้ออะไรให้กินแล้วอิ่มและได้ราคาใกล้ๆกันก็หาลำบาก แค่ข้าวแกงก็ 40-45บาทไปแล้ว
- การแข่งขันก็ไม่รุนแรง เพราะจริงๆแล้วกับเซเว่นก็อยู่ในจุดพึ่งพากัน ส่วนสินค้า housebrand ของเซเว่นก็จับ segment กลุ่มเฉพาะไป
- คู่แข่งหน้าใหม่จะเข้ามาก็ยากมากครับธุรกิจนี้ใครอยากเข้ามาใหม่ก็ขาดทุนยาวไป 10 ปี ถ้าไม่มีช่องทางหรือลูกค้าในมือรองรับเพราะเป็นสินค้าสด ถ้าขายน้อยก็ขาดทุน วางสินค้ามากเกินไปก็เหลือเยอะกลายเป็นต้นทุนก็ขาดทุนอีก
ธุรกิจ PR
- สินค้าทดแทน : จริงๆมาม่าเส้นขาวควรจะเป็นสินค้าทดแทนของมาม่าเส้นเหลืองด้วยซ้ำ แต่มันแทนไม่ได้ก็เลยถูกมาม่าเส้นเหลืองกลับมาเป็นสินค้าทดแทนของมาม่าเส้นขาว ถามว่าทำไม? สิ่งที่ผู้บริหารก็พูดเองว่า ผู้บริโภคมีความคิดว่ามาม่าเส้นขาวไม่ควรขายแพงกว่าเส้นเหลือง เอาแค่นี้ แค่โตก็ยากแล้วครับ เพราะวอลุ่มการขายก็น้อย จะทดแทนสินค้าหลักก็ไม่ได้ ขายแพงกว่าก็ไม่ได้ แทนที่ตัวเองจะไปแทนเลยกลับถูกแทนด้วยสินค้าหลัก
- อำนาจต่อรองกับ supplier : สังเกตได้จากนโนบายของหลายรัฐบาลเช่นการจำนำข้าว การประกันราคาข้าว เมื่อมีการพยุงต้นทุนวัตถุดิบไว้ ก็ทำให้บริษัทไม่สามารถจะต่อรองราคาได้เยอะโดยเฉพาะในเวลาที่ควรจะได้ประโยชน์ก็ได้ไม่เยอะ บางรัฐบาลเข้ามาช่วยชาวนา PR ก็เจ็บเต็มๆ ลองย้อนดูข้อมูลในช่วงจำนำข้าวได้ครับแล้วจะเห็นภาพ
- อำนาจต่อรองกับลูกค้า : แทบไม่มีครับเพราะไม่ได้ขายสินค้าไปถึงผู้บริโภคโดยตรง ต้องขายผ่านตัวกลางคือบริษัทในเครือสหพัฒน์ หรือขายผ่านตัวแทนอื่นๆ หรือช่องทางอื่นๆ ทำให้วงจรเงินสดเป็นบวกค่อนข้างเยอะ ขึ้นราคาก็ไม่ได้ ตามที่บอกในข้อสินค้าทดแทนด้านบน
- การแข่งขันในอุตสาหกรรม : ไวไวก็ทำได้ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ตัวนี้นะครับ ลองดูตามร้านอาหารตามสั่งหรือร้านก๋วยเตี๋ยวได้ หลายร้านใช้ไวไวนะครับ แม่ผมเองบะหมี่เส้นขาวก็ซื้อไวไว แต่เวลาบ้านผมซื้อบะหมี่เส้นเหลืองซื้อมาม่า แปลกมั้ย? จริงๆหลายบ้านก็เป็นโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- คู่แข่งหน้าใหม่ที่อาจเข้ามา : ผมว่าในตลาดบะหมี่เส้นขาวคงไม่มีใครอยากเข้ามาเพราะตลาดมันเล็ก มีผู้เล่น 2 คนก็คงพอแล้ว ไม่จูงใจให้คนเข้ามาเพิ่ม แต่สินค้าที่อาจมีคนเข้ามาลองของเรื่อยๆน่าจะเป็นโจ๊กมากกว่าครับ
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไม PB ถือเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งเติบโตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจและมีกำไรเติบโตทุกปีนับแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 11 ปีติดต่อกัน แต่ PR กำไรลุ่มๆดอนๆ เพราะไม่สามารถคุมชะตาตัวเองได้แม้บางปีเศรษฐกิจดีแต่กำไรก็ไม่ดี และปีนี้เศรษฐกิจไม่ดีทั้งยอดขายและกำไรก็ลดลง
โครงสร้างธุรกิจ
- PB นั้นมี 5 forces ที่ผ่านเกณฑ์
- PR ถ้านับเฉพาะตัวธุรกิจบะหมี่เส้นขาวและโจ๊ก ผมมองว่าไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ข้อ และผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ
ส่วนตัวผมเชื่อว่าธุรกิจเกรด A ถือหุ้นธุรกิจเกรด A มันก็ยังเป็นเกรด A อยู่เพราะมันไม่ได้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงไป
แต่ธุรกิจเกรด A ไปรวมกับธุรกิจเกรด B ผมไม่เคยเชื่อว่ามันจะกลายเป็น A ได้ แม้ว่าในกรณีนี้ PR จะเป็นแค่ผู้ถือหุ้นแบบไร้ synergy ในแง่ operations ก็ตาม
และตัวผมก็ไม่เคยเชื่อเหมือนนักเล่นหุ้นในการใช้ model sum-of-part หรือเชื่อว่าลงทุนในบริษัทที่ถือหุ้นบริษัทดีๆแล้วจะได้คุณค่าที่ดีไปด้วย เพราะของจริงคือต้องลงทุนโดยตรงในบริษัทที่ดี
ส่วนคนที่บอกว่ามีบริษัทอื่นดีกว่านี้ ก็มีดีกว่านี้จริง แต่ลองไปหาดูเถอะครับ ธุรกิจสุดยอดแบบนี้ ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย ผมเชื่อว่ามีไม่ถึง 10 ตัว เอาแค่ 5 ตัวยังหาได้สบาย แต่ให้หาตัวที่ 6-10 ผมก็นึกออกลำบากแล้ว
PB
- อำนาจต่อรองกับ supplier มีพอสมควรเพราะซื้อวัตถุดิบมากที่สุดในธุรกิจขนมปังและมากลำดับต้นๆของอุตสาหกรรมอาหาร
- อำนาจต่อรองกับลูกค้า เยอะที่สุดในตลาดเพราะลูกค้าโดยตรงคือช่องทางการขายนั้นครอบคลุมทั่วประเทศ แม้จะมีคนเถียงว่าพึ่งกับ 7-11 อนาคตจะต้องตาย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าไม่พึ่งนี่สิแปลกเพราะตัวเขาเองก็ครอบคลุมทุกช่องทางอยู่แล้ว ถ้าโตกับ 7-11 ไปด้วยก็ยิ่งดี คนที่ควรจะกลุ้มใจกว่าคงไม่ใช่ PB หรอกครับ ควรจะเป็นขนมและเครื่องดื่มทั้งหลายที่ยังขายผ่าน 7-11 ราว 60% ของยอดขาย
- สินค้าทดแทนในแง่คุณค่าก็หาได้ยาก เพราะถ้าเปรียบเทียบว่าซื้อขนมปังของบริษัทนี้ จะซื้ออะไรให้กินแล้วอิ่มและได้ราคาใกล้ๆกันก็หาลำบาก แค่ข้าวแกงก็ 40-45บาทไปแล้ว
- การแข่งขันก็ไม่รุนแรง เพราะจริงๆแล้วกับเซเว่นก็อยู่ในจุดพึ่งพากัน ส่วนสินค้า housebrand ของเซเว่นก็จับ segment กลุ่มเฉพาะไป
- คู่แข่งหน้าใหม่จะเข้ามาก็ยากมากครับธุรกิจนี้ใครอยากเข้ามาใหม่ก็ขาดทุนยาวไป 10 ปี ถ้าไม่มีช่องทางหรือลูกค้าในมือรองรับเพราะเป็นสินค้าสด ถ้าขายน้อยก็ขาดทุน วางสินค้ามากเกินไปก็เหลือเยอะกลายเป็นต้นทุนก็ขาดทุนอีก
ธุรกิจ PR
- สินค้าทดแทน : จริงๆมาม่าเส้นขาวควรจะเป็นสินค้าทดแทนของมาม่าเส้นเหลืองด้วยซ้ำ แต่มันแทนไม่ได้ก็เลยถูกมาม่าเส้นเหลืองกลับมาเป็นสินค้าทดแทนของมาม่าเส้นขาว ถามว่าทำไม? สิ่งที่ผู้บริหารก็พูดเองว่า ผู้บริโภคมีความคิดว่ามาม่าเส้นขาวไม่ควรขายแพงกว่าเส้นเหลือง เอาแค่นี้ แค่โตก็ยากแล้วครับ เพราะวอลุ่มการขายก็น้อย จะทดแทนสินค้าหลักก็ไม่ได้ ขายแพงกว่าก็ไม่ได้ แทนที่ตัวเองจะไปแทนเลยกลับถูกแทนด้วยสินค้าหลัก
- อำนาจต่อรองกับ supplier : สังเกตได้จากนโนบายของหลายรัฐบาลเช่นการจำนำข้าว การประกันราคาข้าว เมื่อมีการพยุงต้นทุนวัตถุดิบไว้ ก็ทำให้บริษัทไม่สามารถจะต่อรองราคาได้เยอะโดยเฉพาะในเวลาที่ควรจะได้ประโยชน์ก็ได้ไม่เยอะ บางรัฐบาลเข้ามาช่วยชาวนา PR ก็เจ็บเต็มๆ ลองย้อนดูข้อมูลในช่วงจำนำข้าวได้ครับแล้วจะเห็นภาพ
- อำนาจต่อรองกับลูกค้า : แทบไม่มีครับเพราะไม่ได้ขายสินค้าไปถึงผู้บริโภคโดยตรง ต้องขายผ่านตัวกลางคือบริษัทในเครือสหพัฒน์ หรือขายผ่านตัวแทนอื่นๆ หรือช่องทางอื่นๆ ทำให้วงจรเงินสดเป็นบวกค่อนข้างเยอะ ขึ้นราคาก็ไม่ได้ ตามที่บอกในข้อสินค้าทดแทนด้านบน
- การแข่งขันในอุตสาหกรรม : ไวไวก็ทำได้ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ตัวนี้นะครับ ลองดูตามร้านอาหารตามสั่งหรือร้านก๋วยเตี๋ยวได้ หลายร้านใช้ไวไวนะครับ แม่ผมเองบะหมี่เส้นขาวก็ซื้อไวไว แต่เวลาบ้านผมซื้อบะหมี่เส้นเหลืองซื้อมาม่า แปลกมั้ย? จริงๆหลายบ้านก็เป็นโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- คู่แข่งหน้าใหม่ที่อาจเข้ามา : ผมว่าในตลาดบะหมี่เส้นขาวคงไม่มีใครอยากเข้ามาเพราะตลาดมันเล็ก มีผู้เล่น 2 คนก็คงพอแล้ว ไม่จูงใจให้คนเข้ามาเพิ่ม แต่สินค้าที่อาจมีคนเข้ามาลองของเรื่อยๆน่าจะเป็นโจ๊กมากกว่าครับ
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไม PB ถือเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งเติบโตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจและมีกำไรเติบโตทุกปีนับแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 11 ปีติดต่อกัน แต่ PR กำไรลุ่มๆดอนๆ เพราะไม่สามารถคุมชะตาตัวเองได้แม้บางปีเศรษฐกิจดีแต่กำไรก็ไม่ดี และปีนี้เศรษฐกิจไม่ดีทั้งยอดขายและกำไรก็ลดลง
โครงสร้างธุรกิจ
- PB นั้นมี 5 forces ที่ผ่านเกณฑ์
- PR ถ้านับเฉพาะตัวธุรกิจบะหมี่เส้นขาวและโจ๊ก ผมมองว่าไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ข้อ และผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ
ส่วนตัวผมเชื่อว่าธุรกิจเกรด A ถือหุ้นธุรกิจเกรด A มันก็ยังเป็นเกรด A อยู่เพราะมันไม่ได้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงไป
แต่ธุรกิจเกรด A ไปรวมกับธุรกิจเกรด B ผมไม่เคยเชื่อว่ามันจะกลายเป็น A ได้ แม้ว่าในกรณีนี้ PR จะเป็นแค่ผู้ถือหุ้นแบบไร้ synergy ในแง่ operations ก็ตาม
และตัวผมก็ไม่เคยเชื่อเหมือนนักเล่นหุ้นในการใช้ model sum-of-part หรือเชื่อว่าลงทุนในบริษัทที่ถือหุ้นบริษัทดีๆแล้วจะได้คุณค่าที่ดีไปด้วย เพราะของจริงคือต้องลงทุนโดยตรงในบริษัทที่ดี
ส่วนคนที่บอกว่ามีบริษัทอื่นดีกว่านี้ ก็มีดีกว่านี้จริง แต่ลองไปหาดูเถอะครับ ธุรกิจสุดยอดแบบนี้ ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย ผมเชื่อว่ามีไม่ถึง 10 ตัว เอาแค่ 5 ตัวยังหาได้สบาย แต่ให้หาตัวที่ 6-10 ผมก็นึกออกลำบากแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ระหว่างหุ้น PB กับ PR ถือหุ้นบริษัทไหนดีกว่า