Review รุ่นพี่ (Spoil) ผลงานที่ดีที่สุดของค่าย M๓๙ / หนึ่งในภาพยนตร์วัยรุ่นที่ดีที่สุดของวงการ

[Movie Review] - รุ่นพี่ (RUNPEE) ‪#‎SpoilerAlert‬
.
ผลงานที่ดีที่สุดของค่าย M๓๙ / หนึ่งในภาพยนตร์วัยรุ่นที่ดีที่สุดของวงการ
คะแนน-ภาพยนตร์ B / คะแนน-นวนิยาย A
.
.
[คาแร็กเตอร์หลัก]
ปมเหตุที่ ม่อน หรือ อทิติ เป็นเด็กนิสัยประหลาด ไม่สุงสิงกับใคร ไม่มีเพื่อน ชอบเก็บตัวตามลำพัง เย็นชาไม่แสดงความรุ้สึก ไม่แยแสว่าใครจะมองหรือคิดกับเธอยังไง มองผ่านๆคล้ายเป็นตัวละครจงใจปั้นแต่ง ขาดมิติ และไม่มีอยู่จริงเท่าไหร่.. ทั้งที่มันคือการปรับสภาพนับแต่ตอนเด็กเล็กๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเปลี่ยนแปลงตอนวัยรุ่น เพราะเจอสิ่งเร้ารอบตัวแบบตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆ..
.
เนื่องในอดีต ม่อน อายุตอนสี่ขวบประสบอุบัติเหตุทางรถยนตร์จนพ่อแม่เสียชีวิต หลังผ่านความตายมาได้ราวปาฏิหาริย์ เธอก็มีสัมผัสพิเศษคือการได้กลิ่นวิญญาณ นับแต่นั้นการมีเพื่อนกลายเป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะทุกคนมองว่าเธอแปลกแยกและเพี้ยนๆอยู่แล้ว (นวนิยาย-ช่วงราว 10 ขวบ เธอใกล้เคียงกับการมีเพื่อนอยู่ครั้งหนึ่ง แต่เกิดเหตุกาณ์เลวร้ายจนมีเด็กเสียชีวิต เพราะความต่ำทรามของคนเป็นผุ้ใหญ่ เธอจึงไม่เชื่อใจใครและไม่คิดมีเพื่อนอีกเลย)
.
ยามว่างก่อนนอน(และในห้องเรียน) มักแอบเข้าอินเตอร์เน็ต (นวนิยาย-เธอมักเจอคนชอบเรื่องลี้ลับในโลกโซเชียล รวมถึงแอดมินเพจหนึ่ง ที่ตอบคำถามเธอได้ทุกอย่าง) นอกจากนั้นยังชอบพิสูจน์กลิ่นวิญญาณจากสิ่งของและสถานที่ เพื่อคลายความสงสัยว่าพลังงานเหล่านั้น มีอารมณ์ก่อนตายแบบไหน.. ส่วนวันหยุดเธอก็จะไปอยู่เป็นเพื่อน คุณป้า ที่เลี้ยงดูเธอมาตลอดในฐานะญาติคนเดียว แต่นอนเป็นผักอยู่ที่โรงพยาบาล จากอาการป่วยทางสมอง เมื่อราวหนึ่งปีที่ผ่านมา..
.
.
.
[มิตรภาพ]
แอ้น - เด็กสาวที่ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว นิสัยเสียจากการถูกสปอยเพราะฐานะดี จึงพยามเข้าหาคนลักษณะแบบ ม่อน และดันแมตท์กันพอดี คนหนึ่งประหยัด-คนหนึ่งรวยจัด คนหนึ่งพูดน้อยและรับฟัง-คนหนึ่งพูดพล่ามไม่หยุด คนหนึ่งชอบเก็บตัว-คนหนึ่งชอบเที่ยวเตร่ หลังถุกตามตื้อก็เริ่มเห็นถึงความจริงใจ ม่อน จึงเรียนรุ้การผุกมิตรและเปิดโลกใบใหม่เพราะ แอ้น กระทั่งกลายเป็นบัดดี้ไปไหนไปกัน แม้นิสัยจะแตกต่างและไม่มีอะไรเข้ากันเลย แต่ทั้งคู่ก็เยียวยาจิตใจให้กันและกัน จนมีพัฒนาการเชิงบวกทีละน้อย ม่อน และ แอ้น จึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของกัน ไม่ว่าจะรุ้ตัวหรือไม่ก็ตาม..
.
รุ่นพี่ - ด้วยความเป็นชายจากอดีตคล้ายข้ามเวลามา(ในสภาพวิญญาณ) แม้เธอมองไม่เห็นและรำคาญที่มากวนใจให้สืบคดี แต่เมื่อทำความรุ้จักจึงพบว่าเป็นผุ้ชายใจดี น่ารัก และมีความเป็นสุภาพบุรุษแบบคนสมัยก่อน ขณะเดียวกันก็มีความขี้เล่น ช่างง้องอน หลังผ่านการต่อสู้กับวิญญาณร้ายที่บ้านนายประพันธ์ซึ่ง รุ่นพี่ พยามปกป้องเธออย่างเต็มกำลัง ม่อน ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อนในชีวิต จึงค่อยๆเปิดใจให้เขาในที่สุด รุ่นพี่ นอกจากประทับใจที่เธอเสี่ยงเข้าไปช่วยเขาแล้ว ก็คงไม่เคยเจอผุ้หญิงบุคลิกแบบนี้ในยุคตนเอง จึงเกิดความสนใจและชื่นชอบความเป็น ม่อน ด้วยเช่นกัน หนังเลือกนำเสนอในแบบความรักอันบริสุทธิ์ มากกว่าหวานแหววแนวป๊อปปี้เลิฟ รุ่นพี่ จึงเป็นทั้งพี่ชาย เพื่อนสนิท คู่หูนักสืบ และรักแรกของ ม่อน อย่างแท้จริง..
.
.
.
[ความรัก]
ในหนังซ่อนความนัยบางอย่างที่ว่า วิญญาณจะสัมผัสได้เฉพาะสิ่งที่เคยมีในช่วงเวลา(อดีต)ของตนเอง แต่การที่เขาสามารถสัมผัส ม่อน ได้ในฉากรับร่างเธอขณะตกจากหอระฆัง ประกอบกับมีภาพก่อนจบเป็นเงาลางๆของผุ้หญิงปริศนาที่เดินเข้ามาหา รุ่นพี่ ขณะกำลังนั่งเขียนจดหมายครั้งยังมีชีวิต มันก็ชวนให้คิดต่อยอดว่าทั้งสองเคยเจอกันมาก่อนแล้วหรือเปล่า!!?.. ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่า รุ่นพี่ ได้เสียชีวิตไปกว่า 30 ปีแล้ว แต่วิญญาณยังวนเวียนในภพนี้เพราะมีบ่วงที่ต้องสะสาง (ม่อน ในชาติปัจจุบันอายุแค่ 17 ปี) ที่สำคัญคือเขาเคยเบี่ยงหน้าไม่ให้โดนมือของ ม่อน ราวกับรุ้ว่าเธอสามารถสัมผัสเขาได้ และปิดบังเรื่องเคยมีแฟนว่าจำไม่ได้ ด้วยสีหน้าอมยิ้มแบบมีเลศนัย อีกครั้งหนึ่งคือบนดาดฟ้า ม่อน โยนคำถามไปว่า - "คนตายแล้วไปไหน?".. รุ่นพี่ - "ไม่ได้ไปไหน แต่วิญญาณจะวนเวียนอยู่กับช่วงเวลาที่พวกเขาคุ้นเคย จนกว่าจะถึงเวลาสูญสลายไป" ซึ่งในหนัง ม่อน ตอบสวนทันทีว่า - "เหมือนเรา??" ซึ่งผุ้ชมส่วนใหญ่คงไม่เข้าใจว่า "เรา" หมายถึงอะไรในเมื่อ ม่อน ก็ยังมีชีวิตอยู่..
.
**แต่ในนวนิยายมีบทสนทนาก่อนหน้าคือ ม่อน - "แล้วทำไมบางคนติดต่อกับวิญญาณได้ แต่บางคนไม่ได้", รุ่นพี่ - "โลกปัจจุบันของคนเป็น กับโลกอดีตของคนตาย มีกำแพงขวางอยู่ทำให้ติดต่อกันไม่ได้ แต่ทุกอย่างที่มีข้อจำกัดก็มีข้อยกเว้นเสมอ กำแพงสูงใหญ่แค่ไหนก็ต้องมีช่องโหว่ ขึ้นอยู่กับว่ามันจะปรากฏขึ้นให้กับใคร และนั่นก็คือทางเชื่อมต่อกันระหว่างโลกทั้งสอง", ม่อน - "เหมือนเรา??", รุ่นพี่ (อึกอักก่อนตอบ) "ใช่ เหมือนเรา" ซึ่งถ้าดูหนังหรืออ่านนิยายผ่านๆก็คงไม่ติดใจสงสัย แต่หากใช้ทฤษฏีเบื้องต้นพิจารณาความเป็นไปได้ ประกอบนัยยะที่ซ่อนอยู่ในอากัปกิริยาและคำพูดของ รุ่นพี่ มันก็พอสื่ออ้อมๆถึงชะตากรรมและพรหมลิขิตในรักแท้ ที่เป็นประตูเชื่อมมิติให้พวกเขาได้มาเจอกัน ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่า รุ่นพี่ อาจรุ้มาตลอดว่า ม่อน คือคนรักในชาติที่แล้ว ที่กลับมาเกิดใหม่ในชาตินี้นั่นเอง
.
.
.
[คดีฆาตกรรม]
ปมของคดีเมื่อ 53 ปีก่อน ความซับซ้อนอาจไม่น่าสนใจ เพราะค่อนข้างไกลตัวคนดู(วัยรุ่น) แต่สาเหตุอันเกี่ยวข้องกับ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าล้วนคือสิ่งสำคัญ เพราะหากพิจารณาแล้วในหนังเรื่องนี้ มีการฆาตกรรมซ้อนฆาตกรรมอยู่ถึง 4 ครั้งเลยทีเดียว จุดเริ่มต้นจากความหลงใหลและความโลภ บางคนต้องการเซ็กซ์ก็ลอบเป็นชู้กัน (หมอเสนอ กับ ท่านหญิง / นายประพันธ์ กับ นางสาววรนารถ) ลำดับต่อมาคือความเห็นแก่ตัวและความแค้น หมอเสนอ จำต้องวางยาฆ่าภรรยาตนเองขณะทำคลอด เพื่อรักษาอาชีพการงานและลุกสาวตามคำขู่เข็ญของ ท่านหญิง..
.
ถัดมาคือความโกรธจากการที่ นางสาววรนารถ ถูกฆ่าโดย นางวิภา ภรรยาของนายประพันธ์ที่รุ้ถึงสัมพันธ์สวาท (นายประพันธ์มาเจอ จึงนำศพไปซ่อนหลังกำแพง) ก่อนจะลงเอยด้วยความรักจากการ ท่านหญิง หกล้มริมสระจนหัวแตกเป็นแผลขนาดใหญ่และโดน หนุแดง ผลักลงไปในสระน้ำเพราะฝังใจกับการถุกทารุณ และเลียนแบบในหนังสือนิทาน แม้พยามเข้าช่วยแต่ไม่ทันการณ์ หมอเสนอ เข้าใจผิดว่าลุกสาวเป็นผุ้ก่อเหตุจึงพยามปกป้อง ด้วยการป้ายความผิดแก่ นายจิตร คนสวนให้เป็นผุ้รับเคราะห์จนโดนโทษประหาร
.
และเหตุการณ์สุดท้ายคือ 20 ปีต่อมาที่ หมอเสนอ กลัวคดีที่อำพรางไว้จะถุกเปิดเผยจึงกำจัด รุ่นพี่ (ที่พยามสืบหาความจริงในฐานะญาติของ นายจิตร) ด้วยการลอบยิงจนร่างตกลงไปในสระเดียวกัน (ม่อน จึงรุ้สึกได้ถึงกลิ่นดินปืนจากบริเวณนั้น) ..งานนี้จึงไม่ใช่แค่ให้ความบันเทิง ในการไขคดีว่าใครฆ่าใครเท่านั้น แต่ไปไกลกว่านั้นด้วยการสื่อสารถึงคนดูว่า "คนเราทุกวันนี้ ฆ่ากันเพราะอะไร?" ซึ่งทำให้ภาพยนตร์มีสาระและคุณค่าอย่างมาก
.
.
.
[บทภาพยนตร์]
การมีโครงเรื่องหลักและรองที่ต้องเล่าสลับไปมา ไหนจะแนวทางผสมผสานทั้ง teenager, horror, romantic, fiction มันจึงเป็นหนังวัยรุ่นที่เล่นท่ายากที่สุดเรื่องหนึ่งในวงการภาพยนตร์ไทย เพราะบ้านเราอย่าว่าแต่หนังแนวสืบสวนเลย แค่ให้นึกถึงหนังวัยรุ่นคุณภาพก็ยากเต็มทีแล้ว และน้อยเรื่องจะกล้าแหวกแนวทางเดิมๆอย่าง romantic-comedy หรือ horror แบบที่เห็นกันจนเบื่อตลอดทั้งปี.. งานนี้แม้ดำเนินเรื่องหลายพาร์ท บทหนังมีธีมและประเด็นที่แข็งแรง มันยังใส่รายละเอียดรายทางให้ขบคิดเป็นระยะ ทั้งการตีความวิญญาณในรุปแบบพลังงาน การบันทึกความทรงจำจากภาพถ่ายในอดีต และอื่นๆอีกมากมาย.. แต่ส่วนที่โดดเด่นจนอยากนำมาขยายความ คือการสะท้อนปัญหาของเด็กและเยาวชน คุณวิศิษฏ์ น่าจะตั้งใจแทรกตรงนี้เข้ามาให้แนบเนียนที่สุด เพื่อให้เนื้อหาด้านบันเทิงยังทำหน้าที่ตัวเองเต็มที่ แต่หากลองวิเคราะห์แล้วมันคือความตั้งใจแน่นอน ในการตีแผ่ปัญหาผ่านตัวละครสำคัญๆดังนี้
.
ม่อน - เหยื่อของสถาบันการศึกษา ด้วยความเป็นเด็กชายขอบ เธอจึงเป็นที่รังเกียจและดูถูก เวลามีเรื่องไม่ดีก็มักตกเป็นแพะรับบาป ดังฉากที่เธอถูกเพื่อนๆในห้องรุมชี้ว่าเป็นคนกระทำผิด แม้ออกปากปฏิเสธแต่เสียงของเธอก็ไม่มีความหมาย (ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ คงไม่ใช่ครั้งแรกแน่นอน) เมื่อถูกเรียกเข้าไปอบรม ม่อน ก็ทำสีหน้าเรียบเฉยและแสดงแววตาไม่ให้ความเคารพคุณแม่อธิการ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นผุ้ใหญ่หลงเหลืออยู่เลย ในเมื่อไม่มีใครพยามถามหาความจริงจากคนคนเดียว เพราะมันถุกตัดสินไปแล้วจากคนจำนวนมากกว่า เสียดสีองค์กรหรือสถาบันที่มักให้สำคัญกับเสียงข้างมาก ทั้งที่บางเรื่องมันไม่อาจใช้ชี้วัดความถุกต้องได้เลย..
.
แอ้น - เหยื่อของสถาบันครอบครัว แม้ถุกคนในโรงเรียนหมั่นไส้และจ้องเล่นงาน (ความเป็นเด็กย้ายมาใหม่ แถมยังรวย หน้าตาดี และติดนิสัยช่างโอ่) แต่สาเหตุแท้จริงคือการขาดการดุแลเอาใจใส่จากคนเป็นพ่อ ที่ตัดสินใจแต่งงานใหม่และย้ายไปอยู่อเมริกาหลังแม่ของเธอเสียชีวิต แอ้น จึงติดใช้เงินสปอยความสุขให้ตัวเอง และแสวงหาความรักจากชาย(ชั่ว)อย่าง มาสเซอร์รติ ทดแทนความอบอุ่นที่ขาดหายไปจากบิดา.. น่าเสียดายที่ในหนังเราเห็นตัวละครในมุมที่ค่อนข้างแคบ (ประกอบกับการแคสติ้ง ที่จะเอ่ยถึงในลำดับต่อไป) ฉากดราม่าสำคัญช่วงท้ายจึงไปไม่สุดในความสะเทือนใจ ต่างกับนวนิยายที่อ่านแล้วร่างแทบจะทรุดเลยทีเดียว..
.
หนุแดง - เหยื่อของความเน่าหนอนของผุ้ใหญ่ในสังคม เธอเป็นเด็กกำพร้าที่ได้เป็นบุตรบุญธรรมของ ท่านหญิง (ที่มีทายาทไม่ได้) ภายนอกคือโชคดีบนกองเงินกองทองในฐานะทายาท แต่ความจริงเธอกลายเป็นเครื่องระบายอารมณ์ ในความร้ายกาจของผุ้เป็นแม่เลี้ยง ทั้งทุบตีและกักขังหน่วงเหนี่ยวสารพัด แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ผุ้รับผิดชอบสอดส่องดูแล คนรับใช้ในวังก็คงเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ หนูแดง อาจมีปลายทางโตมาเป็นอะไรก็ได้ ที่เป็นปัญหาของสังคมต่อไป แต่เธอกลับทิ้งทุกอย่างแล้วหนีออกมาในวัย 12 ปี และเลือกศาสนาเป็นเครื่องนำทางชีวิตจนถึงทุกวันนี้..
.
รุ่นพี่ - เป็นเหยื่อของกระบวนการทางกฏหมาย การที่วัยรุ่นอย่างเขาต้องมาสืบคดีด้วยตนเอง เพราะสมัยนั้นมีความบกพร่องในการสืบสวน จนญาติตนเองต้องโทษประหารโดยไม่ชอบธรรม (เรื่องลักษณะนี้มีอยู่มากมายในบางประเทศ หึหึ..) เมื่อเขาเข้าใกล้ความจริงก็ถูกสังหารอย่างเลือดเย็นด้วยอาวุธปืน.. แม้บทหนัง(และนวนิยาย)จะไม่ขยายความในส่วนนี้มากนัก แต่ก็พอเดาออกว่าตำรวจคงไม่มีทางสัญนิษฐานได้หรอกว่า การตายในครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับคดีเมื่อ 20 ปีก่อน และคงปิดคดีให้จบๆไปว่า รุ่นพี่ โดนคู่อริสังหารด้วยความแค้นส่วนตัวบางอย่าง
.
.
.
[มีต่อด้านล่าง]

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่