พอดีมีโอกาสได้ดูและอ่านรัตนาวดีทั้ง 3 งาน คือ หนังสือนิยายรัตนาวดี ประพันธ์โดย ว ณ ประมวลมารค / ละครรัตนาวดี เวอร์ชั่น เกรียงไกร-ขวัญฤดี / ละคร รัตนาวดี เวอร์ชั่น ล่าสุด
แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ตอนที่ดูหรืออ่านกลับให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน
ตอนอ่าน นิยาย รัตนาวดี ให้ความรู้สึกอิ่มเอม อ่านไปอมยิ้มไปกับการเล่าเรื่องทางจดหมายของท่านหญิง และท่านดนัย อารมณ์ตอนอ่านนิยายให้ความรู้สึกว่า ท่านหญิงทรงแอบมีใจให้กับนายเล็ก แต่ก็ระวังองค์อยู่ตลอดเวลา จังหวะที่รู้สึกองค์ ก็จะพยายามปลีกองค์ออกมา ท่านดนัยก็มีเสน่ห์และรู้ทันน้องหญิงอยู่ตลอด ดังจะเห็นจากจดหมายที่เขียนทูลท่านพจน์ และเวลาท่านดนัยจับได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นเรื่องหนูอาด ท่านดนัยก็รีบแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว ทำให้ท่านหญิงทรงยิ้มออกได้ อ่านนิยายแล้วรู้สึกสบายๆ ตัวละครในนิยายพอดีๆ ไม่รักมาก ไม่เศร้ามาก ไม่อึดอัดมาก ไม่ขำมาก คือทุกอย่างนิ่งๆ พอดีๆ (สำหรับเรานะคะ) แต่อิ่มเอมในความรู้สึก
ละคร รัตนาวดี เวอร์ชั่นเกรียงไกร-ขวัญฤดี ให้อารมณ์เหมือนดู romantic comedy คือทุกตัวละครมีมุขให้ได้ขำได้หัวเราะ (ขนาดนายวิศาล ซึ่งน่าหมั่นไส้ ยังมีมุขให้ขำได้ ไม่รวมนายพุธ เวอร์ชั่นตุ้งติ้ง ป้าสร้อยแอบฮา คุณเก็จกำง๋ง ฮาจริงจัง) ท่านหญิงดูอ่อนใส มีขี้งอนบ้างเป็นระยะ ท่านดนัยเวอร์ชั่นเกรียงไกรดูเป็นท่านดนัยที่มีแววตาที่ดูเหนือกว่าทุกตัวละครแม้กระทั่งเวลาเป็นนายเล็ก ดูเหมือนท่านดนัยเวอร์ชั่นนี้จะไม่เคยลืมองค์เลยว่าท่านเป็นใคร อารมณ์ตอนดูส่วนใหญ่มีแต่รอยยิ้ม ให้อารมณ์ romantic comedy ดี
รัตนาวดี เวอร์ชั่นล่าสุด ดูแล้วให้อารมณ์ romantic drama ละครทำให้ได้เห็นพัฒนาการความรักของท่านหญิงและท่านดนัย ชี้ประเด็นรักต่างชนชั้นอย่างชัดเจน ประกอบกับ ท่านหญิงที่ดูสง่าดูนิ่ง ทำให้ท่านดนัยตอนเป็นนายเล็กดูเป็นนายเล็กที่น่าสงสารจริงๆ บางครั้งลืมไปเลยว่านายเล็กคือท่านดนัย เลยแอบสงสารความรักของทั้งคู่ไปด้วย ผู้สร้างเวอร์ชั่นนี้ทำละครออกมาให้ดูพีคในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเวลารัก เวลาเศร้า เวลาอึดอัด จนเราซึ่งเป็นคนดูละครรู้สึกตามไปทุกสถานการณ์
การตีความตัวละครที่แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะโทนของการสร้างที่แตกต่างกัน อย่างในนิยาย ป้าสร้อย เหมือนคนแก่ขี้บ่นและมีเรื่องให้หัวเราะเป็นระยะๆ / ป้าสร้อย เวอร์ชั่นละครช่อง 3 เพิ่มความขำเข้าไปอีก เพราะโทนละครออกแนว romantic comedy ในขณะที่ป้าสร้อยเวอร์ชั่นล่าสุดดูจะนิ่งกว่าเวอร์ชั่นอื่นๆ และมีบทบาทในการแนะนำตักเตือนท่านหญิงแบบดราม่ามาเต็ม โดยส่วนตัวรู้สึกว่าก็สมเหตุสมผลในทุกเวอร์ชั่น … การวางโทนละครที่ต่างกันก็ทำให้การแสดงบทของตัวละครออกมาแตกต่างกัน
โดยส่วนตัวดีใจที่ได้มีโอกาสได้อ่านนิยายและได้ดูละครทั้งสองเวอร์ชั่น เพราะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน และเข้าใจที่มาที่ไปของแต่ละตัวละครที่อาจจะตีความออกมาต่างกัน ทำให้เราได้เห็นท่านหญิง ท่านดนัย ป้าสร้อย และตัวละครอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป
รัตนาวดี … 3 เวอร์ชั่น 3 อารมณ์
แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ตอนที่ดูหรืออ่านกลับให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน
ตอนอ่าน นิยาย รัตนาวดี ให้ความรู้สึกอิ่มเอม อ่านไปอมยิ้มไปกับการเล่าเรื่องทางจดหมายของท่านหญิง และท่านดนัย อารมณ์ตอนอ่านนิยายให้ความรู้สึกว่า ท่านหญิงทรงแอบมีใจให้กับนายเล็ก แต่ก็ระวังองค์อยู่ตลอดเวลา จังหวะที่รู้สึกองค์ ก็จะพยายามปลีกองค์ออกมา ท่านดนัยก็มีเสน่ห์และรู้ทันน้องหญิงอยู่ตลอด ดังจะเห็นจากจดหมายที่เขียนทูลท่านพจน์ และเวลาท่านดนัยจับได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นเรื่องหนูอาด ท่านดนัยก็รีบแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว ทำให้ท่านหญิงทรงยิ้มออกได้ อ่านนิยายแล้วรู้สึกสบายๆ ตัวละครในนิยายพอดีๆ ไม่รักมาก ไม่เศร้ามาก ไม่อึดอัดมาก ไม่ขำมาก คือทุกอย่างนิ่งๆ พอดีๆ (สำหรับเรานะคะ) แต่อิ่มเอมในความรู้สึก
ละคร รัตนาวดี เวอร์ชั่นเกรียงไกร-ขวัญฤดี ให้อารมณ์เหมือนดู romantic comedy คือทุกตัวละครมีมุขให้ได้ขำได้หัวเราะ (ขนาดนายวิศาล ซึ่งน่าหมั่นไส้ ยังมีมุขให้ขำได้ ไม่รวมนายพุธ เวอร์ชั่นตุ้งติ้ง ป้าสร้อยแอบฮา คุณเก็จกำง๋ง ฮาจริงจัง) ท่านหญิงดูอ่อนใส มีขี้งอนบ้างเป็นระยะ ท่านดนัยเวอร์ชั่นเกรียงไกรดูเป็นท่านดนัยที่มีแววตาที่ดูเหนือกว่าทุกตัวละครแม้กระทั่งเวลาเป็นนายเล็ก ดูเหมือนท่านดนัยเวอร์ชั่นนี้จะไม่เคยลืมองค์เลยว่าท่านเป็นใคร อารมณ์ตอนดูส่วนใหญ่มีแต่รอยยิ้ม ให้อารมณ์ romantic comedy ดี
รัตนาวดี เวอร์ชั่นล่าสุด ดูแล้วให้อารมณ์ romantic drama ละครทำให้ได้เห็นพัฒนาการความรักของท่านหญิงและท่านดนัย ชี้ประเด็นรักต่างชนชั้นอย่างชัดเจน ประกอบกับ ท่านหญิงที่ดูสง่าดูนิ่ง ทำให้ท่านดนัยตอนเป็นนายเล็กดูเป็นนายเล็กที่น่าสงสารจริงๆ บางครั้งลืมไปเลยว่านายเล็กคือท่านดนัย เลยแอบสงสารความรักของทั้งคู่ไปด้วย ผู้สร้างเวอร์ชั่นนี้ทำละครออกมาให้ดูพีคในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเวลารัก เวลาเศร้า เวลาอึดอัด จนเราซึ่งเป็นคนดูละครรู้สึกตามไปทุกสถานการณ์
การตีความตัวละครที่แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะโทนของการสร้างที่แตกต่างกัน อย่างในนิยาย ป้าสร้อย เหมือนคนแก่ขี้บ่นและมีเรื่องให้หัวเราะเป็นระยะๆ / ป้าสร้อย เวอร์ชั่นละครช่อง 3 เพิ่มความขำเข้าไปอีก เพราะโทนละครออกแนว romantic comedy ในขณะที่ป้าสร้อยเวอร์ชั่นล่าสุดดูจะนิ่งกว่าเวอร์ชั่นอื่นๆ และมีบทบาทในการแนะนำตักเตือนท่านหญิงแบบดราม่ามาเต็ม โดยส่วนตัวรู้สึกว่าก็สมเหตุสมผลในทุกเวอร์ชั่น … การวางโทนละครที่ต่างกันก็ทำให้การแสดงบทของตัวละครออกมาแตกต่างกัน
โดยส่วนตัวดีใจที่ได้มีโอกาสได้อ่านนิยายและได้ดูละครทั้งสองเวอร์ชั่น เพราะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน และเข้าใจที่มาที่ไปของแต่ละตัวละครที่อาจจะตีความออกมาต่างกัน ทำให้เราได้เห็นท่านหญิง ท่านดนัย ป้าสร้อย และตัวละครอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป