บทโทรทัศน์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญระดับต้นๆของละครเลยก็ว่าได้ ละครบางเรื่องโครงเรื่องดี แต่บทโทรทัศน์ไม่สนุก ไม่สมเหตุสมผล ก็ส่งผลทำให้ละครไม่น่าติดตาม ในทางกลับกันละครบางเรื่องโครงเรื่องไม่แข็งแรงมาก แต่หากมีบทโทรทัศน์ที่สนุก มีเรื่องราวที่มาที่ไปของตัวละครแต่ละตัว ก็จะส่งผลทำให้ละครสนุกน่าติดตามไปด้วย ในส่วนละครเรื่องรัตนาวดีนั้นนอกจากจะมีบทประพันธ์ต้นเรื่องที่ดีแล้ว ยังนับว่ามีบทโทรทัศน์ที่ดีในความคิดของดิชั้นอีกด้วย (เนื่องจากดิชั้นไม่เคยชมรัตนาวดีเวอร์ชั่นอื่น ดิชั้นขอพูดถึงแค่รัตนาวดี เวอร์ชั่น 2558)
ดิชั้นขอพูดถึงบทโทรทัศน์ของเรื่องนี้ใน 5 ประเด็น คือ
1. การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวละครผ่านการสนทนาต่างๆ
2. บทสนทนาที่สื่อถึงนัยยะ
3. การแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร
4. การคงบทสนทนาเดิมจากตัวนิยาย
5. การตีความตัวละครต่างๆ
1. การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวละครผ่านการสนทนาต่างๆ
ทำให้ผู้ชมเข้าใจในความรู้สึกของตัวละครมากยิ่งขึ้น ดิชั้นขอหยิบยกมาบางส่วนคือ
ท่านหญิงไม่พอใจและผิดหวังท่านดนัยตั้งแต่แรกที่ท่านดนัยผิดนัดไม่มารับที่สนามบิน เห็นได้จากบทพูดและบริบทต่างๆตลอดทั้งเรื่อง เช่น จดหมายตัดไมตรีที่ท่านหญิงส่งถึงท่านดนัยว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆแล้ว สามารถดูแลตนเองได้ รวมถึงตลอดเวลาที่ได้ท่องเที่ยวด้วยกันหากป้าสร้อยหรือนายเล็กพูดถึงท่านดนัยขึ้นมา ท่านหญิงจะมีสีหน้าไม่พอใจ เฉยชา น้อยใจและบทสนทนาจะไปในทางตัดสัมพันธ์ท่านดนัยทันที สิ่งเหล่านี้เป็นปมในใจท่านหญิงมาตลอด ซึ่งท่านดนัยก็รับรู้ถึงปัญหานี้มาตั้งแต่ตนจึงไม่กล้าสารภาพความจริง และช่วงท้ายของละครมีฉากที่ท่านหญิงเปิดเผยความรู้สึกต่อนายเล็กว่าท่านหญิงรู้สึกอย่างไรในวันที่ท่านดนัยไม่มารับที่สนามบิน ทั้งผิดหวัง ทั้งกลัว ว้าเหว่ กังวลไปหมด และยังเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกของท่านหญิงด้วย ความน้อยใจต่างๆที่ท่านหญิงพรั่งพรูออกมาล้วนทำให้ท่านดนัยสงสารและไม่กล้าที่จะสารภาพความจริง จนทำให้เกิดปมเรื่องราวต่างๆตามมามากมาย
ฉากรถน้ำมันหมดนายเล็กให้ป้าสร้อยขี่หลัง ฉากนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวละครได้ดีทีเดียว โดยก่อนหน้านั้นทั้ง 3 คน ท่องเที่ยวด้วยกันมาเป็นระยะเวลานึงแล้ว ป้าสร้อยเริ่มคุ้นเคยและสนิทใจกับนายเล็กมากยิ่งขึ้น รวมถึงบทสนทนาของทั้ง 3 คนที่เกิดขึ้นระหว่างที่นายเล็กให้ป้าสร้อยขี่หลัง มีการพูดถึงครอบครัว พูดถึงแม่
"ค่อยยังชั่วหน่อย...แม่ของเธอเป็นอะไรทำไมถึงต้องเอาเค้าขี่หลังล่ะจ้ะ"
ป้าสร้อยพูดกับนายเล็กด้วยน้ำเสียงที่เป็นกันเอง
"เอ้อ…ขาแพลงนิดหน่อยครับ...ชอบเดินไปเดินมาทำโน่นทำนี่ทั้งวัน"
ป้าสร้อยยิ้มๆ มองท่านดนัยอย่างรู้สึกดีเป็นครั้งแรก...
"เธอนี่เป็นลูกที่ดีนะ...พูดถึงแม่อย่างนี้แล้วก็คิดถึงสิ"
ท่านชายดนัยวัฒนายิ้มอ่อนโยน รัตนาวดีมอง
"คิดถึงสิครับ...คิดถึงมาก...ผมก็กะว่าจะลางานกลับไปหาตอนปลายปี"
"ดีนะที่ยังมีแม่ให้คิดถึง....ฉันสิ..ไม่เคยเห็นหน้าท่านแม่เลย"
รัตนาวดีดูเศร้า ป้าสร้อยก็ทำหน้าเศร้า....
"กระหม่อมว่า...การที่เราไม่เคยเห็นหน้ากันเสียเลย น่าจะดีกว่าเคยเห็นแล้วต้องจากกัน"
"เพราะความผูกพันยังไม่มีน่ะเหรอ...รู้แค่ว่า...เป็นแม่เรา"
"กระหม่อม…แต่ถ้าเคยอยู่ด้วยกัน...ใช้ชีวิตด้วยกันด้วยความรักความอบอุ่น ความผูกพัน และถ้าต้องจากกัน"
"ไม่อยากจะคิด"
"หรือบางคนมีแม่....แต่ไม่ดูแลลูก...เอาแต่ความสุขให้ตัวเอง เป็นแม่ที่เห็นแก่ตัว...ใครเป็นลูกก็ซวยไป" สร้อยว่า
"อย่ามีแม่อย่างนี้จะดีกว่า อย่างนี้ก็แปลว่า ผู้หญิงแบบไหนก็เป็นแม่ได้ทั้งนั้น แต่จะเหมาะสมกับคำว่ากับแม่หรือเปล่ามันก็ขึ้นอยู่กับนิสัยและ ความประพฤติ"
"ถูกต้องที่สุดกระหม่อม....เพราะถ้าคิดจะเป็นแม่แล้วละก็...ผู้หญิงคนนั้นต้องเสียสละอย่างใหญ่หลวงให้ลูกตัวเองจนกระทั่งตาย....ผู้หญิงอย่างนั้นถึงน่านับถือว่าเป็นเพศแม่"
รัตนาวดีหัวเราะ
"จะลาออกก็ไม่ได้"
ท่านดนัยหัวเราะ
"กระหม่อม….ลาออกก็ไม่ได้...ฝ่าบาทช่างตรัสจริงๆ
คนเราถ้ารู้จักกันเพียงผิวเผินมักจะไม่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเรื่องคนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง ซึ่งบทสนทนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากทั้ง 3 คน ไม่ได้คุ้นเคยกัน แสดงว่าตัวละครได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ในระหว่างการท่องเที่ยว
2. บทสนทนาที่สื่อถึงนัยยะ
นับว่าเป็นอีกสิ่งนึงที่มีเสน่ห์ งดงาม บทสนทนาของตัวละครที่สื่อถึงนัยยะต่างๆปรากฏอยู่ตลอดทั้งเรื่องหลายประโยคที่ทำให้คนดูได้คิด ได้ตีความและจินตนาการตาม เช่น
นายเล็กเดินมาส่งรัตนาวดีที่บันได รัตนาวดีจะเดินขึ้นไป หันมาหา
"ขอบใจนะที่เดินมาส่ง"
"ท่านหญิง....อย่าทรงออกมาเดินคนเดียวอีกกระหม่อม"
รัตนาวดีหัวเราะ
"ความจริงไม่มีอะไรที่อันตรายสักหน่อย...คนออกเต็มไปหมด"
ท่านดนัยเป็นห่วงรัตนาวดี อยากพูดเตือน แต่ก็รู้ฐานะตัวเอง จึงพยายามพูดแต่ไม่กล้ามองหน้า
"ยังไงก็อันตรายสำหรับผู้หญิง...เอ้อ...ที่จะเดินคนเดียว เอ้อ….คุณสร้อย..จะเป็นห่วงมาก"
รัตนาวดียิ้มๆ
"จริง…ป้าสร้อยเป็นห่วงฉันตลอดเวลานะ"
"กระหม่อมไม่ค่อยไว้ใจนายวิศาล...เมื่อกี้ก็ทำท่าเหมือนจะโดนองค์"
"แล้วนายเล็กหายไปไหนมาล่ะ"
รัตนาวดีมองท่านดนัยอย่างยึดเป็นที่พึ่ง...
ท่านหญิงกล่าวประโยคนี้ทิ้งท้ายไว้ แล้วเดินจากไป
ฉากนี้เป็นฉากที่นายเล็กไม่รับประทานอาหารพร้อมท่านหญิง
"ถ้านายเล็กเห็นว่าเป็นความจำใจอย่างยิ่งที่จะต้องนั่งกินข้าวร่วมกับฉันก็เชิญตามสบายเถิด"
รัตนาวดีหันหลังให้ สีหน้าผิดหวัง
"เผื่อนายเล็กจะได้เป็นส่วนตัวที่จะทำจะคิดถึงอะไรบ้าง ฉันก็ลืมไป"
ท่านชายดนัยวัฒนาหันมาจ้อง แต่รัตนาวดีก็เดินกลับไปทางโรงแรม ยืนมองแล้วเดินตามมาอย่างเร็ว
"ท่านหญิง....ท่านหญิงกระหม่อม"
รัตนาวดีหยุดเดิน พยายามทำสีหน้าปรกติ
"กระหม่อมไม่เข้าใจที่ฝ่าบาทตรัสเมื่อครู่"
รัตนาวดีหันมามองนายเล็ก
"แต่กระหม่อมจะทูลว่า....ณ.เวลานี้กระหม่อมไม่จำเป็นที่จะคิดหรือทำอะไรกับใครอีก....แล้วที่ผ่านมานอกจากเรื่องงาน กระหม่อมก็ไม่มีใครที่จะต้อง คอยเป็นห่วงนอกจากพ่อแม่ เพราะฉะนั้นกระหม่อมจึงมีแต่จะถวายงานฝ่าบาทเท่านั้น"
ฉากนี้ท่านหญิงทรงไม่พอใจ แต่สิ่งที่ท่านดนัยตอบกลับมาฟังดูผิวเผินก็เหมือนไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากฟังให้ดีๆจะเห็นได้ว่าท่านดนัยต้องการจะสื่อว่าท่านเองก็ยังไม่มีใคร
ฉากเดินชนบริเวณบันได
ท่านดนัยหันมามองรัตนาวดี
"ฝ่าบาททรงเป็นผู้หญิงที่ไม่เหมือนใครจริงๆ...ทรงมีเรื่องให้กระหม่อมแปลกใจเสมอ"
รัตนาวดียิ้ม
"เธอก็มีเรื่อง surprise ฉันบ่อยๆ เหมือนกัน"
"แล้วฝ่าบาทโปรด หรือ ไม่โปรดเรื่อง surprise กันกระหม่อม"
"หมายความว่าไง...ชอบ หรือ ไม่ชอบเรื่องประหลาดใจ"
"เอ้อ…คือบางคนเค้าไม่ชอบเรื่องประหลาดใจ...แต่ บางคนก็ชอบ... คือพอเจอเรื่อง surprise เค้าจะรู้สึกสนุกดี...เอ้อ...รู้สึกไม่โกรธเพราะเข้าใจว่า คนทีทำให้ประหลาดใจไม่ได้คิดไม่ดี...แค่อยากล้อเล่น"
รัตนาวดีมองหน้าท่านดนัยยิ้มๆ
"เธอพูดอย่างกับเธอจะ surprise อะไรฉัน"
ท่านดนัยนิ่งคิด อยากสารภาพมาก ท่ามกลางบรรยากาศสวยงาม
"ถ้ากระหม่อมทำจะทรงกริ้วไหมกระหม่อม"
รัตนาวดียิ้มๆ
"มันก็ต้องแล้วแต่ว่าเรื่องอะไร"
ท่านดนัยวัฒนามองรัตนาวดีนิ่งพยายามตัดสินใจ
ท่านดนัยลองใจถามท่านหญิงว่าชอบเรื่องประหลาดใจหรือไม่ เป็นการถามทีเล่นทีจริง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือกับท่านหญิงได้ถูก เนื่องจากตัวเองมีเรื่องที่ปิดบังท่านหญิงเอาไว้ ฉากนี้ดูเป็นธรรมชาติ การใช้คำ ท่าทาง ภาษากายที่นายเล็กแสดงออกมาสะท้อนให้เห็นตัวตนของท่านดนัย
3. การแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร
ด้วยโทนละครเป็นในแบบ Road trip เป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆในยุโรป ค่ำไหนนอนนั่น ดังนั้นฉากหลังที่ปรากฏในละครคือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมาย นอกจากผู้ชมจะเห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ของตัวละครในระหว่างการท่องเที่ยวแล้ว การสอดแทรกบทสนทนาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ทั้ง 3 คนได้เดินทางไปท่องเที่ยวก็นับว่าทำได้ดี น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนุกไปกับการเดินทาง มีการเล่าประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร เช่น ป้าสร้อยจะชอบถามว่าสถานที่นี้มีความสำคัญอย่างไร หรือในบางสถานที่ก็เป็นการใส่เสียงบรรยายให้ความรู้ เป็นต้น เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นสีสันของละคร จากกระทู้ก่อนที่ดิชั้นได้รวบรวมข้อมูลและเกร็ดความรู้ต่างๆที่ละครได้นำเสนอ จนละครใกล้จะจบดิชั้นก็ไม่คิดว่าจะสามารถตัดคลิปวีดีโอออกมาได้มากถึงเกือบ 30 คลิป
4. การคงบทสนทนาเดิมจากตัวนิยาย
บทสนทนาของตัวละครมีการนำบทจากตัวนิยายเข้ามาใช้ ประโยคบทสนทนาต่างๆล้วนเป็นเอกลักษณ์แสดงตัวตนของตัวละครแต่ละตัวได้เป็นอย่างดี การคงบทสนทนาเดิมส่วนหนึ่งจากนิยายไว้ยิ่งส่งให้ละครเรื่องนี้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น
5. การตีความตัวละครต่างๆ
ในที่ขอพูดถึงป้าสร้อย และครอบครัวเก็จกำง๋ง
ป้าสร้อยเป็นตัวละครที่เป็นผู้ใหญ่ ถูกตีความออกมาในแบบที่เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ มองสถานการณ์ต่างๆได้ขาด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของท่านหญิงกับนายเล็ก ทรงเตือนให้ท่านหญิงระมัดระวังในการวางองค์กับนายเล็กตั้งแต่แรกๆ จนในที่สุดป้าสร้อยก็เห็นความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างท่านหญิงและนายเล็ก แม้ป้าสร้อยจะรู้ว่าท่านหญิงรู้สึกอย่างไรกับนายเล็กแต่ป้าสร้อยก็ยังนิ่งเฝ้ามองท่านหญิงอยู่ด้วยความเป็นห่วง พร้อมกับทั้งคอยเตือนสติให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมอยู่เป็นนัยๆ โดยไม่ได้ไปพาดพิงหรือให้ร้ายนายเล็ก โดยในส่วนตัวของป้าสร้อยเองนั้นดิชั้นรู้สึกว่าจริงๆแล้วไม่ได้รังเกียจนายเล็ก แต่เมตตา เอ็นดู เหมือนลูกเหมือนหลานด้วยซ้ำ เห็นจากการแสดงออกในฉากต่างๆ เช่น ป้าสร้อยจับแขนนายเล็กที่ช่วยประคองเดิน เป็นต้น แต่ในฐานะที่นายเล็กเป็นมหาเล็กของท่านดนัยหากจะมาชอบพอกับท่านหญิงก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรและไม่ถูกต้องนักในสายตาของผู้ใหญ่ จะเห็นได้จากช่วงหลังๆ ป้าสร้อยมีการพูดคุย เปิดอก เตือนสติ ให้แนวคิดแก่ท่านหญิงอย่างจริงจัง
ครอบครัวเก็จกำง๋ง แม้จะออกมาแค่ช่วงสั้นๆแต่ก็สร้างสีสันให้แก่ละครไม่น้อย การตีความตัวละครของครอบครัวนี้ไม่แบนราบแต่กลับมีมิติอย่างน่าสนใจในความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวรู้สึกได้ว่าทั้ง 3 คนเป็นคนในครอบครัวเดียวกันจริงๆ เมื่อสะอาศรีเริ่มทำตัวไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ทั้งพ่อและพี่ชายก็กล่าวตักเตือนให้ข้อคิด ถึงแม้ตัวเก็จกำง๋งนั้นจะประทับใจในตัวนายเล็กแต่ก็ไม่ได้แสดงออกมากจนเกินงาม แต่กลับแสดงออกมาในมุมของผู้ใหญ่ใจดี(และอารมณ์ดีด้วย)ที่พร้อมจะรับฟังความเห็นของคนอื่นๆที่เห็นต่างจากตน นอกจากนี้ฉากที่วีระสิงห์พูดคุยปรึกษากับเก็จกำง๋งยังสะท้อนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อกับลูกได้อย่างชัดเจน
นอกจากบทประพันธ์ที่ดีแล้ว บทโทรทัศน์ที่ดีจะยิ่งเป็นส่วนเสริมทำให้ละครมีอรรถรส สนุก น่าติดตามมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ชมเห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ของตัวละครมาตั้งแต่ต้น ย่อมเอาใจช่วย มีความรู้สึกร่วม เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ เกิดความผูกพันไปกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
เพิ่มอ้างอิง ที่มาของบทสนทนาที่ยกมาอ้างด้านบนจาก manager ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Drama/ViewBrowse.aspx?BrowseNewsID=2946&SourceNewsID=3748
บทโทรทัศน์หัวใจสำคัญอีกห้องของ "รัตนาวดี"
ดิชั้นขอพูดถึงบทโทรทัศน์ของเรื่องนี้ใน 5 ประเด็น คือ
1. การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวละครผ่านการสนทนาต่างๆ
2. บทสนทนาที่สื่อถึงนัยยะ
3. การแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร
4. การคงบทสนทนาเดิมจากตัวนิยาย
5. การตีความตัวละครต่างๆ
1. การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวละครผ่านการสนทนาต่างๆ
ทำให้ผู้ชมเข้าใจในความรู้สึกของตัวละครมากยิ่งขึ้น ดิชั้นขอหยิบยกมาบางส่วนคือ
ท่านหญิงไม่พอใจและผิดหวังท่านดนัยตั้งแต่แรกที่ท่านดนัยผิดนัดไม่มารับที่สนามบิน เห็นได้จากบทพูดและบริบทต่างๆตลอดทั้งเรื่อง เช่น จดหมายตัดไมตรีที่ท่านหญิงส่งถึงท่านดนัยว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆแล้ว สามารถดูแลตนเองได้ รวมถึงตลอดเวลาที่ได้ท่องเที่ยวด้วยกันหากป้าสร้อยหรือนายเล็กพูดถึงท่านดนัยขึ้นมา ท่านหญิงจะมีสีหน้าไม่พอใจ เฉยชา น้อยใจและบทสนทนาจะไปในทางตัดสัมพันธ์ท่านดนัยทันที สิ่งเหล่านี้เป็นปมในใจท่านหญิงมาตลอด ซึ่งท่านดนัยก็รับรู้ถึงปัญหานี้มาตั้งแต่ตนจึงไม่กล้าสารภาพความจริง และช่วงท้ายของละครมีฉากที่ท่านหญิงเปิดเผยความรู้สึกต่อนายเล็กว่าท่านหญิงรู้สึกอย่างไรในวันที่ท่านดนัยไม่มารับที่สนามบิน ทั้งผิดหวัง ทั้งกลัว ว้าเหว่ กังวลไปหมด และยังเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกของท่านหญิงด้วย ความน้อยใจต่างๆที่ท่านหญิงพรั่งพรูออกมาล้วนทำให้ท่านดนัยสงสารและไม่กล้าที่จะสารภาพความจริง จนทำให้เกิดปมเรื่องราวต่างๆตามมามากมาย
ฉากรถน้ำมันหมดนายเล็กให้ป้าสร้อยขี่หลัง ฉากนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวละครได้ดีทีเดียว โดยก่อนหน้านั้นทั้ง 3 คน ท่องเที่ยวด้วยกันมาเป็นระยะเวลานึงแล้ว ป้าสร้อยเริ่มคุ้นเคยและสนิทใจกับนายเล็กมากยิ่งขึ้น รวมถึงบทสนทนาของทั้ง 3 คนที่เกิดขึ้นระหว่างที่นายเล็กให้ป้าสร้อยขี่หลัง มีการพูดถึงครอบครัว พูดถึงแม่
"ค่อยยังชั่วหน่อย...แม่ของเธอเป็นอะไรทำไมถึงต้องเอาเค้าขี่หลังล่ะจ้ะ"
ป้าสร้อยพูดกับนายเล็กด้วยน้ำเสียงที่เป็นกันเอง
"เอ้อ…ขาแพลงนิดหน่อยครับ...ชอบเดินไปเดินมาทำโน่นทำนี่ทั้งวัน"
ป้าสร้อยยิ้มๆ มองท่านดนัยอย่างรู้สึกดีเป็นครั้งแรก...
"เธอนี่เป็นลูกที่ดีนะ...พูดถึงแม่อย่างนี้แล้วก็คิดถึงสิ"
ท่านชายดนัยวัฒนายิ้มอ่อนโยน รัตนาวดีมอง
"คิดถึงสิครับ...คิดถึงมาก...ผมก็กะว่าจะลางานกลับไปหาตอนปลายปี"
"ดีนะที่ยังมีแม่ให้คิดถึง....ฉันสิ..ไม่เคยเห็นหน้าท่านแม่เลย"
รัตนาวดีดูเศร้า ป้าสร้อยก็ทำหน้าเศร้า....
"กระหม่อมว่า...การที่เราไม่เคยเห็นหน้ากันเสียเลย น่าจะดีกว่าเคยเห็นแล้วต้องจากกัน"
"เพราะความผูกพันยังไม่มีน่ะเหรอ...รู้แค่ว่า...เป็นแม่เรา"
"กระหม่อม…แต่ถ้าเคยอยู่ด้วยกัน...ใช้ชีวิตด้วยกันด้วยความรักความอบอุ่น ความผูกพัน และถ้าต้องจากกัน"
"ไม่อยากจะคิด"
"หรือบางคนมีแม่....แต่ไม่ดูแลลูก...เอาแต่ความสุขให้ตัวเอง เป็นแม่ที่เห็นแก่ตัว...ใครเป็นลูกก็ซวยไป" สร้อยว่า
"อย่ามีแม่อย่างนี้จะดีกว่า อย่างนี้ก็แปลว่า ผู้หญิงแบบไหนก็เป็นแม่ได้ทั้งนั้น แต่จะเหมาะสมกับคำว่ากับแม่หรือเปล่ามันก็ขึ้นอยู่กับนิสัยและ ความประพฤติ"
"ถูกต้องที่สุดกระหม่อม....เพราะถ้าคิดจะเป็นแม่แล้วละก็...ผู้หญิงคนนั้นต้องเสียสละอย่างใหญ่หลวงให้ลูกตัวเองจนกระทั่งตาย....ผู้หญิงอย่างนั้นถึงน่านับถือว่าเป็นเพศแม่"
รัตนาวดีหัวเราะ
"จะลาออกก็ไม่ได้"
ท่านดนัยหัวเราะ
"กระหม่อม….ลาออกก็ไม่ได้...ฝ่าบาทช่างตรัสจริงๆ
คนเราถ้ารู้จักกันเพียงผิวเผินมักจะไม่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเรื่องคนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง ซึ่งบทสนทนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากทั้ง 3 คน ไม่ได้คุ้นเคยกัน แสดงว่าตัวละครได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ในระหว่างการท่องเที่ยว
2. บทสนทนาที่สื่อถึงนัยยะ
นับว่าเป็นอีกสิ่งนึงที่มีเสน่ห์ งดงาม บทสนทนาของตัวละครที่สื่อถึงนัยยะต่างๆปรากฏอยู่ตลอดทั้งเรื่องหลายประโยคที่ทำให้คนดูได้คิด ได้ตีความและจินตนาการตาม เช่น
นายเล็กเดินมาส่งรัตนาวดีที่บันได รัตนาวดีจะเดินขึ้นไป หันมาหา
"ขอบใจนะที่เดินมาส่ง"
"ท่านหญิง....อย่าทรงออกมาเดินคนเดียวอีกกระหม่อม"
รัตนาวดีหัวเราะ
"ความจริงไม่มีอะไรที่อันตรายสักหน่อย...คนออกเต็มไปหมด"
ท่านดนัยเป็นห่วงรัตนาวดี อยากพูดเตือน แต่ก็รู้ฐานะตัวเอง จึงพยายามพูดแต่ไม่กล้ามองหน้า
"ยังไงก็อันตรายสำหรับผู้หญิง...เอ้อ...ที่จะเดินคนเดียว เอ้อ….คุณสร้อย..จะเป็นห่วงมาก"
รัตนาวดียิ้มๆ
"จริง…ป้าสร้อยเป็นห่วงฉันตลอดเวลานะ"
"กระหม่อมไม่ค่อยไว้ใจนายวิศาล...เมื่อกี้ก็ทำท่าเหมือนจะโดนองค์"
"แล้วนายเล็กหายไปไหนมาล่ะ"
รัตนาวดีมองท่านดนัยอย่างยึดเป็นที่พึ่ง...
ท่านหญิงกล่าวประโยคนี้ทิ้งท้ายไว้ แล้วเดินจากไป
ฉากนี้เป็นฉากที่นายเล็กไม่รับประทานอาหารพร้อมท่านหญิง
"ถ้านายเล็กเห็นว่าเป็นความจำใจอย่างยิ่งที่จะต้องนั่งกินข้าวร่วมกับฉันก็เชิญตามสบายเถิด"
รัตนาวดีหันหลังให้ สีหน้าผิดหวัง
"เผื่อนายเล็กจะได้เป็นส่วนตัวที่จะทำจะคิดถึงอะไรบ้าง ฉันก็ลืมไป"
ท่านชายดนัยวัฒนาหันมาจ้อง แต่รัตนาวดีก็เดินกลับไปทางโรงแรม ยืนมองแล้วเดินตามมาอย่างเร็ว
"ท่านหญิง....ท่านหญิงกระหม่อม"
รัตนาวดีหยุดเดิน พยายามทำสีหน้าปรกติ
"กระหม่อมไม่เข้าใจที่ฝ่าบาทตรัสเมื่อครู่"
รัตนาวดีหันมามองนายเล็ก
"แต่กระหม่อมจะทูลว่า....ณ.เวลานี้กระหม่อมไม่จำเป็นที่จะคิดหรือทำอะไรกับใครอีก....แล้วที่ผ่านมานอกจากเรื่องงาน กระหม่อมก็ไม่มีใครที่จะต้อง คอยเป็นห่วงนอกจากพ่อแม่ เพราะฉะนั้นกระหม่อมจึงมีแต่จะถวายงานฝ่าบาทเท่านั้น"
ฉากนี้ท่านหญิงทรงไม่พอใจ แต่สิ่งที่ท่านดนัยตอบกลับมาฟังดูผิวเผินก็เหมือนไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากฟังให้ดีๆจะเห็นได้ว่าท่านดนัยต้องการจะสื่อว่าท่านเองก็ยังไม่มีใคร
ฉากเดินชนบริเวณบันได
ท่านดนัยหันมามองรัตนาวดี
"ฝ่าบาททรงเป็นผู้หญิงที่ไม่เหมือนใครจริงๆ...ทรงมีเรื่องให้กระหม่อมแปลกใจเสมอ"
รัตนาวดียิ้ม
"เธอก็มีเรื่อง surprise ฉันบ่อยๆ เหมือนกัน"
"แล้วฝ่าบาทโปรด หรือ ไม่โปรดเรื่อง surprise กันกระหม่อม"
"หมายความว่าไง...ชอบ หรือ ไม่ชอบเรื่องประหลาดใจ"
"เอ้อ…คือบางคนเค้าไม่ชอบเรื่องประหลาดใจ...แต่ บางคนก็ชอบ... คือพอเจอเรื่อง surprise เค้าจะรู้สึกสนุกดี...เอ้อ...รู้สึกไม่โกรธเพราะเข้าใจว่า คนทีทำให้ประหลาดใจไม่ได้คิดไม่ดี...แค่อยากล้อเล่น"
รัตนาวดีมองหน้าท่านดนัยยิ้มๆ
"เธอพูดอย่างกับเธอจะ surprise อะไรฉัน"
ท่านดนัยนิ่งคิด อยากสารภาพมาก ท่ามกลางบรรยากาศสวยงาม
"ถ้ากระหม่อมทำจะทรงกริ้วไหมกระหม่อม"
รัตนาวดียิ้มๆ
"มันก็ต้องแล้วแต่ว่าเรื่องอะไร"
ท่านดนัยวัฒนามองรัตนาวดีนิ่งพยายามตัดสินใจ
ท่านดนัยลองใจถามท่านหญิงว่าชอบเรื่องประหลาดใจหรือไม่ เป็นการถามทีเล่นทีจริง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือกับท่านหญิงได้ถูก เนื่องจากตัวเองมีเรื่องที่ปิดบังท่านหญิงเอาไว้ ฉากนี้ดูเป็นธรรมชาติ การใช้คำ ท่าทาง ภาษากายที่นายเล็กแสดงออกมาสะท้อนให้เห็นตัวตนของท่านดนัย
3. การแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร
ด้วยโทนละครเป็นในแบบ Road trip เป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆในยุโรป ค่ำไหนนอนนั่น ดังนั้นฉากหลังที่ปรากฏในละครคือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมาย นอกจากผู้ชมจะเห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ของตัวละครในระหว่างการท่องเที่ยวแล้ว การสอดแทรกบทสนทนาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ทั้ง 3 คนได้เดินทางไปท่องเที่ยวก็นับว่าทำได้ดี น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนุกไปกับการเดินทาง มีการเล่าประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆผ่านการสนทนาของตัวละคร เช่น ป้าสร้อยจะชอบถามว่าสถานที่นี้มีความสำคัญอย่างไร หรือในบางสถานที่ก็เป็นการใส่เสียงบรรยายให้ความรู้ เป็นต้น เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นสีสันของละคร จากกระทู้ก่อนที่ดิชั้นได้รวบรวมข้อมูลและเกร็ดความรู้ต่างๆที่ละครได้นำเสนอ จนละครใกล้จะจบดิชั้นก็ไม่คิดว่าจะสามารถตัดคลิปวีดีโอออกมาได้มากถึงเกือบ 30 คลิป
4. การคงบทสนทนาเดิมจากตัวนิยาย
บทสนทนาของตัวละครมีการนำบทจากตัวนิยายเข้ามาใช้ ประโยคบทสนทนาต่างๆล้วนเป็นเอกลักษณ์แสดงตัวตนของตัวละครแต่ละตัวได้เป็นอย่างดี การคงบทสนทนาเดิมส่วนหนึ่งจากนิยายไว้ยิ่งส่งให้ละครเรื่องนี้มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น
5. การตีความตัวละครต่างๆ
ในที่ขอพูดถึงป้าสร้อย และครอบครัวเก็จกำง๋ง
ป้าสร้อยเป็นตัวละครที่เป็นผู้ใหญ่ ถูกตีความออกมาในแบบที่เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ มองสถานการณ์ต่างๆได้ขาด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของท่านหญิงกับนายเล็ก ทรงเตือนให้ท่านหญิงระมัดระวังในการวางองค์กับนายเล็กตั้งแต่แรกๆ จนในที่สุดป้าสร้อยก็เห็นความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างท่านหญิงและนายเล็ก แม้ป้าสร้อยจะรู้ว่าท่านหญิงรู้สึกอย่างไรกับนายเล็กแต่ป้าสร้อยก็ยังนิ่งเฝ้ามองท่านหญิงอยู่ด้วยความเป็นห่วง พร้อมกับทั้งคอยเตือนสติให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมอยู่เป็นนัยๆ โดยไม่ได้ไปพาดพิงหรือให้ร้ายนายเล็ก โดยในส่วนตัวของป้าสร้อยเองนั้นดิชั้นรู้สึกว่าจริงๆแล้วไม่ได้รังเกียจนายเล็ก แต่เมตตา เอ็นดู เหมือนลูกเหมือนหลานด้วยซ้ำ เห็นจากการแสดงออกในฉากต่างๆ เช่น ป้าสร้อยจับแขนนายเล็กที่ช่วยประคองเดิน เป็นต้น แต่ในฐานะที่นายเล็กเป็นมหาเล็กของท่านดนัยหากจะมาชอบพอกับท่านหญิงก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรและไม่ถูกต้องนักในสายตาของผู้ใหญ่ จะเห็นได้จากช่วงหลังๆ ป้าสร้อยมีการพูดคุย เปิดอก เตือนสติ ให้แนวคิดแก่ท่านหญิงอย่างจริงจัง
ครอบครัวเก็จกำง๋ง แม้จะออกมาแค่ช่วงสั้นๆแต่ก็สร้างสีสันให้แก่ละครไม่น้อย การตีความตัวละครของครอบครัวนี้ไม่แบนราบแต่กลับมีมิติอย่างน่าสนใจในความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวรู้สึกได้ว่าทั้ง 3 คนเป็นคนในครอบครัวเดียวกันจริงๆ เมื่อสะอาศรีเริ่มทำตัวไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ทั้งพ่อและพี่ชายก็กล่าวตักเตือนให้ข้อคิด ถึงแม้ตัวเก็จกำง๋งนั้นจะประทับใจในตัวนายเล็กแต่ก็ไม่ได้แสดงออกมากจนเกินงาม แต่กลับแสดงออกมาในมุมของผู้ใหญ่ใจดี(และอารมณ์ดีด้วย)ที่พร้อมจะรับฟังความเห็นของคนอื่นๆที่เห็นต่างจากตน นอกจากนี้ฉากที่วีระสิงห์พูดคุยปรึกษากับเก็จกำง๋งยังสะท้อนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อกับลูกได้อย่างชัดเจน
นอกจากบทประพันธ์ที่ดีแล้ว บทโทรทัศน์ที่ดีจะยิ่งเป็นส่วนเสริมทำให้ละครมีอรรถรส สนุก น่าติดตามมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ชมเห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ของตัวละครมาตั้งแต่ต้น ย่อมเอาใจช่วย มีความรู้สึกร่วม เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ เกิดความผูกพันไปกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
เพิ่มอ้างอิง ที่มาของบทสนทนาที่ยกมาอ้างด้านบนจาก manager ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้