สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแนะนำละครญี่ปุ่นที่น่าสนใจอีกเรื่อง นั่นก็คือ "Ghost Writer" ค่ะ
ละครเรื่องนี้เคยนำมาฉายที่ไทยด้วยนะคะ ทางช่อง True Asian เมือเดือนกรกฎาคม 2015
เนื่องจากสนใจอาชีพแนวนักเขียน รวมถึงได้ทำอาชีพที่คลุกคลีกับหนังสือ
เลยหยิบเรื่องนี้มาดูค่ะ และรู้สึกว่าเป็นละครดีๆ อีกเรื่องหนึ่งที่อยากบอกต่อ
งั้น เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะว่า ละครเรื่องนี้จะเกี่ยวกับอะไร มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง
"Ghost Writer" เป็นเรื่องราวของ "โทโนะ ริสะ" นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่น
และได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งวงการวรรณกรรม"
ที่จู่ๆ ก็วิตกกังวลกับความสามารถในการเขียนงานของตัวเอง
เมื่อค้นพบว่า...เธอไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้อีกแล้ว
ในขณะเดียวกัน "คาวาฮาร่า ยูกิ" หญิงสาวที่มีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนักเขียน
ได้ตัดสินใจเดินทางสู่เมืองโตเกียว เพื่อมาตามความฝันของตัวเอง
แม้ว่าเธอจะมีความสามารถในการเขียน แต่ไม่ว่าไปเสนองานเขียนที่สำนักพิมพ์ไหนก็ไม่มีใครรับ
เว้นเสียแต่ "โอดะ ฮายาโตะ" บรรณาธิการหน้าใหม่ที่เล็งเห็นถึงพรสวรรค์ในตัวเธอ
แต่เขาเองก็ไม่มีอำนาจมากพอที่จะสั่งพิมพ์หนังสือเล่มนี้ได้
ด้วยเหตุนี้คาวาฮาร่า ยูกิจึงตัดสินใจจะกลับไปที่บ้านเกิดของตัวเองและแต่งงานกลับคนรัก
แต่ทันใดนั้นเอง เธอก็ได้รู้ข่าวว่า "โทโนะ ริสะ" นักเขียนที่เธอชื่นชอบ
กำลังตามหา "ผู้ช่วย" คนใหม่...
เรื่องราวของ "Ghost Writer" และนักเขียนที่เจอทางตันในงานเขียนก็ได้เริ่มต้นขึ้น
คาวาฮาร่า ยูกิ จะสามารถก้าวขึ้นสู่เป็นนักเขียนมืออาชีพได้หรือไม่
หรือต้องเป็นเพียงแค่เงาที่เขียนอยู่ในร่างของใครสักคนตลอดไป...
แผนผังตัวละคร
ความน่าสนใจของเรื่องนี้
1. เล่าเรื่องแบบ Flash Black
ก่อนที่จะเริ่มเรื่องในแต่ละตอน จะเปิดเรื่องมาด้วยเรื่องราวในตอนท้ายๆ ของตอนนั้นก่อนค่ะ
เป็นการเปิดเรื่องชวนให้สงสัยว่า ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนั้นขึ้นได้
ส่วนในตอนแรกเลย เปิดเรื่องมาด้วยฉากกลางเรื่องค่ะ
ที่ "คาวาฮาร่า ยูกิ" กับ "โทโนะ ริสะ" ทะเลาะตบตีกัน
พร้อมกับ "คาวาฮาร่า ยูกิ" ประกาศลาออกจากการเป็น Ghost Writer ของโทโนะ ริสะ
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้ แล้วคาวาฮาร่า ยูกิในตอนแรกเนี่ย ดูติ๋มๆ มากเลยค่ะ
แล้วทำไมจู่ๆ ถึงมีสายตาที่แข็งกร้าวได้ราวคนละคน ชวนให้สงสัยและอยากดูต่อไปค่ะ
2. เบื้องหลังชีวิต Ghost Writer และนักเขียน
ละครเรื่องนี้เป็นละครแนวอาชีพของญี่ปุ่นค่ะ ฉะนั้น สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวชีวิตของ
"Ghost Writer" หรือ "นักเขียน"
เรื่องนี้จะมาเผยให้เห็นค่ะ ในญี่ปุ่นนั้น เขามีมุมมองถึง "Ghost Writer" เป็นอย่างไร
"Ghost Writer" ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องปิดบังไม่ให้ใครรู้
ในงานเขียนเชิงสารคดี อัตชีวประวัติก็อาจจะใช้ Ghost Writer เขียนได้บ้าง
แต่สำหรับงานเขียนนวนิยายนี่ เป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมค่ะ (ก็คล้ายๆ บ้านเราล่ะเนอะ)
ด้วยเหตุนี้ เลยทำให้ "คาวาฮาร่า ยูกิ" Ghost Writer จำเป็นเนี่ย ต้องปกปิดสถานะตัวเอง
ส่วนโทโนะ ริสะเองก็ต้องปกปิดไม่ให้ใครรู้เหมือนกันว่าตัวเองใช้ Ghost Writer
แม้แต่ "บรรณาธิการเล่ม" ก็ยังไม่รู้ค่ะว่ามี Ghost Writer แต่แหม! เรื่องยังงี้ก็คงจะปิดบ.ก.ได้ยากค่ะ
วันดีคืนนี้ ตัวบ.ก.เองก็เริ่มสงสัยในงานเขียนเช่นกัน ก็อ่านงานเขียนมาเยอะ บ.ก.ย่อมรู้จักสไตล์งานเขียนของแต่ละคนดีค่ะ
นี่เป็นตอนที่บ.ก.โอดะเริ่มสงสัยในงานเขียนค่ะ โดยสังเกตเห็นได้จากคำๆ หนึ่ง ที่ปกติแล้วโทโนะ ริสะจะไม่ใช้คำนี้...
บ.ก.ซึคาดะก็สงสัยเหมือนกัน...
ส่วนชีวิตนักเขียน ละครเรื่องนี้ก็ถ่ายทอดออกมาได้ดีค่ะ
ละครก็เลือกที่จะสร้างตัวละครให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ของนักเขียนว่า
วันดีคืนดีก็อาจจะมุกตันได้เหมือนกันนะ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร
อีกประเด็นคือในเรื่องจะมีการเรียกนักเขียนว่า "เซนเซย์" ที่แปลว่า "อาจารย์"
ซึ่งคำว่า "เซนเซย์" นี่ ในญี่ปุ่นจะใช้เป็นคำนำหน้าคนที่ประกอบอาชีพ
ครู อาจารย์ หมอ ทนายความ นักการเมือง นักวาดการ์ตูน และรวมถึงนักเขียนด้วยค่ะ
พอดูเรื่องนี้แล้วมันทำให้รู้ว่า...ทำไมญี่ปุ่นถึงเรียกนักเขียนว่า "เซนเซย์"
แล้วก็รู้สึกว่า...นักเขียนเนี่ย ช่างเป็นอาชีพที่สมควรถูกยกย่องว่าเป็น "เซนเซย์" อีกอาชีพหนึ่งจริงๆ ค่ะ
2. เบื้องหลังวงการสื่อสิ่งพิมพ์ และอาชีพบรรณาธิการ
ละครเรื่องนี้ไม่ได้มาปอกเปลือกเบื้องหลังชีวิต Ghost Writer กับ นักเขียนเท่านั้นนะคะ
แต่ยังรวมวงการสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยค่ะ ด้วยเนื้องานที่เชื่อมโยงกัน ทำให้เรื่องราวของวงการสื่อสิ่งพิมพ์
โดยเฉพาะอาชีพ
"บรรณาธิการ" ในสำนักพิมพ์ได้ถูกเผยออกมาด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเนื้องานของบรรณาธิการ บางคนอาจจะสงสัยว่าเขามีหน้าที่ทำอะไร
นั่งตรวจ พิจารณาต้นฉบับอย่างเดียวหรือเปล่า จริงๆ แล้ว ไม่ค่ะ
มันมีรายละเอียดยิบย่อยมากกว่านั้น ตามที่บ.ก. "โอดะ" บอกไว้เลย
นี่แหละค่ะ อีกหนึ่ง MIssion ของบ.ก. คือการสร้างคอนแน็คชั่นและดูแลนักเขียน
หรือจะเป็นการพิจารณาตีพิมพ์หนังสือ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
นี่คือ "ธุรกิจ" อย่างหนึ่ง แต่ "หนังสือดี" ก็ไม่ควรทำให้หายไปจากโลกใบนี้...
ผมน่ะ อยากทำหนังสือที่คนต้องพูดว่า "เจ๋งสุดๆ" หรือ "มันช่างกินใจ" "เปลี่ยนชีวิตเราได้" หนังสือที่เป็นแบบนั้นน่ะครับ
แต่ผมต้องขอโทษด้วยนะ ผมไม่ได้อยู่ในสถานะที่ทำหนังสือที่ตัวเองชอบได้
3. ความหักมุมของเรื่อง
ตอนแรกที่ได้อ่านเรื่องย่อของเรื่องนี้ ก็วาดภาพไม่ค่อยออกค่ะว่า
จะเอาเรื่องราวของอาชีพนักเขียน กับ Ghost Writer มาทำให้สนุกได้ยังไง
พอดูไปเรื่อยๆ กลับรู้สึกว่า ผูกพล็อตได้น่าสนใจค่ะ
การเชือดเฉือนกันระหว่าง Ghost Writer กับนักเขียน
หรือนักเขียนกับสำนักพิมพ์
หรือแม้แต่บ.ก.ด้วยกันเอง
ว่าง่ายๆ ลองนึกถึงสภาพตอนที่นักเขียนระดับใหญ่ถูกเปิดโปงว่า
ใช้ Ghost Writer เขียนงาน จะเกิดอะไรขึ้น
แล้วถ้าเป็นเราล่ะ เราจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร
เป็นเรื่องที่ไม่ใช่แค่ว่า ต้องทำร้ายให้อีกฝ่ายต้องจนมุม
แต่เป็นการดิ้นรนเอาตัวรอดของมนุษย์
หลายอย่างที่เราอาจมองว่าผิด แต่จริงๆ แล้ว มันก็อาจไม่เป็นอะไรก็ได้
เพราะนั่นคือ "ธรรมชาติของมนุษย์"
4. มุมกล้อง ฉาก โทนสีในเรื่อง
สิ่งที่โดดเด่นของเรื่องนี้ก็คือ มุมกล้อง แล้วโทนสีของเรื่องค่ะ
เราค่อนข้างประทับใจภาพที่ฉายออกมาในเรื่องนี้
ที่มันค่อนข้างสอดคล้องกับอารมณ์ของตัวละครในแต่ละตอน
ฉากที่เราประทับใจมากก็ตอนที่เวลานักเขียนกำลัง "ปั่นงาน" ค่ะ
ตอนแรกก็แอบคิดนะว่า ละครจะฉายออกมายังไงให้คนเห็นว่า
อาชีพนั่งเขียนเนี่ย แม้จะนั่งพิมพ์งานในห้อง แต่จริงๆ มันเหนื่อยนะ
แล้วละครจะทำยังไงให้คนดูเห็นเนื้อเรื่องที่เขียน นอกจากการฉายที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
สิ่งที่ละครทำก็คือแบบนี้ค่ะ
คือมันได้ฟีลแบบเท่มาก ได้พลังของการปั่นต้นฉบับจริงๆ ค่ะ!
รวมถึงโทนสีในเรื่อง อยากจะบอกนิดนึงว่า...ละครญี่ปุ่นจะมีความต่างจากละครบ้านเรานิดนึงค่ะว่า
สีของภาพในจอละครจะไม่จำเป็นต้องเป็นสีเดียวที่เราเห็นในสภาพจริงเสมอไป
ถ้าใครดูละครญี่ปุ่นจะเห็นว่าบางเรื่องก็ออกแนวสดใส บางเรื่องก็ออกแนวหม่นๆ
บางเรื่องก็ออกแนวสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนๆ
อย่างเรื่องนี้บางฉากก็ออกโทนสีขาวคลีนๆ ค่ะ บางฉากก็ออกสีเหลืองผสมน้ำตาลอ่อนๆ แบบสีเปีย
พอดูแล้วรู้สึกสบายตา ผสมกลิ่นของความลึกลับๆ อย่างบอกไม่ถูก
5. ข้อคิดดีๆ ในเรื่อง
ละครเรื่องนี้มี Quote คำคมจากประโยคสนทนาน้อยค่ะ แต่ข้อคิดที่กระทบใจมาจากเรื่องราวชีวิตและการกระทำของตัวละครมากกว่า
ปมหลักของละครเรื่องนี้มาจาก "โทโนะ ริสะ" ที่เธอมีความต้องการที่อยากจะใช้ชีวิตอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หลอกลวงใคร
แต่จริงๆ แล้ว เป็นไปหรือที่มนุษย์เราจะซื่อตรงไปกับทุกอย่าง แล้วการที่ไม่หลอกลวงคนอื่นเนี่ย จริงๆ เราโกหกตัวเองหรือเปล่า
หรือเราแค่ซื่อตรงกับคนอื่นไป โดยที่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหัวใจเรา
เรื่องนี้จะเป็นละครที่แอบเผยมุมมืดของมนุษย์เราให้เห็นอยู่พอสมควรค่ะ
รวมถึงแง่คิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ของอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการเอง
ดูแล้วก็แอบเกิดแรงบันดาลใจ จุดไฟในตัวเช่นกันค่ะ
จุดด้อยของละครเรื่องนี้
-จุดด้อยที่เราเห็นในเรื่องนี้มีเพียงอย่างเดียวก็คือ ในช่วงต้นๆ ของเรื่อง จะดำเนินเรื่องไปแบบช้าๆ เรื่อยๆ นิดนึงค่ะ พล็อตจะยังไม่หวือหวา หรือชวนให้น่าติดตามเท่าไร แต่พอดูไปเรื่องๆ เนื้อเรื่องเริ่มน่าลุ้น น่าติดตามขึ้น "คาวาฮษร่า ยูกิ" หรือ Ghost Writer ในเรื่องก็เริ่มฮึดสู้ พลิกชนะเกม ในขณะเดียวกันก็ต้องลุ้นกับชีวิตของ "โทโนะ ริสะ" ว่า เธอจะใช้ชีวิตต่อไปยังไงดี ทั้งเรื่องงานเขียน และครอบครัวที่อุรุงตุงนังไปหมด
ละครญี่ปุ่นเรื่อง "Ghost Writer" ที่ตีแผ่เรื่องราวชีวิตของนักเขียน Ghost Writer และวงการสื่อสิ่งพิมพ์
นอกจากนี้ เราก็ยังได้เห็นถึงวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่นด้วย
เท่าที่ดูเนี่ย ก็เห็นว่า หนังสือเล่มที่เป็นกระดาษก็เริ่มได้รับผลกระทบจากโลกดิจิตอลเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้น "หนังสือ" ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ ยอดพิมพ์แบบ Best Seller ของเขาคือหลักแสนค่ะ
ส่วนยอดพิมพ์ของนักเขียนหน้าใหม่ ที่ต้องเซฟๆ ไว้ ไม่มั่นใจว่าพิมพ์แล้วจะขายได้หรือเปล่า เริ่มพิมพ์กันที่ 3 พัน
รวมถึงสถานะของนักเขียนก็จะมีการแบ่งระดับระหว่างนักเขียนรุ่นเดอะ กับนักเขียนหน้าใหม่
ส่วนบรรณาธิการก็ค่อนข้างมีสถานะที่น่าเกรงขามหน่อยๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และนักเขียนที่ร่วมงานด้วย
และเรื่อง "เดดไลน์" เป็นสิ่งสำคัญมากในการทำหนังสือ
และนักเขียนยังคงต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์ในการเผยแพร่ผลงาน เพราะยังมีกลุ่มคนที่ให้ความสนใจการอ่านหนังสือเป็นเล่มอยู่
สวนทางกับกระแสในไทยค่ะ ที่ตอนนี้เริ่มหันไปเผยแพร่งานเขียนทางออนไลน์แล้ว
เป็นเรื่องราวของอาชีพที่คนไทยหลายคนรู้จัก แต่คงยังไม่มีใครมาเผยแพร่เรื่องราวอย่างจริงๆ จังๆ ให้เห็นกัน
ใครสนใจเกี่ยวกับอาชีพนี้ ละครเรื่องนี้ห้ามพลาดจริงๆ ค่ะ ขอยกข้อความประทับใจจากเรื่องนี้หน่อยนะคะ
โทโนะ เซนเซย์: ตอนเธอเขียนนิยายเธอได้วาดภาพใครไว้ในใจ
คาวาฮาร่า : ก็นักอ่านของฉันสิคะ
โทโนะ เซนเซย์: นักอ่านที่เธอไม่รู้จักเนี่ยนะ
คาวาฮาร่า : ค่ะ
โทโนะ เซนเซย์: เพราะงี้สินะ... งานของเธอถึงเอาใจคนอ่านมากเกินไป
คาวาฮาร่า : เอาใจมากเกินไปงั้นเหรอ
โทโนะ เซนเซย์: คืออ่านแล้วมันก็สนุกดีล่ะนะ แต่มันเหมือนขาดอะไรไป
สามารถชมละครเรื่องนี้แบบออนไลน์ได้ที่นี่เลยค่ะ>>>
http://www.dark-dramas.com/2015/01/ghost-writer.html
สามารถติดตามเรื่องราวน่ารู้ อัพเดทข่าวสาร และเมาท์มอยเกี่ยวกับละครญี่ปุ่นได้ที่เพจ Sakura Dramas ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ >>>
https://www.facebook.com/sakuradramas/?ref=bookmarks
[Review J-Drama] Ghost Writer เบื้องหลังนักเขียนเงาและวงการสิ่งพิมพ์!
ละครเรื่องนี้เคยนำมาฉายที่ไทยด้วยนะคะ ทางช่อง True Asian เมือเดือนกรกฎาคม 2015
เนื่องจากสนใจอาชีพแนวนักเขียน รวมถึงได้ทำอาชีพที่คลุกคลีกับหนังสือ
เลยหยิบเรื่องนี้มาดูค่ะ และรู้สึกว่าเป็นละครดีๆ อีกเรื่องหนึ่งที่อยากบอกต่อ
งั้น เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะว่า ละครเรื่องนี้จะเกี่ยวกับอะไร มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง
"Ghost Writer" เป็นเรื่องราวของ "โทโนะ ริสะ" นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่น
และได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งวงการวรรณกรรม"
ที่จู่ๆ ก็วิตกกังวลกับความสามารถในการเขียนงานของตัวเอง
เมื่อค้นพบว่า...เธอไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้อีกแล้ว
ในขณะเดียวกัน "คาวาฮาร่า ยูกิ" หญิงสาวที่มีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนักเขียน
ได้ตัดสินใจเดินทางสู่เมืองโตเกียว เพื่อมาตามความฝันของตัวเอง
แม้ว่าเธอจะมีความสามารถในการเขียน แต่ไม่ว่าไปเสนองานเขียนที่สำนักพิมพ์ไหนก็ไม่มีใครรับ
เว้นเสียแต่ "โอดะ ฮายาโตะ" บรรณาธิการหน้าใหม่ที่เล็งเห็นถึงพรสวรรค์ในตัวเธอ
แต่เขาเองก็ไม่มีอำนาจมากพอที่จะสั่งพิมพ์หนังสือเล่มนี้ได้
ด้วยเหตุนี้คาวาฮาร่า ยูกิจึงตัดสินใจจะกลับไปที่บ้านเกิดของตัวเองและแต่งงานกลับคนรัก
แต่ทันใดนั้นเอง เธอก็ได้รู้ข่าวว่า "โทโนะ ริสะ" นักเขียนที่เธอชื่นชอบ
กำลังตามหา "ผู้ช่วย" คนใหม่...
เรื่องราวของ "Ghost Writer" และนักเขียนที่เจอทางตันในงานเขียนก็ได้เริ่มต้นขึ้น
คาวาฮาร่า ยูกิ จะสามารถก้าวขึ้นสู่เป็นนักเขียนมืออาชีพได้หรือไม่
หรือต้องเป็นเพียงแค่เงาที่เขียนอยู่ในร่างของใครสักคนตลอดไป...
ความน่าสนใจของเรื่องนี้
1. เล่าเรื่องแบบ Flash Black
ก่อนที่จะเริ่มเรื่องในแต่ละตอน จะเปิดเรื่องมาด้วยเรื่องราวในตอนท้ายๆ ของตอนนั้นก่อนค่ะ
เป็นการเปิดเรื่องชวนให้สงสัยว่า ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนั้นขึ้นได้
ส่วนในตอนแรกเลย เปิดเรื่องมาด้วยฉากกลางเรื่องค่ะ
ที่ "คาวาฮาร่า ยูกิ" กับ "โทโนะ ริสะ" ทะเลาะตบตีกัน
พร้อมกับ "คาวาฮาร่า ยูกิ" ประกาศลาออกจากการเป็น Ghost Writer ของโทโนะ ริสะ
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้ แล้วคาวาฮาร่า ยูกิในตอนแรกเนี่ย ดูติ๋มๆ มากเลยค่ะ
แล้วทำไมจู่ๆ ถึงมีสายตาที่แข็งกร้าวได้ราวคนละคน ชวนให้สงสัยและอยากดูต่อไปค่ะ
2. เบื้องหลังชีวิต Ghost Writer และนักเขียน
ละครเรื่องนี้เป็นละครแนวอาชีพของญี่ปุ่นค่ะ ฉะนั้น สิ่งที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวชีวิตของ "Ghost Writer" หรือ "นักเขียน"
เรื่องนี้จะมาเผยให้เห็นค่ะ ในญี่ปุ่นนั้น เขามีมุมมองถึง "Ghost Writer" เป็นอย่างไร
"Ghost Writer" ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องปิดบังไม่ให้ใครรู้
ในงานเขียนเชิงสารคดี อัตชีวประวัติก็อาจจะใช้ Ghost Writer เขียนได้บ้าง
แต่สำหรับงานเขียนนวนิยายนี่ เป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมค่ะ (ก็คล้ายๆ บ้านเราล่ะเนอะ)
ด้วยเหตุนี้ เลยทำให้ "คาวาฮาร่า ยูกิ" Ghost Writer จำเป็นเนี่ย ต้องปกปิดสถานะตัวเอง
ส่วนโทโนะ ริสะเองก็ต้องปกปิดไม่ให้ใครรู้เหมือนกันว่าตัวเองใช้ Ghost Writer
แม้แต่ "บรรณาธิการเล่ม" ก็ยังไม่รู้ค่ะว่ามี Ghost Writer แต่แหม! เรื่องยังงี้ก็คงจะปิดบ.ก.ได้ยากค่ะ
วันดีคืนนี้ ตัวบ.ก.เองก็เริ่มสงสัยในงานเขียนเช่นกัน ก็อ่านงานเขียนมาเยอะ บ.ก.ย่อมรู้จักสไตล์งานเขียนของแต่ละคนดีค่ะ
ส่วนชีวิตนักเขียน ละครเรื่องนี้ก็ถ่ายทอดออกมาได้ดีค่ะ
ละครก็เลือกที่จะสร้างตัวละครให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ของนักเขียนว่า
วันดีคืนดีก็อาจจะมุกตันได้เหมือนกันนะ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร
อีกประเด็นคือในเรื่องจะมีการเรียกนักเขียนว่า "เซนเซย์" ที่แปลว่า "อาจารย์"
ซึ่งคำว่า "เซนเซย์" นี่ ในญี่ปุ่นจะใช้เป็นคำนำหน้าคนที่ประกอบอาชีพ
ครู อาจารย์ หมอ ทนายความ นักการเมือง นักวาดการ์ตูน และรวมถึงนักเขียนด้วยค่ะ
พอดูเรื่องนี้แล้วมันทำให้รู้ว่า...ทำไมญี่ปุ่นถึงเรียกนักเขียนว่า "เซนเซย์"
แล้วก็รู้สึกว่า...นักเขียนเนี่ย ช่างเป็นอาชีพที่สมควรถูกยกย่องว่าเป็น "เซนเซย์" อีกอาชีพหนึ่งจริงๆ ค่ะ
2. เบื้องหลังวงการสื่อสิ่งพิมพ์ และอาชีพบรรณาธิการ
ละครเรื่องนี้ไม่ได้มาปอกเปลือกเบื้องหลังชีวิต Ghost Writer กับ นักเขียนเท่านั้นนะคะ
แต่ยังรวมวงการสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยค่ะ ด้วยเนื้องานที่เชื่อมโยงกัน ทำให้เรื่องราวของวงการสื่อสิ่งพิมพ์
โดยเฉพาะอาชีพ "บรรณาธิการ" ในสำนักพิมพ์ได้ถูกเผยออกมาด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเนื้องานของบรรณาธิการ บางคนอาจจะสงสัยว่าเขามีหน้าที่ทำอะไร
นั่งตรวจ พิจารณาต้นฉบับอย่างเดียวหรือเปล่า จริงๆ แล้ว ไม่ค่ะ
มันมีรายละเอียดยิบย่อยมากกว่านั้น ตามที่บ.ก. "โอดะ" บอกไว้เลย
นี่แหละค่ะ อีกหนึ่ง MIssion ของบ.ก. คือการสร้างคอนแน็คชั่นและดูแลนักเขียน
หรือจะเป็นการพิจารณาตีพิมพ์หนังสือ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
นี่คือ "ธุรกิจ" อย่างหนึ่ง แต่ "หนังสือดี" ก็ไม่ควรทำให้หายไปจากโลกใบนี้...
แต่ผมต้องขอโทษด้วยนะ ผมไม่ได้อยู่ในสถานะที่ทำหนังสือที่ตัวเองชอบได้
3. ความหักมุมของเรื่อง
ตอนแรกที่ได้อ่านเรื่องย่อของเรื่องนี้ ก็วาดภาพไม่ค่อยออกค่ะว่า
จะเอาเรื่องราวของอาชีพนักเขียน กับ Ghost Writer มาทำให้สนุกได้ยังไง
พอดูไปเรื่อยๆ กลับรู้สึกว่า ผูกพล็อตได้น่าสนใจค่ะ
การเชือดเฉือนกันระหว่าง Ghost Writer กับนักเขียน
หรือนักเขียนกับสำนักพิมพ์
หรือแม้แต่บ.ก.ด้วยกันเอง
ว่าง่ายๆ ลองนึกถึงสภาพตอนที่นักเขียนระดับใหญ่ถูกเปิดโปงว่า
ใช้ Ghost Writer เขียนงาน จะเกิดอะไรขึ้น
แล้วถ้าเป็นเราล่ะ เราจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร
เป็นเรื่องที่ไม่ใช่แค่ว่า ต้องทำร้ายให้อีกฝ่ายต้องจนมุม
แต่เป็นการดิ้นรนเอาตัวรอดของมนุษย์
หลายอย่างที่เราอาจมองว่าผิด แต่จริงๆ แล้ว มันก็อาจไม่เป็นอะไรก็ได้
เพราะนั่นคือ "ธรรมชาติของมนุษย์"
4. มุมกล้อง ฉาก โทนสีในเรื่อง
สิ่งที่โดดเด่นของเรื่องนี้ก็คือ มุมกล้อง แล้วโทนสีของเรื่องค่ะ
เราค่อนข้างประทับใจภาพที่ฉายออกมาในเรื่องนี้
ที่มันค่อนข้างสอดคล้องกับอารมณ์ของตัวละครในแต่ละตอน
ฉากที่เราประทับใจมากก็ตอนที่เวลานักเขียนกำลัง "ปั่นงาน" ค่ะ
ตอนแรกก็แอบคิดนะว่า ละครจะฉายออกมายังไงให้คนเห็นว่า
อาชีพนั่งเขียนเนี่ย แม้จะนั่งพิมพ์งานในห้อง แต่จริงๆ มันเหนื่อยนะ
แล้วละครจะทำยังไงให้คนดูเห็นเนื้อเรื่องที่เขียน นอกจากการฉายที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
สิ่งที่ละครทำก็คือแบบนี้ค่ะ
คือมันได้ฟีลแบบเท่มาก ได้พลังของการปั่นต้นฉบับจริงๆ ค่ะ!
รวมถึงโทนสีในเรื่อง อยากจะบอกนิดนึงว่า...ละครญี่ปุ่นจะมีความต่างจากละครบ้านเรานิดนึงค่ะว่า
สีของภาพในจอละครจะไม่จำเป็นต้องเป็นสีเดียวที่เราเห็นในสภาพจริงเสมอไป
ถ้าใครดูละครญี่ปุ่นจะเห็นว่าบางเรื่องก็ออกแนวสดใส บางเรื่องก็ออกแนวหม่นๆ
บางเรื่องก็ออกแนวสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนๆ
อย่างเรื่องนี้บางฉากก็ออกโทนสีขาวคลีนๆ ค่ะ บางฉากก็ออกสีเหลืองผสมน้ำตาลอ่อนๆ แบบสีเปีย
พอดูแล้วรู้สึกสบายตา ผสมกลิ่นของความลึกลับๆ อย่างบอกไม่ถูก
5. ข้อคิดดีๆ ในเรื่อง
ละครเรื่องนี้มี Quote คำคมจากประโยคสนทนาน้อยค่ะ แต่ข้อคิดที่กระทบใจมาจากเรื่องราวชีวิตและการกระทำของตัวละครมากกว่า
ปมหลักของละครเรื่องนี้มาจาก "โทโนะ ริสะ" ที่เธอมีความต้องการที่อยากจะใช้ชีวิตอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หลอกลวงใคร
แต่จริงๆ แล้ว เป็นไปหรือที่มนุษย์เราจะซื่อตรงไปกับทุกอย่าง แล้วการที่ไม่หลอกลวงคนอื่นเนี่ย จริงๆ เราโกหกตัวเองหรือเปล่า
หรือเราแค่ซื่อตรงกับคนอื่นไป โดยที่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหัวใจเรา
เรื่องนี้จะเป็นละครที่แอบเผยมุมมืดของมนุษย์เราให้เห็นอยู่พอสมควรค่ะ
รวมถึงแง่คิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ของอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการเอง
ดูแล้วก็แอบเกิดแรงบันดาลใจ จุดไฟในตัวเช่นกันค่ะ
จุดด้อยของละครเรื่องนี้
-จุดด้อยที่เราเห็นในเรื่องนี้มีเพียงอย่างเดียวก็คือ ในช่วงต้นๆ ของเรื่อง จะดำเนินเรื่องไปแบบช้าๆ เรื่อยๆ นิดนึงค่ะ พล็อตจะยังไม่หวือหวา หรือชวนให้น่าติดตามเท่าไร แต่พอดูไปเรื่องๆ เนื้อเรื่องเริ่มน่าลุ้น น่าติดตามขึ้น "คาวาฮษร่า ยูกิ" หรือ Ghost Writer ในเรื่องก็เริ่มฮึดสู้ พลิกชนะเกม ในขณะเดียวกันก็ต้องลุ้นกับชีวิตของ "โทโนะ ริสะ" ว่า เธอจะใช้ชีวิตต่อไปยังไงดี ทั้งเรื่องงานเขียน และครอบครัวที่อุรุงตุงนังไปหมด
ละครญี่ปุ่นเรื่อง "Ghost Writer" ที่ตีแผ่เรื่องราวชีวิตของนักเขียน Ghost Writer และวงการสื่อสิ่งพิมพ์
นอกจากนี้ เราก็ยังได้เห็นถึงวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่นด้วย
เท่าที่ดูเนี่ย ก็เห็นว่า หนังสือเล่มที่เป็นกระดาษก็เริ่มได้รับผลกระทบจากโลกดิจิตอลเช่นกัน
แต่ถึงอย่างนั้น "หนังสือ" ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ ยอดพิมพ์แบบ Best Seller ของเขาคือหลักแสนค่ะ
ส่วนยอดพิมพ์ของนักเขียนหน้าใหม่ ที่ต้องเซฟๆ ไว้ ไม่มั่นใจว่าพิมพ์แล้วจะขายได้หรือเปล่า เริ่มพิมพ์กันที่ 3 พัน
รวมถึงสถานะของนักเขียนก็จะมีการแบ่งระดับระหว่างนักเขียนรุ่นเดอะ กับนักเขียนหน้าใหม่
ส่วนบรรณาธิการก็ค่อนข้างมีสถานะที่น่าเกรงขามหน่อยๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และนักเขียนที่ร่วมงานด้วย
และเรื่อง "เดดไลน์" เป็นสิ่งสำคัญมากในการทำหนังสือ
และนักเขียนยังคงต้องพึ่งพาสำนักพิมพ์ในการเผยแพร่ผลงาน เพราะยังมีกลุ่มคนที่ให้ความสนใจการอ่านหนังสือเป็นเล่มอยู่
สวนทางกับกระแสในไทยค่ะ ที่ตอนนี้เริ่มหันไปเผยแพร่งานเขียนทางออนไลน์แล้ว
เป็นเรื่องราวของอาชีพที่คนไทยหลายคนรู้จัก แต่คงยังไม่มีใครมาเผยแพร่เรื่องราวอย่างจริงๆ จังๆ ให้เห็นกัน
ใครสนใจเกี่ยวกับอาชีพนี้ ละครเรื่องนี้ห้ามพลาดจริงๆ ค่ะ ขอยกข้อความประทับใจจากเรื่องนี้หน่อยนะคะ
โทโนะ เซนเซย์: ตอนเธอเขียนนิยายเธอได้วาดภาพใครไว้ในใจ
คาวาฮาร่า : ก็นักอ่านของฉันสิคะ
โทโนะ เซนเซย์: นักอ่านที่เธอไม่รู้จักเนี่ยนะ
คาวาฮาร่า : ค่ะ
โทโนะ เซนเซย์: เพราะงี้สินะ... งานของเธอถึงเอาใจคนอ่านมากเกินไป
คาวาฮาร่า : เอาใจมากเกินไปงั้นเหรอ
โทโนะ เซนเซย์: คืออ่านแล้วมันก็สนุกดีล่ะนะ แต่มันเหมือนขาดอะไรไป
สามารถชมละครเรื่องนี้แบบออนไลน์ได้ที่นี่เลยค่ะ>>>http://www.dark-dramas.com/2015/01/ghost-writer.html
สามารถติดตามเรื่องราวน่ารู้ อัพเดทข่าวสาร และเมาท์มอยเกี่ยวกับละครญี่ปุ่นได้ที่เพจ Sakura Dramas ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ >>> https://www.facebook.com/sakuradramas/?ref=bookmarks