หลังเริ่มศึกษาโครงการ "ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" เคาะพื้นที่นำร่องจะนำมาพัฒนาแล้ว
โดยเลือกพื้นที่จาก "สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์-สะพานพระราม 5" หรือท่าน้ำนนท์ ระยะทาง 11.4 กม.พัฒนาเป็นแห่งแรก มีทั้งปรับปรุงพื้นที่เดิม สร้างทางเดินและทางจักรยานใหม่ ฝั่งละ 5.7 กม. ใช้เงินลงทุน 2,500 ล้านบาท จากทั้งโครงการจะสร้างจาก "สะพานปทุมธานี-บางกะเจ้า" ระยะทาง 126 กม. เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท
"วิจิตต์ นิมิตรวานิช" นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า ผลศึกษาจะเสร็จวันที่ 31 ธันวาคมนี้ จากนั้นเดือนมกราคม 2559 จะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการและออกแบบรายละเอียด จะเริ่มสร้างปี 2560 แล้วเสร็จในปี 2562
"ที่เลือกพื้นที่ท่าน้ำนนท์เป็นแห่งแรก เพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนบุกรุก มีทางเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะหลัก เช่น รถไฟฟ้า ท่าเรือ สามารถสร้างแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่ได้ ไม่กีดขวางการไหลของน้ำ มีความสามารถป้องกันน้ำท่วม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ของแม่น้ำได้ อีกทั้งยังไม่กระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมในปัจจุบันด้วย"
สำหรับรายละเอียดของโครงการทั้ง 2 ฝั่ง ประกอบด้วย 8 ส่วน ได้แก่ 1.ปรับปรุงสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์รองรับทางจักรยานเชื่อมโยงพื้นที่นันทนาการฝั่งเมืองนนท์ 2.จะพัฒนาบริเวณริมน้ำหน้าสถานที่ราชการจากกรมราชทัณฑ์ถึงท่าน้ำนนท์ เป็นสวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนและปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำหน้าศาลากลางนนทบุรีหลังเก่า เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่ริมน้ำ โดยบูรณาการร่วมกับการออกแบบสะพานคนเดิน 3.ก่อสร้างทางจักรยานและทางเดินริมน้ำกว้าง 6 เมตร นอกแนวโครงการเขื่อนป้องกันน้ำท่วม โดยลดระดับทางสัญจร แก้ปัญหาความสูงของเขื่อนและการตัดขาดของชุมชนกับแม่น้ำ
4.ปรับปรุงสะพานพระราม 5 รองรับทางจักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีแยกติวานนท์ 5.ประสานงานกับวัดเฉลิมพระเกียรติและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกขอใช้พื้นที่ริมน้ำเดิมเป็นทางสัญจรริมน้ำ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของทางสัญจรริมน้ำตลอดแนวฝั่งตะวันตก
6.ก่อสร้างสะพานจักรยานและคนเดินแห่งใหม่ ข้ามแม่น้ำ เชื่อมต่อย่านพักอาศัยบางศรีเมืองฝั่งตะวันตกกับศูนย์กลางเมืองนนทบุรีและระบบขนส่งมวลชน 7.สร้างทางจักรยานและทางเดินริมน้ำ รองรับการเดินทางเชื่อมชุมชนกว้าง 4 เมตร นอกแนวโครงการเขื่อนป้องกันน้ำท่วม และ 8.ปรับปรุงเส้นทางเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำและเพิ่มพื้นที่สวน ลานสาธารณะริมน้ำ เช่น ลานหน้าวัด ลานชุมชน จุดแวะพัก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คมนาคมลุยถนนเลียบเจ้าพระยา ปักหมุด "ท่าน้ำนนท์" 11 กม. 2.5 พันล้าน
หลังเริ่มศึกษาโครงการ "ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา" มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" เคาะพื้นที่นำร่องจะนำมาพัฒนาแล้ว
โดยเลือกพื้นที่จาก "สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์-สะพานพระราม 5" หรือท่าน้ำนนท์ ระยะทาง 11.4 กม.พัฒนาเป็นแห่งแรก มีทั้งปรับปรุงพื้นที่เดิม สร้างทางเดินและทางจักรยานใหม่ ฝั่งละ 5.7 กม. ใช้เงินลงทุน 2,500 ล้านบาท จากทั้งโครงการจะสร้างจาก "สะพานปทุมธานี-บางกะเจ้า" ระยะทาง 126 กม. เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท
"วิจิตต์ นิมิตรวานิช" นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า ผลศึกษาจะเสร็จวันที่ 31 ธันวาคมนี้ จากนั้นเดือนมกราคม 2559 จะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการและออกแบบรายละเอียด จะเริ่มสร้างปี 2560 แล้วเสร็จในปี 2562
"ที่เลือกพื้นที่ท่าน้ำนนท์เป็นแห่งแรก เพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนบุกรุก มีทางเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะหลัก เช่น รถไฟฟ้า ท่าเรือ สามารถสร้างแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่ได้ ไม่กีดขวางการไหลของน้ำ มีความสามารถป้องกันน้ำท่วม เข้าถึงและใช้ประโยชน์ของแม่น้ำได้ อีกทั้งยังไม่กระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมในปัจจุบันด้วย"
สำหรับรายละเอียดของโครงการทั้ง 2 ฝั่ง ประกอบด้วย 8 ส่วน ได้แก่ 1.ปรับปรุงสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์รองรับทางจักรยานเชื่อมโยงพื้นที่นันทนาการฝั่งเมืองนนท์ 2.จะพัฒนาบริเวณริมน้ำหน้าสถานที่ราชการจากกรมราชทัณฑ์ถึงท่าน้ำนนท์ เป็นสวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนและปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำหน้าศาลากลางนนทบุรีหลังเก่า เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่ริมน้ำ โดยบูรณาการร่วมกับการออกแบบสะพานคนเดิน 3.ก่อสร้างทางจักรยานและทางเดินริมน้ำกว้าง 6 เมตร นอกแนวโครงการเขื่อนป้องกันน้ำท่วม โดยลดระดับทางสัญจร แก้ปัญหาความสูงของเขื่อนและการตัดขาดของชุมชนกับแม่น้ำ
4.ปรับปรุงสะพานพระราม 5 รองรับทางจักรยานเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีแยกติวานนท์ 5.ประสานงานกับวัดเฉลิมพระเกียรติและอุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกขอใช้พื้นที่ริมน้ำเดิมเป็นทางสัญจรริมน้ำ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของทางสัญจรริมน้ำตลอดแนวฝั่งตะวันตก
6.ก่อสร้างสะพานจักรยานและคนเดินแห่งใหม่ ข้ามแม่น้ำ เชื่อมต่อย่านพักอาศัยบางศรีเมืองฝั่งตะวันตกกับศูนย์กลางเมืองนนทบุรีและระบบขนส่งมวลชน 7.สร้างทางจักรยานและทางเดินริมน้ำ รองรับการเดินทางเชื่อมชุมชนกว้าง 4 เมตร นอกแนวโครงการเขื่อนป้องกันน้ำท่วม และ 8.ปรับปรุงเส้นทางเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำและเพิ่มพื้นที่สวน ลานสาธารณะริมน้ำ เช่น ลานหน้าวัด ลานชุมชน จุดแวะพัก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์