วิธีสังเกตบิลค่าไฟและพนง.ปลอมๆ แบบง่ายๆ

เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวมิจฉาชีพ ออกอาละวาดทำความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ด้วยการปลอมบิลค่าไฟและพนักงานปลอมๆมาเรียกเก็บค่าไฟ ตามข่าวนี้!!!

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441181786

(เครดิตข่าวจากมติชนออนไลน์)

โดยในเนื้อข่าวได้บอกถึงวิธีสังเกตและคำแนะนำต่างๆ ที่ประโยชน์ พอสมควรครับ

และเพื่อป้องกันไม่ให้ใครตกเป็นเหยื่ออีก จึงขอมาบอกกล่าวกันอีกครั้ง!!! ตามรายละเอียดในเนื้อข่าวดังนี้....

ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)ได้กำหนดช่องทางการชำระค่าบริการที่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ไฟฟ้าไว้หลากหลายช่องทาง อาทิ การจ่ายผ่านการหักบัญชีเงินฝากธนาคารรวมถึงหักบัญชีบัตรเครดิต การจ่ายผ่านช่องทางเสริมที่เอกชนจัดทำขึ้น แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจ่ายคือ เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการชำระกับตัวแทนเก็บเงินค่าไฟฟ้าที่เดินทางไปเก็บเงินตามบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีเฉพาะพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลเท่านั้น

ซึ่งวิธีการชำระผ่านตัวแทนนี้ อาจเป็นช่องว่าให้มิจฉาชีพได้

โดยบิลปลอมที่มักนำมาใช้เรียกเก็บเงินตามบ้านนั้น มีจุดสังเกต ดังนี้


1.บิลปลอมจะพิมพ์ข้อความบริเวณหัวกระดาษว่า "ใบแจ้งเตือนตัด" ซึ่งบิลจริงนั้นต้องพิมพ์ว่า "ใบแจ้งค่าไฟฟ้า"

2.บิลปลอมมีแถบบาร์โค้ดแนวนอน 2 ตำแหน่ง ซึ่งบิลจริงมี 3 ตำแหน่ง

3.บิลปลอมบริเวณช่องจำนวนเงินที่ต้องชำระ และที่อยู่ จะเขียนด้วยลายมือ


(เครดิตภาพจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) จ.เชียงใหม่)


ต้องนี้ผมขอเพิ่มเติมวิธีสังเกตบิลค่าไฟคือ...

***ลักษณะหรือเนื้อกระดาษจะดูไม่มีคุณภาพ  โดยเรานำบิลค่าไฟฟ้าของเดือนก่อนๆมาเปรียบเทียบกัน ถ้าเป็นของกฟภ.เนื้อกระดาษจะมัน ลื่น คุณภาพดีกว่า และจะเห็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดครับ***



สำหรับวิธีการสังเกตพนักงานตัวจริงคือ

-โดยมากจะเป็นบุคคลเดิมที่เคยเก็บในทุกๆเดือนถ้าไม่ใช่คนเดิมสามารถเรียกดูบัตรพนักงาน หรือหนังสือมอบงาน รับรองการปฏิบัติงานได้ อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพนั้นอาจจะปลอมแปลงบัตรพนักงานมาได้ ประชาชนสามารถสอบถามไปสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ของท่าน หรือโทรสายด่วน 1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


-บัตรประจำตัวพนักงานปลอมมักทำกันถูกๆ หมึกจางๆ เลอะเลือน หรือถ้าความคมชัดมาก ก็จะไม่เท่าบัตรพนง.ตัวจริงๆครับ ตามตัวอย่างในรูปเลยครับ




ตรงนี้สำคัญครับ!!!

-ปกติผมจะอยู่ในบ้าน ไม่ออกไปนอกรั้วหรืออาณาเขตบริเวณบ้าน (ป้องกันอันตรายด้านอื่นด้วย) ถ้าเป็นพนง.ใหม่จริงๆ(ที่เป็นคนของกฟภ.)แล้วเราไม่แน่ใจ ให้โทรไปสอบถามที่สนง.การไฟฟ้าเขตนั้นๆ ทันทีครับ!! ถามว่าวันนี้ได้มาเก็บค่าไฟบ้านเลขที่นั้น เลขที่นี่มั้ย  หรือมีพนักงานชื่อ...มาเก็บค่าไฟบ้างหรือเปล่า  ซึ่งโดยปกติ กฟภ.จะตอบได้ทันทีครับว่าชื่ออะไร ไปเก็บพื้นที่ใดบ้าง  แต่ถ้าเป็นมิจฉาชีพ ผมว่าคงไม่รอเรากลับมาแล้วครับ

- ถ้ายังไม่มั่นใจอะไร ว่าเป็นพนง.จริงหรือเป็นมิจฉาชีพกันแน่!!! ให้บอกไปว่าจะไปติดต่อชำระที่กฟภ.ด้วยตัวท่านเอง (อันนี้ง่ายสุดและปลอดภัยกับตัวเราครับ)

และวิธีสุดท้ายที่ผมใช้ในการชำระค่าไฟ คือการหักจากบัญชีธนาคาร โดยในวันที่วางบิลแจ้งค่าไฟ จะมาก่อนวันที่ตัดจากบัญชีธนาคารของเราครับ

ตัวอย่าง บิลเรียกเก็บวันที่ 20 ของทุกเดือน ค่าไฟ= 500 บาท จะตัดบัญชีวันที่30  นั้นหมายถึงเราต้องมีเงินในบัญชีมากกว่า500 บาท ก่อนวันที่30 เพื่อให้พอกับการชำระค่าไฟ (ซึ่งปกติก็ไม่มีปัญหาอะไร) แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่พอ หรือเราลืมเตรียมเงินในบัญชี จนไม่สามารถตัดยอดชำระค่าไฟได้
กฟภ.ก็จะมีจดหมายแจ้งมาให้รีบไปชำระที่สำนักงานกฟภ.ให้เรียบร้อยครับ ไม่มีให้พนง.มาเก็บที่หน้าบ้านเรานะครับ

วิธีหักบัญชีธนาคาร ผมว่าจึงปลอดภัยและสะดวกสูงสุดครับ


ส่วนใครมีวิธีสังเกตหรือคำแนะนำอื่น ก็นำมาแบ่งปันกันได้ครับ!!!
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่