เจาะลึก CPF เจ้าพ่อเกษตรไทย!

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ ผมได้วิเคราะห์ CPALL ไปแล้ว ถ้าจะให้ครบคงต้องวิเคราะห์ตัวนี้ด้วย ใครที่ยังไม่ได้อ่าน CPALL สามารถตามอ่านได้ที่นี่ครับ
เจาะลึก CPALL เจ้าพ่อโชห่วยไทย!


First Look

รูปที่ 01

กับ P/E ที่ไม่สูงนัก และ P/B ที่ 1 กว่าๆ  พร้อมอัตราเงินปันผลที่พอใช้ได้เลยทีเดียว เรามาดูภาพรวมธุรกิจกันก่อน

CPF ทำธุรกิจขายอาหารสัตว์ ผลิตผลจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และอาหาร เป็นหลัก โดยในช่วงหลังๆ มานี่เน้นส่งออกและลงทุนต่างประเทศเป็นหลักครับ จะเห็นว่ารายได้จากกิจการต่างตามรูป


รูปที่ 02

ดังนั้นตัวผลักดันรายได้หลักๆ จะมาจากในประเทศครึ่งหนึ่ง นอกประเทศครึ่งหนึ่ง โดยในประเทศทำธุรกิจน่าจะเรียกได้ว่าครบวงจร คือตั้งแต่ ต้นน้ำ คือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ชำแหละ และส่งขาย ทีนี้นอกประเทศมีอะไรบ้าง ลองดูรูปครับ


รูปที่ 03

จะเห็นได้ว่าเอเชียนั้นสร้างรายได้ให้เยอะที่สุด ก็คงจะไม่พ้นจีนนั่นเองครับ

ซึ่งตัวผลักดันรายได้นั้นเป็นเรื่องของอาหารสัตว์ และสัตว์ต่างๆ  คือ ไก่ สุกร กุ้ง ดังนั้นรายได้ของบริษัทจะกระทบอย่างมากหากเกิดโรคระบาดในสัตว์เหล่านี้ครับ ยกตัวอย่างเช่น โรคกุ้ง EMS โรคท้องร่วงในสุกร ซึ่งส่งผลกระทบให้วัตถุดิบลดลง ส่งผลให้รายได้ลดลงไปด้วย

อีกจุดหนึ่งคือในเรื่องของราคาขาย หากราคาขายถูกกดดันลงมา ทำให้รายได้ย่อมจะลดลงเช่นกันครับ ก็เป็นอีกจุดซึ่งควบคุมได้ยาก (ผันผวน)

ดัชนีราคาเนื้อสัตว์ครับ เผื่อใครอยากดู
http://www.dit.go.th/pricelist/showannual_all.asp

นอกไปจากนั้นในประเทศที่บริษัทไปลงทุนอยู่นั้น หากมีการออกกฎระเบียบใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกิจการอาหารที่ตั้งอยู่ รายได้ที่มีอยู่ก็อาจเกิดผลกระทบได้ ต้องดูเป็นกรณีไปครับ

มาดูหัวข้อพิพาททางกฎหมายบ้างครับ ซึ่งน่าสนใจพอสมควร
ยกมาจาก 56-1 ปี 57 ครับ

“บริษัทมีเพียงข้อพิพาททางกฎหมายจากการดำเนินธุรกิจโดยปกติ โดยไม่มีคดีที่บริษัทเป็นคู่ความหรือคู่กรณีที่เข้าลักษณะคดีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัทไม่มีคดีที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ หรือคดีที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของบริษัท”

ผมไม่ทราบนโยบายของ กลต. ว่าหัวข้อพิพาททางกฎหมายนี่สามารถยกเว้นไม่ระบุลงมาได้ถ้าไม่เกินร้อยละ 5 ของผู้ถือหุ้น หรือ เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยปกติ ได้ด้วยหรือ ซึ่งบริษัทไม่ลงข้อพิพาทใดๆ เลย ตรงนี้ผม no comment ครับ

ขอแวะมาพูดประเด็นผู้บริหารนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ผมจะไม่ค่อยได้ดูส่วนนี้มากเท่าไหร่ เพราะผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นคนในตระกูลของผู้ถือหุ้นใหญ่ซึ่งจะไม่ค่อยมีผลอะไรมาก หรือกรรมการภายนอกก็จะมีประวัติที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะดูจากผลงานที่ผ่านมาเป็นหลัก ส่วนที่ต้องจับตามองนิดหนึ่งก็คือสัดส่วนการถือหุ้นที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้เราเห็นอะไรเยอะ เช่น ถ้าผู้บริหารถือหุ้นบริษัทอยู่ ก็อาจจะทำให้ผู้บริหารมองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ แต่ก็มีข้อแม้นิดหนึ่งในกรณี เช่น การออก stock option เป็นโบนัสให้ผู้บริหาร ซึ่งทำให้สามารถซื้อได้ในราคาทำกว่าราคาตลาดมาก ๆ ซึ่งผู้บริหารก็จะได้รับผลประโยชน์ตรงจุดนี้เยอะ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยก็จะโดน dilute ไปโดยปริยายครับ โดยส่วนตัวผมชอบให้บริษัทจ่ายผลตอบแทนเป็นเงินสดมากกว่า ต่อไปนี้ผมคงต้องดูตรงนี้เยอะ ๆ แล้วล่ะ

Note: ที่ผมรู้สึกแปลก ๆ คือเจ้าสัวธนินทร์ ไม่มีหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมใน CPF ไม่รู้ว่าเป็นไปได้อย่างไรนะครับ (ในหัวข้อผู้บริหารของ 56-1 ปี 57)

มาว่าถึงเรื่องงบการเงินบ้าง ซึ่งซับซ้อนและยุบยั่บมาก ๆ เพราะมีบริษัทย่อยเต็มไปหมด และยังมีรายการระหว่างกันโยงไขว้กันยั้วเยี้ยอ่านแล้วมีนพอควรครับ แต่หลัก ๆ รายการระหว่างกันไม่ค่อยเจออะไรแปลก ๆ เท่าใดนัก จะมีการขายสินทรัพย์ให้กันซึ่ง book กำไรเยอะพอควร


รูปที่ 04
มีอีกจุดหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นการทำเพื่อให้กำไรดู smooth หรือเรียบมากขึ้นไม่ขึ้นๆ ลงๆ  คือรายการกำไรจากการขายเงินลงทุน ซึ่งจุดนี้เราจะรู้แค่ book value ของกิจการที่ขายกับราคาขายเท่านั้นเอง ไม่ได้รู้ว่ากิจการที่ขายดีมากน้อยอะไร วิธีนี้ไม่ผิดอะไรนะครับ สามารถใช้ได้ ซึ่งนักลงทุนอย่าง Warren Buffett ก็บอกเองว่าเขาเองจะทำก็ทำได้เวลาจะปรับแต่งกำไร ก็แค่ขายหุ้นหรือเงินลงทุนที่ถืออยู่แล้ว book เป็นกำไรหรือขาดทุนได้ ซึ่งตรงจุดนี้ผมคิดว่า ผู้บริหาร CPF นั้น ทำการ smooth กำไรของบริษัทพอสมควรนะ ซึ่งเวลาจะดู trend รายได้ ควรตัดส่วนนี้ออกนะครับถึงจะเห็นภาพที่แท้จริง  จะเห็นว่าในไตรมาส 3 พอรวมรายได้จากการขายเงินลงทุนแล้วชนะปีที่แล้วอยู่หน่อยนึง

My Take
Neutral
เอาละครับนั่นคือภาพรวมธุรกิจ และจุดเสี่ยงของบริษัท ปัจจัยผันผวน เช่น โรคระบาด อัตราแลกเปลี่ยน ราคาสินค้า เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก แม้ว่าบริษัทพยายามจะเข้าไปควบคุมทุกอย่าง แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ อย่างพวกโรคระบาดเกิดทีรายได้กระทบฮวบ อัตราแลกเปลี่ยน (แม้จะมี hedge) ราคาสินค้าตกต่ำรายได้ก็ลดได้ ถือว่าต้องดูเยอะพอสมควรครับ แต่ในระยะยาวผมเชื่อว่าบริษัทมีการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่เก่ง (หมุนเงินเก่งว่าง่ายๆ) หนี้สินส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบหุ้นกู้ซึ่งดอกเบี้ยถูกว่าธนาคารครับ
ในมุมมองผมธุรกิจประเภท commodity หรือสินค้าอุปโภคบริโภคนั้น แบรนด์สินค้าไม่ค่อยมีผลมาก วัดกันที่ราคาเป็นหลัก (จำเป็นไหมต้องกินไก่ ซีพี ถ้าราคาแพงกว่า?) ดังนั้นผู้บริหารต้องเก่ง ในการบริหารจัดการ และลดต้นทุน รวมไปถึงการรับมือปัญหาต่างๆ ซึ่งผมมองว่าเรื่องบุคลากร CPF จัดการได้ค่อนข้างดีเพราะผู้บริหารเก่ง (และเคี่ยว)

Disclaimer:
ผมไม่มีหุ้น CPF และจะไม่เข้าถือภายใน 72 ชั่วโมงหลังตลาดเปิดทำการครับ

อ้างอิง:
http://www.finmoment.com/เจาะลึก-cpf-เจ้าพ่อเกษตรกร/

ไปอ่านหุ้นตัวอื่นๆ กันได้ที่
http://www.finmoment.com

มี page facebook แล้วนะ ~~
https://www.facebook.com/finmoment

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่