แบ่งเป็น
1. เงินที่ภาคเอกชนให้กับสมาคมโดยตรง
เช่น ค่าสปอนเซอร์ต่างๆ ค่าสนับสนุนการดำเนินกิจการ ค่าสนับสนุนการเตรียมทีมชาติ ค่าสนับสนุนเสื้อทีมชาติ ฯลฯ รวม 898 ล้านบาท
ปี 2551-2555 บริษัท ไนกี้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์กีฬายี่ห้อ Nike ในประเทศไทย สนับสนุนเสื้อทีมชาติ 100 ล้านบาท
ปี 2552-2555 บริษัท แมคไทย จำกัด เจ้าของเฟรนไชส์ McDonald’s ในประเทศไทย สนับสนุน 90 ล้านบาท
ปี 2553-2554 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเบียร์ช้าง สนับสนุน 60 ล้านบาท
ปี 2553-2556 บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยี่ห้อ LG ในประเทศไทย สนับสนุน 45 ล้านบาท
ปี 2555 บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ผู้บริการสายการเบินต้นทุนต่ำ Air Asia สนับสนุน 3 ล้านบาท
ปี 2555-2556 บริษัท ไทยเบฟฯ สนับสนุนต่อ 60 ล้านบาท
ปี 2555-2556 บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการบัตรเงินสด Umay+ สนับสนุน 44 ล้านบาท
ปี 2555-2558 บริษัท แกรนด์สปอร์ตกรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์กีฬา ยี่ห้อ Grand Sport สนับสนุนเสื้อทีมชาติ 96 ล้านบาท
ปี 2558-2565 บริษัท ไทยเบฟฯ สนับสนุน 400 ล้านบาท
2. เงินที่ภาครัฐให้กับสมาคมโดยตรง
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการกิจกรรม โดยเฉพาะเงินสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ ได้รับในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 100 ล้านบาท/ปี โดยเงินจาก กกท. ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้เป็นเงินสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระดับดิวิชั่น 2 หรือลีกภูมิภาค (ทั้งเงินสนับสนุนทีม ทีมค่าจัดการแข่งขัน ค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ฯลฯ) ซึ่งแต่ละปีจะมีสโมสรฟุตบอลอาชีพระดับจังหวัดส่งทีมเข้าแข่งขันราว 70-90 ทีม
ทั้งนี้ ยังมีเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่ได้มาเป็นครั้งคราว เช่น จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ให้ตามนโยบาย “1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ” ของรัฐบาล รวมเป็นเงิน 100 ล้านบาท และจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อีก 3 ล้านบาท
3. เงินสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FIFA
สมาคมฟุตบอลฯ จะได้เงินสนับสนุนจาก FIFA ขั้นต่ำ 7.5 ล้านบาท/ปี ตามโครงการให้เงินช่วยเหลือด้านการเงิน (The Financial Assistance Programme: FAP) ที่ FIFA จ่ายให้กับประเทศสมาชิกขั้นต่ำ 250,000 เหรียญสหรัฐ/ปี
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของ FIFA ได้เปิดเผยตัวเลขการให้ให้เงินช่วยเหลือแก่สมาคมฟุตบอลฯ ตามโครงการ FAP ย้อนหลัง เป็นเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2554-2558 โดยในปี 2554 ให้เงินรวม 550,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 16.5 ล้านบาท) ปี 2555 ให้เงินรวม 250,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านบาท) ปี 2556 ให้เงินรวม 250,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านาบท) ปี 2557 ให้เงินรวม 500,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 15 ล้านบาท) ปี 2558 ให้เงินรวม 300,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 9 ล้านบาท)
นอกจากนี้ FIFA ยังให้เงินสนับสนุน ผ่านโครงการ Goal Programme ที่ให้ยื่นขอเป็นรายโปรเจกต์ ซึ่งถึงปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลฯ ได้ยื่นขอไปแล้ว 4 โปรเจกต์ ได้รับงบประมาณรวม 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 36 ล้านบาท)
ยังไม่รวมกับเงินรางวัลที่ได้จากการส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันรายการสำคัญ อาทิ การส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ที่ประเทศแคนาดา ช่วงต้นปี 2558 ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุน 12 ล้านบาท
หรือกรณีที่ FIFA จ่ายเงินสนับสนุนเฉพาะคราว (เงินโบนัส) เช่น ภายหลังการแข่งขันฟุตบอลชายชิงแชมป์โลก ที่ประเทศบราซิล ในปี 2557 ที่มีกำไรค่อนข้างมาก FIFA ก็มีมติจ่ายเงินโบนัสครั้งเดียวให้กับสมาคมฟุตบอลของประเทศสมาชิก ประเทศละ 500,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 15 ล้านบาท) เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงเงินช่วยเหลือจาก AFC ที่สมาคมฟุตบอลฯ ของไทย เป็น 1 ใน 47 ประเทศสมาชิก
4. เงินที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศ
หลังถูก AFC บังคับให้ต้องจัดตั้งนิติบุคคลเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการฟุตบอลลีกภายในประเทศ นำไปสู่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกฯ ในปี 2551 (ที่มีนายวรวีร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 45%) วงการฟุตบอลไทยก็เข้าสู่ยุคการทำธุรกิจลูกหนังอย่างจริงจัง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดกระทั่งมีมูลค่าราว 3,500 ล้านบาท/ปี ในปัจจุบัน จากการประเมินโดยนายองอาจ ก่อสินค้า ประธานบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกฯ คนปัจจุบัน
(สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เคยตรวจสอบรายได้ของสโมสรต่างๆ ในไทยพรีเมียร์ลีกและลีกวัน เท่าที่ตรวจสอบได้ 28 สโมสร จากทั้งหมด 38 สโมสร พบว่ามีรายได้รวมกันถึง 2,008 ล้านบาท แต่นั่นเป็นข้อมูลของปี 2556)
ผลประโยชน์ในส่วนนี้เป็น “ก้อนใหญ่ที่สุด” ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง โดยมีการทำสัญญาจ้างบริษัทเอกชน ได้แก่ บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการสิทธิประโยชน์
ทั้งนี้ จากการรวบรวมโดยคำนวณรวมกับสัญญาที่ทำล่วงหน้าไปด้วย พบว่า มีมูลค่ารวมกัน 7,865 ล้านบาท โดยมากกว่าสามในสี่ (6,600 ล้านบาท) เป็นค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจากบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่งต่อสัญญาฉบับล่าสุด ระหว่างปี 2560-2563 ด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 4,200 ล้านบาท
– ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
ปี 2554-2556 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 600 ล้านบาท (ปีละ 200 ล้านบาท)
ปี 2557-2559 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 1,800 ล้านบาท (ปีละ 600 ล้านบาท)
ปี 2560-2563 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 4,200 ล้านบาท (ปีละ 1,050 ล้านบาท)
ที่เหลือเป็นเงินสนับสนุนการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ ทั้งฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย โดยบางส่วนถูกกันไว้เป็นเงินรางวัลสำหรับแชมป์ รองแชมป์ และลำดับต่างๆ ลดหลั่นกันไป รวม 1,265 ล้านบาท แบ่งเป็น
– ไทยพรีเมียร์ลีก
ปี 2553 บริษัท เครื่องดื่มสปอนเซอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเกลือแร่ Sponsor สนับสนุน 25 ล้านบาท
ปี 2554-2555 บริษัทเครื่องดื่มสปอนเซอร์ฯ สนับสนุน 140 ล้านบาท (ปีละ 70 ล้านบาท)
ปี 2556-2558 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุน 200 ล้านบาท (ปีละ 66.7 ล้านบาท)
ปี 2559-2561 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุน 600 ล้านบาท (ปีละ 200 ล้านบาท)
– ดิวิชั่น 1/ลีกวัน
ปี 2557-2558 บริษัท ไทย ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ Yamaha ในประเทศไทย สนับสนุน 80 ล้านบาท (ปีละ 40 ล้านบาท)
– ดิวิชั่น 2/ลีกภูมิภาค
ปี 2552 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS สนับสนุน 15 ล้านบาท
ปี 2553-ปัจจุบัน บริษัทแอดวานซ์ฯ สนับสนุนต่อเนื่อง ปีละ 20 ล้านบาท
– เอฟเอคัพ
ปี 2552 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 3 ล้านบาท
ปี 2553-2555 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 25 ล้านบาท
ปี 2556-2557 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 27 ล้านบาท
ปี 2558-2562 บริษัทไทยเบฟฯ สนับสนุน 100 ล้านบาท
– ลีกคัพ
ปี 2553-2555 บริษัทโตโยต้าฯ สนับสนุน 30 ล้านบาท
(หลังปี 2556 บริษัทโตโยต้าฯ ยังสนับสนุนต่อเนื่อง แต่วงเงินไปรวมกับเงินสนับสนุนไทยพรีเมียร์ลีก)
เปิดผลประโยชน์หมื่นล้านในวงการลูกหนังไทย
แบ่งเป็น
1. เงินที่ภาคเอกชนให้กับสมาคมโดยตรง
เช่น ค่าสปอนเซอร์ต่างๆ ค่าสนับสนุนการดำเนินกิจการ ค่าสนับสนุนการเตรียมทีมชาติ ค่าสนับสนุนเสื้อทีมชาติ ฯลฯ รวม 898 ล้านบาท
ปี 2551-2555 บริษัท ไนกี้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์กีฬายี่ห้อ Nike ในประเทศไทย สนับสนุนเสื้อทีมชาติ 100 ล้านบาท
ปี 2552-2555 บริษัท แมคไทย จำกัด เจ้าของเฟรนไชส์ McDonald’s ในประเทศไทย สนับสนุน 90 ล้านบาท
ปี 2553-2554 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเบียร์ช้าง สนับสนุน 60 ล้านบาท
ปี 2553-2556 บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยี่ห้อ LG ในประเทศไทย สนับสนุน 45 ล้านบาท
ปี 2555 บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ผู้บริการสายการเบินต้นทุนต่ำ Air Asia สนับสนุน 3 ล้านบาท
ปี 2555-2556 บริษัท ไทยเบฟฯ สนับสนุนต่อ 60 ล้านบาท
ปี 2555-2556 บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการบัตรเงินสด Umay+ สนับสนุน 44 ล้านบาท
ปี 2555-2558 บริษัท แกรนด์สปอร์ตกรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์กีฬา ยี่ห้อ Grand Sport สนับสนุนเสื้อทีมชาติ 96 ล้านบาท
ปี 2558-2565 บริษัท ไทยเบฟฯ สนับสนุน 400 ล้านบาท
2. เงินที่ภาครัฐให้กับสมาคมโดยตรง
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการกิจกรรม โดยเฉพาะเงินสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ ได้รับในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 100 ล้านบาท/ปี โดยเงินจาก กกท. ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้เป็นเงินสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในระดับดิวิชั่น 2 หรือลีกภูมิภาค (ทั้งเงินสนับสนุนทีม ทีมค่าจัดการแข่งขัน ค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ฯลฯ) ซึ่งแต่ละปีจะมีสโมสรฟุตบอลอาชีพระดับจังหวัดส่งทีมเข้าแข่งขันราว 70-90 ทีม
ทั้งนี้ ยังมีเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่ได้มาเป็นครั้งคราว เช่น จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ให้ตามนโยบาย “1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ” ของรัฐบาล รวมเป็นเงิน 100 ล้านบาท และจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อีก 3 ล้านบาท
3. เงินสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FIFA
สมาคมฟุตบอลฯ จะได้เงินสนับสนุนจาก FIFA ขั้นต่ำ 7.5 ล้านบาท/ปี ตามโครงการให้เงินช่วยเหลือด้านการเงิน (The Financial Assistance Programme: FAP) ที่ FIFA จ่ายให้กับประเทศสมาชิกขั้นต่ำ 250,000 เหรียญสหรัฐ/ปี
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของ FIFA ได้เปิดเผยตัวเลขการให้ให้เงินช่วยเหลือแก่สมาคมฟุตบอลฯ ตามโครงการ FAP ย้อนหลัง เป็นเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2554-2558 โดยในปี 2554 ให้เงินรวม 550,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 16.5 ล้านบาท) ปี 2555 ให้เงินรวม 250,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านบาท) ปี 2556 ให้เงินรวม 250,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 ล้านาบท) ปี 2557 ให้เงินรวม 500,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 15 ล้านบาท) ปี 2558 ให้เงินรวม 300,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 9 ล้านบาท)
นอกจากนี้ FIFA ยังให้เงินสนับสนุน ผ่านโครงการ Goal Programme ที่ให้ยื่นขอเป็นรายโปรเจกต์ ซึ่งถึงปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลฯ ได้ยื่นขอไปแล้ว 4 โปรเจกต์ ได้รับงบประมาณรวม 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 36 ล้านบาท)
ยังไม่รวมกับเงินรางวัลที่ได้จากการส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันรายการสำคัญ อาทิ การส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ที่ประเทศแคนาดา ช่วงต้นปี 2558 ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุน 12 ล้านบาท
หรือกรณีที่ FIFA จ่ายเงินสนับสนุนเฉพาะคราว (เงินโบนัส) เช่น ภายหลังการแข่งขันฟุตบอลชายชิงแชมป์โลก ที่ประเทศบราซิล ในปี 2557 ที่มีกำไรค่อนข้างมาก FIFA ก็มีมติจ่ายเงินโบนัสครั้งเดียวให้กับสมาคมฟุตบอลของประเทศสมาชิก ประเทศละ 500,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 15 ล้านบาท) เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงเงินช่วยเหลือจาก AFC ที่สมาคมฟุตบอลฯ ของไทย เป็น 1 ใน 47 ประเทศสมาชิก
4. เงินที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศ
หลังถูก AFC บังคับให้ต้องจัดตั้งนิติบุคคลเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการฟุตบอลลีกภายในประเทศ นำไปสู่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกฯ ในปี 2551 (ที่มีนายวรวีร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 45%) วงการฟุตบอลไทยก็เข้าสู่ยุคการทำธุรกิจลูกหนังอย่างจริงจัง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดกระทั่งมีมูลค่าราว 3,500 ล้านบาท/ปี ในปัจจุบัน จากการประเมินโดยนายองอาจ ก่อสินค้า ประธานบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกฯ คนปัจจุบัน
(สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เคยตรวจสอบรายได้ของสโมสรต่างๆ ในไทยพรีเมียร์ลีกและลีกวัน เท่าที่ตรวจสอบได้ 28 สโมสร จากทั้งหมด 38 สโมสร พบว่ามีรายได้รวมกันถึง 2,008 ล้านบาท แต่นั่นเป็นข้อมูลของปี 2556)
ผลประโยชน์ในส่วนนี้เป็น “ก้อนใหญ่ที่สุด” ซึ่งสมาคมฟุตบอลฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง โดยมีการทำสัญญาจ้างบริษัทเอกชน ได้แก่ บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการสิทธิประโยชน์
ทั้งนี้ จากการรวบรวมโดยคำนวณรวมกับสัญญาที่ทำล่วงหน้าไปด้วย พบว่า มีมูลค่ารวมกัน 7,865 ล้านบาท โดยมากกว่าสามในสี่ (6,600 ล้านบาท) เป็นค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจากบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่งต่อสัญญาฉบับล่าสุด ระหว่างปี 2560-2563 ด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 4,200 ล้านบาท
– ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
ปี 2554-2556 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 600 ล้านบาท (ปีละ 200 ล้านบาท)
ปี 2557-2559 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 1,800 ล้านบาท (ปีละ 600 ล้านบาท)
ปี 2560-2563 บริษัททรูวิชั่นส์ฯ รวม 4,200 ล้านบาท (ปีละ 1,050 ล้านบาท)
ที่เหลือเป็นเงินสนับสนุนการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ ทั้งฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย โดยบางส่วนถูกกันไว้เป็นเงินรางวัลสำหรับแชมป์ รองแชมป์ และลำดับต่างๆ ลดหลั่นกันไป รวม 1,265 ล้านบาท แบ่งเป็น
– ไทยพรีเมียร์ลีก
ปี 2553 บริษัท เครื่องดื่มสปอนเซอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเกลือแร่ Sponsor สนับสนุน 25 ล้านบาท
ปี 2554-2555 บริษัทเครื่องดื่มสปอนเซอร์ฯ สนับสนุน 140 ล้านบาท (ปีละ 70 ล้านบาท)
ปี 2556-2558 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุน 200 ล้านบาท (ปีละ 66.7 ล้านบาท)
ปี 2559-2561 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุน 600 ล้านบาท (ปีละ 200 ล้านบาท)
– ดิวิชั่น 1/ลีกวัน
ปี 2557-2558 บริษัท ไทย ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ Yamaha ในประเทศไทย สนับสนุน 80 ล้านบาท (ปีละ 40 ล้านบาท)
– ดิวิชั่น 2/ลีกภูมิภาค
ปี 2552 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS สนับสนุน 15 ล้านบาท
ปี 2553-ปัจจุบัน บริษัทแอดวานซ์ฯ สนับสนุนต่อเนื่อง ปีละ 20 ล้านบาท
– เอฟเอคัพ
ปี 2552 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 3 ล้านบาท
ปี 2553-2555 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 25 ล้านบาท
ปี 2556-2557 มูลนิธิไทยคม สนับสนุน 27 ล้านบาท
ปี 2558-2562 บริษัทไทยเบฟฯ สนับสนุน 100 ล้านบาท
– ลีกคัพ
ปี 2553-2555 บริษัทโตโยต้าฯ สนับสนุน 30 ล้านบาท
(หลังปี 2556 บริษัทโตโยต้าฯ ยังสนับสนุนต่อเนื่อง แต่วงเงินไปรวมกับเงินสนับสนุนไทยพรีเมียร์ลีก)